27 August 2011

ข่าวประชาสัมพันธ์ - ละครเวทีเส้นด้ายในความมืด





















พระจันทร์เสี้ยวการละคร ร่วมกับ เดโมเครซี สตูดิโอ
เสนอ ละครเวที

เส้นด้ายในความมืด
A Thread in the Dark

...ความรัก อำนาจ และภาพลวงตา...


บทละครโดย เฮลลา เฮสเส
แปลโดย ศรวณีย์ สุขุมวาท
กำกับการแสดงโดย สินีนาฏ เกษประไพ

จากบทละครของนักเขียนหญิงชาวเนเธอแลนด์ชื่อ เฮลลา เฮสเส (Hella Haasse) นักการละครและเขียนบทละคร มีผลงานนิยายขนาดสั้น อัตชีวประวัติ บทความ บทกวี ที่ได้รับรางวัลทางวรรณกรรมมากมาย บทละครเรื่อง A Thread in the Dark ได้รับรางวัล Visser Neerlandia เมื่อ ปี ค.ศ.1962




เรื่องราวเทพปกรณัมกรีกเกี่ยวกับมิโนทอร์ในถ้ำอันลึกลับลาบิรินท์บนเกาะครีท ทุกปีกษัตริย์มีนอสแห่งครีทจะต้องจัดส่งชายหญิงเพื่อเป็นเครื่องสังเวยต่อมิโนทอร์ กระทั่งถึงคราวของ เธเซอุส เจ้าชายแห่งเอเธนส์ ซึ่งตกอยู่ภายใต้การปกครองของครีท ประกาศจะเอาชนะปีศาจร้าย โดยมีอารีอาดเน ธิดาแห่งกษัตริย์มีนอสแอบนำเส้นด้ายไปให้เธเอซุสหนีรอดออกมาจากความมืดภายในถ้ำลาบิรินท์ แต่เหตุการณ์นี้ถูกนำมาเล่าใหม่ผ่านสายตาของอารีอาดเน



A retelling of the Myth...

“เส้นด้ายในความมืด” ด้วยฝีมือการแปลบทละคร โดย ผศ.ศรวณีย์ สุขุมวาท แห่งภาควิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กำกับการแสดงโดย สินีนาฏ เกษประไพ แห่งพระจันทร์เสี้ยวการละครกับเรื่องเก่าที่ถูกนำมาเล่าใหม่ด้วยมุมมองของผู้หญิงที่สะท้อนความจริงเกี่ยวกับ ความรัก อำนาจ และภาพลวงตา

"ให้ข้าอยู่อย่างโดดเดี่ยวและเจ็บปวด
ในโลกที่ความจริงมีความหมาย"




นำแสดงโดย
ศิริธร ศิริวรรณ, เบ็น โกศลศักดิ์, ณัชศลิษฏา วัลย์ณัฐประภา, ลาภิณ เหล่าสุนทร
ร่วมด้วย
กวินธร แสงสาคร, จิรัชพงศ์ เรืองจันทร์, เกรียงไกร ฟูเกษม, ลัดดา คงเดช, กอใจ อุ่ยวัฒนพงศ์ , รพีภัทร มานะสุนทร
นักดนตรี ศุภิสรา กิตติคุณารักษ์

2-6 และ 8-12 กันยายน 54 / รอบเวลา 19.30 น.
แสดงที่ เดโมเครซี เธียเตอร์ สตูดิโอ (ซอย สะพานคู่, ลุมพินี)
บัตรราคา350 B.
สำรองบัตรได้ที่ 081 612 4769 & 084 647 4783
http://www.facebook.com/?ref=home#!/CrescentMoonTheatre





ขอเชิญร่วมแลกเปลี่ยนพูดคุยใน เสวนาหลังละคร "เส้นด้ายในความมืด"
วันเสาร์ 3 ก.ย.
Re telling of the Myth พูดคุยกับผู้แปลบท ผศ.ศรวณีย์ สุขุมวาท
และ
วันเสาร์ 10 ก.ย.
พูดคุยกับผู้กำกับ สินีนาฏ เกษประไพ
ดำเนินการเสวนาโดย อ.อภิรักษ์ ชัยปัญหา







แผนที่โรงละคร Democrazy Theatre studio


20 August 2011

พระจันทร์เสี้ยวกับเส้นด้ายในความมืด



บทละคร “เส้นด้ายในความมืด” เป็นบทละครที่เขียนโดยนักเขียนหญิงชาวเนเธอแลนด์ชื่อ Hella Haasse ซึ่งนักการละครและเขียนบทละคร มีผลงานนิยายขนาดสั้น อัตชีวประวัติ บทความ บทกวี ที่ได้รับรางวัลทางวรรณกรรม​มากมาย บทละครเรื่อง A Thread in the Dark ได้รับรางวัล Visser Neerlandia เมื่อ ปี ค.ศ.1962 บทละครเรื่องนี้ตีพิมพ์อยู่ในหนังสือรวมบทละคร A Touch of the Dutch


เรื่องราวเดิมมาจากเรื่องราวเทพปกรณัมกรีกเกี่ยวกับมิโนทอร์ในถ้ำอันลึกลับลาบิรินท์บนเกาะครีท​ทุกปีกษัตริย์มีนอสแห่งครีท​จะต้องจัดส่งชายหญิงเพื่อเป​็นเครื่องสังเวยต่อมิโนทอร์​ กระทั่งถึงคราวของ เธเอซุส เจ้าชายแห่งเอเธนส์ ซึ่งตกอยู่ภายใต้การปกครองข​องครีท ประกาศจะเอาชนะปีศาจร้าย โดยมีอารีอาดเน ธิดาแห่งกษัตริย์มีนอสแอบนำ​เส้นด้ายไปให้เธเอซุสหนีรอด​ออกมาจากความมืดภายในถ้ำลาบ​ิรินท์ แต่เหตุการณ์นี้ถูกนำมาเล่า​ใหม่ผ่านสายตาของอารีอาดเน



A retelling of the Myth…

“เส้นด้ายในความมืด” แปลบท โดย ผศ.ศรวณีย์ สุขุมวาท แห่งภาควิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เคยแปล Antigone ฉบับของ Bertolt Brecht ที่พระจันทร์เสี้ยวเคยจัดแสดงมาแล้วในปี 2549 และแปล Hamet ซึ่งเคยจัดแสดงโดยคณะละคร 28 เมื่อปี 2538




“เส้นด้ายในความมืด” กับเรื่องเก่าที่ถูกนำมาเล่าใหม่ด้วยมุมมองของผู้หญิงที่่สะท้อนความจริงเกี่ยวกับ ความรัก อำนาจ และภาพลวงตา ครั้งนี้กับการกำกับการแสดงและการทำงานกับบทละครคลาสสิค ร่วมกับนักแสดงของพระจันทร์เสี้ยวรุ่นใหม่และสมาชิกรุ่นเก่า รวมนักแสดง 10 คน กับนักดนตรีอีก 1 และทีมงานอีกหลายคน เราหวังว่าจะทำให้บทละครเรื่องนี้มีชีวิตขึ้นมาอย่างที่เราเห็นและรู้สึก


17 August 2011

A Thread in the Dark - pre pro

ใกล้เข้ามาแล้วสำหรับละครเวทีเรื่องใหม่ของพระจันทร์เสี้ยวการละครเรื่อง "เส้นด้ายในความมืด" (A Thread in the Dark) บทละครจากนักเขียนหญิงชาวเนเธอแลนด์ Hella Haasse ตอนนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนซ้อมเข้มที่ในโรงละคร เรื่องนี้พระจันทร์เสี้ยวการละครจะยกคณะไปแสดงที่โรงละคร Democrazy Theatre studio ซ.สะพานคู่




ชมบรรยากาศภาพจากการซ้อม











ภาพถ่ายโดย จิรัชพงศ์ เรืองจันทร์

06 August 2011

I Sea - review from Madam Figaro

I Sea : เวลา-ผู้หญิง-การมอง-ทะเล
โดย อภิรักษ์ ชัยปัญหา







ใครนะ? ที่เปรียบเทียบอารมณ์ความรู้สึกของผู้หญิงว่าเหมือนทะเล...บางครั้งก็สงบงดงาม แต่บางครั้งก็เกรี้ยวกราด ไม่น่าเข้าใกล้...นั่นอาจเป็นมุมมองที่คนพูดซึ่งอาจเป็นผู้ชายมองพวกเธอเชื่อมโยงกับทะเล...ว่าแต่ แล้วเวลาผู้หญิงมองตัวเองกับทะเล..พวกเธอคิดยังไงกันบ้างนะ...



ผู้หญิงเก่งสองคนของพระจันทร์เสี้ยวการละคร...เธอชวนเราไปดูว่าเวลาที่เธอทั้งสองมองทะเล..พวกเธอคิดอะไรอยู่ ผ่านรูปแบบการแสดงเดี่ยวคนละเรื่องของพวกเธอ แต่ใช้ชื่อรวมเป็นคำนามสองคำว่า I Sea

ตอนที่ผมไปถึงโรงละครขนาดเล็ก black box ที่ชื่อว่า Crescent Moon Space แถว ๆ ทองหล่อ ก่อนเวลาการแสดงจะเริ่ม ปรากฏว่า มีผู้ชมไปรอชมการแสดงของสองสาวกันในจำนวนที่แทบนึกไม่ออกว่า แล้วผู้ชมจะเข้าไปอัดรวมกันในห้องเล็ก ๆ ห้องนั้นได้อย่างไร..แต่ในที่สุด เราก็ทำได้สำเร็จ




งานแบ่งออกเป็นสองชิ้น ชิ้นแรกเป็นงานของ ฟาริดา จิราพันธุ์ ใช้ชื่อว่า FLOTsam เล่าเรื่องราวของความสดใสในการเดินทางของชีวิต ที่คึกคัก สนุกสุดหวี่ยง จนกระทั่งวันหนึ่งเธอก็ตกเรือจมน้ำเพราะเรือแตก แล้วหลังจากนั้นการแสดงก็พาเราดำดิ่งไปกับภาวะของผู้หญิงในวัยผู้ใหญ่ที่ชีวิตเหมือนเรือแตกกลางทะเล เธอต้องกลับมาสำรวจร่างกายของตนเอง ต้องตะเกียกตะกาย ต้องประคองตัวไปเรื่อย ๆ เพื่อที่พบว่า ท้ายที่สุดสิ่งที่ทำได้คือการเกาะซากเรือของชีวิตนั้นอย่างสงบนิ่ง และใช้การรำลึกถึงวัยเยาว์ของตนเอง ประทังชีวิตให้พอหายใจต่อไปได้

ทั้งหมดนั้น เป็นเรื่องย่อ ที่ผมคิดเอง...เพราะการแสดงเดี่ยวในครั้งนี้ ไม่มีบทพูด และไม่ได้เล่าเรื่องแบบละครปกติ แต่เป็นการสื่อสารผ่านการแสดงที่เรียกว่า Physical Theatre ซึ่งนักแสดงมักสื่อสารผ่านการเคลื่อนไหวทางร่างกาย ก่ำกึ่งระหว่างการเต้นกับการแสดงละคร การแสดงชิ้นนี้ของฟาริดานั้น โชว์ทักษะทางร่างกายของนักแสดงได้อย่างน่าสนใจ ผู้ชมจะไม่ได้รับอนุญาตให้รู้เรื่องอะไรทั้งสิ้น เพราะเธอเข้ามาก็แสดงเลย ส่วน “เรื่อง” และ “อารมณ์” ที่ได้ เป็นเรื่องของคนดูแต่ละคน จะใส่จินตนาการของตนเองลงไปกับสิ่งที่ได้ (อย่างที่ผมสร้างเรื่องเองข้างต้น)

ความน้อยของอุปกรณ์ประกอบ เสียง และ ภาพ ที่ฟารีดานำมาใช้ มันทำให้ผู้ชมเน้นไปที่ตัวนักแสดงเป็นลำดับแรก ส่วนประกอบอื่น ๆ เมื่อเข้ามาเมื่อศิลปินต้องการให้เกิดความหมายอะไรบางอย่างในเรื่องเท่านั้น (เช่น ภาพวัยเยาว์ของเด็กหญิงฟารีดา ที่สวมชุดเดียวกับ ฟารีดาในวัยสาว ซึ่งนอนนิ่งเกาะซากเรือที่อัปปางอยู่นั้น เจ็บปวดและชวนให้เข้าไปปลอบโยน)



หากให้ผมมองในฐานะ show ผมคิดว่างานชิ้นนี้ของเธอ “ซื่อ” ดี แต่ก็อด “อยากได้เพิ่ม” ในเรื่องชั้นเชิงในการเล่าเรื่องมากกว่านี้ บางทีหากปรับหรือเพิ่มกลวิธีในการเล่าเรื่องมากกว่านี้อีกนิด FLOTsam อาจพาผู้ชมให้รู้สึกเคว้งคว้างไปกับเธอ มากกว่าการปล่อยให้ผู้ชมเป็นแค่คนบนฝั่งที่เฝ้ามองชะตากรรมของผู้หญิงคนนี้แต่ฝ่ายเดียว




งานชิ้นที่สองเป็นผลงานของ สินีนาฏ เกษประไพ ผู้นำของพระจันทร์เสี้ยวการละคร รุ่นที่ 3 และศิลปาธรสาขาศิลปะการแสดงหญิงคนแรกและคนเดียว เธอตั้งชื่องานของเธอว่า ChANge (สังเกตตัวอักษรตัวใหญ่ที่รวมกันได้ว่า CAN)



งานของเธอเริ่มต้นด้วย ชายหนุ่มนักแซกโซโฟนในชุดเจ้าบ่าว ที่ออกมาเป่ามนต์เรียก เจ้าสาว (สินีนาฎ )ออกมา ในช่วงแรก เราจะได้เห็นว่าการเป่าแซกโซโฟนของเจ้าบ่าวนั้น เป็นการควบคุมการเคลื่อนไหวของเจ้าสาว จนต่อมาเธอทนต่อไปไม่ไหว จึงสลัดกระโปรงของเจ้าสาวนั้นทิ้งไป เพื่อเปลี่ยนไปเป็นตัวของตัวเอง ในช่วงนี้ การแสดงจะขยายภาวะของผู้หญิงที่เลือกเส้นทางของตนเอง โดยขบถจากเรื่องเล่า “ชาย-หญิง” ที่สังคมให้ค่าว่าปกติ ในลักษณะอุปมากับการลอยคว้างกลางทะเล ซึ่งบางครั้งก็ลอยพลิ้วแบบแมงกะพรุน บางครั้งก็ปล่อยตัวไปกับคลื่นที่สาดซัด โดดเดี่ยว จนกระทั่งสามารถเดินทางมาถึงฝั่งในที่สุด (เรื่องจบลงที่ภาพถนนที่ทอดตัวไปข้างหน้าอย่างที่ไม่รู้ว่าจะไปสิ้นสุดตรงไหน)



มีคนกล่าวว่า สำหรับนักเต้นผู้หญิงแล้ว จะเต้นให้มีประสิทธิภาพได้ อายุน่าจะอยู่ในช่วง 20 ไม่เกิน 30 แต่สำหรับการแสดงของสินีนาฏ ในครั้งนี้เป็นอีกครั้งที่พิสูจน์ว่า คำกล่าวที่ว่าไม่จริงเสมอไปสำหรับนักเต้นสาวใหญ่ หากนักเต้นหญิงคนนั้นดูแลและฝึกฝนตนเองอย่างสม่ำเสมอ การเต้น ผสม Butoh ผสม การแสดงแบบ physical Theatre ของสินีนาฎ ในครั้งนี้ ในสายตาผมแล้ว เธอยังให้พลังในการสื่อสารผ่านทางร่างกายได้มาตรฐานทีเดียว มีข่าวลือมาว่า นี่อาจเป็นโซโล่ชิ้นสุดท้ายที่สินีนาฏจะทำ ผมขอภาวนาให้มันเป็นเพียงข่าวลือต่อไป



อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาภาพรวมแล้ว งานชิ้นนี้กลับเด่นในด้านการกำกับการแสดงมากกว่าการแสดงของเธอ ด้วยเพราะองค์ประกอบด้านเพลง ภาพทั้งวิดีโอ และ โมชั่น กราฟฟิค และแสง ที่สินีนาฏ เลือกมาใช้ในงานของเธอนั้น มันทำหน้าที่ “ส่งความหมาย” อย่างโดดเด่นจนกลบการแสดงของเธอไปบ้าง ผมยังรู้สึกเสียดายว่าในบางโมเมนท์มีแค่การแสดงของเธอก็น่าจะเพียงพอ และอาจพาให้เรา ‘รู้สึก’ ไปกับภาวะของผู้หญิงคนนั้นได้มากกว่านี้ (เป็นเทรนด์ของการแสดงร่วมสมัยของไทยในยุคหลังที่นิยมการสื่อสารด้วยสื่อที่หลากหลาย และพยายามทำลายกรอบการนิยามว่าตนเองเป็นศิลปะประเภทใด เห็นงานแบบนี้บ่อย ๆ ชักคิดถึงงานง่าย ๆ กว่านี้สะแล้ว)



หลังจากดูเรื่องเล่าของพวกเธอกับทะเลจบลง..สิ่งที่ผมทำคือโทรศัพท์ไปหาผู้หญิงที่อยู่รอบ ๆ ตัวแล้วถามเธอว่า ‘สบายดีไหม’



ภาพโดย : อดิเดช ชัยวัฒนกุล

I Sea - review from The Nation


Waves of womanhood
By Pawit Mahasarinand
Special to The Nation
Published on June 1, 2011


The poignancy gets watered down in the solo performances of 'I Sea'
"FLOTsam" began last week at the Crescent Moon Space, actress Farida Jiraphan filled the performance area with plastic bags, danced happily to Joey Boy's "Salawan" and "Loi Thale", and invited people from the audience to join her.



Then she produced a rock-like box to dance on, but fell off. The lighting changed abruptly, and when Farida re-emerged from behind the box, her movements expressed what she's experienced in life.

In "ChANge" - the other part of the double bill titled "I Sea" - Silpathorn artist Sineenadh Keitprapai, artistic director of the Crescent Moon Theatre, wore white body powder and a white wedding gown.

Saxophonist Kosit Singchalerm played "Love Potion No 9", "Music Box Lullaby" and Phillip Glass' "Mad Rush". Sineenadh's corresponding movements, like Farida's, took us through different struggles experienced by Thai women.

These two women are better known as actresses rather than dancers, and their talent made it easy to empathise with what they were feeling. But at the same time, their wordless performances would have been more poignant and less melancholic had they collaborated with choreographers.

Solo performance is a significant trend in contemporary dance and theatre, but it doesn't mean one artist has to do everything on his or her own.

Motion-graphic designers Taechit Jiropaskosol and Wattanapume Laisuwanchai, who've collaborated with many different theatre groups recently, projected captivating visuals on the back wall, and lighting designer Tawit Keitprapai helped shift the mood both subtly and sharply.

These visual elements always supported the performance and never "stole the show".


"I Sea" ended its short run on Sunday, but its strong visual and aural imagery lasted much longer, like waves continuing to reach the shore. They are unpredictable - soothing yet doubtful. You don't know whether bigger, more destructive wave might hit.

There were few dance and theatre works onstage in recent months, but our evenings are getting much busier.

Scenario's "Tawiphob: The Musical" opened on Wednesday at the Muangthai Rachadalai Theatre, re-staged with two new leads. Opening tonight at M Theatre's Blue Box Studio is Life Theatre's "Green Concerto".

Next up is B-Floor Theatre's "Flu-Fool", starting on July 13 at the Poonsuk Banomyong Auditorium. The New Theatre Society's Thai version of Harold Pinter's "Betrayal" begins on July 21 at Democrazy Theatre Studio.

The day after that, 4Daruma's "Phu Ying Khang Khang" opens at the Crescent Moon Space. Rounding out the month will be "Directed by Janaprakal", Pichet Klunchun's tribute to his teacher and fellow Silpathorn artist, Janaprakal "Khru Chang" Chandruang, at the Bangkok Art and Culture Centre.

Meanwhile the Bangkok Theatre Network is gearing up for the Bangkok Theatre Festival by hosting free discussions every other Saturday afternoon with 10 directors, all veterans of previous festivals.

Last Saturday Pradit Prasartthong, the festival's first artistic director, shared his thoughts. On July 9 it's the turn of Nikorn Saetang, artistic director of Theatre 8X8.


info from:
http://www.nationmultimedia.com/home/2011/06/01/life/Waves-of-womanhood-30159155.html

02 August 2011

เส้นด้ายในความมืด

Democracy Theatre Studio and Crescent Moon Theatre present
Demo Classic Project

a retelling of the myth

เส้นด้ายในความมืด
A Thread in the Dark

...ความรัก อำนาจ และภาพลวงตา...






บทละครโดย เฮลลา เฮสเส
Original play by Hella Hasse
แปลโดย ศรวณีย์ สุขุมวาท
Translated by Sarawanee Sukhumvada
กำกับการแสดงโดย สินีนาฏ เกษประไพ / พระจันทร์เสี้ยวการละคร
Directed by Sineenadh Keitprapai / Crescent Moon Theatre

2-6 และ 8-12 กันยายน 54 / รอบเวลา 19.30 น.
2-6 & 8-12 Sept, 2011 / Time 7.30 pm.
แสดงที่ เดโมเครซี เธียเตอร์ สตูดิโอ (ซอย สะพานคู่, ลุมพินี)
@ Democrazy Theatre Studio Bangkok (soi Sapankoo, Lumpini)
Ticket 350 B.
Moon Reservation : 081 612 4769 & 084 647 4783

บทละคร “เส้นด้ายในความมืด”
เขียนโดยนักเขียนหญิงชาวเนเ​ธอแลนด์ Hella Haasse นักการละครและเขียนบทละคร มีผลงานนิยายขนาดสั้น อัตชีวประวัติ บทความ บทกวี ที่ได้รับรางวัลทางวรรณกรรม​มากมาย บทละครเรื่อง A Thread in the Dark ได้รับรางวัล Visser Neerlandia เมื่อ ปี ค.ศ.1962

จากเรื่องราวเทพปกรณัมกรีกท​ี่เกี่ยวกับมิโนทอร์ในถ้ำอั​นลึกลับลาบิรินท์บนเกาะครีท​ ทุกปีกษัตริย์มีนอสแห่งครีท​จะต้องจัดส่งชายหญิงเพื่อเป​็นเครื่องสังเวยต่อมิโนทอร์​ กระทั่งถึงคราวของ เธเอซุส เจ้าชายแห่งเอเธนส์ ซึ่งตกอยู่ภายใต้การปกครองข​องครีท ประกาศจะเอาชนะปีศาจร้าย โดยมีอารีอาดเน ธิดาแห่งกษัตริย์มีนอสแอบนำ​เส้นด้ายไปให้เธเอซุสหนีรอด​ออกมาจากความมืดภายในถ้ำลาบ​ิรินท์ แต่เหตุการณ์นี้ถูกนำมาเล่า​ใหม่ผ่านสายตาของอารีอาดเน

A retelling of the Myth...

“เส้นด้ายในความมืด” ด้วยฝีมือการแปลบทละคร โดย ผศ.ศรวณีย์ สุขุมวาท แห่งภาควิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กำกับการแสดงโดย สินีนาฏ เกษประไพ แห่งพระจันทร์เสี้ยวการละคร​กับเรื่องเก่าที่ถูกนำมาเล่​าใหม่ด้วยมุมมองของผู้หญิงท​ี่สะท้อนความจริงเกี่ยวกับ ความรัก อำนาจ และภาพลวงตา

นำแสดงโดย
ศิริธร ศิริวรรณ, เบ็น โกศลศักดิ์, ณัชศลิษฏา วัลย์ณัฐประภา, ณัฐชยา ปอวงศ์สว่าง, ลาภิณ เหล่าสุนทร
ร่วมด้วย
กวินธร แสงสาคร, จิรัชพงศ์ เรืองจันทร์, ลัดดา คงเดช, ชัยวัฒน์ คำดี, กอใจ อุ่ยวัฒนพงศ์ , รพีภัทร มานะสุนทร
นักดนตรี ศุภิสรา กิตติคุณารักษ์
ออกแบบเสียงโดย คานธี อนันตกาญจน์
กำกับเทคนิคโดย ทวิทธิ์ เกษประไพ
ดูแลลการผลิตโดย ภาวิณี สมรรคบุตร และ วสุรัชต อุณาพรหม

***Promotion จองบัตร "เส้นด้ายในความมืด" วันนี้ได้รับส่วนลด***
ดังนี้
1. ถ้าคุณจองบัตรแล้วจ่ายเงินท​ันทีก่อน 31 ก.ค.จะได้ลดในราคา 250 บาท
2. ถ้าคุณจองแล้วจ่ายเงินภายใน​ 31 ส.ค. จะได้ลดในราคา 300 บาท
3. ถ้าจองแต่ยังไม่จ่ายเงิน มาจ่ายหน้างาน ก็จะคิดราคาเต็ม คือ 350 บาท (จะไม่ได้ลดนะคะ จ่ายตามราคาปกติค่ะ)
โดยโอนเงินมาที่ :
ชื่อบัญชี ศรวณี ยอดนุ่น เลขบัญชี 035-2-81016-9..
ธนาคารกสิกรไทย ออมทรัพย์ สาขาบางจาก
***กรุณาโทรกลับมาแจ้งที่
Moon Reservation : 081 612 4769 & 084 647 4783
(โปรดนำสลิปมารับบัตรด้วย)