23 April 2013

โปรเจค 1/4 เส้นทางระหว่างเขาและเธอ




พระจันทร์เสี้ยวการละคร เสนอ ละครแพ็คสี่เรื่อง


...เส้นทางระหว่างเขาและเธอ...ที่ริมขอบความฝันกับความจริง...



โปรเจค 1/4
4 ผู้กำกับ 1 นักเขียนบท กับละครสั้น 4 เรื่อง

ที่พักใจ
สายน้ำกับสายลม
นี่ไม่ใช่บทเพลงรัก
เสียงสะท้อนจากความเงียบ

บทละครโดย อรดา ลีลานุช
กำกับโดย  รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ, สุกัญญา เพี้ยนศรี, เบญจ์ บุษราคัมวงศ์, ศิริธร ศิริวรรณ


แสดงวันที่ 23-26, 30-31 พ.ค. และ 1-2 มิ.ย. 2556
รอบเวลา 19.30 น.
ที่ โรงละครพระจันทร์เสี้ยว สถาบันปรีดี พนมยงค์ (ซ.ทองหล่อ)
บัตรราคา 350 บาท

Early Bird 300 บาท ***(โอนเงินก่อน 15 พฤษภาคม)***

จองบัตรโทร 081 929 4246 และ 084 174 2729

https://www.facebook.com/CrescentMoonTheatre

19 April 2013

ปิดรับสมัครบทใหม่กับ "10 Minute PlaY" #2






เมื่อวันที่ 15 เม.ย. เป็นวันนี้วันสุดท้ายแล้วกับการรอรับบทใหม่โครงการละครสั้นสิบนาที "1o Minute PlaY" ครั้งที่ 2
  เมื่อ 10 Minut PlaY ครั้งแรกที่เราจัดกันไปเมื่อปีที่แล้ว มีผู้สนใจส่งบทละครสั้นเข้ามาร่วมทั้งสิ้น 26 เรื่อง จากผู้เขียนบท 25 คน และเราได้คัดเลือกบทละครเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 8 เรื่อง   สำหรับครั้งนี้มีผู้สนใจส่งบทเข้ามาร่วมโครงการกับเราถึง 30 คน มีบทละครสั้นส่งมาทั้งหมด 42 เรื่อง  


จากนี้ต้องมารอมารอดูกันว่าจะมีบทเดินทางเข้ามากี่เรื่อง และกี่เรื่องที่จะได้เข้าในโครงการและเข้าสู่กระบวนการการนำเสนอกันต่อไป   เราจะประกาศผลตอนสิ้นเดือนเมษายนนนี้ค่ะ โปรดติดตาม  

14 April 2013

ประกาศรายชื่อผู้เข้าอบรมการแสดง



รายชื่อผู้เข้าอบรมการแสดง Back to Basic #6


1. คุณจารุยศ สุวรรณบัตร
2. คุณปาลิตา สกุลชัยวานิช
3. คุณธัญวรัตน์ บุญฤทธิ์
4. คุณสุธี ใจเพ็ง
5. คุณเบียร์ ยิ่งสุวรรณชัย
6. คุณศิริธร ศิริวรรณ
7. คุณพิชวัฒน์ชัชวาลย์
8. คุณปฏิภาณ อินตระกูล
9. คุณธีระพงศ์ ปานเด
10. คุณเควินทร์ ลัดดาพงศ์
11. คุณสุรกิติ์ บูรณสิน
12. คุณสุกัญญา เพี้ยนศรี
13. คุณพลัฏฐ์ สังขกร
14. คุณเบญจ์ บุษราคัมวงศ์

สูจิบัตร "ภาพลวงตาจากเนินมะเฟือง"



"ภาพลวงตาจากเนินมะเฟือง"

จากบทประพันธ์         ศรีดาวเรือง
บทและกำกับโดย     สินีนาฏ เกษประไพ



ภาพลวงตาของการเปลี่ยนสรรพนาม

นักแสดง
ณัฎฐนันท์ ประเสริฐรัศมี
เบญจ์ บุษราคัมวงศ์
ดลฤดี จำรัสฉาย
จิรัชพงศ์ เรืองจันทร์



เนินมะเฟือง

นักแสดง
ธีรกานต์ ไม้จันทร์
สุขุมพันธ์ ฐิติธนพันธ์
เบียร์ ยิ่งสุวรรณชัย,
จิรัชพงศ์ เรืองจันทร์
สินีนาฏ เกษประไพ


ทีมงาน
กำกับเวที ปาลิตา สกุลชัยวานิช, สุธี ใจเพ็ง
ออกแบบควบคุมแสง ทวิทธิ์ เกษประไพ
ควบคุมเสียงและวิดิโอ พลัฏ สังขกร
เสื้อผ้า ชาคริยา ถิ่นจะนะ, สินีนาฏ เกษประไพ
อุปกรณ์ประกอบฉาก ทวิทธิ์ เกษประไพ, สินีนาฏ เกษประไพ, ลัดดา คงเดช
ทีมฉากและเทคนิค ทวิท์ เกษประไพ, พลัฏ สังขกร, พิชวัฒน์ ชัชวาลย์,
ชัยวัฒน์ คำดี, ศุภชัย จิวะพันธุ์ชัย
บัตรและต้อนรับ ศิริธร ศิริวรรณ, สุกัญญา เพี้ยนศรี, ณัฐศลิษฏา วัลย์ณัฐประภา
ภาพถ่ายและออกแบบโปสเตอร์ วิชย อาทมาท
ดูแลการผลิต ลัดดา คงเดช


ขอขอบคุณ
สถาบันปรีดี พนมยงค์
เครือข่ายละครกรุงเทพ
ศรีดาวเรือง
คุณสุชาติ สวัสดิศรี
ครูคำรณ คุณะดิลก
ครูศรวณีย์ สุขุมวาท
คุณสินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย
สื่อมวลชนและท่านผู้ชมทุกท่าน
ขอบคุณน้องแอมเวย์ และ คิมหันต์ ที่เข้ามาช่วยซ้อมแทน


09 April 2013

"ภาพลวงตากจากเนินมะเฟือง" อีกหนึ่งเสียงสะท้อน


ภาพลวงตาจากเนินมะเฟือง ของดีถูกรื้อจากตู้มาปัดฝุ่น
by Nung Phongpan (Notes) on Wednesday, 3 April 2013 at 14:23...






หนังสือรวมเรื่องสั้นของศรีดาวเรือง และนักเขียนรุ่น สุชาติ สวัสดิ์ศรี ถูกเก็บใส่กล่องตั้งแต่ผมเรียนจบเริ่มทำงาน

เวลาที่มีให้วรรณกรรมเหล่านี้มีน้อยลงน้อยลงทุกที ปีนึงจะมีเวลาอ่านวรรณกรรม สองเล่ม หรือ หนึ่งเล่มหนาๆ ช่วงที่ได้หยุดงานยาวเท่านั้น มักเป็นหนังสือใหม่ๆที่มีคนพูดถึง หรือนิยายแปลเล่มเขื่องที่อยากอ่าน

วรรณกรรมเพื่อชีวิตเหมือนคนแปลกหน้าสำหรับผมเข้าไปทุกทีๆ

จนเมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมาเหมือนมีคนมาช่วยสำรวจหนังสือและของเก่าเก็บหยิบมาปัดฝุ่น ให้ผมเห็นความสำคัญของวรรณกรรมแนวนี้อีกครั้ง ละครเวที ภาพลวงตาจากเนินมะเฟือง ของกลุ่มละครพระจันทร์เสี้ยวนำเรื่องสั้น 2 เรื่องของศรีดาวเรือง มาสร้างเป็นละครเวที 2 เรื่องโดยมีทางรถไฟเป็นเส้นทางเชื่อมละครทั้งสอง




เรื่องแรก ภาพลวงตาฯ เปิดเรื่องด้วยเพลง รักและคิดถึงของ พัชรา แรงวรรณบอกกลายๆว่า คนทำได้ไปรื้อค้นเทปเก่าๆมาเปิดให้ฟัง และพาเราสำรวจความทรงจำเก่าๆอีกครั้ง

ละครเล่าเรื่องความสัมพันธ์ของหนุ่มสาวคู่หนึ่งที่เจอกันบนรถไฟตั้งแต่เป็นคนแปลกหน้าจนเป็นคนสนิท ผ่านมุมมองหลากหลายของ ผู้โดยสารคนอื่นๆบนรถไฟขบวนเดียวกันและตัวละครหนุ่มสาวทั้งสอง

ภาพที่ผู้โดยสารคนอื่นๆเห็น ความสัมพันธ์หนุ่มสาวจากคนเริ่มรู้จักจนสนิทแนบแน่นเป็นคนรัก ทำให้คนทั่วไปที่พบเห็นคนสองคนนี้ รู้สึกเหมือนอยู่ในนิยายรักละครรักหวานแหวว

แต่เมื่อละครเดินเรื่องมาถึงส่วนที่เป็นมุมมองของฝ่ายชายฝ่ายหญิงหญิงภาพที่คนอื่นเห็นเป็นภาพลวงตา เป็นภาพฉาบหน้าที่เราคิดว่าใช่แท้ที่จริงสิ่งที่เก็นเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็ง มุมมองของสองคนนี่ทำให้เราเห็นอีกด้านของความรักของคนทั้งสองที่มีทั้งความแปลกประหลาด ซับซ้อน นี่ไม่ใช่คู่รักตามแบบ ประเพณีนิยมแต่เป็นคู่รักที่นอกเหนือจารีตของสังคม เพราะฝ่ายหญิงมีสามีอยู่แล้ว ฝ่ายหญิงแนะนำสามีให้รู้จักฝ่ายชายรู้ขอบเขตของตัวเอง เขาเป็นเจ้าของเธอเฉพาะอยู่บนรถไฟ ความซับซ้อนทางความสัมพันธ์ราวๆกับตัวละครในนิยายของMarguerite Duras

บนเวทีนำเสนอบรรยากาศการโดยสารรถไฟชานเมืองเข้ามาทำงานในเมืองได้อย่างฉลาดทำใช้เก้าอี้ไม่กี่ตัวจัดวาง มีภาพวิดีโอฉายภาพข้างทางที่รถไฟวิ่งผ่านนักแสดงแสดงอย่างเรียบๆ เบาๆ เหมือนภาพวาด impressionism วาดภาพบนเวที

บทละครใช้แทบทุกคำพูดจากบทประพันธ์จัดวางเวลาเดินเรื่องใหม่ให้ทุกมุมมองอยู่เส้นเดียวกันซึ่งทำได้กระชับ หลากอารมณ์ และมีจุดพลิก จุดตึง จุดผ่อน เกิดขึ้นในพริบตาและน่าสนใจ

นักแสดงทั้งสี่รับส่ง ปูอารมณ์จากความโรแมนติก พาเราไปถึงระดับการมองทะลุผ่านภาพลวงตาของความรักไปสู่สิ่งที่เรียกว่าความรักที่แท้จริง


นักแสดงสี่คน สร้างภาพของตัวละครรักกันแต่ไม่ได้อยู่ด้วยกัน

ในฉากใกล้ชุมชนรถไฟไทย อบอวนไปด้วยกลิ่นความอ้อยอิ่ง เหงา โหยหา

ซึ่งอีกไม่นานภาพชุมชนตรงนี้คงจะหายไปพร้อมกับโครงการรถไฟฟ้าสีต่างๆ




อารมณ์โหยหาอดีต เด่นชัดมากขึ้นในละครเรื่องที่สอง เนินมะเฟือง เล่าถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานึงของชุมชนเล็กในชนบท ที่รถไฟในเมืองวิ่งผ่านมาผ่านไป

ละครจับที่ชีวิตของเด็กๆในชุมชมที่เป็นตัวละครเด็กโต 4 คน ที่อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อราวกับสะท้อนภาพจริงของเยาวชนในชนบททั่วไทยในยุคสมัยที่ยาเสพติดยังไม่แพร่ระบาดโครงการหว่านเม็ดเงินลงชุมชนยังไม่เกิด เราจึงเห็นภาพความไร้เดียวสาของคนในชุมชนและตัวละครทั้งสี่ โลดแล่น เรียกรอยยิ้มจากคนดูในช่วงแรกๆ เป็นวันเก่าๆที่สังคมชนบทยังไม่มีมลพิษมากเท่าพศ.นี้ถึงกระนั้นจุดคลื่คลายของบางตัวละคร เหมือนคนเขียนทำนายอนาคต เยาวชนไทยของประเทศว่าเป็นแบบไหนและทำนายได้ถูกเสียด้วย

นักแสดงในบทวัยรุ่นทั้ง สี่ แสดงราวกับไม่ได้แสดง ผู้ชมสามารถสัมผัสเลือดเนื้อของเด็กทั้ง สี่ได้อย่างไม่มีที่ติ เพลงลูกทุ่งที่นำมาร้องสดๆ สร้างบรรยากาศและบอกความรู้สึกตัวละครได้ลงตัว คล้ายๆจะบอกว่า พระจันทร์เสี้ยวทำ musicalได้อยู่


การนำเสนอในรูปแบบ story theatre นำมาใช้ทั้งสองเรื่องในเรื่องแรกการใช้ story theatre ดูจะไปได้ลงตัวกับเรื่องราวของคนชานเมืองกรุงเทพนักแสดงผลัดกันเล่า ผลัดกันแสดง ถ่ายทอดมุมมองของตัวละครแต่ละตัวถ่ายทอดความรู้สึก ความคิด ทัศนคติเกี่ยวกับความรักที่ซับซ้อน เป็นstorytheatre ที่เนียน สวยงาม ไปเรื่อยๆลื่นไหลไปกับเสียงล้อเหล็กที่วิ่งไปตามรางรถไฟ


เมื่อกลับมาดูเรื่องที่ 2 หลังพักครึ่ง ละครนำเสนอด้วยวิธีเดียวกันผมรู้สึกว่าไม่เซอร์ไพรส์เท่าไหร่ แต่กระนั้นตัวเนื้อเรื่อง การแสดง การสร้างองค์ประกอบบทเวทีเพื่อสร้างบรรยากาศชนบทละครเนินมะเฟืองมีมากฉาก มากตัวละคร ผู้กำกับกำหนดสิ่งเหล่านี้ให้ได้จังหวะที่แม่น ทดแทนข้อด้อยของการใช้สไตล์ซ้ำจากเรื่องแรกหนีเงาความประทับใจจากเรื่องแรก มีเสน่ห์เป็นตัวของตัวเองได้พอเหมาะ


ผมรู้สึกไปเองว่า ทั้งสองเรื่องตัวละครหลักทุกตัวเมื่อคลี่คลายแล้ว คนดูได้อารมณ์เดียวกับตัวละครของ Wong Kar-wai ตัวละครทุกตัวต่างเปลี่ยวเหงา เศร้าสร้อย เส้นทางข้างหน้าไม่ชัดเจนรออยู่ น่าเป็นลักษณะเฉพาะของหนุ่มสาวยุคนี้ด้วย


ศรีดาวเรืองสร้างตัวละครเหล่านี้ไว้ก่อนหน้า ตัวละครในหนังของผู้กำกับที่ว่าหลายปีแล้วนับว่านักเขียนท่านนี้มองเห็นอนาคตอย่างน่าทึ่งทีเดียว

ขอบคุณ พระจันทร์เสี้ยว ที่หยิบหนังสือที่เก่าเก็บในตู้ มาปัดฝุ่น ทำความสะอาดให้เราได้เห็นประกายวรรณกรรมของนักเขียนท่านนี้ที่หลายคน และผมอาจจะเลือนไป


ปล. เป็นความบังเอิญที่ละครเรื่องนี้ ที่มีรถไฟเป็นฉากหลังผมนึกถึงหนังของ บุญส่ง นาคภู่เรื่องสถานนี4ภาค ที่นำเรื่องสั้นสี่เรื่องมาร้อยเรียงโดยมีรถไฟเป็นฉากหลังเหมือนกันสะท้อนภาพคนไทย 4 ส่วนในชนบทด้วยวิธีเล่าแบบธรรมชาติ นิ่งๆ แต่ได้เยอะ งามไม่แพ้ละครเรื่องนี้


....................


หมายเหตุ :
ขอขอบคุณผู้เขียน Nung Phongpan
และ ภาพถ่ายโดย วิชย อาทมาท








"ภาพลวงตาจากเนินมะเฟือง" ในบางกอกโพสต์


Getting in on the act

Published: 4/04/2013 at 12:00 AM
Bangkok Post Newspaper section: Life
by Amitha



March was a busy month for theatre-goers as artists apparently rushed to stage their shows before holiday-packed April arrived. Here are a selection of theatre and dance productions that were staged last month, some of which are ongoing.

............





Phap Luang Ta Jak Neun Mafeung

- Crescent Moon Theatre brought respected writer Sri Daoruang's short stories to life in a double bill featuring portraits of women and the lives on the outer edges of progress the author is so known for. The first short play, adapted from short story Phap Luang Ta Kiaokab Karn Plian Sappanam (The Illusion of the Changing of Pronouns), takes place on a train, where a married woman and a man she loves interact every morning on the way to work and every evening on their way home.




The short story is written from alternating perspectives, and writer-director Sineenadh Keitprapai was courageous enough to have not imagined new dialogue but instead kept the first-person narrative style throughout the whole play. This is a difficult short story to adapt, and the struggle was evident in the play, with the occasional overacting and over-directing. Although the play had a nice bounce to it, both Sineenadh and the performers didn't quite manage to capture and retain the quiet quality of the story and the underlying tension that laces Sri Daoruang's prose. With the lack of the interplay between the words and the images, the play lost the mystery that is so potent in the short story, and the entire time I felt like I was watching a slide show with captions.

On the other hand, the second play, Neun Mafeung, adapted from the novella of the same title, succeeded in capturing the atmosphere and the innocence of the titular rural village rendered by Sri Daoruang. Also directed and adapted by Sineenadh, Neun Mafeung tells the story of teenagers whose lives intersect at the train track that has brought in a handsome young teacher and eventually leads two girls, forced to grow up too quickly, out of the village in hopes of better lives.



Each performer played different characters and sometimes served as the narrator who looked on as the story unfolded, and the way Sineenadh executed this imbued the play with a poignant innocence and a mystical air. The cast, comprised mostly of newcomers, formed a strong ensemble and gave the story a lot of energy and a big heart. Sineenadh, especially, was lovely as she switched from character to character with ease and a kind of brightness I had never seen from her before.


...........................
หมายเหตุ :
คัดบางส่วนมาจาก
http://www.bangkokpost.com/print/343825/

"ภาพลวงตาจากเนินมะเฟือง" เสียงสะท้อนจากผู้ชมนักวิจารณ์




ภาพลวงตาจากเนินมะเฟือง (สินีนาฏ เกษประไพ, 2013, A+)
by Chayanin Tiangpitayagorn

29 March 2013



ชอบมากที่เลือกหยิบสองเรื่องนี้มาประกบคู่กัน เป็นการเลือกและการดัดแปลงที่ฉลาดและแข็งแรงดี ไม่แน่ใจว่าผู้สร้างเลือกมาเพราะมันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับรถไฟเท่านั้นหรือเปล่า แต่เราว่ามันสะท้อนและส่งเสริมซึ่งกันและกันได้ละเอียดละเมียดดี โดยเฉพาะเมื่อจบครึ่งแรก (ที่ดัดแปลงจากเรื่อง "ภาพลวงตาของการเปลี่ยนสรรพนาม" ซึ่งใช้กลวิธีทางวรรณศิลป์สูงมากๆ จนรู้สึกว...่าไม่น่าทำเป็น visual ได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นละครเวทีหรือหนัง) ที่ท้าทายคนดูอยู่ในระดับหนึ่ง ทำให้ในพาร์ตหลัง (ดัดแปลงจากเรื่อง "เนินมะเฟือง" ที่เป็นเรื่อง genre เพื่อชีวิต เรื่องราวดำเนินอยู่ใน remote village แบบที่อ่านวรรณกรรมไทยไปสักสองสามเล่มก็จะต้องเจอเข้าสักทีนึง) ดูมีอะไรแปลกตาน่าสนใจ น่าค้นหาขึ้นมา



ในฐานะของคนที่ไม่เคยอ่านศรีดาวเรืองเลย (นอกจากบทความในวารสาร "อ่าน" เป็นครั้งๆ คราวๆ) ถ้าจุดประสงค์ของผู้สร้างคือการ tribute ให้ตัวต้นฉบับ ตัวผู้เขียน และการทำให้ตัวบทนั้น shine ขึ้นมา ก็ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก (คือจุดประกายแวบขึ้นมาได้ว่า เฮ้ย อยากไปตามอ่านว่ะ) เพราะในการดัดแปลงครั้งนี้ฟอร์มของละครไม่หวือหวาหรือแสดงออกในการดัดแปลงอย่างออกหน้าออกตาเท่าไร แต่ขับเน้นให้เห็นความพิเศษในตัวหนังสือของศรีดาวเรืองได้ดีมากๆ (โดยเฉพาะกลวิธีทางวรรณศิลป์ในพาร์ตแรก ที่น่าสนใจมากว่าการดัดแปลงยังเก็บความรู้สึกตรงนี้ไว้ได้น่าทึ่งมากๆ) แม้กระทั่งใน genre 'remote village' ที่พออ่านเจอหลายคนเขียนแล้วจะรู้สึกเหมือนเป็นภาพพิมพ์ซ้ำของกนกพงศ์ เรื่องนี้เราก็รู้สึกแตกต่างออกไปเยอะ



การแสดงโดยรวมอาจจะยังไม่กลมกลืนเท่าไรนัก (เพราะมีนักแสดงหน้าใหม่หลายคน ซึ่งหลายคนก็ทำได้ดี แต่ยังเขย่าไม่เข้าที่อยู่บ้างเท่านั้น) แต่ระดับตัวแม่อย่าง สินีนาฏ เกษประไพ กับ ดลฤดี จำรัสฉาย ก็ช่วยตบให้ธีมของละครและความเป็นมนุษย์ของตัวละครกระจายออกมาจากเรื่องได้เข้มข้นทีเดียว



ป.ล. แสดงถึงวันอาทิตย์นี้ (31) / และมีหนังสือของศรีดาวเรืองจัดแสดงอยู่หน้าโรงละครด้วย ใครอยากอ่านเรื่องสั้นต้นฉบับถ้ามีเวลานั่งอ่านก็สามารถอ่านได้เลย เพราะแต่ละเรื่องไม่ได้ยาวมาก (ฮา)    




หมายเหตุ :
ขอขอบคุณผู้เขียน Chayanin Tiangpitayagorn
และภาพถ่ายโดย พิณทิพย์ สัตย์เพริศพราย