31 December 2016

Crescent Moon Theatre in 2016

Performance:
Mai Pen Rai Project 2016
Shade Borders at MUPA
Dis-Con-nect : workshop showcase 
Parallel [between the lines]
รื้ อ [being Paulina Salas and the practice]








Workshop:
Movement Workshop #1
Movement Workshop #2
Back to Basic : Acting workshop #10
Stage Lighting Design workshop #10
Stage Lighting Design workshop #11
Devising Workshop
Creative Writing #7
Creative Drama with Puppet Workshop
Finger Puppet Making Workshop














Grandma Puppet:
Creative Drama with Puppet Workshop
Finger Puppet Making Workshop
มหกรรมการแสดงแสนหรรษา #18
Junk Puppet Workshop
Art Teacher Workshop #2 (BACC)
Art Teacher workshop #1 (BACC)
โครงการห้องสมุดสร้างสรรค์ มหัศจรรย์นักอ่าน ที่ สสส.













13 December 2016

บันทึกจาก Dramaturg ใน "รื้อ"



รื้อ แสดง 6 รอบ มีผู้ชมเต็มรอบไป 2 รอบ และล้นเสริมเก้าอี้ไปอีก 4 รอบ รวมแล้วมีคนดู 238 คน ทุกรอบมีการสนทนาท้ายละคร ถ้ารวมทั้งนักแสดง ทีมงาน และแขกรับเชิญมาร่วมกันแล้ว น่าจะเกิน 260 คน

มีคำถามนึงจากผู้ชมที่ต่อยอดมาจากละครด้วยว่า "ทำๆ ละครกันไปนี่ มันเปลี่ยนแปลงสังคมได้บ้างมั้ย"


ศิลปะไม่ใช่ยาวิเศษที่เปลี่ยนโลกในชั่วพริบตา ละคร 1 เรื่องทำหน้าที่ส่งสาร กระตุกกระตุ้นคิด ถกเถียงพูดคุยกับผู้ชมทั้งระหว่างชม และหลังชม บางเรื่องติดค้างเป็นคำถามให้ตามหาคำตอบกันไปอีกนาน

ช่วงชีวิตคนๆ หนึ่ง ต้องพบปะ พูดคุย กระทำและถูกกระทำ ร่วมกับผู้อื่นเป็นพัน เป็นหมื่น การเปลี่ยนแปลงภายในคนๆ หนึ่งย่อมส่งผลต่อชีวิตอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างเลี่ยงไม่ได้


และเมื่อละครเรื่องนี้พูดถึงสิ่งที่เรียบง่ายที่สุด คือ การเคารพในความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น และการตระหนักในพลังดีงาม/ดำมืด ที่เราต้องเลือกที่จะกระทำ/ไม่กระทำต่อตัวเองและผู้อื่น


เชื่อเหลือเกินว่าคำถามมากมายจากละครจะถูกส่งต่อ ให้ได้ถกเถียงพูดคุยไปอีกอย่างมากมาย

ในฐานะคนนำคุยที่เป็นส่วนเติมเต็มช่วงท้ายของทุกรอบ นั่งฟังไป ได้ทั้งความรู้ แรงบันดาลใจ ความหวัง และความเชื่อมั่นต่อการเปลี่ยนแปลงในมือคนรุ่นใหม่ มาเต็มๆ

เป็นเกียรติและยินดีที่ได้หายใจร่วมโรงละครเดียวกันกับทุกท่านตลอดสี่วันที่ผ่านมาครับ

- ผศ.อรรถพล อนันตวรกุล -

บรรยากาศการพูดคุยหลังละคร "รื้อ"





บรรยากาศพูดคุยหลังละคร "รื้อ" รอบวันศุกร์ที่ 17 พ.ย. 
พระจันทร์เสี้ยวการละครขอขอบคุณแขกรับเชิญ ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มาดู "รื้อ" รอบแรก และได้เพิ่มเติมมุมมองจากประวัติศาสตร์ชิลี และการเชื่อมโยงและเพิ่มุมมองให้เรา


บรรยากาศพูดคุยหลังละคร "รื้อ" รอบวันศุกร์ที่ 18 พ.ย. 
พระจันทร์เสี้ยวการละครขอขอบคุณ ผศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร จากคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มาดูและสะท้อนความคิดอย่างงเข้มข้นกับประเด็นต่างๆและละครของเราค่ะ


บรรยากาศพูดคุยหลังละคร "รื้อ" รอบวันศุกร์ที่ 19 พ.ย. (รอบบ่าย)
พระจันทร์เสี้ยวการละครขอขอบคุณ ดร.บัณฑิตย์ จันทร์โรจนกิจ จากคณะรัฐศาตร์ จุฬาฯ ที่มาชมละครและสะท้อนความคิดในประเด็นหนักๆให้เราได้มองเห็นมากขึ้นและสะท้อนความคิดเห็นจากละครของเรา


บรรยากาศพูดคุยหลังละคร "รื้อ" รอบวันศุกร์ที่ 19 พ.ย. (รอบค่ำ)
พระจันทร์เสี้ยวการละครขอขอบคุณ ผศ.ดร.จันจิรา สมบัติพูนศิริ จากคณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ที่มาชมละครและสท้อนความคิดเห็น มุมมองในประเด็นต่างๆและจากละคร


บรรยากาศพูดคุยหลังละคร "รื้อ" รอบวันอาทิตย์ที่ 20 พ.ย. (รอบบ่าย)
พระจันทร์เสี้ยวการละครขอขอบคุณ ผศ.ดร.สามชาย ศรีสันต์ จากวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มาชมละครและสท้อนความคิดเห็น มุมมองในประเด็นต่างๆ และจากละคร


และในรอบสุดท้าย รอบค่ำ วันอาทิตย์ที่ 20 พ.ย.  ของละครเวที "รื้อ" ก็มีโพสต์ทอล์คตามคำเรียกร้อง เป็นการเปิดวงพูดคุยกับผู้กำกับและผู้ชมในรอบสุดท้ายอย่างอบอุ่นเกือบสองชั่วโมง

แนะนำนักแสดงและผู้กำกับ ใน "รื้อ"

พระจันทร์เสี้ยวการละคร ขอขอบคุณ คุณสุมณฑา สวนผลรัตน์ ในการซ้อม รื้ อ [being Paulina Salas and the practice] เป็นเวลาสองเดือน แต่เนื่องจากการเลื่อนแสดง จึงทำให้ไปชนกับตารางการแสดงอีกเรื่องหนึ่งที่วางไว้ก่อนแล้ว เลยทำให้ไม่ได้แสดงด้วยกันในครั้งนี้ เราจึงอยากนำประวัติการทำงานละครเวทีของเธอ และความรู้สึกที่ได้ร่วมงานกันใน "รื้อ" มาลงไว้ด้วยค่ะ


สุมณฑา สวนผลรัตน์
นักแสดงอิสระที่มากฝีมือและมีผลงานการแสดงมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน เริ่มมีผลงานละครเวทีครั้งแรกในปี 2532 และได้ร่วมงานกับผู้กำกับมากมายหลายคน แสดงบทบาทได้อย่างหลากหลาย 
ผลงาน ที่ผ่านมา อาทิ “ แรด “ (Rhinonocerus), “สายน้ำมรกต”, A text collage drama เรื่อง “ deprived “ ร่วมกับ คณะละคร Shelf จากประเทศญี่ปุ่น ในเทศกาล LOW FAT ART FEST , “ The Chair ” ได้รับรางวัลการแสดงยอดเยี่ยมโดยนักแสดงหญิง จาก ชมรมวิจารณ์ศิลปะการแสดง IACT-TC ปี 2555 และ “ชีวิตดี๊ดี” (Every Brilliant Thing)
ความรู้สึกที่ร่วมซ้อมแสดงเรื่อง 'รื้อ'

หลังจากที่เคยพบกับ เพาลินา หญิงสาวแห่ง Death and The Maiden ไปเมื่อปี 2538 วันนี้มีโอกาสมาเจอเธออีกครั้งในวัยที่เข้าสู่เลขสี่ที่ตัวฉันอายุใกล้เคียงกับตัวเพาลินา พร้อมๆกับผู้กำกับคนเดิม สินีนาฎ ที่เติบโตรุ่มรวยฝีมือมากขึ้น และยังคงทำงานจับต้องประเด็นเชิงสังคมเสมอมา ครั้งนี้ฉันเห็นเพาลินาเปลี่ยนไปจากเดิม เธอมีเหลี่ยมมุมในตัวเองที่มากกว่าที่เคยเจอคราวที่แล้ว เธอทำให้ฉันเห็นภาพสังคมรอบตัวทั้งที่ไม่ค่อยใส่ใจ และที่เริ่มสนใจ 
สิ่งที่อยากขอบคุณนอกจากความรู้สึกดีที่เพื่อนชวนฉันกลับมาทำงานด้วยอีกครั้งแล้ว อีกสิ่งหนึ่งคือ ข้อมูลต่างๆที่ผู้กำกับขยันเอามา แปะให้อ่าน ที่ทำให้ฉันได้คิดและเห็นอะไรมากขึ้น 

แนะนำนักแสดง "รื้อ"


ฟารีดา จิราพันธุ์
นักการละครที่มากฝีมือและมีผลงานต่อเนื่องอีกคนหนึ่งของวงการละครเวที เริ่มทำละครกับพระจันทร์เสี้ยวตั้งแต่ปี 2540 จนถึงปัจจุบัน 
ได้ร่วมงานในฐานะนักแสดงกับหลายกลุ่มละครและผู้กำกับอีกมากมายหลายคน มีผลงานการแสดง เช่น Quartet, คือผู้อภิวัฒน์, Oct 6102519, 
แอนธิโกเน่, ตาดูดาวเท้าเหยียบเธอ, ไฟล้างบาป, คอย ก.ด, Hipster the King, Fundamental 
นอกจากนี้ยังมีผลงานที่กำกับเองและแสดงเองอีก เช่น Time's Up, I Sea Solo performance, อัสลาม... จากเจ้าหญิงเสียงเศร้าจากดาวดวงที่ 4

ผู้กำกับขอขอบคุณเป็นพิเศษที่ฟารีดา รับมาแสดงใน "รื้อ" ครั้งนี้ แทนคุณสุมณฑา ด้วยการทำงานเพียงแค่หนึ่งเดือน กับเนื้อหาของบท ตัวละคร และสไตล์การนำเสนอที่หนักหน่วง และคุณฟารีดาทุ่มเททำได้อย่างดีมาก น่าประทับใจ


ภาสกร อินทุมาร 
การทำงานในฐานะนักแสดงในครั้งนี้ เป็นการเรียนรู้ใหม่อีกครั้งหลังจากห่างหายไปนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนรู้เรื่องรูปแบบทางการละคอนที่พูด
ประเด็นทางสังคมอันหนักหน่วงกับสังคมร่วมสมัยรียนจบด้านการละคอน แต่ไปทำงานในสายการพัฒนาทั้งกับ NGOs และองค์กรระหว่างประเทศมานาน 
แต่ก็ติดตามดูละคอนมาโดยตลอด และเขียนงานด้านละคอนและภาพยนตร์ศึกษาลงในนิตยสาร หลังจากไม่ได้เล่นละคอนมานานยี่สิบกว่าปี 
ก็ได้กลับมาเล่นละคอนอีกครั้งเมื่อต้นปีที่ผ่านมา "รื้อ" เป็นละคอนเรื่องที่สองในปีนี้ ปัจจุบันเป็นอาจารย์อยู่ที่สาขาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การทำงานในฐานะนักแสดงในครั้งนี้ เป็นการเรียนรู้ใหม่อีกครั้งหลังจากห่างหายไปนาน 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนรู้เรื่องรูปแบบทางการละคอนที่พูดประเด็นทางสังคมอันหนักหน่วงกับสังคมร่วมสมัย 


สายฟ้า ตันธนา
นักแสดงมากฝีมืออีกคนหนึ่งของวงการละครเวที มีผลงานการแสดงและกำกับการแสดงอย่างต่อเนื่อง เริ่มทำละครข้างนอกมหาวิทยาลัยกับคณะละครมรดกใหม่ ในปี 2542 และยังทำมาเรื่อยจนถึงปัจจุบัน ผลงาน เช่น โรมูลูส ออน เดอะ ร๊อค, ในห้องสีเทา, The Cult, The Chairs, โลหิตานุภาพ Breaking the code Ceci n’est pas la politique, Hipster the King, S-21 เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลงานการแสดงในหนังสัั้นและหนังอินดี้อีกหลายเรื่อง 
ผลงานกำกับการแสดง เช่น ที่รักของกัน, ควันใต้น้ำ, สมันตัวสุดท้าย

เป็นครั้งที่สองที่ได้แสดง Death and the Maiden ครั้งนี้ ชื่อ “รื้อ” (ให้ความหมายหลายอย่างเลย) สนุก และได้รับความรู้ทางประวัติศาสตร์มาก 
รู้สึกพลาดถ้าไม่ได้รู้จักบทละครเรื่องนี้ และคงพลาดไปเลยถ้าพี่นาดไม่ชวนมาทำในครั้งนี้ ชอบที่พี่นาดโพสข้อมูลต่างๆมาให้อ่าน ครั้งนี้ได้รู้ว่ามันเหมือนกับเหตุการณ์บ้านเราที่ยังวนเวียนซ้ำ


แนะนำผู้กำกับและนักแสดง "รื้อ"

สินีนาฏ เกษประไพ 
นักการละครที่มีผลงานทั้งการกำกับและการแสดงอย่างต่อเนื่องในหลายรูปแบบ เริ่มมีผลงานการกำกับการแสดงในปี 2537 เป็นต้นมา เริ่มทำงาานละครกับพระจันทร์เสี้ยวการละครตั้งปี 2538 ผลงานการแสดงมีทั้งละครพูด การแสดงแนว physical theatre และ movement-based performance เป็นศิลปินหญิงทางด้านการละครคนแรกที่ได้รับรางวัลศิลปินร่วมสมัยดีเด่นรางวันศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดง ปี 2551 ปัจจุบัน เป็น Artistic Director ของพระจันทร์เสี้ยวการละคร และเป็นอาจารย์พิเศษสอนศิลปะการแสดงในอุดมสถาบันการศึกษาอีกหลายแห่ง

ผลงานกำกับการแสดงที่ผ่านมา เช่น 
S-21 (2015)
เงา-ร่าง /Shade Boders (2014, 2015)
ฉัน มี อลิส / I have Alice in Mind (2015)
Rice Now (2013, 2015)
ผีแมวดำ (2013)
ฝังหัว / Mind Set (2012) 
I Sea: Solo Performance (2011, 2015)
เส่ยด้านในความมืด /A Thread in the Dark (2011)
Antigone (2007)
Venus Party (2003,2004,2008)

เป็นการทำงานกับบท Deathe nad the Maiden แบบเต็มๆอีกเป็นครั้งที่สอง หลังจากที่แปลและเคยกำกับไว้ในปี 2538 ในการทำงานครั้งนี้คือการมองเรื่องราวของ Paulina Salas ในบริบทที่เป็นปัจจุบันให้มากขึ้น อยากทำให้เพื่อที่จะเข้าใจกับเหตุการณ์ที่เจ็บปวดที่เกิดขึ้นกับเธอให้มากขึ้น ขอขอบคุณนักแสดงและทีมงานทุกคนที่ร่วมฝ่าฟันกับกระบวนการซ้อมและปัญหาที่เราได้พบเจอระหว่างทางด้วยกัน 


เปิดวงพูดคุยหลังละครกับ "รื้อ"



ขอเชิญร่วมพูดคุยหลังละคร "รื้อ" [being Paulina Salas and the practice]
กับแขกรับเชิญพิเศษ ดังต่อไปนี้ 

วันพฤหัสบดีที่ 17 พ.ย. 59
ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

วันศุกร์ที่ 18 พ.ย. 59
ผศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วันเสาร์ที่ 19 พ.ย. 59 
*** (หลังรอบบ่าย) *** ดร.บัณฑิตย์ จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาตร์ จุฬาฯ 
*** (หลังรอบค่ำ) *** ผศ.ดร.จันจิรา สมบัติพูนศิริ รัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

วันอาทิตย์ที่ 20 พ.ย. 59 
*** (หลังรอบบ่าย) *** ผศ.ดร.สามชาย ศรีสันต์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นำกระบวนการพูดคุยหลังละครโดย
ผศ.อรรถพล อนันตวรกุล และ ดร. ภาสกร อินทุมาร 

ละครเวที "รื้อ" [17 - 20 Nov]



พระจันทร์เสี้ยวการละคร เสนอ ละครละครเวที (con)fusion เรื่อง

รื้ อ [being Paulina Salas and the practice]

… a play or not a play that plays with death and the maiden motif …

... เมื่อละครเรื่องนี้ยังทำไม่เสร็จ แต่เราจะเปิดห้องซ้อมให้คุณดู ...

พบกับสองนักแสดง หนึ่งผู้กำกับ และ อีกหนึ่ง dramaturg ที่กำลังทำกระบวนการบางอย่างให้เป็น/หรืออาจไม่เป็นละครที่ว่าด้วย death and the maiden motif 
แสดงโดย ฟารีดา จิราพันธ์
สายฟ้า ตันธนา
สินีนาฏ เกษประไพ 
ภาสกร อินทุมาร

กำกับโดย สินีนาฏ เกษประไพ

แสดงวันที่ 17-20 พ.ย. 59 เวลา 20.00 / เสาร์ อาทิตย์ เพิ่มรอบ 14.30 น.
ที่ Crescent Moon Space / สถาบันปรีดี พนมยงค์ (BTS ทองหล่อ)
บัตร 500 บาท (นักศึกษา 450 บาท) 
โทรจองบัตร 081 929 4246, 086 797 1445 
Facebook : CrescentMoonTheatre

*** ร่วมรำลึก 40 ปี เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ***

----------------------------------------

ทีมงาน
บทตัดตอนบางส่วนมาจาก บทละครเรื่อง Death and the Maiden (Ariel Dorfman) แปลโดย สินีนาฏ เกษประไพ 
Dramaturg : อรดา ลีลานุช, ภาสกร อินทุมาร, อรรถพล อนันตวรกุล
ออกแบบและควบคุมแสง : ทวิทธิ์ เกษประไพ 
ควบคุมแสง : เชษฐพัทธ์ เขื่อนแก้ว
ภาพเคลื่อนไหว : กวินธร แสงสาคร 
ควบคุมเสียงและภาพ : ลัดดา คงเดช
ภาพนิ่ง : จีรณัทย์ เจียรกุล
กำกับเวที : รัตตนาวดี สุขภัฏ, สุกัญญา เพี้ยนศรี, ศุภชัย จิวพันธ์ชัย
Ticket & House Manager : ลัดดา คงเดช, ณัชศลิษฏา วัลย์ณัฐประภา, อรดา ลีลานุช, ศรวณี ยอดนุ่น

แนะนำ Crescent Moon Space

แนะนำโรงละครพระจันทร์เสี้ยว Crescent Moon Space 



เป็นโรงละครขนาดเล็กแบบ black box theatre ที่สามารถปรับมุมมองและที่นั่งผู้ชมได้ ขนาดจุผู้ชมได้ประมาณ 30-40 ที่นั่ง 

เป็นพื้นที่ทางเลือกเหมาะสำหรับการแสดงขนาดเล็ก ใช้อุปกรณ์และฉากน้อย เหมาะสำหรับการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักแสดงกับผู้ชมในระยะใกล้ชิด 
เป็นพื้นที่เล็กๆที่เชื่อมโยงคนรักศิลปะและการละคร ให้มีพื้นที่ปะทะสังสรรค์แลกเปลี่ยนการเรียนรู้โดยผ่านงานด้านศิลปะะการละครและการแสดง 



โรงละครพระจันทร์เสี้ยวเปิดตั้งแต่ปี 2550 เพื่อเป็นที่ฝึกฝนค้นหาและจัดแสดงงานด้านศิลปะการละคร การแสดง ละคร, การอ่านบทละคร, dance, performance, workshop, showcase, ฉายหนัง เสวนาแลกเปลี่ยนพูดคุยในเรื่องศิลปะและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 

Crescent Moon Space
อยู่ในอาคาร สถาบันปรีดี พนมยงค์ ชั้น 1 ด้านหลังแท่นหินสีดำ ตรงลานน้ำพุ 
สถานที่รถไฟฟ้า BTS ทองหล่อ ทางออก 3
รถประจำทางสายที่ผ่าน ได้แก่ 2, 25, 38, 40, 48, 98, ปอ.25, ปอ.508, ปอ.501 และ ปอ.513



The Crescent Moon Space is located in Pridi Banomyong Institute, first floor, behind the fountain area.
BTS Thonglor, exit 3.
Buses: 2, 25, 38, 40, 98, ปอ. 25, ปอ. 508, ปอ. 501, ปอ. 510
Phone: +668 1929 4246
FB: crescentmoontheatre 



Art Teacher Workshop #2

พระจันทร์เสี้ยวการละครและอาสาสมัครคณะละครยายหุ่น (ครูองุ่น มาลิก) ได้จัดอบรมและสร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้ 
Art teacher Workshop : Creative Drama with Puppet Workshop รุ่น 2 
Project by Bangkok Art and Cultural Center
อบรมละครหุ่น โดย คณะละครยยายหุ่น (ครูองุ่น มาลิก)
วันที่ 26 ตุลาคม 2559 ที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 


Art Teacher workshop #1

พระจันทร์เสี้ยวการละครและอาสาสมัครคณะละครยายหุ่น (ครูองุ่น มาลิก) ได้จัดอบรมและสร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้ 

Art teacher workshop: Creative drama with puppet Project
by BACC รุ่น 1


ขอบคุณทีมยายหุ่นและอาสาสมัครทุกคน 
ขอบคุณทีมงานหอศิลป์แห่งกรุงเทพมหานครทุกท่าน 
ขอบคุณผู้เข้าร่วมทุกท่าน ที่ร่วมกันสร้างบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อย่างอบอุ่นและงดงาม
วันที่ 19 ตุลาคม 2559  ที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 


ประกาศยกเลิกเทศกาลละครกรุงเทพ 2559

ประกาศยกเลิกเทศกาลละครกรุงเทพ 2559 
พระจันท์เสี้ยวการละคร ประกาศยกเลิกการแสดง 3 งาน ดังนี้ 
และ 1 Workshop 

"ตามล่าขุมทรัพย์ของคุณยาย"




"เดชคัมภีร์ธรรมดา"




"Movement ex"




"Free Movement, Free Body" Workshop



รื้ อ [being Paulina Salas and the practice]



เนื่องในวาระครบรอบ 40 ปี เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
ร่วมแสดงในเทศกาลศิลปะนานาพันธุ์ครั้งที่ 9

พระจันทร์เสี้ยวการละคร เสนอ ละคร (con)fusion เรื่อง

รื้ อ [being Paulina Salas and the practice]

… a play or not a play that plays with death and the maiden motif …

... เมื่อละครเรื่องนี้ยังทำไม่เสร็จ แต่เราจะเปิดห้องซ้อมให้คุณดู ...

พบกับสองนักแสดง หนึ่งผู้กำกับ และ อีกหนึ่ง dramaturg ที่กำลังทำกระบวนการบางอย่างให้เป็น/หรืออาจไม่เป็นละครที่ว่าด้วย death and the maiden motif
แสดงโดย
สุมณฑา สวนผลรัตน์
สายฟ้า ตันธนา
ภาสกร อินทุมาร
สินีนาฏ เกษประไพ

กำกับโดย สินีนาฏ เกษประไพ

แสดงวันที่ 21-25 ต.ค.59 รอบเวลา 20.00
พิเศษ เพิ่มรอบ 14.30 น. วันอาทิตย์ที่ 23 ต.ค. 59
ที่ Crescent Moon Space / สถาบันปรีดี พนมยงค์ (BTS ทองหล่อ)
บัตร 500 บาท (นักศึกษา 450 บาท)
โทรจองบัตร 081 929 4246, 086 797 1445
Facebook : CrescentMoonTheatre

*** ร่วมแสดงในเทศกาลศิลปะนานาพันธุ์ #9
รำลึก 40 ปี เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ***

----------------------------------------

นำกระบวนการพูดคุยหลังละครโดย
ผศ.อรรถพล อนันตวรกุล และ ดร. ภาสกร อินทุมาร

ทีมงาน
บทตัดตอนบางส่วนมาจาก บทละครเรื่อง Death and the Maiden (Ariel Dorfman) แปลโดย สินีนาฏ เกษประไพ
Dramaturg : อรดา ลีลานุช, ภาสกร อินทุมาร, อรรถพล อนันตวรกุล
ออกแบบและควบคุมแสง : ทวิทธิ์ เกษประไพ
ภาพเคลื่อนไหว : กวินธร แสงสาคร
ควบคุมเสียงและภาพ : ลัดดา คงเดช
ภาพนิ่ง : จีรณัทย์ เจียรกุล
กำกับเวที : รัตตนาวดี สุขภัฏ
Ticket & House Manager : ลัดดา คงเดช, ณัชศลิษฏา วัลย์ณัฐประภา, อรดา ลีลานุช
Recent posts

----------------------------------------
หมายเหตุ :
ประกาศเลื่อนการแดง เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2559 

Parallel [between the lines]



พระจันทร์เสี้ยวการละคร เสนอ

Parallel [between the lines]

ฉันเชื่อว่า ฉันมี "ฉันอีกคนหนึ่ง" อยู่ในอีกด้านหนึ่งของเอกภพ บางครั้ง หลายครั้ง ฉันสงสัยว่า "ฉันอีกคนหนึ่ง" เผชิญกับสถานการณ์เดียวกับฉันยังไง...
กำกับและแสดงโดย ลัดดา คงเดช

จัดแสดง
วันที่ 9 - 13 และ 16 - 20 กันยายน 2559 (ยกเว้น พุธ, พฤหัส)
รอบเวลา 20.00 น. 
ที่ Crescent Moon Space (สถาบันปรีดี พนมยงค์ ช.ทองหล่อ)
บัตร 400 บาท
จองบัตร 081 929 4246, 083 123 6331
Facebook : CrescentMoonTheatre

การแสดงชิ้นนี้ เป็น Solo Movement โดยเน้นการทำงานกับร่างกาย หุ่น และ ความรู้สึกภายใน การแสดงนี้จะจัดแสดงครั้งแรกที่ QDA Studio ประเทศเกาหลีใต้ ในวันที่ 26-27 สิงหาคม 2559 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงใน "Dancing in the lake" ที่ได้รับการสนับสนุนโดย Seoul Art Space Mullae



Crescent Moon Theatre presents

Parallel [between the lines]
Directed & Performed by Ladda Kongdach

I believe I have another me in another side of the Universe. Sometimes, many times I wonder what another me do when she fall in the same situation.

Dates:
September 9th - 20th , 2016 at 8.00 pm.
(Except Wednesday and Thursday)

At Crescent Moon Space (Pridi Banomyong Institute / BTS Thonglor)

Ticket : 400 B.
Booking :081 929 4246, 083 123 6331
Facebook : CrescentMoonTheatre

Parallel [between the lines] is a Solo Movement focusing on the working of body, puppet and feeling. Parallel [between the lines] was a part of the performance called “Dancing in the Lake” that was performed at QDA Studio in South Korea on August 26th – 27th, 2016 which was supported by Seoul Art Space Mullae.

Dancing in Lake



Dancing in Lake 

เป็นงานที่ ลัดดา คงเดช เป็นการสร้างานร่วมกันกับ San Lee จะจัดแสดงปลายเดือนสิงหาคมนี้ ที่โซล เกาหลีใต้ โดยได้รับการสนัยสนุนจาก Seoul Arts Space Mullae และ QDA studio และจะมาแสดงที่สเปซเรา ในเดือนกันยายน

We’re now getting ready for the Nanaphand Arts Festival and Bangkok Theatre Festival 2016. 
We’re also working on Dancing in Lake, which is a collaboration piece between Ladda Kongdach and San Lee. 
The show is supported by Mullae Art Space and QDA Studio. 
It will be performed in Seoul, South Korea at the end of August and will be restaged at the Crescent Moon Space in September. 

Flower and Buttefly



Flower and Buttefly

Ladda Kondach in Collaboration project with Korea Artists
ช่วงเดือนกรกฎาคม 2559 สมาชิกพระจันทร์เสี้ยวการละคร ลัดดา คงเดช เดินทางไปยังเมืองซูวอน ประเทศเกาหลีใต้ เพื่อสร้างงานและทำการแสดงร่วมกับเพื่อนศิลปินชาวเกาหลี 2 คน คือ ยู เฮรัง (U Hearang) และ ลี ซาน (Lee San)



การทำงานครั้งนี้เริ่มต้นจาก ลัดดา และ เฮรัง ซึ่งทั้งสองได้รู้จักกันจากการทำงานร่วมกันเมื่อครั้งเป็นศิลปินพำนักในโครงการ "2014 Tutbat Arts Residency Rediscovery of Puppet โดย Performance Group Tuida, Hwachoen, South Korea ทั้งสองพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกันทั้งในฐานะคนทำงานศิลปะ และ ในฐานะเพื่อน และพบประเด็นที่ทั้งคู่สนใจร่วมกันจนนำมาสู่ความต้องการสร้างงานภายใต้แนวคิดนั้น หลังจากนั้นจึงเชิญ ลี ชาน อีกหนึ่งศิลปินที่มีความสามารถ เรารู้จักกันผ่าน Mai Pen Rai Project ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2558 


ภาพ :
วันที่ 7 กรกฎาคม 2559 เป็นการประชุมครั้งแรกในประเทศเกาหลี ณ นานุม แกลอรี่ (Nanum gallery) เมืองชูวอน สตูดิโอที่เฮรังได้รับการสนับสนุนจาก Suwon Cultural Foundation

ภาพบรรยากาศจาก Showcase :