30 June 2010

“คือผู้อภิวัฒน์” ในวาระที่สี่




ปี 2543 พระจันทร์เสี้ยวการละครได้ฝึกนักแสดงรุ่นใหม่อีก 12 คน ซึ่งทั้งหมดเป็นนักศึกษาจากหลายสถาบันที่มีความสนใจละครที่มีเนื้อหาสาระเข้มข้นเข้าเป็นสมาชิกและเพื่อแสดง “คือผู้อภิวัฒน์” ที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ และสัญจรไปต่างจังหวัดได้แก่ อยุธยา ชลบุรี และ นครศรีธรรมราช โดยในครั้งนี้การฝึกฝนเป็นการฝึกฝนพื้นฐานสำคัญและมีการปรับด้านการแสดงบ้างตามความเหมาะสม และเน้นการเล่าเรื่องที่กระชับฉับไวมากขึ้น

กำกับ :
นิมิตร พิพิธกุล และ พิณทิพย์ สัตย์เพริศพราย

นักแสดง :
ปรีดี เกรียงไกร ฟูเกษม
ทรง ประวิทย์ หิรัญพฤกษ์
แปลก กวินธร แสงสาคร
ประยูร ธนาคม ชราปธีป
พลอย นริศรา สนเอี่ยม
ช้อย พัชรินทร์ นามโสม
ผู้บรรยาย ฉัตรชัย พุดซ้อน
พูนศุข ศรวณี ยอดนุ่น
สาย สีมา ทศพร มงคล
คึกฤทธิ์ สุธิชา ภิรมย์นุ่ม
พหล เดชอุดม ชูดำ
มโน ธเนศ ม่วงทอง

นักดนตรี :
ปิติพงษ์ งามญาน

แสดงที่สถาบันปรีดี พนมยงค์, จ.อยุธยา, จ.นครศรีธรรมราช และ จ.ชลบุรี

28 June 2010

“คือผู้อภิวัฒน์” สัญจรต่างประเทศ

หลังเสร็จสิ้นจากกากรแสดงที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ 11 รอบ พระจันทร์เสี้ยวการละครได้มีโอกาสเดินทางไปเปิดการแสดงในทวีปยุโรป 3 ประเทศด้วยกัน โดยเริ่มต้นที่ประเทศฝรั่งเศสซึ่งอาจารย์ปรีดี พนมืยงค์ได้จัดประชุมก่อตั้งคณะราษฎรเป็นครั้งแรก และเป็นประเทศแม่แบบของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แล้วเดินทางต่อไปยังกรุงอัมสเตอร์ดามประเทศเนเธอร์แลนด์ หลังจากการแสดงได้มีการใช้เนื้อหาในละครเป็นประเด็นในการ และ Dr.Han ten Brummelhuis ที่ปรึกษาไทยคดีศึกษาประจำประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นผู้นำการเสวนา

จุดสุดท้ายในการเดินทางครั้งนี้คือกรุงสต็อกโฮล์มประเทศสวีเด็น ที่ที่มีคนไทยอาศัยเป็นจำนวนมาก และมีความกระตือรือร้นในการลงคะแนนเสียงมวลชนในท้องถิ่นเป็นอย่างดี และได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากกลุ่มศาลาไทยและกลุ่มไทยศึกษา





กำหนดการ :
30 มิถุนายน 2542 Salle Municipelle e’me Arroumdissement, Paris, France
4 กรกฎาคม 2542 Dee Rode Hoed Theatre, Amsterdam, The Netherlands
9-10 กรกฎาคม 2542 Boulevard Theatern, Stockholm, Sweden




ต่อจากนั้นได้เดินทางไปเปิดการแสดงที่สหรัฐอเมริกา ใน 4 รัฐ ได้แก่ ลอสแองเจอลิส, ซานฟรานซิสโก, ชิคาโก และ นิวยอร์ค โดยได้รับการต้อนรับจากชุมชนคนไทยที่อาศัยอยู่ที่นั่นเป็นอย่างดี และมีผู้สนใจมาชมการแสดงอย่างคับคั่ง และกลับมาทัวร์ในต่างจังหวัดอีกหลายจังหวัดในปี 2543


กำหนดการ :
19 มีนาคม 2543 แสดงที่ ลอสแองเจิลลิส
23 มีนาคม 2543 แสดงที่ซานฟรานซิสโก
25 มีนาคม 2543 แสดงที่ชิคาโก
1 เมษายน 2543 แสดงที่นิวยอร์ค




“คือผู้อภิวัฒน์” (วาระที่สาม)

แสดงในวาระ 100 ปี ชาตกาล

พ.ศ.2542 ละครเวที คือผู้อภิวัฒน์ ได้นำกลับมาแสดงอีกครั้งหนึ่งในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาล นายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโสคนแรกของไทย ที่จะมาถึงในวันที่ 11 พฤษภาคม 2543 เพื่อร่วมในโอกาสนี้ โดย “คณะกรรมการจัดงานฉลอง 100 ปีชาตกาล นายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส” ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมกับ “พระจันทร์เสี้ยวการละคร” เป็นผู้จัดขึ้น
การนำกลับมาแสดงใหม่ในวาระนี้เริ่มต้นเปิดกากรแสดงในวันที่ 26-28 กุมภาพันธ์ และ 5-7 มีนาคม พ.ศ. 2542 ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ นับเป็นหนึ่งในโครงการนำร่องสู่การร่วมฉลองครบรอบ 100 ปีชาตกาล นายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส

มีการปรับชื่อละครจาก คือผู้อภิวัฒน์ มาเป็น คือผู้อภิวัฒน์ 2475 เพื่อเน้นย้ำต่อเหตุการณ์และจุดแห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครอบอันส่งผลมาถึงวิถีชีวิตในปัจจุบัน ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย


คือ ผู้อภิวัฒน์ 2475 มีการตีความใหม่เพื่อปรับปรุงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นโดยมี “นิมิตร พิพิธกุล” ผู้ได้ร่วมงามกับละครเรื่องนี้ มาแต่เริ่มต้นทำหน้าที่เป็นผู้กำกับการแสดง

กำหนดการแสดง
26,27,28 กุมภาพันธ์ และ 5,6,7 มีนาคม 2542
แสดงที่ สถาบันปรีดี พนมยงค์
ตลอดทั้งปี 2542 และ 43
แสดงอีกหลายแห่งในหลายจังหวัดจังหวัด ได้แก่ หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต), เชียงใหม่, นครราชสีมา, กาญจนบุรี, อยุธยา, สงขลา, อุบลราชธานี

กำกับ :
นิมิตร พิพิธกุล

นักแสดง :
ปรีดี นิมิตร พิพิธกุล
มโน สุนทร มีศรี
คนเล่าเรื่อง, พูนศุข พิณทิพย์ สัตย์เพริศพราย
ผู้บรรยาย,พลอย สินีนาฏ เกษประไพ
แปลก, สาย สีมา ธีระวัฒน์ มุลวิไล
ผู้บรรยาย, พี่ตุลา ผิวน้ำ เฉลิมญาติ
ผู้บรรยาย, น้องตุลา ฟารีดา จิราพันธุ์
ทรง วัลลภ แสงจ้อย
พหล ปกรณ์ รังสิตเสถียร
ประยูร, เพิ่ม ชาติชาย เกษนัส
เล็ก วรลักษณ์ แซ่จึง
ผู้บรรยาย พฤษา รุ่งแสง
ทรง รุจิโรจน์ ธนสารกิตติวัฒน์

นักดนตรี :
อานันท์ นาคคง
หิรัญ บุญชื่น

ทีมงาน :
ออกแบบแสง ทวิทธิ์ เกษประไพ
เครื่องแต่งกาย สหวัฏฏ์ ศรีหิรัญ, ยอดเมือง อร่ามเรืองไพศาล
ควบคุมแสง กมลนัฐฏ์ อินทรตั้ง
ควบคุมเสียง รุจิโรจน์ ธนสารกิตติวัฒน์, กานต์ ธงไชย
ภาพนิ่ง Stephan Funke, พงษ์สิทธิ์ ศิลปสุวรรณชัย, คมกริช ฟักมูล, ทวิทธิ์ เกษประไพ
ประชาสัมพันธ์ กวินพร เจริญศรี, ปัฏฐยา โอฟริต, วินิจ มีรอด
ฝึกขับร้อง ปาริชาติ จันทร์ไทย
กำกับเวที สินีนาฏ เกษประไพ
ดูแลการผลิต พิณทิพย์ สัตย์เพริศพราย

27 June 2010

คือผู้อภิวัฒน์วาระสอง

เกี่ยวกับละคร “คือผู้อภิวัฒน์”
(ในวาระที่สอง)


8 ปีต่อมา ละคร “คือผู้อภิวัฒน์” กลับมาแสดงอีกครั้งในวาระพิธีเปิดสถาบันปรีดี พนมยงค์ เมื่อวันที่ 24-25 มิถุนายน 2538 ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์ และได้รับเชิญเข้าร่วมในเทศกาลละครครั้งที่ 1 ณ ศูนย์ศิลปะวัฒนธรรมแสงอรุณ ในวันที่ 28-29 มิถุนายน และ 5-6 กรกฎาคม โดยทีมนักแสดงรุ่นใหม่ ยกเว้น “นิมิตร พิพิธกุล” สมาชิกจากกลุ่ม “นักแสดงไร้ชื่อ” ที่กลับมาร่วมในฐานะผู้ช่วยผู้กำกับการแสดงและผู้จัดการโครงการด้วย การแสดงยังคงรูปแบบเหมือนเดิมทุกอย่าง และใช้เวลาในการผึกซ้อมนักแสดงเพียง 3 เดือนเท่านั้น

กำหนดการ :
24-25 มิถุนายน 2538
สถาบันปรีดี พนมยงค์ กรุงเทพฯ

28-29 มิถุนายน และ 5-6 กรกฎาคม 2538
ศูนย์ศิลปะวัฒนธรรมแสงอรุณ กรุงเทพฯ

ทีมงาน :
กำกับการแสดง คำรณ คุณะดิรก

นักแสดง :
ปรีดี อภิศักดิ์ สนจด
ทรง ศราวุธ ส่งศรี
แปลก นิมิตร พิพิธกุล
พหล กอบชัย ชูโต
มโน อดิศร(อั๋น)

สาย สีมา เอกชัย เอื้อธารพิสิฐ
พูนศุข รัชนี วิศิษฎ์วโรดม
พลอย ธีรนันท์ นาคทอง
เล็ก กิ่งแก้ว รณศิริ
คนเล่าเรื่อง ลักษนันท์ โกสินทรกุล
ผู้บรรยาย,พี่ตุลา ชวนพิศ ธีรบุญชัยกุล
น้องตุลา บุศราพร ทองมั่น

ช่วยกำกับการแสดง นิมิตร พิพิธกุล
กำกับเวที ดวงพร เรืองอำไพภัทร
ดวงกมล โพธิ์ปริสุทธิ์
อุปกรณ์ประกอบฉาก กอบชัย ชูโต
ดวงกมล โพธิ์ปริสุทธิ์
ฉาก ปริญญา สุทธิประเสริฐ
เจษฎธวัช ชวนะพงศ์
นรเศรษฐ์ สุภัณวงษ์
เมธา สกุลช่างสัจจะทัย

ละครเวที “คือผู้อภิวัฒน์” รอบปกติ


ละครเวทีสร้างสรรค์....ที่ไม่ธรรมดา
เรื่องราวชีวประวัติ รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์


“คือผู้อภิวัฒน์”

ละครเวทีร่วมสมัยที่นำกลับมาแสดงมากครั้งที่สุดของพระจันทร์เสี้ยวการละคร เป็นบทละครเวทีที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสุดยอดของละครไทยในแนวทาง Breachtian และเป็นละครเวทีเพื่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยที่เข้มข้นทั้งความคิดและรูปแบบการนำเสนอ
ร่วมแสดงในวาระครบรอบชาตกาล ๑๑๐ ปีรัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ ครบรอบ๗๘ ปี การอภิวัฒน์ไทย ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ครบรอบ ๑๕ ปี สถาบันปรีดี พนมยงค์‏ และพิธีเปิดห้องนิทรรศการ “ห้องแห่งแรงบันดาลใจ ปรีดี พนมยงค์”

จัดแสดง ณ หอประชุม สถาบันปรีดี พนมยงค์
แสดงวันที่ 2, 3 และ 4 กรกฏาคม 2553 (รวม 5 รอบ)
เวลา 19.30 / เสาร์-อาทิตย์ เพิ่มรอบ 14.30 น.

และจะเดินทางไปสัญจรแสดงที่ม.ช. อีก 2 รอบ ในเดือนสิงหาคม 2553 นี้

บัตรราคา 300 บาท (นักเรียน,นักศึกษา 250 บาท)
สำรองที่นั่งได้ที่ 083 995 6040 และ 081 525 7671

พิเศษ... หลังรอบบ่ายเสาร์-อาทิตย์ มีเสวนาหลังละคร
“คนกับละคร...ละครกับสังคม”
ร่วมพูดคุยกับ คุณคำรณ คุณะดิลก, คุณสินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย และ คุณสินีนาฏ เกษประไพ
วันเสาร์ 3 มิ.ย.2553 ดำเนินรายการโดย อ.ภาสกร อินทุมาร
วันอาทิตย์ 4 มิ.ย.2553 ดำเนินรายการโดย อ.อภิรักษ์ ชัยปัญหา

26 June 2010

"คือผู้อภิวัฒน์" วาระแรก

ละครเวที “คือผู้อภิวัฒน์” (ในวาระแรก)

เมื่อปี พ.ศ.2530 ละครเวที “คือผู้อภิวัฒน์” ได้เปิดตัวเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน และเปิดแสดงจริงในวันที่ 3, 4, 5 และ 10, 11, 12 กรกฎาคม ณ หอศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยสภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมกับมูลนิธิปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้จัดขึ้น โดยมิใช่มีเพียงวัตถุประสงค์และเหตุผลที่ท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองเท่านั้น หากจุดประสงค์ที่แท้จริงของการจัดละครในครั้งนั้น ต้องการที่จะนำเสนออุดมการณ์ของท่านที่มีเจตนาบริสุทธิ์ที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมไทยให้ดีขึ้น ในวิถีต่างๆ โดยหวังที่จะสื่อผ่านรูปแบบการละครเพื่อเป็นการตั้งคำถามว่าอุดมการณ์เหล่านี้จะได้รับการตอบขานเช่นไรจากสังคมและชนรุ่นใหม่ของสังคมไทย และวัตถุประสงค์อีกประการหนึ่งในการจัดทำละครคือการหารายได้เพื่อร่วมสมทบทุนในการก่อสร้าง “สถาบันปรีดี พนมยงค์”


ละครเรื่องนี้ได้ถูกกำหนดไว้แต่แรกแล้วว่าให้เป็น ละครเอพิค (Epic Theatre) และเป็นชีวประวัติของท่านรัฐบุรุษอาวุโส ด้วยเหตุผลที่ว่า Epic Theatre เป็นละครที่ไม่เน้นอารมณ์ แต่มุ่งให้เกิดความหมายทางด้านความคิดและสติปัญญาในขณะรับชม ละครในรูปแบบนี้เป็นผลผลิตทางความคิดของ “แบร์ทอลท์ เบรคชท์” (Bertolt Brecht) นักการละครชาวเยอรมัน ซึ่งบทละครที่มีชื่อเสียงของเขาไดรับการนำมาทำเป็นละครเวทีโดยนักการละครชาวไทยแล้วหลายเรื่อง อาทิ กาลิเลโอ คนดีที่เสฉวน และ แม่ค้าสงคราม



คำรณ คุณะดิลก เคยกล่าวถึง การเลือกใช้ศิลปะกับละครเรื่องนี้ว่า “...ละครก็เป็น อิลลูชั่น (Illusion) หรือ ภาพหลอนชั้นหนึ่งแล้ว ถ้าไม่ระวังก็จะสร้างภาพหลอน ๒ ชั้นให้คนดูปวดหัวได้ อันนี้ผมเอามาจากหลักของ อังตวน อาร์โตด์ (Antoin Artaud) อาร์โตด์ เป็นนักกละครรุ่นใหม่ของฝรั่งเศส่ แล้วที่เลือกชีวะประวัติท่านปรีดีก็เพราะอยากจะทดลองงานสัก ๓ อย่าง คือ การทำละครชีวประวัติมันยาก ยากเรื่องข้อมู้ลและความถูกต้อง แล้วข้อเขียนของอาจารย์ปรีดีเอง รวมทั้งข้อเขียนของคนอื่นๆ เกี่ยวกับท่าน ก็มักจะเป็นวิชาการมากๆ ผมไม่กล้าใส่ไข่นัก แต่ก็จะสร้างให้ Dramatic ตึงเครียดเพื่อดึงคนดูด ใช้แทนความสนุกสนานแบบธรรมดาๆ...

...อีกอย่าง ก็อยากจะฝึกนักแสดงละครรุ่นใหม่เอาเป็นกลุ่มทเลย คัดเฉพาะนักศึกษาปี ๒ หมด ไม่เคยแสดงมาก่อน ชาย ๖ หญิง ๖ ดูซิว่า เขาจะมีพลังไหมบนเวที ฝึกมาหลายอาทิตย์ทำท่าว่าสักครึ่งมีแววเป็นนักแสดงได้

แล้วประเด็นสุดท้ายที่เลือกรูปแบบละครนี้ เอาชีวิตอาจารย์ปรีดีมาทำก็เพราะเห็นว่าท่านสมถะ เรียบง่าย แต่พุ่งเข้าชนปัญหา รูปแบบละครของเราก็จะสมถะ มีแสง มีเสียง แต่ไม่มีฉาก เพลงประกอบเป็นเพลงธรรมศาสตร์บ้าง เพลงชาติผรั่งเศสบ้าง เพลงคนทำทาง เพลงต้นกล้า และเพลงแองแตร์นาซิอองนาล...”

บทละครเรื่อง คือผู้อภิวัฒน์ ถูกสร้างขึ้นพร้อมๆกับการค้นหาการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ ที่เป็นทั้งสัญลักษณ์และนามธรรม โดยการจัดองค์ประกอบการเคลื่อนไหว การยืนที่มีความหมายบนแท่นลาดเอียงสีดำ 3 แท่น ที่สามารถปรับเปลี่ยนไปตามจุดต่างๆ ของเวที เพื่อบอกเล่าเรื่องราวชีวประวัติของอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ตลอดอายุขัย รูปแบบของละครไม่เน้นฉากอุปกรณ์ที่ใหญ่โตอลังการ เสื้อผ้านักแสดงยืนพื้นที่ชุดผ้าดำ เพื่อการเคลื่อนไหวที่สะดวก โดยใช้แนวทางของ Poor Theatre อันเป็นวิธีคิดที่ได้มาจากการทำ Theatre Lab ของ เจอร์ซี่ โกรโทสกี้ ที่มีปรัชญาความคิดหลักที่ว่า หัวใจของการแสดงอยู่ที่ร่างกาย มิใช่องค์ประกอบภายนอกที่ไม่จำเป็น

การเลือกรูปแบบนี้มารองรับเพราะเรื่องราวของอาจารย์ ปรีดี พนมยงค์ มีหัวใจหลักของเรื่องอยู่ที่แก่นความคิด การนำเสนอภาพองค์ประกอบภายนอกที่ใหญ่โตหรูหราเกินความจำเป็นจะทำให้พลังของสารสาระไม่ถูกขับออกมา

ละครเรื่องนี้สามารถบอกเล่าเรื่องราวเหตุการณ์สำคัญๆ ในประวัติศาสตร์ไทยได้อย่างครอบคลุม เข้มข้น อาทิ เรื่องราวการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475, ขบวนการเสรีไทย ฯลฯ ซึ่งถือเป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์บนละครเวที


ในขั้นต้นนั้นทางสภานักศึกษาได้ประกาศรับสมัครนักแสดงละครเวทีใน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อคัดเลือกนักศึกษาเข้าร่วมโครงการตามความตั้งใจของครูคำรณ ที่ต้องการจะสร้างนักแสดงรุ่นใหม่ขึ้นเฉพาะสำหรับโครงการ และมีนักศึกษาเข้าร่วมสมัครทั้งสิ้นร่วม 100 คน เข้าร่วมการฝึกฝนโดยเริ่มต้น Warm up ร่างกายในลักษณะการฝึกการหายใจ การปรับการเคลื่อนไหว การฝึกทางด้านของพลัง Force & Dynamic เป็นเบื้องต้น การฝึกฝนในรูปแบบดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการแสดงที่แปลกใหม่มากในยุคนั้น


กลุ่มนักศึกษาที่เข้าร่วม Work shop จำนวนเกือบ 100 คนลดจำนวนลงเหลือเพียง 15 คน ด้วยการฝึกทางร่างกายที่ค่อนข้างหนักและใช้เวลานานถึง 1 ปี ในที่สุดก็สมารถคัดเลือกนักแสดงหลัก ประกอบด้วยชาย 6 คน หญิง 6 คน ภายใต้การใช้ชื่อกลุ่มทางการแสดงว่า “นักแสดงไร้ชื่อ”


หลังจากที่ละคร คือผู้อภิวัฒน์ ออกแสดงที่หอศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เสร็จสิ้นลง ได้รับการตอบรับจากผู้ชมเป็นอย่างดี และก่อกระแสการวิพากษ์วิจารณ์ ในเชิงรูปแบบที่โดดเด่นและเนื้อหาที่เฉียบคม โดยเฉพาะฉากที่ผู้ชมประทับใจเป็นพิเศษคือ “ฉากรีรีข้าวสาร” อันเป็นการละเล่นของไทยที่ถูกนำมาเทียบเคียงกับการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนของการขึ้นครองอำนาจได้อย่างน่าสนใจจนได้รับคำเรียกร้องให้กลับมาจัดแสดงใหม่เป็นครั้งที่ 2 ณ หอศิลป์ พีระศรี โดยเปิดการแสดงในวันที่ 30-31 ตุลาคม และวันที่ 6-7-8 พฤศจิกายน หลังจากนั้นจึงเดินทางขึ้นไปยังจังหวัดเชียงใหม่เพื่อเปิดการแสดง ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมทั้งสิ้น 4 รอบ และเปิดการแสดงที่จังหวัดปัตตานีอีก 2 รอบ การจัดการแสดงในครั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนชื่อคณะละครเป็น “กลุ่มพระจันทร์เสี้ยว(ใหม่)”

กำหนดการ :
๒๗ มิถุนายน และ ๓,๔,๕,๑๐,๑๑,๑๒ กรกฎาคม ๒๕๓๐
หอศิลปวัฒนธรรม (หอประชุมเล็ก) มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์ กรุงเทพฯ

๓๐,๓๑ ตุลาคม และ ๖,๗,๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๐
หอศิลป์ พีระศรี กรุงเทพ

กำกับการแสดง :

คำรณ คุณะดิลก

นักแสดง
ปรีดี นิติธร เยี่ยมสมบัติ
ทรง ไตรรัตน์ เฑียรฆชาติ
แปลก นิมิตร พิพิธกุล
ประยูร, สายสีมา นันทฤทธิ์ พัฒนสุวรนันทร์
พลอย วัลลภา อิ่มในพงษ์
ผู้บรรยาย วิไล ลีนะเสจริญกุล
ผู้บรรยาย สุวรรณี นำพิทักษธ์ชัยกุล
พูนศุข สุวรรณี กัลยาณสันต์
ผู้เล่าเรื่อง พิมพกา โตวิระ
เล็ก จันทร์ช่วง องค์ศิริวิทยา
พหล ยิ่งยอดก มัญชุวิสิฐ
มโน สุเมธ นุรักษณ์

ทีมงาน :

ผู้จัดการทั่วไป วิทเยนทร์ มุตตามระ
ศิลปกรรม วินัย สัตตะรุจาวงษ์
ประชาสัมพันธ์ วินัย สัตตะรุจาวงษ์, อัญชนา สุนทรพิทักษ์, สิริปรียารี บุณยรัตพันธุ์
ฝ่ายการแสดง ดวงดาว คำพุท, กิตติพร ใจบุญ, พรรณวดี จันโทลิก, ยุพา พิพัฑน์พวงทอง, เสาวนีย์ ดุษฎีสุรพจน์
แสง ปิยฉัตร ประยูรเวช
เสียง ดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์

25 June 2010

คือผู้อภิวัฒน์รอบแรก

ละครเวที คือผู้อภิวัฒน์ รอบแรก รอบพิเศษ ๑๕.๐๐ น. แสดงแล้วที่หอประชุมพูนศุข พนมยงค์ สถาบันปรีดี พนมยงค์


ชมภาพจากการแสดง




อ่านบางส่วนจากบทวิจารณ์เมื่อเปิดแสดงครั้งแรก เมื่อยี่สิบกว่าปีมาแล้ว


คือผู้อภิวัฒน์ แบบฝึกหัดขั้นสูงที่สมบูรณ์ของศิลปะการละคร

“...ในด้านของเทคนิคและกลวิธีการละคร คือผู้อภิวัฒน์ เกือบจะเรียกได้ว่าเป็นแบบฝึกหัดขั้นสูงที่สมบูรณ์ของศิลปะการละคร จะว่าเป็นละคร ‘เอพิค’ ตามแบบฉบับของเบรคชท์อย่างตายตัวก็เห็นจะไม่ใช่ ผู้กำกับการแสดงคงจะได้สั่งสมความรู้ในด้านกลวิธีมาอย่างกว้างขวาง และก็สามารถติดต่อเลยไปจากเท็คนิคที่ใช้กันอยู่ทั่วไป แม้กระทั่งการเล่นพื้นบ้านของไทยบางอย่างก็นำมาใช้ได้อย่างเหมาะเจาะ เช่นในฉากที่แสดงให้เห็นถึงการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาครอบครองอำนาจทางการเมืองของคนบางกลุ่มในสังคมไทย ก็มีการนำเอาการละเล่น ‘รีรีข้าวสาร’ มาสื่อความซ้ำซากจำเจของปรากฏการณ์ทางการเมืองได้อย่างดียิ่ง
ในด้านของลักษณะที่เป็นละครแบบ ‘เล่าเรื่อง’ ก็พัฒนาไปได้ไกลกว่าละครของเบรคช์เสียอีก คือมิได้ใช้ตัวละครที่รับหน้าที่เฉพาะเป็นผู้เล่าเรื่อง เช่นในละครเรื่อง กาลิเลโอ หรือ วงกลมคอเคเชียน แต่ให้ตัวแสดงผลัดเปลี่ยนกันทำหน้าที่นี้ บางครั้งก็ให้ตัวละครที่กำลังรับบทบาทการแสดงละครอยู่เปลี่ยนจากการแสดงมาเป็นการเล่าเรื่องโดยฉับพลัน ซึ่งก็น่าประหลาดที่มิได้เป็นการทำให้เสียรสแต่ประการใด เพราะแทนที่เราจะเกิดความรู้สึกว่าการแสดงสะดุดหยุดลง เราก็เพียงแต่รู้สึกว่าเป็นการเปลี่ยนจังหวะเท่านั้น นับเป็นนวกรรมทางศิลปะการแสดงที่น่าจะได้มีการพัฒนากันต่อไป

ในด้านของการใช้คนดูให้เป็นส่วนหนึ่งของละคร ที่เรียกกันเป็นภาษาอังกฤษว่า audience participation ก็เป็นไปในแบบที่เราในฐานะผู้ชมตั้งตัวรับไม่ทัน ตัวละครเดินลงจากเวทีมาแจก ‘ประกาศคณะราษฎร’ ที่เป็นเอกสารอัดสำเนาให้แก่ผู้ชม (ขอตั้งข้อสังเกตว่า กระดาษที่ใช้อัดสำเนา คุณภาพเลวมาก คงจะเป็นไปตามทุนรอบอันจำกัดจำเขี่ยของผู้จัดแสดง ถ้าเป็นละครโรงอื่นคงใช้กระดาษอาร์ตชั้นดีเป็นแน่!) กลวิธีที่ว่านี้ไปได้ไกลกว่าละครของเบรคช์ คือแทนที่จะฝากสาส์นจากตัวบทละครให้ผู้ชมกลับไปคิดที่บ้าน (เช่นกรณีของปัจฉิมบทของ คนดีที่เสฉวน) ผู้ชมกลับได้สาส์นในรูปของเอกสารติดมือกลับไปอ่านที่บ้าน เป็นการให้โอกาสผู้ชมให้วินิจฉัยด้วยตัวเอง และก็มีผู้ชมจำนวนหนึ่งที่คิดค้านทัศนะของ ‘คณะราษฎร’ นั่นคือการวางตัวเป็นกลางในการสร้างละครประวัติศาสตร์ ด้วยการให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ‘เปิดปากพูดด้วยตัวเอง’ เป็นการปลุกวิจารณญาณของผู้ดูผู้ชมในกรอบของวัฒนธรรมแห่งการวิจารณ์

ในตอนจบเรื่องก็เช่นกัน ผู้แสดงนำกล่าวไว้กับผู้ชมว่า เขาไม่สามารถที่จะเผยแสดงความจริงบางประการในขณะนี้ได้ และขอฝากไว้ให้เป็นเรื่องของอนาคตเป็นการเปิดทางไปสู่โลกแห่งความเป็นจริงที่อยู่นอกกรอบของงานศิลปะ ละครจริงๆ อาจจะหยุดด้วยเงื่อนไขของเวลาเมื่อตัวผู้อภิวัฒน์ถึงแก่อสัญกรรม แต่ละครในจินตนาการและในความนึกคิดของผู้ดูยังดำเนินต่อไป ผู้ชมได้การบ้านอันหนักหน่วงติดตัวไปด้วย เป็นการเปิดประตูไปสู่ความหวังว่า โลกแห่งอนาคตจะเป็นโลกที่ดีกว่าปัจจุบัน เพราะจะเป็นโลกที่กล้าเผชิญกับความจริง
ถ้าเบรคช์ยังมีชีวิตอยู่ เขาคงจะภาคภูมิใจเป็นอันมากว่า เขามีเพื่อนในประเทศโพ้นทะเลที่นำสิ่งประดิษฐ์คิดค้นของเขาไปคิดต่อและไปประยุกต์ใช้ได้อย่างดี อาจจะดีกว่าที่เขาลงมือทำเอง หรือที่สานุศิษย์ของเขาในเยอรมันเองได้ทำมาแล้วเสียอีก

เขียนโดย เจตนา นาควัชระ
บางตอนจากบทความเรื่อง คือผู้อภิวัฒน์...ทางอันแจ่มใสของละครเวทีไทย
พิมพ์ครั้งแรก : ถนนหนังสือ ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๒ (สิงหาคม ๒๕๓๐)

สำหรับผู้สนใจชมรอบปกติ
แสดง ๒,๓ และ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๙.๓๐ น. (เสาร์ อาทิตย์ เพิ่มรอบ ๑๔.๓๐ น.)
บัตรราคา ๓๐๐ บาท (นักเรียน นักศึกษา ๒๕๐ บาท)
สำรองที่นั่ง โทรศัพท์ ๐๘๓ ๙๙๕๖๐๔๐ และ ๐๘๑ ๕๒๕๗๖๗๑

24 June 2010

"คือผู้อภิวัฒน์" วันนี้แสดงเป็นรอบแรก



จะเปิดการแสดงรอบแรกในวันนี้ เวลา 15.00 น. นับว่าเป็นการแสดงในวาระที่ 5 หรือ นักแสดงรุ่นที่ 5 ละคร "คือผู้อภิวัฒน์" เป็นละครที่นำกลับมาแสดงมากครั้งที่สุดของพระจันทร์เสี้ยวการละคร และเปิดทำการแสดงมามากกว่า 100 รอบ

รายชื่อนักแสดง
เกรียงไกร ฟูเกษม, กวินธร แสงสาคร, จิรัฏชพงศ์ เรืองจันทร์, สุรชัย เพชรแสงโรจน์, จีรณัทย์ เจียรกุล, คฑาวุธ ดวงอินทร์, ช่อลดา สุริยะโยธิน, ศรวณี ยอดนุ่น, สุกัญญา เพี้ยนศรี, อรุณโรจน์ ถมมา, ลัดดา คงเดช, วงศิริ ดีระพัฒน์

ทีมงาน
ผู้เขียนบท: คำรณ คุณะดิลก
ผู้กำกับการแสดง: สินีนาฏ เกษประไพ
ผู้กำกับเทคนิค/ออกแบบแสง: ทวิทธิ์ เกษประไพ
ผู้ช่วยผู้กำกับ: เกรียงไกร ฟูเกษม, กวินธร แสงสาคร
ผู้กำกับเวที: เบญจ์ บุษราคัมวงศ์
ฝึกเสียงและสอนร้องเพลง: ช่อลดา สุริยะโยธิน
กำกับดนตรี: คานธี อนันตกาญจน์
นักดนตรี: คานธี อนันตกาญจน์, พฤฒิรณ นันทโววาทย์
ผู้ประสานงาน/อุปกรณ์ประกอบ: ชาคริยา ถิ่นจะนะ
ออกแบบเสื้อผ้า: ประวิทย์ หิรัญพฤกษ์
ประชาสัมพันธ์: วรัญญู อิทรกำแหง
ควบคุมแบบแสง: สุมนา สุมนะกุล
ควบคุมเสียง: อุ้ย
ฝ่ายบัตร: ดลฤดี จำรัสฉาย, ณัชศลิษฏา วัลย์ณัฐประภา
ฝ่ายเทคนิค: ชัยวัฒน์ คำดี, พลัฏ สังขกร, ฉันทิกา โชติขจรไทย
ถ่ายวิดิโอ: เสี้ยวเขนโปรัดกชั่น
ถ่ายภาพ: จีรณัทย์ เจีบรกุล และ วิชย อาทมาท
ออกแบบโปสเตอร์และสิ่งพิมพ์: วิชย อาทมาท
ดูแลการผลิต: ฟารีดา จิราพันธุ์ และ พระจันทร์เสี้ยวการละคร


ขอบคุณ
สถาบันปรีดี พนมยงค์, กลุ่มเบบี้ไมม์, คุณอภิศักดิ์ สนจด, คุณพิณทิพย์ สัตย์เพริศพราย, คุณนิมิตร พิธกุล, คุณธีรวัฒน์ รุจินธรรม, สื่อมวลชนทุกท่าน, พี่ๆน้องๆพระจันทร์เสี้ยวการละครทุกรุ่น และน้องๆฝึกงานทุกคน ออม, ข้างฟ่าง, ลิน, ขวัญ, โบว์, เบริ์ด, อิง

ขอขอคุณผู้ให้การสนับสนุน
มูลนิธิปรีดี พนมยงค์
ปตท.
บริษัท GOT

และผู้ให้การสนับสนุนเพิ่มเติม
บริษัทบุญรอดเทรดดิ้ง
คุณพิมพ์นิภา คำมีศิลป์


22 June 2010

วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๓


ขอเชิญท่านร่วมงาน ครบรอบ ๗๘ ปี การอภิวัฒน์ไทย ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ งานครบรอบ ๑๕ ปี สถาบันปรีดี พนมยงค์ พิธีเปิดห้องแห่งแรงบันดาลใจ ปรีดี พนมยงค์ การแสดงปาฐกถาปรีดี พนมยงค์ ประจำปี ๒๕๕๓ และ การแสดงละครเวทีเรื่อง “คือผู้อภิวัฒน์”



ภาพจากห้องแห่งแรงบันดาลใจ ปรีดี พนมยงค์



ห้องนี้เดิมเป็นสำนักงานและห้องสมุด อยู่เหนือขึ้นไปอีกชั้นจากละครโรงเล็ก Crescent Moon space และจะเป็นห้องนิทรรศการถาวร เปิดให้ผู้สนใจเข้าชม


ดูเพิ่มเติมที่
http://www.pridiinstitute.com/



19 June 2010

กระเป๋าแดง

มีอะไรในกระเป๋าสีแดงใบนั้น


เราชาวพระจันทร์เสี้ยวการละครได้เข้ามาอยู่และเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันปรีดี พนมยงค์ ตั้งแต่ปี 2541 เราก็เริ่มรู้จักครูองุ่น มาลิก ผู้มีความศรัทธาต่อ อ.ปรีดี พนมยงค์ และได้บริจาคที่ดินให้สร้างสถาบันปรีดีแห่งนี้

และเราได้ช่วยจัดงานและจัดกิจกรรมรำลึกครูองุ่นเป็นประจำทุกปี เราได้รู้จักประวัติของครูองุ่น รู้เรื่องราวของครูผ่านคำบอกเล่าของพี่ๆลูกศิษย์ครู และเราได้พบกับกระเป๋าสีแดงใบนั้นเป็นครั้งแรก

มีอะไรในกระเป๋าสีแดง

เมื่อเราเปิดออกดู เราจะพบกับดวงตาแป๋วแหว๋วนับสิบๆคู่ที่มองตอบเรา นั่นคือ "หุ่นผ้าขี้ริ้ว" เกือบสามสิบตัวที่ครูองุ่นเป็นผู้ทำไว้ และยังคงอยู่ในสภาพดี สีสันสวยงาม และ น่ารักดูมีชีวิต

แล้วพวกเราหลายคนก็ตกหลุ่มรักหุ่นผ้าขี้ริ้วเหล่านั้นทันที นี่เป็นที่มาที่ชาวพระจันทร์เสี้ยวเริ่มเรียนรู้ทำหุ่นเย็บหุ่นและเล่าเรื่องละครหุ่น โดยตั้งชื่อโครงการและตั้งชื่อคณะว่า "คณะละครยายหุ่น" เพื่อเป็นที่ระลึกถึงครูองุ่น มาลิก หญิงชราที่มีความรักต่อคนรอบข้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเด็กๆ คุณยายจึงทำหุ่นให้เด็กๆได้เล่นได้ดู จนใครๆเรียกครูว่า "ยายหุ่น"

มาร่วมรำลึกการจากไปเป็นปีที่ 20 ของครูองุ่น มาลิก กันในวันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน 2553 ที่สถาบันปรีดี พนมยงค์


17 June 2010

เชิญร่วมงานรำลึก ครูองุ่น มาลิก ประจำปี 2553



งานรำลึกครูองุ่น มาลิก ประจำปี 2553
งานมหกรรมการแสดงแสนหรรษา ครั้งที่ 12


ร่วมรับฟังการเสวนาและชมการแสดงสำหรับด็กๆเยาวชนและครอบครัว
วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน 2553
ที่ ห้องประชุมพูนศุข พนมยงค์ สถาบันปรีดี พนมยงค์ (ซ.ทองหล่อ)

13.00 น.
เสวนาเรื่อง “กิจกรรมของมูลนิธิไชยวนา ภาคเหนือ” โดย คุณกัลยา ใหญ่ประสาน
13.40 น.

ชมการแสดงแสนหรรษา

  • รำขันดอก และ ฟ้อนแง้น โดย เยาวชนจากโรงเรียนสืบสานวัฒนธรรมล้านนา วัดวชิรธรรมสาธิต
  • การแสดง “Balloon Dance” โดย นานา เดกิ้น กลุ่มบีฟลอร์
  • การแสดงเล่านิทาน “พระจันทร์อร่อยไหม” โดย ยายหุ่น และ พระจันทร์เสี้ยวการละคร
  • การแสดงละครใบ้ ชุด “Mini size” โดย กลุ่มเบบี้ไมม์
  • เล่านิทานเรื่อง “เจ้าหญิงคาราเต้” โดย พี่เบริ์ด นีลชา และเพื่อนๆ
  • การแสดงละครใบ้ ชุด “แพนด้า” โดย กลุ่มเบบี้ไมม์


    ชมฟรี
    สอบถามเพิ่มเติมที่ 02 – 381 3860
    จัดโดยมูลนิธิไชยวนา

14 June 2010

ละครเวที "คือผู้อภิวัฒน์"

“ในเวลาเช่นนี้สิ่งที่ควรจะถามหาคือสัจจะและความดีงาม”

พระจันทร์เสี้ยวการละครเสนอการกลับมาอีกครั้งของ


‘คือผู้อภิวัฒน์’
ละครเวทีชีวประวัติรัฐบุรุษอาวุโส ‘ปรีดี พนมยงค์’

‘คือผู้อภิวัฒน์’ คือละครเวทีร่วมสมัยของไทยที่ถือได้ว่านำกลับมาจัดแสดงใหม่มากครั้งที่สุดเรื่องหนึ่ง และได้รับการยอมรับว่าเป็นสุดยอดของละครไทยในแนวทาง Brechtian ทั้งยังเป็นละครเวทีเพื่อการศึกษาประวัติศาสตร์ทางการเมืองของไทยที่เข้มข้นทั้งความคิดและรูปแบบการนำเสนอ


เรื่องราวชีวประวัติของ ‘ปรีดี พนมยงค์’ รัฐบุรุษอาวุโสคนแรกของประเทศไทย ละครเวทีเรื่องนี้เริ่มแรกเขียนบทและกำกับการแสดงโดย ‘คำรณ คุณะดิลก’ ผู้ก่อตั้งพระจันทร์เสี้ยวการละคร ตั้งแต่เปิดแสดงปฐมทัศน์ไปเมื่อปีพ.ศ. 2530 ก็ได้รับคำชื่นชมอย่างสูงในหลายแง่มุม อาทิ การนำเสนอในสไตล์ Brechtian ซึ่งมีต้นตำรับมาจาก Bertolt Brecht นักการละครระดับมาสเตอร์ชาวเยอรมัน, บทละครต้นตำรับที่เขียนขึ้นเอง (Original Stage Play) โดยคนไทย ทั้งยังเป็นละครเวทีเพื่อการศึกษาประวัติศาสตร์ทางการเมืองชิ้นสำคัญของไทยอีกด้วย


‘คือผู้อภิวัฒน์’ ถูกนำมาปัดฝุ่นจัดแสดงอีกสามครั้งคือในปี พ.ศ. 2538 ปี พ.ศ. 2542 และ 2543 ซึ่งครั้งหลังสุดได้นำกลับมาแสดงในวาระครบรอบ 100 ปีชาตกาลของนายปรีดี พนมยงค์ นอกจากนี้ยังเคยสัญจรไปแสดงยังต่างประเทศหลายแห่ง อาทิ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ สวีเดน สหรัฐอเมริกา และอีกหลายจังหวัดในประเทศ จนถือได้ว่าเป็นละครเวทีร่วมสมัยที่เป็น Original Stage Play ที่เคยนำมาจัดแสดงมากรอบที่สุดเรื่องหนึ่งของเมืองไทยในช่วงกว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา


จัดแสดง ณ หอประชุมสถาบันปรีดี พนมยงค์

รอบแรกซึ่งเป็นรอบพิเศษในวันที่ 24 มิถุนายน 2553 (เวลา 15.00 น.)



และเปิดการแสดงรอบปกติ ในวันที่ 2, 3 และ 4 กรกฏาคม 2553
(เวลา 19.30 เสาร์-อาทิตย์ เพิ่มรอบ 14.30 น.)



และจะเดินทางไปสัญจรแสดงที่จังหวัดเชียงใหม่อีก 2 รอบ ในเดือนสิงหาคม 2553 นี้

บัตรราคา 300 บาท (นักเรียน,นักศึกษา 250 บาท)
สำรองที่นั่งที่ 083 995 6040 และ 081 525 7671

12 June 2010

ถ่ายรูปนักแสดง

ถ่ายรูปลงสูจิบัตร "คือผู้อภิวัฒน์"






(ฉากเปิดเรื่อง)

และบรรยากาศการถ่ายภาพในวาระนี้














05 June 2010

พระจันทร์เสี้ยวเดือนมิถุนา 2010

บอกเล่ากันหน่อย

ที่โรงละครพระจันทร์เสี้ยว Crescentmoon space จะมีละครเรื่องใหม่เรื่อง "สุดทางที่บางแคร์" กำกับโดย ปานรัตน กริชชาญชัย จะเริ่มแสดงในวันที่ 16 นี้ถึง 27 ทั้งหมด 10 รอบ เรื่องนี้เป็นบทดัดแปลงมาจากบทละครฝรั่ง แต่ดัดแปลงให้เป็นไทย เรื่อราวเกี่ยวับคุณป้าสามคน ซึ่งหนึ่งในสามป้าแสดงโดย ฟารีดา จิราพันธ์ จากพระจันทร์เสี้ยวนั่นเอง ดูเพิ่มเติมได้ที http://www.crescentmoonspace.blgspot.com/

พระจันทร์เสี้ยวตอนนี้ก็ซ้อมละคร "คือผู้อภิวัฒน์" อย่างเข้มข้น เราจะแสดงรอบแรกรอบพิเศษในวันที่ 24 มิถุนายนนี้ และอีก 5 รอบในวันที่ 2-4 กรกฎา และจะขึ้นไปแสดงที่มช.ในเดือนสิงหาคม


ส่วนวันพรุงนี้ครูคำรณชวนนักละครมาคิดมาคุยกันสบายๆเรื่องอบรมละครที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ในช่วงบ่ายๆ

04 June 2010

๗๘ ปี การอภิวัฒน์ไทย ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕

คณะกรรมการจัดงานครบรอบชาตกาล ๑๑๐ ปีรัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์
ร่วมกับ สถาบันปรีดี พนมยงค์ มีความยินดีขอเชิญท่านร่วมงาน





ครบรอบ ๗๘ ปี การอภิวัฒน์ไทย ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
ครบรอบ ๑๕ ปี สถาบันปรีดี พนมยงค์
พิธีเปิดห้องแห่งแรงบันดาลใจ ปรีดี พนมยงค์
การแสดงปาฐกถาปรีดี พนมยงค์ ประจำปี ๒๕๕๓
การแสดงละครเวทีเรื่อง “คือผู้อภิวัฒน์”

วันพฤหัสบดี ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์

เวลา
๑๓.๐๐ น.
ลงทะเบียน

๑๓.๒๐ น.
พิธีเปิด ห้องแห่งแรงบันดาลใจ ปรีดี พนมยงค์ (นิทรรศการถาวร)
โดย คณะกรรมการอำนวยการจัดงานครบรอบชาตกาล ๑๑๐ ปีรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์

๑๔.๐๐ น.
การแสดงปาฐกถาปรีดี พนมยงค์ ประจำปี ๒๕๕๓
เรื่อง “พุทธศาสนา กับ ปรีดี พนมยงค์” โดย พระฌานิพิทย์ อินฺทจารี


๑๕.๐๐ น.
การแสดงละครเวทีเรื่อง “คือผู้อภิวัฒน์” (รอบพิเศษ) โดย พระจันทร์เสี้ยวการละคร

นิทรรศการ 100 ปี อ.เฟื้อ

ขอชวนชาวพระจันทร์เสี้ยวและผู้สนใจไปดูไปชมงานนี้ น่าสนใจมากๆเกี่ยวกับผลงานและประวัติ อ.เฟื้อ หริพิทักษ์ ครูและศิลปินจิตรกรรมและงานด้านอนุรักษ์ โดยเฉพาะชาวศิลปากรไม่ควรพลาด


นิทรรศการ ๑๐๐ ปี ชาตกาล เฟื้อ หริพิทักษ์
วันที่ 5-30 มิถุนายน 2553
ณ ห้องแสดงนิทรรศการชั้น 4 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร





กำหนดการ
วันเสาร์ที่ 5 มิ.ย. 53
15.00-17.00 น.
ท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ และเทพศิริ สุขโสภา เล่าเรื่อง ชีวิตและงานของเฟื้อ หริพิทักษ์

17.00-17.30 น.
นิวัติ กองเพียร กล่าวรายงาน
สุรสีห์ โกศลนาวิน ประธานมูลนิธิ เสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป กล่าวเปิดงาน
17.30 น.เป็นต้นไป
เชิญแขกผู้มีเกียรติและสื่อมวลชน ชมนิทรรศการ สังสรรเสวนา


วันเสาร์ที่ 12 มิ.ย. 53
14.00-17.00 น.
กวี ดนตรี Thaipoet Society / สีแพร เมฆาลัยแหล่ชีวิตอ.เฟื้อ/ท่านจันทร์/
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ / ศักดิ์สิริ มีสมสืบ /สกุล บุญยทัต ฯลฯ

เสาร์ที่ 19 มิ.ย. 53
บรรยาย เรื่อง งานอนุรักษ์จิตรกรรมไทยของ เฟื้อ หริพิทักษ์
สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ อาจารย์ภาควิชาศิลปะไทย คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร


วันเสาร์ที่ 26 มิ.ย.53
เพลงขอทาน/ ปาฐกภาพิเศษ
14.00-15.00 น. ครูประทีป หนองปลาหมอ ขยับกรับขับเสภา
15.00-17.00 น. สุลักษณ์ ศิวรักษ์ แสดงปาฐกถาพิเศษ "เฟื้อ หริพิทักษ์ ในมิติทางการเมือง”


กิจกรรมพิเศษทุกวันเสาร์
๑๐.๐๐ น. – ๑๗.๐๐ น.
นักศึกษาจากเพาะช่าง แสดงผลงานศิลปและการอนุรักษ์ศิลปกรรมไทย
งานวาดเส้น รูปเหมือน และ งานอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง ฯลฯ


Do Drama Theatre Workshop

อบรมละครที่ มช. Do Drama


เก็บตกภาพบรรยากาศอบรมละครกับน้องคณะมนุษฯ มช. เมื่อเดือนพฤษภาที่ผ่านมา งานอบรมครั้งนี้จัดร่วมกันระหว่างคณะมนุษยศาสตร์ มช. และ พระจันร์เสี้ยวการละคร เราใช้กระบวนการละคร ประวัติศาสตร์กับสังคม และวรรณกรรม มาเรียนรู้เรื่องเล่าของบ้านเรา งานนี้ครูคำรณลงสอนเป็นครูใหญ่ของแลปร่วมกับ อาจารย์วิชาศึกษาทั่วไป มช.




เราจัดอบรมที่คณธ และ ครั้งล่าสุดที่คณะเกษตร แม่เหียะ





แล้วก็ถึงเวลาโบกมือลาบ๊ายบาย เราจะกลับไปดูผลงานและสรุปโครงการในเดือนสิงหาคม หวังว่าจะมีโชว์เคสที่พัฒนาไปจากแลปมาให้ดูกัน