ติสตู นักปลูกดอกไม้
เด็กชายผู้เปิดจินตนาการแห่งสันติ
เขียนโดย คุณหนอนฝึกหัด
จาก นสพ. กรุงเทพธุรกิจ จุดประกาย ฉบับบวันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม 2552
นักปลูกต้นไม้ ตัวน้อยที่โลดแล่นออกมาจากหน้ากระดาษ สร้างเรื่องราวสนุกสนานแฝงทั้งแง่คิด ปรัชญา ความคิดที่สวยงาม ผ่านดวงตาพิเศษให้เราได้ติดตาม
บ่อย ครั้งที่มีการนำบทประพันธ์ไปถ่ายทอดเป็นสื่อการแสดงในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นละครยอดฮิตภาคค่ำ ละครเวที หรือเป็นภาพยนตร์บนจอเงิน เพื่อสะท้อนเรื่องราวและคติความคิดที่สอดแทรกอยู่ในเรื่องนั้นๆ
ล่าสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ในงานเทศกาลศิลปะนานาพันธุ์ "อภิวัฒน์สู่สันติ" ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์ พระจันทร์เสี้ยวการละคร และศิลปินรับเชิญ วศิน มิตรสุพรรณ กลุ่มแกะดำดำ ร่วมใจกันนำเสนอละครหุ่นและสื่อผสมเรื่อง ติสตู นักปลูกต้นไม้ จากบทประพันธ์ของ โมรีส ดรูอง นักเขียนชาวฝรั่งเศส โดยมี อำพรรณ โอตระกูล เป็นสะพานเชื่อมความเข้าใจถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาไทย
.................................................
(สาม สอง หนึ่ง...)
เมื่อรอกม่านถูกชักให้สูงขึ้น แสงไฟในห้องมีเหลือไว้ให้เห็นชัดเพียงแค่เวทีการแสดง สักพักหุ่นละครเด็กชายตัวเล็ก ผมสีน้ำตาลทองในชุดเสื้อสีฟ้าก็ค่อยๆ เคลื่อนไหวไปราวกับนักแสดงตัวน้อยๆ ฉากการไปโรงเรียนวันแรกน่าจะทำให้เด็กชายติสตู ถ้าไม่ประหม่า เขินอายเพื่อนหรือครูใหม่ ก็น่าจะเป็นเด็กที่ตื่นตากับสิ่งต่างๆ ที่พบเห็นนอกรั้วบ้านและใส่ใจกับการเรียนตามคำสอนของผู้เป็นพ่อเป็นแม่ แต่แล้วขอบตาของเขากลับหนักขึ้นเรื่อยๆ จนปิดสนิทถึงกันในที่สุด
ทาง โรงเรียนไม่สามารถรับเขาให้เข้าเรียนได้ ติสตูเศร้าสร้อยและผิดหวังในตัวเอง พ่อและแม่ของเขาจึงนั่งปรึกษากันว่าจะให้ครูมาสอนที่บ้าน แต่แล้วเหตุการณ์หลับในห้องเรียนก็ย้อนกลับมาอีก เมื่อติสตูเข้าเรียนกับครูตรูนาดิส
เด็กชายผู้เปิดจินตนาการแห่งสันติ
เขียนโดย คุณหนอนฝึกหัด
จาก นสพ. กรุงเทพธุรกิจ จุดประกาย ฉบับบวันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม 2552
นักปลูกต้นไม้ ตัวน้อยที่โลดแล่นออกมาจากหน้ากระดาษ สร้างเรื่องราวสนุกสนานแฝงทั้งแง่คิด ปรัชญา ความคิดที่สวยงาม ผ่านดวงตาพิเศษให้เราได้ติดตาม
บ่อย ครั้งที่มีการนำบทประพันธ์ไปถ่ายทอดเป็นสื่อการแสดงในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นละครยอดฮิตภาคค่ำ ละครเวที หรือเป็นภาพยนตร์บนจอเงิน เพื่อสะท้อนเรื่องราวและคติความคิดที่สอดแทรกอยู่ในเรื่องนั้นๆ
ล่าสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ในงานเทศกาลศิลปะนานาพันธุ์ "อภิวัฒน์สู่สันติ" ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์ พระจันทร์เสี้ยวการละคร และศิลปินรับเชิญ วศิน มิตรสุพรรณ กลุ่มแกะดำดำ ร่วมใจกันนำเสนอละครหุ่นและสื่อผสมเรื่อง ติสตู นักปลูกต้นไม้ จากบทประพันธ์ของ โมรีส ดรูอง นักเขียนชาวฝรั่งเศส โดยมี อำพรรณ โอตระกูล เป็นสะพานเชื่อมความเข้าใจถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาไทย
.................................................
(สาม สอง หนึ่ง...)
เมื่อรอกม่านถูกชักให้สูงขึ้น แสงไฟในห้องมีเหลือไว้ให้เห็นชัดเพียงแค่เวทีการแสดง สักพักหุ่นละครเด็กชายตัวเล็ก ผมสีน้ำตาลทองในชุดเสื้อสีฟ้าก็ค่อยๆ เคลื่อนไหวไปราวกับนักแสดงตัวน้อยๆ ฉากการไปโรงเรียนวันแรกน่าจะทำให้เด็กชายติสตู ถ้าไม่ประหม่า เขินอายเพื่อนหรือครูใหม่ ก็น่าจะเป็นเด็กที่ตื่นตากับสิ่งต่างๆ ที่พบเห็นนอกรั้วบ้านและใส่ใจกับการเรียนตามคำสอนของผู้เป็นพ่อเป็นแม่ แต่แล้วขอบตาของเขากลับหนักขึ้นเรื่อยๆ จนปิดสนิทถึงกันในที่สุด
ทาง โรงเรียนไม่สามารถรับเขาให้เข้าเรียนได้ ติสตูเศร้าสร้อยและผิดหวังในตัวเอง พ่อและแม่ของเขาจึงนั่งปรึกษากันว่าจะให้ครูมาสอนที่บ้าน แต่แล้วเหตุการณ์หลับในห้องเรียนก็ย้อนกลับมาอีก เมื่อติสตูเข้าเรียนกับครูตรูนาดิส
ดูเหมือนว่าสิ่งเดียวที่ติสตูจะเรียนรู้และทำได้ดีจะเป็นการปลูกต้นไม้ ที่มีมูสตาช คนสวนเป็นครูผู้สอน เพราะทุกครั้งที่ลงมือเพาะเมล็ด แทบจะทันใด ต้นไม้ก็เติบโตขึ้นอย่างงดงาม ส่วนการเรียนรู้ระเบียบและหน้าที่กับครูตรูนาดิส อย่างการไปคุกหรือไปโรงงานผลิตปืนใหญ่ มรดกของครอบครัวที่ติสตูต้องรับผิดชอบเมื่อเติบโตขึ้น จะสร้างความไม่สบายใจให้กับเด็กน้อยเสียมากกว่า
ติสตู รักในการปลูกต้นไม้ และปลูกไม้ประดับต่างๆ ในทุกๆ ที่ที่เขาเห็นว่าน่าจะช่วยลดความทุกข์ของผู้คนให้ลดลงไปได้ เขามียิมนาสติกม้าแกลบเป็นเพื่อนรักที่เคียงข้าง มีมูสตาชคอยให้คำแนะนำว่าจะปลูกอะไรดี เหล่านี้ทำให้เด็กน้อยเบิกบาน จนกระทั่งมูสตาชที่รักจากไป ติสตูถึงได้เรียนรู้ความจริงอีกประการว่า ดอกไม้เป็นสิ่งเดียวที่ไม่สามารถหยุดยั้งความตายได้ แม้ว่าสงครามจะไม่เกิดขึ้นเพราะดอกไม้ของเขาก็ตาม
...........................................
ก่อนจะมาเป็นละครหุ่นตัวเล็กๆ น่ารักๆ แถมให้แง่คิดอย่างเปิดกว้างนั้น สินีนาฏ เกษประไพ ผู้กำกับละครหุ่นและสื่อผสมเรื่องนี้ เล่าความเป็นมาถึงการทำงานร่วมกันว่า...
"เราอยากทำงานร่วมกันกับเส่ย-วศิน มิตรสุพรรณ แกะดำดำ เพราะเห็นผลงานของเขามาบ้าง และรู้จักกันมานานแล้ว แต่เมื่อปีที่แล้วได้ไปร่วมโครงการแม่โขงโปรเจคที่เชียงใหม่ ซึ่งเป็นการร่วมงานกันระหว่างศิลปินในลุ่มแม่น้ำโขง เราไปเป็นผู้ทำการอบรม เส่ยไปเป็นศิลปินในโครงการ ก็เห็นผลงานที่เส่ยเขาทำในโชว์เคสแล้วชอบ ชอบวิธีการที่เขาปฏิบัติต่อหุ่น ชอบการเชิดหุ่นของเขา มีความรู้สึกว่า 'เอ้อ เขาเจ๋งดีนะ' เพียงแต่ยังไม่มีโอกาสทำงานชิ้นใหญ่ๆ เลยคุยกันว่าเราน่าจะมีโอกาสได้ทำงานร่วมกันบ้าง"
ด้านการเลือกงานวรรณกรรมเรื่องนี้ขึ้นมาเล่นเป็นละครหุ่นในงานนี้ เธอเล่าว่า ได้ฟังเรื่องติสตูจากเส่ย แล้วรู้สึกว่าเรื่องน่ารักดี มีฉากที่พูดถึงการต่อต้านสงครามด้วยดอกไม้ ซึ่งมันตรงกับงานเทศกาลศิลปะนานาพันธุ์ที่พูดถึงเรื่องสันติภาพ เลยตัดสินใจนำเรื่องนี้มาจัดแสดง
"จากนั้นพี่ก็รับหน้าที่มาอ่าน ทำความเข้าใจ และทำโครงเรื่อง ซึ่งพอมานั่งศึกษางานแล้วก็พบว่าเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมที่น่ารักมาก ไม่เร่ง ไม่เร้า ไม่ดึงดันให้ดูดราม่า หรือน่าสงสาร หรือให้ติสตูเป็นฮีโร่ มันค่อนข้างนิ่งแล้วเปิดจินตนาการ คือถ้าเด็กอ่านเขาก็คงมีความสุข อาจจะไม่ได้คิดมากไปไกลเท่าไหร่ แต่ถ้าผู้ใหญ่มาอ่านล่ะ มันไปไกลได้มากกว่า มันซีเรียสได้มากกว่า ซึ่งเราก็ชอบ
...ในวรรณกรรมจะมีฉากเยอะมากกว่าที่นำมาแสดง สิ่งที่เราทำได้ก็คือเลือกเอาฉากที่สำคัญมาสื่อ แต่ที่เราแสดงทั้งหมดมันคือการเล่าตั้งแต่ต้นเรื่องจนจบเรื่อง แค่ตัด ลด ทอน แล้วเลือกสิ่งที่สำคัญๆ มาว่าติสตูเป็นเด็กพิเศษ มีจินตนาการ และมีความคิดดีๆ ให้คนอื่น แต่ท้ายที่สุดเขาก็หายไป โดยไม่ได้บอกว่าเขาตายหรือไม่อย่างไร"
เรียกว่ากว่าสี่สิบนาทีของการแสดงนั้นไร้บทพูด จะมีก็เพียงแต่เสียงเพลงเร้าจินตนาการตามท่วงทำนองช้าบ้าง เร็วบ้าง ฟังดูร่าเริง มีความสุขบ้าง ให้อารมณ์โศกเศร้าบ้าง จึงคงไม่แปลกนัก หากผู้ชมต่างวัยจะเห็นเรื่องราวตรงหน้าต่างกันออกไป เด็กๆ วิ่งหาหุ่นจิ๋วน่ารัก ในขณะที่เด็กโตนั่งน้ำตาซึม
"คนทั่วไปอาจจะไม่ค่อยชินว่าทำไมพระจันทร์เสี้ยวทำตุ๊กตาหุ่น ทั้งที่จริงๆ แล้วเราทำหุ่นเชิดมือมานานแล้ว แต่เราใช้ชื่อคณะละคนหุ่นครูองุ่น มาลิก ทำมาตั้งแต่ประมาณปี 2545-2546 เป็นต้นมาแล้ว แต่ปัจจุบันนี้อาจจะไม่ได้ทำอะไรมากนัก เพราะงานละครมันชุก งานนี้เราเลยมาเวิร์คชอปร่วมกับนักแสดง ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ไปค้นมาว่าเราจะช่วยกันเล่าเรื่องอย่างไร โดยโครงสร้างเรื่องที่พี่นาฏให้ไป
จริงๆ เปรียบเหมือนกระดูกงูซึ่งเป็นแกนกลางของเรื่องที่แต่ละฝ่ายจะเอาไปแตกตัวกัน ทำงาน มันทั้งยาก แต่มันก็สนุกแหละ ตอนแรกทำแล้วทิ้งก็เยอะ เพราะขั้นตอนการผลิตมันมีมากกว่าละครคน หุ่นมันต้องใช้เวลานาน ตัวเขาเล็ก ยิ่งต้องละเอียด ช่วงแรกๆ ทำมาแล้ว เอามาซ้อมเชิด ก็ต้องมีแก้ไขบ้าง ตามข้อต่อต่างๆ ให้มันเข้าที่" ผู้กำกับสาวเล่า
แน่นอนว่าการทำละครหุ่น มีข้อจำกัดหลายเรื่อง แต่สำหรับเธอบอกว่า "แม้หุ่นจะมีข้อจำกัดว่าไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เร็ว หรือทำอะไรพร้อมกันหลายอย่างได้เหมือนกับคน ไม่สามารถแสดงอารมณ์ทางสีหน้าได้ แต่ส่วนอื่นที่มีเสน่ห์มากก็คือหุ่นเปิดจินตนาการให้คนอื่นดู โดยเฉพาะเด็ก เขาตัวเล็ก เขาเข้าใกล้เด็กได้มากกว่า พอเราไปเชิดหุ่น ได้ทำงานกับหุ่น เราก็ต้องค่อยๆ คิด ค่อยๆ ทำ ค่อยๆ สื่อสารกัน มันก็ละเอียดในการคิด ในความรู้สึกกันมากขึ้น"
........................................
เมื่อแสงไฟในห้องสว่างขึ้นอีกครั้ง เด็กชายผู้สวมเสื้อสีฟ้าตอนนี้กำลังบินอยู่บนท้องฟ้าร่วมกับครูคนสวนผู้เป็น ที่รัก ดวงดาวระยิบบนท้องฟ้ามีมากมาย คล้ายกับจะมาต้อนรับการมาเยือนของติสตู
นักปลูกต้นไม้ตัวน้อยที่โลดแล่นออกมาจากหน้ากระดาษได้มาสร้างจินตนาการและหายไปอย่างให้เราได้คิดต่อไปอีก...
อ่านเพิ่มเติมที่
http://news.mediathai.net/detail_news.php?newsid=64849
No comments:
Post a Comment