25 July 2017

มหกรรมการแสดงแสนหรรษา ครั้งที่ 19



มูลนิธิไชยวนา ร่วมกับ สถาบันปรีดี พนมยงค์ 
ขอเชิญร่วมงานรำลึก ครูองุ่น มาลิก ในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาล ครูองุ่น มาลิก 

ขอเชิญชม 

มหกรรมการแสดงแสนหรรษา ครั้งที่ 19 
วันอาทิตย์ที่ 18 มิ.ย. 2560

14.00 น. เป็นต้นไป ชมการแสดงแสนหรรษา ที่ หอประชุมพูนศุข พนมยงค์ 
จาก
คณะละครยายหุ่น (ครูองุ่น มาลิก) 
แกะดำดำ 
Puppet by Jae
คิดแจ่มและผองเพื่อน
Ting A Tong
Yellow Fox
และ ละครใบ้อารมณ์ดี เบบี้ไมม์ 

*** ชมฟรี ยินดีรับหยอดกล่องเพื่อสมทบทุนมูลนิธิไชยวนา ***

วันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน 2560 
การแสดงเริ่มเวลา 14.00 น. เป็นต้นไป 
ณ หอประชุมพูนศุข พนมยงค์ / สถาบันปรีดี พนมยงค์ (BTS ทองหล่อ)
สอบถามเพิ่มเติม โทร 0-2381-3860-1 
facebook/crescentmoontheatre

*****************

พิเศษในปีนี้ 
เราจะมีนิทรรศการ "คนทำหุ่น" โดยจะรวบรวมหุ่นร่วมสมัยหลายๆแบบจากฝีมือคนทำหุ่นที่น่าจับตามองในขณะนี้ 
ที่ ห้องกระจก ในวันที่ 17-18 มิ.ย. 2560 
เปิดให้เข้าชม เวลา 10.00-17.00 น. 

******************

ดูแลการจัดงาน โดย พระจันทร์เสี้ยวการละคร

นิทรรศการ “คนทำหุ่น” Puppet Maker Exhibition and Talk




เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาล ครูองุ่น มาลิก
พระจันทร์เสี้ยวการละคร และ คณะละครยายหุ่น (ครูอง่น มาลิก)

ขอเชิญเข้าชมและเข้าร่วมรับฟังการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ใน

นิทรรศการ “คนทำหุ่น” Puppet Maker Exhibition and Talk

ส่วนนิทรรศการ
จะจัดแสดงหุ่นร่วมสมัยหลายๆแบบจากฝีมือคนทำหุ่นที่น่าจับตามองในขณะนี้
ในวันที่ 17-18 มิถุนายน 2560
เปิดให้เข้าชม เวลา 10.00-17.00 น.
ที่ ห้องกระจก สถาบันปรีดี พนมยงค์

ส่วนการพูดคุยจะเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากคนทำหุ่นร่วมสมัยที่น่าจับตามอง โดยมีนักทำหุ่นที่มาร่วมพูดคุยกันคือ
คุณวศิน มิตรสุพรรณ จาก กลุ่มแกะดำดำ
คุณสิริกาญจ์ บรรจงทัด จาก Puppet by Jae
คุณกนต์ธร เตโชฬาร จาก ฮ่องหุ่น
คุณเบญจ์ บุษราคัมวงศ์ จาก พระจันทร์เสี้ยวการละคร และ For Wha T Theatre
คุณลัดดา คงเดช จาก คณะละครยายหุ่น (ครูองุ่น มาลิก) และ พระจันทร์เสี้ยวการละคร
ร่วมด้วยการสะท้อนประสบการณ์จากการเรียนรู้การทำหุ่นเชิดหุ่นและเล่นหุ่นครั้งแรก จากน้องๆนักศึกษาจากรายวิชาละครหุ่น สาขาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

ดำเนินการพูดคุยโดย
ดร.ภาสกร อินทุมาร และ สินีนาฏ เกษประไพ

เปิดวงเสวนาในวันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน 2560
เวลา 14.00-17.00 น. (โดยประมาณ)
ที่ห้องกระจก สถาบันปรีดี พนมยงค์

เข้าฟังฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและสำรองที่นั่ง
โทร 081 929 4246 และ 091 775 1215

Fb: CrescentMoonTheatre



10 Minute Play # 4



พระจันทร์เสี้ยวการละคร เสนอ
การแสดงอ่านบทละครสั้นสิบนาที

10 Minute Play # 4

เปิดตัวบทละครสั้นสิบนาทีที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ 10 Minute Play #4
ชมฟรี 17 เรื่อง ใน 2 วัน

1. ลาก่อน…โกคู / บทโดย กิตติภูมิ วงศ์เพ็ญทักษ์ / กำกับโดย เบญจ์ บุษราคัมวงศ์
2. เออ สัตว์ / บทโดย กวินธร แสงสาคร / กำกับโดย สินีนาฏ เกษประไพ
3. ทะเลดาว / บทโดย ธนภูมิ คงอนันตพันธ์ / กำกับโดย สุกัญญา เพี้ยนศรี
4. จากนี้ / บทโดย สุกัญญา เพี้ยนศรี / กำกับโดย สุชาวดี เพชรพนมพร
5. Happy Ever After / บทโดย รัฐกร พันธรักษ์ / กำกับโดย ปัถวี เทพไกรวัล
6. เล้ง / บทโดย ศิริวรรณ ศักดิ์ศรี / กำกับโดย กวินธร แสงสาคร
7. การเจอกันโดยบังเอิญอย่างร่วมสมัยของเลดี้แมคเบ็ธและเจ้าหญิงอนัญทิพย์
THE COMTEMPORARY ACCIDENTAL MEETING OF LADY MACBETH AND THE GREATEST QUEEN OF MUEANGTHIP / บทโดย ปฎิพล อัศวมหาพงษ์ / กำกับโดย ภัทรสุดา อนุมานราชธน และ สินีนาฏ เกษประไพ
8. เทเลทับบี้ตัวสุดท้าย / บทโดย ธนวัต กตาธิกรณ์ / กำกับโดย กวินธร แสงสาคร
9. 16 Gigabytes / บทโดย จตุรชัย ศรีจันทร์วันเพ็ญ / กำกับโดย ภัทรสุดา อนุมานราชธน
10. ตรงกลางพื้นที่ว่างในเวลาเช้ามืด / บทโดย วิชญ์พล ดิลกสัมพันธ์ / กำกับโดย เบญจ์ บุษราคัมวงศ์
11. สมมนาคุณที่พักฟรีที่ริมทะเล / วรพล ถาวรวรานนท์ / กำกับโดย วิชญ์พล ดิลกสัมพันธ์
12. บุษบายอดรัก / บทโดย รัญชิดา สิทธิสาร / กำกับโดย กิตติภูมิ วงศ์เพ็ญทักษ์
13. แซลม่อนรมควัน / บทโดย กิตติคุณ ศิริสังข์สุชล / กำกับโดย ธนพนธ์ อัคควทัญญู
14. My Baby Lullaby / บทโดย ธงชัย พิมาพันธุ์ศรี / กำกับโดย วรัฏฐา ทองอยู่
15. นํ้ามันตับปลาชนิดแคปซูล : ทานวันละหนึ่งเม็ดหลังอาหารเช้า / บทโดย ธนพนธ์ อัคควทัญญู / กำกับโดย จตุรชัย ศรีจันทร์วันเพ็ญ
16. 13 ความเชื่อผิดๆ ที่คุณอาจจะคิดว่ามันถูกมาตลอดชีวิต (มาดูเฉลยกัน) Cr. WTF เรื่องเด็ดรอบโลก / บทโดย ธนวิชญ์ ทองพรหม / กำกับโดย ปฎิพล อัศวมหาพงษ์
17. รอรถราง / บทโดย ญาดามิณ แจ่มสุกใส / กำกับโดย สุกัญญา เพี้ยนศรี

***หลังการแสดงมี post show talk ทุกรอบ***

คัดเลือกบทและนำกระบวนการพูดคุยโดย
ภาสกร อินทุมาร
ปานรัตน กริชชาญชัย
อภิรักษ์ ชัยปัญหา
สินีนาฏ เกษประไพ

ดำเนินรายการโดย เกรียงไกร ฟูเกษม

ดูแลโครงการโดย
สินีนาฏ เกษประไพ

แสดงวันที่ 20-21 พฤษภาคม 2560
เวลา 14.30 และ 18.30 น.
ที่ Crescent Moon Space สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซ.ทองหล่อ

ชมฟรี
และยินดีรับหยอดกล่องเพื่อสมทบทุนในการจัดโครงการ
(หากเป็นไปได้ 200 บาทต่อรอบ จะช่วยต่อโครงการให้เรา)

สำรองที่นั่ง 081 929 4246 และ 091 775 1215
facebook/crescentmoontheatre

03 May 2017

10 Minute Play #1 ในนิตยสาร Art Square





แค่เพียงสิบนาที: 10 Minute Play Project
Text: ภาสกร อินทุมาร
Photo: อดิเดช ชัยวัฒนกุล 
จาก :  นิตยสาร Art Square

ข้อจำกัดหนึ่งของการเรียนทางด้านการละครในประเทศไทยก็คือการขาดแคลนบทละครที่เขียนขึ้นภายใต้บริบทสังคมไทยร่วมสมัย แม้ว่ากลุ่มละครต่างๆจะได้ผลิตบทละครเพื่อการจัดแสดงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง แต่บทละครเหล่านั้นก็อาจจะยังไม่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่เพื่อให้นักศึกษาและอาจารย์สาขาการละครในมหาวิทยาลัยต่างๆได้นำไปใช้ในการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติ เช่น การแสดง (acting) และการกำกับการแสดง (directing) ในการเรียนวิชาเหล่านี้ นักศึกษาจะต้องฝึกปฏิบัติผ่านฉากย่อยของบทละคร (scene work) ซึ่งที่ผ่านมานั้น นักศึกษาส่วนใหญ่ต้องฝึกปฏิบัติด้วยบทละครของต่างประเทศที่แปลมาเป็นภาษาไทย ซึ่งบทละครเหล่านั้นก็ล้วนผูกโยงอยู่กับบริบททางสังคมของประเทศเหล่านั้น และนั่นก็ทำให้นักศึกษามีข้อจำกัดในการทำความเข้าใจและตีความตัวบท

อย่างไรก็ดี ได้มีความพยายามในการตีพิมพ์และเผยแพร่บทละครร่วมสมัยของไทย ดังจะเห็นได้จากการตีพิมพ์หนังสือ “First Read บทละครหลากสี มีดีที่หลากหลาย” ในปี 2554 โดยเครือข่ายละครกรุงเทพ (Bangkok Theatre Network) สนับสนุนการจัดพิมพ์โดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม โดยเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้เป็นการวิเคราะห์รูปแบบและเนื้อหาของบทละครร่วมสมัยที่จัดแสดงในเทศกาลละครกรุงเทพ และมีตัวอย่างบทละคร 4 เรื่อง ที่สะท้อนบทวิเคราะห์ดังกล่าว ความพยายามนี้เป็นหลักหมายสำคัญในการนำเสนอบทละครร่วมสมัยของไทยต่อสาธารณะ และเป็นหนังสือที่สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนละครร่วมสมัยของไทย

ถึงแม้จะมีความพยายามดังกล่าว บทละครที่ตีพิมพ์ในหนังสือเล่มนี้ยังเป็นบทละครที่ค่อนข้างยาว ซึ่งหากนักศึกษาจะนำไปฝึกปฏิบัติ ก็อาจจะต้องดึงเอาบางช่วงบางตอนของบทไปใช้ ซึ่งนั่นก็เป็นข้อจำกัดเช่นกัน เพราะบทละครมีการเชื่อมร้อยต่อเนื่องกัน การตัดตอนออกไปอาจจะทำให้ตอนที่นำไปใช้หลุดลอยออกจากบริบทของละครทั้งเรื่อง ด้วยเหตุนี้ ในปี 2555-2556 ที่ผ่านมา “พระจันทร์เสี้ยวการละคร” (Crescent Moon Theatre) จึงริเริ่มโครงการ “10 Minute Play” ขึ้น ดังที่ สินีนาฏ เกษประไพ แห่งพระจันทร์เสี้ยวการละครได้กล่าวไว้ว่า



“ที่ผ่านมาเวลาทำ scene work เด็กที่เรียนละครส่วนใหญ่ต้องเอาบทละครของฝรั่งมาใช้ ซึ่งบทพวกนี้มันก็ไม่เข้ากับบริบทของไทย เด็กก็ไม่ได้เข้าใจมันจริงๆ เราก็เลยอยากสร้างบทละครขนาดสั้นที่เขียนขึ้นในบริบทสังคมไทยร่วมสมัย ตั้งไว้ว่าความยาวประมาณ 10 นาที อาจจะบวกลบได้นิดหน่อย เป็นบทที่เด็กที่เรียนละครสามารถเอาไปทำ scene work ได้ทั้งเรื่อง”
และนั่นก็คือจุดเริ่มต้นของโครงการ โดยครั้งแรกจัดขึ้นระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม 2555 และครั้งที่ 2 ในเดือนเมษายน 2556 เป็นการให้ผู้สนใจส่งบทละครที่เขียนขึ้นใหม่ด้วยตัวเองเข้ามารับการคัดเลือก และบทละครที่ผ่านการคัดเลือกจะถูกนำไปจัดแสดงในรูปแบบการอ่านบทละคร (play reading) อย่างไรก็ดี ในครั้งที่ 2 นั้น มีบทละครที่ผ่านการคัดเลือกเพียง 3 เรื่อง ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อยเกินไปสำหรับการจัดแสดงครั้งหนึ่งๆ ผู้จัดจึงเก็บบทละครทั้ง 3 เรื่องไว้เพื่อจัดแสดงร่วมกับบทละครที่จะมาจากโครงการครั้งที่ 3 ที่จะเกิดขึ้นในปีนี้
ในการได้มาซึ่งบทละครที่มีคุณภาพที่เหมาะสมนั้น สินีนาฏ ได้ออกแบบโครงการนี้ในลักษณะ “กระบวนการ” ด้วยเห็นว่ากระบวนการเป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่าผลลัพธ์ กระบวนการที่ว่านั้นก็คือ สินีนาฏได้ชักชวนนักการละครอีก 2 คนมาร่วมเป็นกรรมการคัดเลือกบทละคร ทำให้ได้องค์ประกอบของกรรมการที่หลากหลายมิติ สินีนาฏเองเป็นนักการละครที่มีประสบการณ์ในการผลิต กำกับ และแสดงละครมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ส่วนอีก 2 คนที่เหลือก็คือ อรดา ลีลานุช อาจารย์สอนวิชาเขียนบทละครในมหาวิทยาลัยต่างๆ และผู้เขียนผู้ซึ่งเป็นนักวิชาการละครในเชิงสังคม ทั้ง 3 คนจะร่วมกันพิจารณาบทละครผ่านแง่มุมทั้งในทางศิลปะการละครและแง่มุมทางสังคมในบทละคร



ในโครงการครั้งแรกนั้น มีผู้ส่งบทละครมาเข้ารับการพิจารณาทั้งหมดประมาณ 40 เรื่อง เมื่อได้บทละครมาแล้ว กรรมการแต่ละคนจะอ่านบทละครทั้งหมด จากนั้นจึงมาประชุมร่วมกันเพื่อคัดเลือกว่าเรื่องใดมีคุณภาพที่เหมาะสม โดยที่ไม่ได้ตั้งเป้าหมายในเชิงจำนวนไว้ ในการประชุมเพื่อคัดเลือกบทละครนั้น กรรมการแต่ละคนจะให้น้ำหนักกับเรื่องที่ตนเองคิดว่าเหมาะสมไว้ก่อน จากนั้นจึงมาแลกเปลี่ยนมุมมองและอภิปรายร่วมกัน โดยแง่มุมที่ใช้ในการพิจารณานั้นก็คือ บทที่เขียนมานั้นมีลักษณะของความเป็นบทละครหรือไม่ เนื้อหาหรือประเด็นของเรื่องสะท้อนสภาวะสังคมร่วมสมัยอย่างไร และมีความเป็นไปได้ในการจัดแสดงจริงหรือไม่ ซึ่งในกระบวนการพิจารณานั้นทำให้พบว่าบทละครบางเรื่องมีศักยภาพที่จะเป็นบทละครที่ดีได้ แต่อาจจะยังมีข้อจำกัดหรือข้ออ่อนบางประการ ดังนี้แล้ว กรรมการจึงเชิญผู้เขียนบททั้งหมดมาแลกเปลี่ยนมุมมองกับกรรมการเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงบทละครให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งในกระบวนการแลกเปลี่ยนนั้น ผู้เขียนบททุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นต่อบทละครของคนอื่นๆด้วย มิใช่เพียงกรรมการเท่านั้นที่เป็นผู้แสดงความเห็น กระบวนการดังกล่าวจึงเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อการพัฒนาตัวบท ซึ่งในที่สุดนั้น โครงการครั้งแรกก็ได้บทละครที่มีคุณภาพที่เหมาะสมจำนวน 8 เรื่อง โดยที่ผู้เขียนทั้ง 8 คน มีตั้งแต่นักการละครที่มีประสบการณ์ไปจนถึงนักศึกษามหาวิทยาลัย



เมื่อได้บทละครที่ปรับแก้จนเหมาะสมมาแล้ว ผู้เขียนบททุกคนจะได้พบกับผู้กำกับการแสดงที่จะนำบทละครไปทำการอ่านบทละคร โดยผู้กำกับการแสดงทั้งหมดเป็นผู้กำกับการแสดงรุ่นใหม่ของพระจันทร์เสี้ยวการละคร ผู้กำกับการแสดงแต่ละคนจะได้อ่านบทละครทั้ง 8 เรื่อง และทำการเลือกว่าตนเองสนใจที่จะนำเรื่องใดไปทำ จากนั้นจึงเป็นการออกแบบกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างผู้กำกับการแสดงกับผู้เขียนบท อย่างไรก็ดี ผู้เขียนบทบางคนเลือกที่จะรอดูว่าบทของตนจะถูกตีความและถูกนำเสนออย่างไรโดยไม่เข้าไปให้ความเห็นต่อผู้กำกับการแสดง
ในกระบวนการพัฒนาบทละครนั้น ขั้นตอนสำคัญขั้นตอนหนึ่งก็คือการนำบทที่ได้มาทำการอ่านแบบตีความ (oral interpretation / dramatic reading) ซึ่งในการอ่านบทละครนั้นจะมีการแสดง (acting) ประกอบร่วมอยู่ด้วย แต่เป็นการแสดงที่นักแสดงยังไม่จำเป็นต้องวางบท และอาจมีองค์ประกอบทางการละครด้านอื่นๆเข้ามาเสริมการตีความด้วยก็ได้ เช่น การใช้แสง การเลือกเสื้อผ้า แต่ทั้งนี้ การอ่านบทละครที่เกิดขึ้นจะยังมิใช่การแสดงเต็มรูปแบบ ความสำคัญของกระบวนการอ่านบทละครก็คือการทดสอบว่าบทละครที่เขียนขึ้นนั้นสามารถเป็นละครเวทีได้จริงหรือไม่ แม้ว่าจะเป็นได้ แต่มีข้อจำกัดใดหรือไม่เมื่อนำมาทดลองแสดง หากพบข้อจำกัด ก็จะนำไปสู่การปรับปรุงตัวบทให้เหมาะสมสำหรับการแสดงต่อไป ดังนี้แล้ว การอ่านบทละครจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการพัฒนาบทละคร
เมื่อกลับไปพิจารณาที่ตัวบทของทั้ง 8 เรื่อง จะพบว่ามีความแตกต่างหลากหลาย แต่ทั้งหมดก็ทำหน้าที่สะท้อนสังคมไทยร่วมสมัย ไม่ว่าบทละครเรื่องนั้นจะออกมาในแนวสนุกสนาน หรือเป็นบทที่เคร่งขรึมก็ตาม บทละครดังกล่าวคือ “อยาก” โดย ธีรกานต์ ไม้จันทร์ เป็นบทละครแนวสนุกสนานที่เสียดสีสังคมของบรรดาพ่อแม่ต่างๆที่อยากให้ลูกตัวเองเหนือกว่าลูกคนอื่น พ่อแม่เหล่านี้ต่อหน้าก็พูดจาดีต่อกัน แต่ลับหลังก็แข่งขันกัน “ร้านชำซอยสี่” โดย ฉันทลักษณ์ อดิลักษณ์ เป็นแนวสนุกสนานเช่นกัน แต่ก็เป็นการตั้งคำถามกับผู้คนที่ต้องการสิ่งนั้นสิ่งนี้โดยไม่พยายามสร้างขึ้นมาด้วยตัวเอง แต่อยากจะได้มันมาแบบสำเร็จรูป “เรื่องเหี้ยเหี้ย” โดย ลัดดา คงเดช เป็นเรื่องที่พูดถึงคนที่ต้องการออกจากกรอบที่สังคมกำหนด แต่เอาเข้าจริงๆแล้วก็ไม่ออกไปไหน “เครื่องพุ่งทะยานหมายเลข 4” โดย จตุรชัย ศรีจันทร์วันเพ็ญ ว่าด้วยเรื่องราวของเพื่อนที่สนับสนุนความใฝ่ฝันของเพื่อนแม้ว่าตนเองจะไม่เห็นด้วยกับความฝันนั้นก็ตาม “พลูโตที่รัก” โดย อรุณโรจน์ ถมมา ว่าด้วยความเป็นปัจเจกบุคคลของคนสองคน ที่ทำให้ความสัมพันธ์ทั้งสองต้องห่างออกจากกันไป ไม่ว่าจะเลือกความเป็นปัจเจกหรือเลือกความสัมพันธ์ ก็ดูจะไม่ใช่ทางเลือกที่ใช่ “ธันยาและพ่อ” โดย นภัค ไชยเจริญเดช เป็นเรื่องที่ตั้งคำถามต่อความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูกสาว ว่าเพราะเหตุใดลูกสาวจึงมักแสดงอาการรำคาญความเป็นพ่อโดยไม่มีเหตุผล แม้ว่าพ่อจะเป็นคนที่ใกล้ตัวและรักเธอที่สุดก็ตาม “A Love Song” โดย อรดา ลีลานุช บทละครที่เป็นประหนึ่งบทกวี ที่มีพื้นที่ให้กับการตีความที่หลากหลาย และ “ขมขื่นในความเงียบ” โดย สินีนาฏ เกษประไพ ที่เกิดความสะเทือนใจจากการที่ผู้หญิงชนกลุ่มน้อยในพม่าเป็นจำนวนมากถูกทหารข่มขืนโดยดูเหมือนจะไม่มีใครให้ความสนใจ ขณะที่ตอนนี้คนจำนวนมากกำลังสนใจประเทศพม่าในฐานะแหล่งท่องเที่ยวแหล่งใหม่ เรื่องราวของผู้หญิงเหล่านั้นก็ยังคงอยู่ในความเงียบเช่นเดิม




บทละครเหล่านี้ได้ถูกผู้กำกับการแสดงนำไปตีความและออกแบบเพื่อการแสดงอ่านบทละคร โดยใช้ระยะเวลาการทำงานเพียงประมาณ 2 สัปดาห์ และได้เปิดแสดงที่โรงละครพระจันทร์เสี้ยว และหลังการแสดงในแต่ละรอบ ก็มีการเสวนาร่วมกับผู้ชม โดยผู้ชมจะร่วมแสดงความคิดเห็นต่อทั้งประเด็นและวิธีการนำเสนอ รวมทั้งแลกเปลี่ยนมุมมองกับทั้งผู้เขียนบทและผู้กำกับการแสดง ซึ่งเวทีเสวนาเช่นนี้ก็คือกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้ผลิตและผู้ชม เพราะเสียงของผู้ชมก็คือองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาศิลปะการละคร



ในฐานะที่ผู้เขียนอยู่ร่วมในกระบวนการนี้ อาจทำให้มองได้ว่าผู้เขียนพยายามจะมองแต่ด้านดีของโครงการ ถึงจะเป็นเช่นนั้นก็ตาม ผู้เขียนก็ยังเห็นว่าโครงการนี้ได้เดินไปไกลกว่าเป้าหมายแรกที่ตั้งไว้ กล่าวคือ สิ่งที่ตั้งไว้ก็คือการได้บทละครขนาดสั้นที่เขียนขึ้นภายใต้บริบทสังคมไทยร่วมสมัย ที่นักศึกษาด้านการละครสามารถนำไปใช้ในการฝึกปฏิบัติ แต่เมื่อกระบวนการสิ้นสุดลง สิ่งที่พบก็คือความจริงที่ว่า การจะได้มาซึ่งบทละครที่ดีนั้น มิใช่เพียงผู้เขียนบทนั่งเขียนบทอยู่ที่บ้านเพียงลำพัง แต่บทละครที่ดีนั้นจะต้องได้มาด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของประสบการณ์ที่แตกต่างหลากหลาย ทั้งประสบการณ์ในทางปฏิบัติของนักการละคร ประสบการณ์ที่เป็นแง่มุมด้านหลักการเขียนบท ประสบการณ์ที่เป็นมุมมองเชิงสังคม และประสบการณ์ในฐานะผู้ชมละคร ข้อค้นพบชุดนี้ได้นำไปสู่การตั้งคำถามต่อการเรียนการสอนวิชาเขียนบทละครที่เป็นอยู่ในสังคมไทยว่าการเรียนการสอนดังกล่าวเป็นเช่นไร นอกจากนี้ กระบวนการดังที่กล่าวมา รวมทั้งข้อค้นพบ และบทละครทั้ง 8 เรื่อง จะถูกนำมาจัดพิมพ์เป็นหนังสือและเผยแพร่ต่อไป เพื่อที่ว่าหนังสือเล่มนี้จะได้ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาศิลปะการละครในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเขียนบทละครเวที


02 May 2017

รายชื่อบทละครสั้นที่ส่งเข้ามาร่วมโครงการ 10 Minute Play #4




สำหรับการเปิดรับบทละครสั้นสิบนาที ได้ประกาศปิดรับบทไปแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน ที่ผ่านมา เรามีความยินดีและขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจส่งบทละครสั้นมาเข้าร่วมโครงการ 10 Minute Play #4 กับเรามากถึง 84 เรื่อง ดังนี้ 


รวมรายชื่อบทละครสั้นที่ส่งเข้ามาร่วมโครงการ 10 Minute Play #4 

1. Sweet Chocolate / สันติภาพ บัวบาน
2. ลาก่อน... โกคู / กิตติภูมิ วงศ์เพ็ญทักษ์
3. ร่มรื่นขืนใจ...ไย...ไย / กิตติภูมิ วงศ์เพ็ญทักษ์
4. เออสัตว์ / กวินธร แสงสาคร
5. Sky Never Been So Blue / อาภาวี บินกำซัน
6. Mercy / อนันตศักดิ์ สมรฤทธิ์
7. ม้านั่งสีเขียว / ศิริศักดิ์ ศิริผล
8. ทะเลดาว / ธนภูมิ คงอนันตพันธ์ 
9. แหมก็ลุงไม่รู้ / วีรภัทร บุญมา
10. เมล็ดพันธุ์ / ทวีศักดิ์ เลิศเดช

11. Passion / ณัฐติพงษ์ บุญพ่วง
12. คนข้างหน้า / เจนจิรา บัวศรี 
13. ฆ่าเวลา / กวินธร แสงสาคร
14. สิวสิว / จตุรชัย ศรีจันทร์วันเพ็ญ
15. Afternoon Tea / อรดา ลีลานุช
16. จากนี้ / สุกัญญา เพี้ยนศรี
17. ทางรถไฟสายดอกไม้ / รุจีรัตน์ โชติช่วงสถาพร
18. คำตอบ / อรดา ลีลานุช
19. กลับบ้าน / ชุติมาพร สุภาพสุนทร 
20. Will Be Right Back / ทิพย์พาพร สุนทรจามร

21. Pimm’s no.1 / ฐิติกา ศรีแก้ว
22. หวน / สาธิตา พรหมมาโนช
23. หนึ่งฝัน / สาธิตา พรหมมาโนช
24. มอคค่ามินท์ / สุทธิกานต์ แก้วกันต์เนตร 
25. ซาก / สุทธิกานต์ แก้วกันต์เนตร 
26. Happy Ever After / รัฐกร พันธรักษ์ 
27. แอตติจูด / รัฐกร พันธรักษ์ 
28. สาย / ธนภูมิ คงอนันตพันธ์
29. เล้ง / ศิริวรรณ ศักดิ์ศรี 
30. เหมือนเดิมสอง / ศิริวรรณ ศักดิ์ศรี

31. The Contemporary Accidental Meeting of Lady Macbeth / ปฎิพล อัศวมหาพงษ์ 
32. อย่างไรก็ตาม / ปฎิพล อัศวมหาพงษ์ 
33. ฝันสลาย / วลัญชรัตน์ หมดมลทิน
34. หวย / วลัญชรัตน์ หมดมลทิน
35. อาลัยนักหนา / ดลชญา โลหะสุตสกุล
36. ผู้สาบสูญ / รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ 
37. ใช้งานอยู่ในขณะนี้ / ปริญญ์ เหลาแก้ว
38. เทเลทับบี้ตัวสุดท้าย / ธนวัต กตาธิกรณ์ 
39. On the Road / ชลิดา สุทธิทศธรรม
40. 16 Gigabytes / จตุรชัย ศรีจันทร์วันเพ็ญ 

41. ตรงกลางพื้นที่ว่างในเวลาเช้ามืด / วิชญ์พล ดิลกสัมพันธ์
42. สมมนาคุณที่พักฟรีที่ริมทะเล / วรพล ถาวรวรานนท์
43. Acting is Believing / ปานมาศ ทองปาน
44. หนีครู / ณัฐชญา สืบแย้ม
45. Sister / ธัส วีระยุทธวัฒนะ
46. หมดสิทธิ์เลือก / จาริพัตร์ คนยงค์ 
47. ได้เปรียบ / น่านฟ้า ลิขิตปัญยาโชติ
48. น่าอาย น่าอาย อี ยา ยา ยา ยา ยา อ๊ะ อา อะ อ๊ะ อ่ะ อาย น่าอาย อี ยา ยา ยา ยา ยา อ๊ะ อาย
/ พันธกิจ หลิมเทียนลี้ 
49. บุษบายอดรัก / รัญชิดา สิทธิสาร 
50. ตะวันออกไกล / กิติยา สิงห์ลอ

51. เอนมูซูบิ / มิกิ นภัสรพี ผิวเณร
52. เล่าเรื่องเรา / ธนวัฒน์ อัศววงษ์สันติ
53. มอง(ไม่)เห็น / อรวีร์ จันทร์ธนวิทยา
54. ช่วงนี้นอนไม่ค่อยหลับ / ภูริณัฐ บงสุนันท์
55. Hot Table / เอกรินทร์ มั่งมี
56. แซลมอนรมควัน / กิตติคุณ ศิริสังข์สุชล
57. ไดอารี่ซีรอกส์ / กิตติคุณ ศิริสังข์สุชล
58. เลือก / ภัทรพร ธนาพรไชย
59. น้ำหวาน / ภัทรพร ธนาพรไชย

60. Grey Town เมืองสีเทา / ศิรวิทย์ ศิริผล
61. แผล / มัลลิกา แสงศิริไพศาล 
62. ผู้คล้อยตาม / ปัณณวิชญ์ เถระ 
63. Inter-Secret / สชาร์ โชติเมษ 
64. หนึ่งเวลา / พรเพ็ญ ฟ้าอำนวย
65. แค่เชื่อ / ธีรนิติ์ เจียรพัฒนาคม 
66. My Baby Lullaby / ธงชัย พิมาพันธุ์ 
67. 10 Minute Man / ธงชัย พิมาพันธุ์ 
68. เขมรรำลึก / ธนพนธ์ อัคควทัญญู 
69. น้ำมันตับปลาชนิดแคปซูล / ธนพนธ์ อัคควทัญญู 
70. 13 ความเชื่อผิดๆ ที่คุณอาจจะคิดว่ามันถูกมาตลอดชีวิต (มาดูเฉลยกัน) Cr. WTF เรื่องเด็ดรอบโลก / ธนวิชญ์ ทองพรหม

71. Walking Pace / Step in... / ธีรกานต์ ไม้จันทร์ 
72. ยี่สิบสี่นาฬิกา / ลัทพร คนไว 
73. เดี๋ยวรู้เอง / ชนิดา ปัญญาเนรมิตดี
74. การเดินทาง / เมย์ สุนทรนิทัศน์ 
75. สงบสุข?  / สมฤทัย ถาวระ
76. Admission / ธนพันธ์ ตั้งสิทธิประเสริฐ
77. Classroom / ธนพันธ์ ตั้งสิทธิประเสริฐ
78. หัวหน้าห้อง ป.4 ทับ 0 / นรภัทร นาคยศ
79. จูน / กรกวิน เชษฐพยัคฆ์
80. หาดของเธอ / นารีรัตน์ เหวยยือ

81 รอรถราง / ญาดามิณ แจ่มสุกใส
82 Twenty Me / อาริยา เทพรังสิมันต์กุล
83 ทุกอย่างปกติดี / ณพิม สิงห์โตโรจน์ 
84 Red Box / วาดฝันย์ ดิลกสัมพันธ์ 

รวมทั้งหมด 84 เรื่อง 

ขั้นตอนต่อไป เราจะส่งให้ผู้ร่วมคัดเลือกบทอ่านและเลือก หลังจากนั้นก็จะประกาศผลในอีกประมาณสิบวัน โปรดติดตามค่ะว่าจะได้จัดแสดงทั้งหมดกี่เรื่อง



01 April 2017

เปิดรับบทใหม่ 10 Minute Play #4



10 Minute Play#4 

เพียงสิบนาทีแค่นั้น... 

พระจันทร์เสี้ยวขอเชิญชวนคนที่รักและสนใจการเขียนบทละครเวที ส่งบทละครสั้นสิบนาทีที่เขียนขึ้นใหม่และยังไม่เคยจัดแสดงที่ไหนมาก่อน 
มาเข้าร่วมการคัดเลือกกับเรา  

งานนี้ไม่มีรางวัลและประกาศนีบบัตรมอบให้ แต่หากเราสนใจบทของคุณ เราจะเลือกและจัดแสดงให้คุณ 
ในรูปแบบการแสดงอ่านบทละคร "10 Minute Play #4" พร้อมกระบวนการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ชม 

จะประกาศผลบทใช่วงต้นเดือนพฤษภาคม
จะจัดแสดงในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม ที่ โรงละครพระจันทร์เสี้ยว Crescent Moon Space 

หากสนใจเข้าร่วมการคัดเลือก
โปรดส่งบทของคุณมาทางอีเมล์ (รับเฉพาะทางอีเมล์เท่านั้น) crescentmoontheatre@gmail.com 


*** บทมีความยาวประมาณ 10 นาที โดยใส่ชื่อและนามสกุลจริงและเบอร์โทรศัพท์ของผู้เขียนบท และ ส่งได้สูงสุด 2 บทต่อหนึ่งท่าน *** 

เปิดรับสมัครบทใหม่ ตั้งแต่ 1 - 30 เม.ย. 2560  
สอบถามเพิ่มเติมที่ Fb: crescentmoontheatre 
โทร. 08 1929 4246



29 March 2017

บันทึกการทำงานกับ Anna-Maria Schlemmer



แอนนาเป็นศิลปินหุ่นเงา จากประเทศเยอรมัน ปรกติงานของแอนนาจะทำงานคนเดียว ลักษณะงานคือเขาจะตัดหุ่นเงาขนาดใหญ่วางบนหน้าจอ และจะตัดตัวละครให้เล็กพอเหมาะกับฉากแล้วเชิดหน้าฉาก ทำให้สามารถเห็นสีของวัสดุที่ใช้ได้ชัดเจนขึ้น เรื่องที่แอนนาเล่าจะแต่งขึ้นเอง หรือดัดแปลงจากนิทานหรือเรื่องเล่าของประเทศที่เธอไปทำการแสดง งานนี้พี่นาดและพี่ผึ้งเข้ามาช่วยดูแลกระบวนการทั้ง 4 วัน



วันที่ 1 เราเริ่มจากแนะนำตัว และเริ่มเขียนวัสดุ อุปกรณ์ที่เรามี และเราจำเป็นต้องใช้ แล้วก็เริ่มโยนไอเดียในการทำงานเริ่มจากประเด็นการเดินทาง และการอยู่ในที่ใหม่ โดยให้แลกเปลี่ยนประสบการณ์เดินทางของแต่ละคน จนมีหลายประเด็นที่สนใจ แล้วลองสร้างภาพใหญ่ 5 ภาพว่าเราเห็นอะไรกันบ้าง แล้วลองเล่าเติมเต็มภาพเหล่านั้น
แล้วเริ่มเขียนสิ่งที่ต้องสร้างให้ปรากฎตามภาพ



วันที่ 2 เราสร้างกล่องที่สำหรับเอาไว้ฉาย และสร้างหุ่นเงาต่างๆ ในแต่ละซีน ได้แอบดูแอนนาตัดกระดาษเป็นตัวละครโดยไม่ต้องร่าง และได้เห็นเทคนิคการใช้กระดาษกาวกับไม้ทำที่เชิดที่สามารถพลิกไปมาได้



วันที่ 3 เราได้เอาของที่ทำไว้ประกอบให้เกิดเป็นฉาก และหาของที่มีอยู่แล้วมาเสริมเติมแต่ง และหาวิธีเล่นกับมัน วันนี้เราก็ยังคงตัดหุ่นและทำของเพิ่มอีก ตัวละครที่คิดไว้ไม่พอ หรือนึกสนุกเจออะไรระหว่างทางก็ตัดเพิ่ม แล้วเราก็เริ่มทดลองประกอบซีนที่คิดไว้ตั้งแต่แรก แอนนาเล่นแบบด้นสดซึ่งคนที่เล่นด้วยต้องดูและฟังกัน เธอพากย์สดและความสดใหม่ก็ทำให้เจอจังหวะเล่น เราประกอบร่างเสร็จดึก จึงรันเร็วอีกรอบเพื่อให้วันรุ่งขึ้นไม่ลืม(แต่เอาจริง…ลืม)




วันที่ 4 วันนี้เราต้องนำการแสดงที่สร้างร่วมกันมาทำการโชว์เคส เราได้ทวนกันรอบนึงก่อนการแสดงเริ่ม และจัดระเบียบการวางหุ่น ซึ่งสิ่งนี้สำคัญต้องมี เพื่อทำให้นักแสดงจำได้ว่าของอยู่ที่ไหนตัวไหนต้องส่งต่อ ตัวไหนต้องใช้ซ้ำต้องเก็บให้ดี และก็ถึงเวลาแสดง แอนนาบอกตื่นเต้น ผมเองก็บอกว่าตื่นเต้นเหมือนกัน คนดูเยอะกว่าที่คิดไว้ มีแฟนคลับแอนนาที่มาไกลจากกาญจนบุรีมาดูเธอแสดง เราค่อยๆเล่นไปจนปัญหาเกิดข้างหลัง หุ่นหมาที่แอนนาต้องเชิดไม้เชิดหลุดแล้วกาวดันติดกัน แต่เราก็ค่อยๆแก้ไป เล่าไปอย่างตั้งใจ มันดีนะกับภาวะการต่อสู้เพื่อให้หมากลับมาเชิดได้เพราะหมาเขาออกหลายตอนทีเดียว เรื่องดำเนินไป….จบการแสดงลงด้วยเพลงกล่อมเด็ก ไฟดับ… จบเเล้วหรอ คิดในใจว่าเร็วจัง





ขอบคุณนักแสดงและทีมงานทุกคน ตัวละครทุกตัว และขอบคุณคนดู

บันทึกโดย เบญจ์ บุษราคัมวงศ์ 
Photo : Chaiwat Khamdee





Shadow puppet workshop and showcase



เมื่อช่วงวันที่ 4-8 มีนาคม ที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสได้ทำงาน Shadow puppet workshop ร่วมกับ Anna-Maria Schlemmer นักละครหุ่นเงาจากเยอรมัน
จากการเวริคชอปสี่วัน เราได้นำเสนอเป็นโชว์เคสสั้นๆ ในวันที่ 8 มีนาคม 

ชวนชมภาพบรรยากาศ Shadow puppet workshop and showcase 












About director and performer : Immature

แนะนำผู้กำกับและนักแสดง About director and performer :


ธนพนธ์ อัคควทัญญู Thanaphon Accawatanyu

เฟิร์สจบการศึกษาจากคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน เอกภาพยนตร์และภาพถ่าย ขณะนี้ยังไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน นอกจากดูภาพยนตร์ ทำงานละครและงานฟรีแลนซ์เขียนบท
เป็นนักทำละคร ผู้เขียนบท และผู้กำกับกลุ่ม Splashing Theatre

Thanaphon Accawatanyu graduated from Faculty of Journalism and Mass Communication at Thammasat University majoring in Journalism and Photography. After graduating, he has been watching movies, working on theatre productions, and working as a freelance scriptwriter. He is the scriptwriter and director of plashing Theatre.

Works ผลงานที่ผ่านมา
Zone (2014)
Whaam!! (2015), The Art of Being Right (2015)
The Disappearance of The Boy on a Sunday Afternoon (2016)
Thou Shalt Sing : A Secondary Killer's Guide to Pull the Trigger (2017)



สินีนาฏ เกษประไพ Sineenadh Keitprapai 

วันๆไม่ทำอะไร คิดแต่จะทำละคร เป็นนักทำละครที่มีผลงานละครเวทีและการแสดงมาอย่างต่อเนื่องมากว่ายี่สิบปี ยังคงเป็นนักการละครที่ชอบฝึกฝนค้นหาทดลองลองผิดลองถูกอยู่เสมอ ปัจจุบันเป็น Artistic Director พระจันทร์เสี้ยวการละคร

Sineenadh Keitprapai does nothing but thinking of doing theatre every day. She is a theatre maker who has been working in theatre continually for over 20 years. She still loves to explore and experiment. She is currently the artistic director of the Crescent Moon Theatre.

ผลงานที่ผ่านมา Works
2014 Shade Borders (Chang Theatre), Shade Borders (BACC)
2015 2 Dolls, Black Party : In the Dark, I Have Alice in Mind, S-21, Mai Pen Rai Project in Seoul, I Sea Project (BTF)
2016 Shade Borders(MUPA), Devising theatre workshop : Disconnect, รื้อ [being Paulina Salas and the practice]


ยังเยาว์ Immature : adult and childish sometimes




พระจันทร์เสี้ยวการละคร เสนอ 

ยังเยาว์ 
Immature : adult and childish sometimes 

23 – 26 March, 30 March – 2 April, 2017 
Time 8.00 pm.
at Crescent Moon Space

...Growing up is losing some illusions in order to acquire others... 
การเติบโตคือการสูญเสียภาพลวงตาบางอย่างเพื่อให้ได้ภาพลวงตาอย่างอื่นมาแทน

image l words l movement and private stories 

A collaborative performance by Thanaphon Accawatanyu and Sineenadh Keitprapai 
การแสดงโดย ธนพนธ์ อัคควทัญญู และ สินีนาฏ เกษประไพ

วันที่ 23-26 มี.ค. และ 30 มี.ค. – 2 เม.ย. 2560 / เวลา 20.00 น.
23 – 26 March, 30 March – 2 April, 2017 / Time 8.00 pm.
at Crescent Moon Space (Pridi Banomyong Institute, Soi Thonglor)
Ticket : 450.-
Tel : 086 797 1445, 081 929 4246
Facebook : CrescentMoonTheatre

25 January 2017

Ladda in Tom Actz Magazine


ขอขอบคุณนิตยสาร Tom actz Magazine
ที่ลงบทสมภาษณ์ของ ลัดดา คงเดช (ผึ้ง)
นักการละครชองเรา พระจันทร์เสี้ยวการละคร
ในคอลัมน์ Opinion ค่ะ




18 January 2017

อบรมออกแบบแสง Stage Lighting Design workshop #12




อบรมออกแบบแสง Stage Lighting Design workshop #12
6-9 เมษายน 2560 

พระจันทร์เสี้ยวการละครจัดอบรมออกแบบแสงละครเวที (ครั้งที่ 12) สำหรับผู้สนใจงานออกแบบแสงละครเวทีและการแสดงบนเวที โดยไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานการทำงานด้านนี้มาก่อน การอบรมจะเริ่มพื้นฐานจากทฤษฎี พร้อมปฏิบัติงานจริง แบบ 4 วันเต็ม ที่โรงละครพระจันทร์เสี้ยว Crescent Moon Space

วันที่ 6-9 เมษายน 2560 (เวลา 10.30-17.30 น.)
ที่ Crescent Moon Space / สถาบันปรีดี พนมยงค์ (ซ.ทองหล่อ)

***มีค่าลงทะเบียน***

สอบถามเพิ่มเติม โทร 081 929 4246

เมล์มาขอใบสมัครได้ที่ 
lightingworkshop@yahoo.com

หรือดาวน์โหลด
https://drive.google.com/file/d/0B86h9gNPqVVKN1lOZEtpYTUxekE/view?usp=sharing

*** รับใบสมัครทางอีเมล์เท่านั้น *** 

FB/CrescentMoonTheatre


---------------------

สอนโดย 
ทวิทธิ์ เกษประไพ



ผู้กำกับเทคนิคและออกแบบแสงของพระจันทร์เสี้ยวการละคร เริ่มทำงานแสงตั้งแต่สมัยเรียน จากนั้นทำงานกับบริษัทแสงอีกหลายบริษัทเป็นเวลากว่ายี่สิบปี และทำงานออกแบบแสงให้กับละครเวทีตั้งแต่ปี 2538 ออกแบบแสงและเป็นผู้กำกับเทคนิคให้กลุ่มละครบีฟลอร์ 2542 - 2551 ปัจจุบันเป็นนักทำละครเวทีและออกแบบแสงละครเวทีหลายเรื่องกับหลายกลุ่มละคร 

ผลงานที่ผ่านมา เช่น 

2559
Mai Pen Rai Project 2016
59x59 Mime Live 
Shade Borders (in MUPA Festival)
นี่คือสถานแห่งภาพข้างหลัง
Woyzeck
Pararelle [Between the Line]
HNY Mr.Smith
ละครเวที "รื้ อ" [being Paulina Salas and the practice]

2558
Mai Pen Rai Project 2015
In Outer Space (ละครสั้นสี่เรื่อง)
กุลสตรีศรีสยาม 
BlacK Party : Devising Party (ปาร์ตี้สีดำ การแสดงสดนอกและในโรงละครจากศิลปินการละคร 11 คน)
สดับลมขับขาน 
Between 
ขบวนการนกกางเขน 
24hr Festival 2015 
อสูรกาย 
เพลงนี้พ่อเคยร้อง 
Secret Keeper
I Have Alice in Mind ฉัน มี อลิซ
S-21
Mai Pen Rai Project in Seoul 2015
Murder (Un)Seen

2557
Utopian Malady,
ห้องสีเทา (In the Grey Room) 
24hr Festival 2014
เงา-ร่าง (Shade Borders) 
ความฝันของตัวอ่อน (A Fetus Dream) 
The Cult 
เสียงนั้นชื่อปรารถนา 
เทศกาลหุ่นโลก ที่ โรงละครวังหน้า 
สมันตัวสุดท้าย 
อ่านบทละคร อ่านเรื่องเพศ
10 Minute Play 2+3

Creative Movement & Body Expression Workshop


Photo : อดิเดช ชัยวัฒนกุล

Creative Movement & Body Expression Workshop

เป็นการอบรมแบบวันเดียว (4 ชั่วโมง) เน้นเรื่องการใช้ร่างกายในการเคลื่อนไหว เหมาะสำหรับนักแสดงและผู้สนใจทั่วไปที่อยากจะใช้ร่างกายในการสื่อสารเพื่อการแสดง 
- รู้จักและควบคุมร่างกาย
- รู้จักการปล่อยร่างกายและตระหนักรู้ปฎิกริยาทางร่างกายผ่านการเคลื่อนไหว
- ไม่กลัวที่จะผิด
- ทดลองค้นหาการสื่อสารผ่านการเคลื่อนไหวกับโจทย์ 
(รับจำนวนจำกัด เพื่อสะดวกในการเคลื่อนไหวกับการใช้พื้นที่) 

นำกระบวนการโดย สินีนาฏ เกษประไพ

วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม 2560 
เวลา 14.00-18.00 น.
ที่ Crescent Moon Space
ค่าลงทะเบียน 1,000 บาท
โทร 086 797 1445, 081 929 4246 
FB:CrescentMoonTheatre 

- - - - - - - - - - - 

เกี่ยวกับ 
สินีนาฏ เกษประไพ 


นักการละครที่มีผลงานละครเวทีและการแสดงมาอย่างต่อเนื่องมากว่ายี่สิบปี มีความสนใจและได้เข้าฝึกฝนการใช้การเคลื่อนไหวร่างกาย Body Movement & Body Expression และ การใช้ร่างกายตามแนวทางของ Growtowski กับคำรณ คุณะดิลก และ พระจันทร์เสี้ยวการละคร ตั้งแต่ปี 2537 หลังจากนั้นได้ฝึกฝนและแลกเปลี่ยนกับนักการละครและนักเต้นจากต่างประเทศหลายคน นอกจากนี้ได้ฝึก Butoh Dance และ Viewpoints ตั้งแต่ปี 2539 ยังคงเป็นนักการละครที่ชอบฝึกฝนเรียนรู้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ และชอบที่จะนำเอาประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ ฝึกฝน จากการทำงานและประสบการณ์จากการสอนในมหาวิทยาลัยมาประยุกต์ใช้ในการนำกระบวนการทำงาน และ Workshop 
ปัจจุบันเป็น Artistic Director พระจันทร์เสี้ยวการละคร
ผลงานที่ผ่านมา เช่น
2016 
Shade Borders(MUPA), Devising theatre workshop : Disconnect, รื้อ
2015 
2 Dolls, Black Party : In the Dark, I Have Alice in Mind, S-21, Mai Pen Rai Project in Seoul, I Sea Project (BTF)
2014 
Shade Borders (Chang Theatre), Shade Borders (BACC)


Director Lab 2017




บรรยากาศจาก #DirectorLab ที่เชียงดาว 
Director Lab by Bangkok Theatre Network (BTN)
10-14 Jan, 2017 at Chiangdao / Chiangmai






ลัดดา คงเดช Ladda Phueng Kongdach นำเสนอผลงาน "Star that Falls" ในกลุ่มของ Young Director 
Director Lab by Bangkok Theatre Network 
10-14 Jan, 2017 at Chiangdao / Chiangmai






สินีนาฏ เกษประไพ Sineenadh Keitprapai นำเสนอผลงาน เงา-ร่าง (Shade Borders) ในเวอร์ชั่นผู้ชายสี่คน 
Director Lab by Bangkok Theatre Network 
10-14 Jan, 2017 at Chiangdao / Chiangmai 

ยายหุ่นไปงานวันเด็ก



เมื่อวันเสาร์-อาทิตย์ ที่ 14-15 มกราคมนี้ เวลา บ่ายสองครึ่ง บ่ายสี่ครึ่ง ยายหุ่นจะไปเล่านิทานเรื่อง "กระต่ายน้อยนอนไม่หลับ" และ "พรจากดวงดาว" ให้เด็กๆฟัง ที่เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ ชั้น 1 


ขอขอบคุณนักแสดง นักดนตร และทีมงานทุกคนจ้าาาาาา

Grotowski's Plastique Workshop




01.08.2017 เปิดปีด้วยเอนเนอจี้ดีๆ 
ขอขอบคุณ คุณฮารุนะ Haruna Tsuchiya ที่มาเยียมเยือนเรา และได้นำกระบวนการ Grotowski's Plastique workshop ให้เราได้ค้นหาทดลอง 
'Grotowski's Plastique workshop' by Haruna Tsuchiya

01 January 2017

Happy New Year 2017


สวัสดีปีไก่ค่ะ
Happy New Year from Crescent Moon 
Best Wishes.

image by : Aniu