12 December 2011

ประกาศแล้ว วันจัดงานเทศกาลละครกรุงเทพ ครั้งที่ 10




เทศกาลละครกรุงเทพ ครั้งที่ 10

ได้ฤกษ์จัดงานแล้ว คือ
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2555 - 4 มีนาคม 2555
สถานที่จัดงานที่เดิม คือ

สวนสันติชัยปราการ ร้านอาหารย่านบางลำพู และโรงละครในเครือข่าย
โปรแกรมการแสดง กำลังปรับปรุงจะแจ้งให้ทราบโดยเร็วนี้

โปรดติดตาม

04 December 2011

บทวิจารณ์ - อัสลาม (จาก A Day)

อัสลาม... จากเจ้าหญิงเสียงเศร้าแห่งดาวดวงที่ 4: นิทานที่ไม่ได้เพ้อฝัน
เขียนโดย ณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง
จากนิตยสาร A Day ฉบับ เดือนพฤศจิกายน 2554


นิทานนั้นมักถูกมองว่าเป็นเรื่องราวที่เพ้อฝันเป็นจินตนาการที่เอาไว้หลอกเด็กหรือกล่อมให้เด็กหลับก่อนนอนแต่ถ้าเราล่วงรู้ “หลัง” ของนิทานแล้ว เราก็สามารถรังสรรค์สิ่งมหัศจรรย์ที่น่าทึ่ง เปลี่ยนแปลงหรือสะท้อนชีวิตหรือเรื่องราวอันยิ่งใหญ่ได้
นั่นก็เหมือนกับกรณีของ “อัสลาม... จากเจ้าหญิงเสียงเศร้าแห่งดาวดวงที่ 4” ผลงานละครเวทีเรื่องล่าสุดจากพระจันรท์เสี้ยวการละครฝีมือการเขียนบทและกำกับของ ฟารีดา จิราพันธุ์ ที่ทำให้โรงละครพระจันทร์เสี้ยวกลายเป็นโรงละครของความฝันและจิตนาการ แต่ขณะเดียวหันก็แฝงไว้ด้วย “ความจริง” อันละเอียดอ่อนและลึกซึ้ง

“อัสลาม... จากเจ้าหญิงเสียงเศร้าแห่งดาวดวงที่ 4” เป็นละครเวทีที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องสั้นชื่อเดียวกันที่ตีพิมพ์อยู่ในหนังสือ “เจ้าหญิง” ของบินหลา สันกาลาคีรี ว่าด้วยเรื่องการตามหาดาวดวงที่ 4ของเจ้าชายทันทันตามจดหมายขอความช่วยเหลือที่ตัวเองได้รับ แต่เมื่อมาถึงดาวดวงที่ 4 เขาหลับพบว่าเจ้าหญิงเป็นมนุษย์คนสุดท้ายที่หลงเหลืออยู่บนดวงดาว เจ้าชายทันทันจึงมองหามังกรและสัตว์ร้ายที่เขาเชื่อว่าเป็นสาเหตุของความสูญเสียที่เกิดขึ้น แต่เมื่อเขาได้ฟังเรื่องราวจากตัวหญิงเสียงเศร้าแล้ว เขาก็ได้พบความจริงหลายๆ อย่างที่ไม่เคยถูกพูดหรือตรงกับความเข้าใจของคนที่ดาวดวงอื่นๆ อีกทั้งเมื่อเขาได้ใช้เวลาร่วมอยู่กัยเจ้าหญิงบนดาวดวงที่ 4 แล้วก็ยิ่งทำให้เขาได้เรียนรู้เรื่องราวบนดาวดวงนี้ เช่นเดียวกับความคิดของมนุษย์ที่พยายามสื่งสารเข้าใจกันมากกว่าเพียงแค่คำพูดหรือสิ่งที่มองเห็นขับต้องได้

สำหรับบางคนแล้ว เรื่องราวของ “อัสลาม... จากเจ้าหญิงเสียงเศร้าแห่งดาวดวงที่ 4” อาจจะเป็เนเหมือนนิทานสำหรับเด็กที่มีความสนุก น่ารักเต็มเปี่บมไปด้วยจินตนาการ แต่สำหรับหลายๆ คนที่เชื่อมต่อติดกับโลก ความจริงได้แล้ว เราก็แทบจะอินและน้ำตาไหลไปกับจุดเชื่อมโยงระหว่างดาวดวงที่ 4 และสถานที่ที่เรียกว่าประเทศไทยและชายแดนภาคใต้
อันที่จริง ละครเองก็บอกใบ้กับผู้ชมมากระดับหนึ่งในการเชื่อมโยงดังกล่ามเพราะเริ่มมาในฉากแรกของการแสดงก่อนจะเข้าเรื่องของอัสลาม ก็มีการอ่านบทสวดสรรเสริญพระเจ้าของ ศาสนาอิสลามก่อนจะนำไปสู่การร้องเพลงในภาษาถิ่นซึ่งพูดเกี่ยวกับประไทยที่เป็นดินแดนอันงดงามแต่แล้วก็จบลงที่ความรุนแรงและการสูญเสียที่เกิดขึ้น ซึ่งการเป็นเรื่องด้วยฉากนี้นี่เองกลายเป็นการปูและปรับความเข้าใจของผู้ผมตั้งแต่ต้นว่าละครกำลังพูดถึงประเด็นความจริงของสังคมมากกว่าจะมาเล่นนิทานสนุกๆก่อนนอน
เรื่องราวของเจ้าหญิงแสนเศร้าบนดาวดวงที่ 4 นั้น หลายๆ อย่างกลายเป็นเหมือนการต่อยอดของนิทานที่ละม้ายกับเหตุการณ์จริงอย่างน่าตกใจ ตั้งแต่เรื่องของการที่ดินแดนเคยสงบสุขจนมีคนมากมายเช้ามาเยี่ยมชมไม่เว้นว่างแต่แววันหนึ่งก็เกิดเหตุร้านจนอัศวินและเจ้าชายต่างๆ เข้ามาที่เวเวงนี้ก่อนที่ผู้คนที่มีชีวิตอยู่ก้ไร้ซึ่งความสุขในดวงดาวที่เคยเป็นบ้าน คงเหลือไว้แต่ความเศร้าที่เกิดจากความรุนแรงและความเจ็บปวดจากการสูญเสีย

ความรุนแรงอาจจะเป็นทางเลือกในแก้ปัญหาสำหรับคนบางกลุ่ม แต่ในขณะเดียวกันมันก็สร้างบาดเผลให้กับผู้คนมากมาย ท้ายที่สุด เราอาจจะไม่รู้สาเหตุของความรุนแรงต่างๆ ที่เกิดในดาวดวงที่ 4 หรือโลกใบนี้นั้นท้จริงคือทางจระกับผู้ที่อยู่ตรงนั้นและทางอ้อมกับพวกเราที่อยู่ร่วมกันในสังคม บางที่ทางออกออกที่เราจะก้าวข้ามมันไปได้คือการพยายามหาวิธีสื่อสารและเข้าใจกันระหว่างเพื่อนมนุษย์ไม่ว่าจะชนชาติใดๆการมอบความรักจากใจถึงใจเหมือนอย่างที่นิทาน “โลกของเจ้าหญิงนกบินหลายกับเจ้าชายนกบินหา” ที่ถูกเล่าในละครได้เปรียบเปรยไว้ หากแต่เราควรรีบหาเวลาที่จะ ”เล่า” มันออกไปก่อนจะไม่มีใครในโลกหลงเหลือเพื่อฟังนิทานเรื่องนั้นเช่นดาวดวงที่ 4

แม้ว่าโปรดักชันของ “อัสลาม... จากเจ้าหญิงเสียงเศร้าแห่งดาวดวงที่ 4” จะเป็นโปรดักชันละครขนาดกะทัดรัดในโรงละครเล็กๆ แต่วิธีการนำเสนอและใช้เทคนิคแสงที่ช่วยเติมเต็มและสร้างสีสันให้กับเรื่องได้อย่างดี ในขณะที่การแสดงแม้จะมีนักแสดงหลังเพียง 3 คนแต่ก็น่าสนใจและ น่าติดตามอยู่ตลอดเวลา

จุดที่น่าสนใจอันโดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของละครคือการเลือกน้องทันทัน (ด.ช. ณัษฐภัทร์ คุ้มเมธา) ที่อายุเพียง 6 ขวบมาเป็นนักแสดงหลักซึ่งต้องต่อบทนักแสดงระดับผู้ใหญ่อย่างฟารีดา จิราพันธุ์ และ คอลิด มิดำ นั้นถือว่าเป็นเสน่ห์สคัญของเรื่องลีหลังแฝงในมุมมองการเชื่อมกันระหว่างโลกความจริงและโลกนิทานนิทาน ซึ่งต้องยอมรับว่าการได้น้องทันทันมาเล่นในละครกลายเป็นจิ๊กซอว์อย่างดีที่ทำให้ละครมีส่วนผสมระหว่างประเด็นที่หนัดกหน่วงกับความฝันและความหวังที่เราเห็นได้จากความบริสุทธิ์ของเด็ก

โดยส่วนตัวสำหรับผู้เขียนแล้ว เราสามารถรับรู้ได้ว่าฟารีดาสร้าง “อัสลาม... จากเจ้าหญิงเสียงเศร้าแห่งดาวดวงที่ 4” ด้วยความรู้สึกที่เข้าใจและจริงใจกัยสิ่งที่ต้องการพูดอย่างลึกซึ้ง นั่งทำให้ละครกลายเป็นเป็นสื่อที่กำลังเล่าความจริงแต่อย่างใดสิ่งที่ตัวเธอเล่าและเล่นและความสามารถในการเล่า โดยสิ่งที่น่าเสียดายอย่างเดียวของโปรดักชันนี้คือการแสดงซึ่งจัดในเทศกาลศิลปะนานาพันธุ์นั้นมีเพียงแค่ 5 รอบ

ซึ่งมันคงจะดีไม่น้อยถ้ามีคนอีกมากมายได้ไปเยือนดาวดวงที่ 4 พร้อมกับเจ้าชายทันทัน และ เมื่อเป็นอย่างนั้น เราก็อาจจะเข้าใจกันและกันเพื่อยุติเรื่องร้ายๆ ในสังคมได้ในเร็ววัน

28 November 2011

Aslam Review from Bangkok Post



Southern storyteller
Aslam proves that stage actress Farida Jirapun is also a playwright and a director to be reckoned with
Published: 20/10/2011
Bangkok Post / Newspaper section: Life
by Amitha Amranand


Few productions on the Bangkok theatre scene have tackled the violence in the Deep South. None that I've seen have moved beyond beating around the bush. Granted, it's a very delicate and complex subject to handle, rendered more difficult for the artists by the geographical and cultural distance, not to mention the dearth of information. Not that any of these constraints should stop an artist from finding a way to dig deeper and create a work that moves and awakens. Many seem to flock to Worapot Phanphong's Thi Kerd Hade, a collection of articles about a year spent in the Deep South, as their number one reference. The book shines with compassion and is effective as an introduction to the problems in the South, but also drips with the romanticisation of the rural and small-town Muslim ways and lacks a critical edge.


Last week at Silpa Nana Pun Festival, Pridi Banomyong Institute's annual social- and political-themed art event, Farida Jirapun staged her Aslam... Jak Jaoying Siang Sao Hang Duangdao Duang Thi Si (Aslam... From the Sad-Voiced Princess of the Fourth Star). Adapted from two short stories from Binla Sankalakiri's SEA Write-winning book, Jao Ngin, the play is so far the most full-fledged theatrical creation about the southern unrest.

Aslam began as a staged reading two years ago at the Crescent Moon Theatre's Read to Peace event, in which Farida collaborated with Colid Midam, stringing together the lyrics of John Lennon's Imagine, the Muslim greeting "Aslamu alaikum" ("Peace be upon you"), and passages from the Koran. Both artists are Muslim and have produced smaller-scale pieces on issues surrounding Muslims in Thailand over the years. At last year's Crescent Moon's Play Reading: Women Read, Farida performed 'Lok' Kong Jaoying Nok Binlai Kub Jaochai Nok Binha (The 'World' of Bird Princess Binlai and Bird Prince Binha), the last tale in Binla's Jao Ngin.


Farida also cites poems by SEA Write recipient Zakariya Amataya and Worapot's famous book as sources of inspiration. Moreover, she dug into accounts, documented by researchers and academics, of the people in the three southernmost provinces who have lost their loved ones. Yet, it's the optimism and the child-like innocence of Binla's fables that become the wings and the weight of the play. Binla, a writer from the South, spoke in his SEA Write acceptance speech of his belief in the possibility of a resolution to the southern conflicts and also in the power of tales that foster love and compassion _ children's tales that don't lie to children.

Aslam begins with a scene between an old Muslim woman in a wheelchair (Farida) and her devout grandson (Colid). Instead of a realistic dialogue, the scene unfolds like a poem, with snippets of Lennon's Imagine, the Koran, loving banters, a recipe for kao yum (a Southern dish), songs about the South and prayers. Thai, English and Arabic swirl in the air. The scene intensifies as the grandson declares his love for his land, his desire to become a sharp shooter, his romantic notion of death _ all laced with anger, devotion, and pain. Through these two characters in the first scene, Farida paves a path for a story of the silenced and forgotten that is to come.




After the loss of her grandson, the old woman is visited by Prince Tantan (Nattapat Khummetha) from another planet. He has heard the cry of a sad-voiced princess and comes to rescue her only to find a cheeky old woman instead of a beautiful young princess like in the fairy tales. Here, Farida deftly fuses Binla's fables with a realist story of one woman's loss that grows into a story of a people's struggle against injustice. There are, however, moments where the words get thrown into a jumble as the actors get caught up in the child-like actions and adventure. Prince Tantan's curiosity becomes a game and ultimately a catharsis for the old woman. Little by little, her story transforms into both of their stories. The wide-eyed world of a child meets the tear-stained one of the old woman. Like Binla's last fable in the book about two birds spinning yarns for their unborn child _their "world" _ the woman and the child from an alien planet are also building a new world through the act of remembering and reconstructing.


Farida is one of the top stage actresses, but Aslam proves that she is also a playwright and a director to be reckoned with. Although the play hesitates and shies away from truly making the audience confront the harrowing reality in the South, it doesn't use the fables to romanticise the plight of the people. Instead, the interlacing of Binla's stories with her own blossoms into a colourful and moving new creation.

The effect is gentle, yes, but the assertion to be heard, to be documented and written down, and to be remembered, is a tough and uncompromising one. As a storyteller, Farida's in full possession of the story, as if not a single word were borrowed.

see :
http://www.bangkokpost.com/arts-and-culture/art/262256/southern-storyteller

photo by : Wichaya Attamat

21 November 2011

บทวิจารณ์ละครเวทีเรื่อง "อัสลาม"


นำบทวิจารณ์ละครเวทีเรื่องล่าสุดที่ผ่านไปแล้วของเรามาลงให้อ่านกันค่ะ


เสียง ‘อัสลาม’ อันแผ่วเบา ของเจ้าหญิงเสียงเศร้าแห่งดาวดวงที่ ๔
โดย ชญานิน เตียงพิทยากร


ผมเริ่มเขียนถึงละครเวทีเรื่องนี้ หลังจากภาวะน้ำใกล้ถล่มกรุงเทพฯ กลบข่าวเหตุระเบิด 33 จุดที่จังหวัดยะลาจนเงียบกริบ – บังเอิญดีแท้ เพราะมันสอดรับกับสิ่งที่ละครพยายามจะสื่อ และภาวะ ‘ไปไม่ถึง’ ที่ละครประสบอยู่พอดี

‘อัสลาม… จากเจ้าหญิงเสียงเศร้าแห่งดาวดวงที่ ๔’ กำกับและนำแสดงโดย ฟารีดา จิราพันธุ์ หนึ่งในนักแสดงละครเวทีหญิงที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคนหนึ่งของเมืองไทย ปัจจัยนี้ช่วยเรียกคนดูได้มากพอประมาณอยู่แล้ว ทั้งจากกลุ่มผู้ชมละครขาประจำและขาจร บวกกับหน้าตาของละครหลังการโปรโมตที่เน้นความน่ารักของนักแสดงเด็ก (ณัษฐภัทร์ คุ้มเมธา) ที่ทำให้เกิดกระแสปากต่อปากหลังจากรอบการแสดงผ่านไประยะหนึ่ง




ละครดัดแปลงหนังสือรวมเรื่องสั้น ‘เจ้าหงิญ’ ของ บินหลา สันกาลาคีรี ได้น่าสนใจมาก ซึ่งผมเองเคยอ่านเมื่อนานมาแล้วทำให้ไม่แน่ใจว่าแง่มุมต่างๆ เหล่านี้มีอยู่ในหนังสือของบินหลาอยู่แต่เดิมหรือเปล่า แต่อย่างไรก็ดีการเล่าเรื่องความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้ของฟารีดา โดยยืนพื้นบนเรื่องสั้นหลายเรื่องของหนังสือดังกล่าวก็ทำได้น่าสนใจ ทั้งการตีความเรื่องและการวางสถานะของตัวละคร





ฟารีดารับบทเป็น ‘เจ้าหญิงเสียงเศร้าแห่งดาวดวงที่ ๔’ ผู้เป็นมุสลิม (เช่นเดียวกับตัวจริงของเธอ) ที่ได้พบกับเจ้าชายน้อยที่เดินทางมาจากแดนไกล และเป็นเพียงคนเดียวในหมู่เจ้าชายที่ไม่หลงทิศหลงทางจนได้มาพบเจ้าหญิง โดยในช่วงแรกของละครนั้นยังมีหลานชายของ ‘โต๊ะ’ (รับบทโดย คอลิด มิดำ ซึ่งเป็นมุสลิมเช่นกันกับฟารีดา) ที่ปรากฏตัวในฉากที่รุนแรงและยาวนานซึ่งอาศัยการแสดงอันทรงพลังล้วนๆ ก่อนที่ตัวละครนี้จะหายไป และกลับเข้ามาในฐานะ alter-ego ของเจ้าชายน้อย ผ่านการเล่าเรื่องที่ให้สองตัวละครสลับกันเข้าฉากไปมาอยู่ระยะหนึ่ง



ความรู้สึกที่เกิดขึ้นหลังจากละครจบคือ ละครดี แต่น่าเสียดาย จำนวนคนดูเต็มโรงละครในการแสดงรอบสุดท้ายเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม เกินกว่าครึ่งหัวเราะเอ็นดูกับความน่ารักของนักแสดงเด็กเป็นหลัก แม้กระทั่งในฉากที่เสนอสารซึ่งทั้งเศร้า ทั้งรุนแรง – ผมจึงค่อนข้างมั่นใจว่าเนื้อหาที่ฟารีดาต้องการสื่อสาร ไปไม่ใคร่จะถึงคนดูเท่าไรนัก ทั้งที่สิ่งที่เธอกำลังพูดถึงคือการบอกให้ ‘คนนอก’ (ไม่ว่าจะนอกพื้นที่ หรือนอกบริบทศาสนาอิสลาม) เข้าใจสถานการณ์ ความเป็นไป และสิ่งที่พวกเขารู้สึกบ้าง


แต่ด้วยวิธีการที่เลือกนำเสนอ พลังของคำถามไม่พุ่งเข้ากระแทกใส่คนดู คำถามนี้จึงกลายเป็นคำถามที่ไม่มีใครเห็น ในระดับเดียวกับการเขียนตัวหนังสือบนกระดาษขาวด้วยลิควิดเปเปอร์ แล้วถือเดินไกลออกมาหลายเมตร มีไม่กี่คนเท่านั้นหรอกที่จะอ่านออก และเห็นว่านั่นคือคำถาม หรือคิดต่อได้ไกลถึงคำตอบ – เสียง ‘อัสลาม’ ของเจ้าหญิงเสียงเศร้าแห่งดาวดวงที่ ๔ เป็นเสียงที่แผ่วเบาเกินไป เหมือนเจ้าหญิงเกรงว่าหากพูดดังเกินไป ผู้ชมจะหาว่ากิริยามารยาทไม่งดงามสมกับเป็นเจ้าหญิง หรือกลัวคนดูจะตกใจว่าทำไมเจ้าหญิงพูดอะไรรุนแรงเช่นนี้แล้วมีแรงสะท้อนกลับไป

ขอบคุณข้อมูลจาก :
http://www.siamintelligence.com/asalam-stageplay-review/

ภาพถ่ายโดย : วิชย อาทมาท


18 November 2011

ประกาศเลื่อนเทศกาลละครกรุงเทพ 2554




นำมาประกาศกันตรงนี้อีกครั้งกับการเลื่อนการจัดเทศกาลละครกรุงเทพในปีนี้

เทศกาลละครกรุงเทพ ๒๕๕๔
‎"ประกาศอย่างเป็นทางการ จาก เครือข่ายละครกรุงเทพ"
ขอเลื่อน "เทศกาลละครกรุงเทพ ครั้งที่ 10" (ซึ่งกำหนดจะจัดขึ้น 19 พ.ย. - 4 ธ.ค. 2554)
ไปเป็นระยะต้นปีหน้า เมื่อกำหนดวันที่แน่นอนแล้ว จะแจ้งมาอีกครั้งในเร็วๆ นี้


Official Announcement from Bangkok Theatre Network (BTN)

Due to the serious huge flood in Bangkok as you have known well, The Bangkok Theatre Festival 2011 (which going to held on Nov 19 – Dec 4, 2011) has been postponed until further notice.
The new settle will be announced as soon as possible.

Sorry for the inconvenience.

We are looking forward to meet you in coming festival. Please keep in touch.





see:
http://www.bangkoktheatrenetwork.com/site/

22 September 2011

อัสลาม... จากเจ้าหญิงเสียงเศร้าแห่งดาวดวงที่ 4

พระจันทร์เสี้ยวการละครเสนอละครเวที






"อัสลาม... จากเจ้าหญิงเสียงเศร้า
แห่งดาวดวงที่ 4"

เมื่อความหายนะ... ทำให้เรามาพบกัน...

... “หากการเริ่มต้นของความล่มสลายอุบัติขึ้น ณ ดาวดวงหนึ่ง...
เหลือสิ่งมีชีวิตเพียงสิ่งเดียวคือ เจ้าหญิงเสียงเศร้า...”


จากนี้ เธอประสงค์สิ่งใด???

แรงบันดาลใจจาก เรื่องสั้น "เจ้าหญิงเสียงเศร้าแห่งดาวดวงที่สี่"
จากหนังสือ "เจ้าหงิญ" ของ บินหลา สันกาลาคีรี

ฟารีดา จิราพันธุ์ เขียนบทและกำกับ
แสดงโดย
ด.ช. ณัษฐภัทร์ คุ้มเมธา (น้องทันทัน)
คอลิด มิดำ และ ฟารีดา จิราพันธุ์

แสดงวันที่ 12-16 ตุลาคม 2554
เวลา 20.00
ณ โรงละครพระจันทร์เสี้ยว
บัตรราคา 250 บาท / น.ศ. 200
จองบัตรโทร 0811160066

ร่วมแสดงในงานเทศกาลศิลปะนานาพันธุ์ จัดโดย สถาบันปรีดี พนมยงค์

08 September 2011

เสียงจาก film virus

เสียงสะท้อนจากผู้ชม "เส้นด้ายในความมืด" จากบล็อก Film Virus





ฟิล์มไวรัส นิยมคนที่กล้าจับงานละครอิงโบราณ ไม่ว่าจะเป็นกรีก อังกฤษ แล้วปรุงใหม่สไตล์ modern แบบที่ Derek Jarman เคยทำหนังจากละครของ Christopher Marlowe และ Shakespeare ในรูปแบบ modern dress มาแล้ว และนี่น่าจะเป็นครั้งแรกของ A Thread in the Dark ในรูปแบบการแสดงแบบ modern dress








เส้นด้ายในความมืด
A Thread in the Dark
Original play by Hella Haasse
แปลโดย ศรวณีย์ สุขุมวาท
กำกับการแสดงโดย สินีนาฏ เกษประไพ / พระจันทร์เสี้ยวการละคร

“การนิ่งเงียบคือการยอมรับ”

การไม่ตั้งคำถามต่อการใช้อำนาจ คือการสมรู้คนผิด
การร่วมหัวจมท้ายกับคนและคำโกหก คือการสมคิดปกปิดความจริง

ถ้า Ibsen, Strindberg และ R. W. Fassbinder ให้คำจำกัดความของผู้หญิงยุคก้าวหน้าใต้การปกครองในศตวรรษต่าง ๆ ได้อย่างงดงามแล้ว เฮลล่า ฮัสเซ่อ (Hella Haasse) ก็ได้ให้นารีนิยามอีกบทที่น่าทึ่งไม่น้อยไปกว่า และนี่คือละครแห่งปีที่ครบถ้วนทุกเฉดสีทางพฤติกรรม มากมุมด้วยวิถีการตีความที่เหมาะเหม็งกับการเมืองทุกยุคสมัย

ละครของ เฮลล่า ฮัสเซ่อ นักเขียนชาวดัทช์ เป็นงานชิ้นเอกอีกเรื่องที่ สินีนาฏ เกษประไพ นำเสนอได้อย่างแยบคายและทรงพลัง ด้วยบทละครที่สะท้อนภาพกลวงโบ๋ของเหล่าวีรบุรุษและผู้ปกครอง ซึ่งกู่ก้องสถาปนาปักฐานอำนาจตัวเองอยู่บนไหล่ประชาชื่น (มื่น) ได้ถึงทุกวันนี้ด้วยคำลวง หนทางแห่งความจริงซึ่งเลือกที่จะเร้นกายดีกว่า ถ้ามันนำมาซึ่งผลประโยชน์และความอยู่รอดของบัลลังก์อำนาจ มันเป็นดั่งศิลายักษ์ที่แม้แต่ความรักและเส้นด้ายอันบอบบางยังไม่อาจนำทางออกจากความมืด ศรัทธาและความบริสุทธิ์ที่หวังจะแลกมาซึ่งสัจธรรมเป็นของฟุ่มเฟือยที่โลกไม่ต้องการ แต่อย่างไรคนที่ซื่อสัตย์กับตนเองก็ยังใฝ่หา แม้รู้ว่าปลายทางอาจเป็นเพียงฝันแล้ง

ฟิล์มไวรัส ขอแซ่ซ้องแก่ผู้ที่ยังคงศรัทธา แม้จะแพ้พ่าย

อย่าพลาดชมเด็ดขาด
เช็ครอบและวันแสดงได้ที่:
http://twilightvirus.blogspot.com/2011/08/thread-in-dark.html




เกี่ยวกับผู้แต่งบทละคร Hella Haasse:
http://en.wikipedia.org/wiki/Hella_Haasse



A Thread in the Dark - Video by Nophand

New Video by Nophand
A Thread in the Dark
a play directed by Sineenadh Keitprapai








ยังเหลือการแสดงอีก 5 รอบสุดท้าย 8-12 ก.ย. นี้
รอบเวลา 19.30 น.
แสดงที่ เดโม่เครซี่เธียเตอร์สตูดิโอ (ลุมพินี)


our last 5 show 8-12 Sept, 2011 Time 7.30 pm.
at Democrazy Theatre Studio (Lumpini)
with Engkish surtitle


04 September 2011

เสวนาหลังละครกับผู้แปลบท "เส้นด้ายในความมืด"

ละครเวทีเรื่องใหม่ล่าสุดของเรา "เส้นด้ายในความมืด" เปิดทำการแสดงเป็นรอบที่สองไปแล้วเมื่อคืนนี้ full house ขอแสดงความขอบคุณท่านผู้ชมที่ให้การสนับสนุน และขอขอบคุณเป็นพิเศษกับคณะอาจารย์ และนักศึกษาภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ มช. ทั้งศิษย์เก่าและปัจจุบันที่มาชมและอยู่ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเรา



เมื่อคืนเราจัดเสวนาหลังละครกับผู้แปลบท ผศ.ศรวณีย์ สุขุมวาท ผู้กำกับ สินีนาฏ เกษประไพ และอาจารย์คำรณ คุณะดิก ครู ผู้กำกับ ผู้ก่อตั้งพระจันทร์เสี้ยวการละคร ซึ่งเป็นไปอย่างสนุกสนานที่ได้แลกเปลี่ยนและปะทะสังสรรค์ทางความคิด เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สำคัญสำหรับเรา


01 September 2011

ระหว่างทาง.. เส้นด้ายในความมืด





Video by Nophand


"เส้นด้ายในความมืด" มี multi media ประกอบด้วยโดยฝีมือ นพพันธ์ บุญใหญ่
และนี่เป็นอีกหนึ่งภาพเคลื่อนไหวที่มีชีวิต


27 August 2011

ข่าวประชาสัมพันธ์ - ละครเวทีเส้นด้ายในความมืด





















พระจันทร์เสี้ยวการละคร ร่วมกับ เดโมเครซี สตูดิโอ
เสนอ ละครเวที

เส้นด้ายในความมืด
A Thread in the Dark

...ความรัก อำนาจ และภาพลวงตา...


บทละครโดย เฮลลา เฮสเส
แปลโดย ศรวณีย์ สุขุมวาท
กำกับการแสดงโดย สินีนาฏ เกษประไพ

จากบทละครของนักเขียนหญิงชาวเนเธอแลนด์ชื่อ เฮลลา เฮสเส (Hella Haasse) นักการละครและเขียนบทละคร มีผลงานนิยายขนาดสั้น อัตชีวประวัติ บทความ บทกวี ที่ได้รับรางวัลทางวรรณกรรมมากมาย บทละครเรื่อง A Thread in the Dark ได้รับรางวัล Visser Neerlandia เมื่อ ปี ค.ศ.1962




เรื่องราวเทพปกรณัมกรีกเกี่ยวกับมิโนทอร์ในถ้ำอันลึกลับลาบิรินท์บนเกาะครีท ทุกปีกษัตริย์มีนอสแห่งครีทจะต้องจัดส่งชายหญิงเพื่อเป็นเครื่องสังเวยต่อมิโนทอร์ กระทั่งถึงคราวของ เธเซอุส เจ้าชายแห่งเอเธนส์ ซึ่งตกอยู่ภายใต้การปกครองของครีท ประกาศจะเอาชนะปีศาจร้าย โดยมีอารีอาดเน ธิดาแห่งกษัตริย์มีนอสแอบนำเส้นด้ายไปให้เธเอซุสหนีรอดออกมาจากความมืดภายในถ้ำลาบิรินท์ แต่เหตุการณ์นี้ถูกนำมาเล่าใหม่ผ่านสายตาของอารีอาดเน



A retelling of the Myth...

“เส้นด้ายในความมืด” ด้วยฝีมือการแปลบทละคร โดย ผศ.ศรวณีย์ สุขุมวาท แห่งภาควิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กำกับการแสดงโดย สินีนาฏ เกษประไพ แห่งพระจันทร์เสี้ยวการละครกับเรื่องเก่าที่ถูกนำมาเล่าใหม่ด้วยมุมมองของผู้หญิงที่สะท้อนความจริงเกี่ยวกับ ความรัก อำนาจ และภาพลวงตา

"ให้ข้าอยู่อย่างโดดเดี่ยวและเจ็บปวด
ในโลกที่ความจริงมีความหมาย"




นำแสดงโดย
ศิริธร ศิริวรรณ, เบ็น โกศลศักดิ์, ณัชศลิษฏา วัลย์ณัฐประภา, ลาภิณ เหล่าสุนทร
ร่วมด้วย
กวินธร แสงสาคร, จิรัชพงศ์ เรืองจันทร์, เกรียงไกร ฟูเกษม, ลัดดา คงเดช, กอใจ อุ่ยวัฒนพงศ์ , รพีภัทร มานะสุนทร
นักดนตรี ศุภิสรา กิตติคุณารักษ์

2-6 และ 8-12 กันยายน 54 / รอบเวลา 19.30 น.
แสดงที่ เดโมเครซี เธียเตอร์ สตูดิโอ (ซอย สะพานคู่, ลุมพินี)
บัตรราคา350 B.
สำรองบัตรได้ที่ 081 612 4769 & 084 647 4783
http://www.facebook.com/?ref=home#!/CrescentMoonTheatre





ขอเชิญร่วมแลกเปลี่ยนพูดคุยใน เสวนาหลังละคร "เส้นด้ายในความมืด"
วันเสาร์ 3 ก.ย.
Re telling of the Myth พูดคุยกับผู้แปลบท ผศ.ศรวณีย์ สุขุมวาท
และ
วันเสาร์ 10 ก.ย.
พูดคุยกับผู้กำกับ สินีนาฏ เกษประไพ
ดำเนินการเสวนาโดย อ.อภิรักษ์ ชัยปัญหา







แผนที่โรงละคร Democrazy Theatre studio


20 August 2011

พระจันทร์เสี้ยวกับเส้นด้ายในความมืด



บทละคร “เส้นด้ายในความมืด” เป็นบทละครที่เขียนโดยนักเขียนหญิงชาวเนเธอแลนด์ชื่อ Hella Haasse ซึ่งนักการละครและเขียนบทละคร มีผลงานนิยายขนาดสั้น อัตชีวประวัติ บทความ บทกวี ที่ได้รับรางวัลทางวรรณกรรม​มากมาย บทละครเรื่อง A Thread in the Dark ได้รับรางวัล Visser Neerlandia เมื่อ ปี ค.ศ.1962 บทละครเรื่องนี้ตีพิมพ์อยู่ในหนังสือรวมบทละคร A Touch of the Dutch


เรื่องราวเดิมมาจากเรื่องราวเทพปกรณัมกรีกเกี่ยวกับมิโนทอร์ในถ้ำอันลึกลับลาบิรินท์บนเกาะครีท​ทุกปีกษัตริย์มีนอสแห่งครีท​จะต้องจัดส่งชายหญิงเพื่อเป​็นเครื่องสังเวยต่อมิโนทอร์​ กระทั่งถึงคราวของ เธเอซุส เจ้าชายแห่งเอเธนส์ ซึ่งตกอยู่ภายใต้การปกครองข​องครีท ประกาศจะเอาชนะปีศาจร้าย โดยมีอารีอาดเน ธิดาแห่งกษัตริย์มีนอสแอบนำ​เส้นด้ายไปให้เธเอซุสหนีรอด​ออกมาจากความมืดภายในถ้ำลาบ​ิรินท์ แต่เหตุการณ์นี้ถูกนำมาเล่า​ใหม่ผ่านสายตาของอารีอาดเน



A retelling of the Myth…

“เส้นด้ายในความมืด” แปลบท โดย ผศ.ศรวณีย์ สุขุมวาท แห่งภาควิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เคยแปล Antigone ฉบับของ Bertolt Brecht ที่พระจันทร์เสี้ยวเคยจัดแสดงมาแล้วในปี 2549 และแปล Hamet ซึ่งเคยจัดแสดงโดยคณะละคร 28 เมื่อปี 2538




“เส้นด้ายในความมืด” กับเรื่องเก่าที่ถูกนำมาเล่าใหม่ด้วยมุมมองของผู้หญิงที่่สะท้อนความจริงเกี่ยวกับ ความรัก อำนาจ และภาพลวงตา ครั้งนี้กับการกำกับการแสดงและการทำงานกับบทละครคลาสสิค ร่วมกับนักแสดงของพระจันทร์เสี้ยวรุ่นใหม่และสมาชิกรุ่นเก่า รวมนักแสดง 10 คน กับนักดนตรีอีก 1 และทีมงานอีกหลายคน เราหวังว่าจะทำให้บทละครเรื่องนี้มีชีวิตขึ้นมาอย่างที่เราเห็นและรู้สึก


17 August 2011

A Thread in the Dark - pre pro

ใกล้เข้ามาแล้วสำหรับละครเวทีเรื่องใหม่ของพระจันทร์เสี้ยวการละครเรื่อง "เส้นด้ายในความมืด" (A Thread in the Dark) บทละครจากนักเขียนหญิงชาวเนเธอแลนด์ Hella Haasse ตอนนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนซ้อมเข้มที่ในโรงละคร เรื่องนี้พระจันทร์เสี้ยวการละครจะยกคณะไปแสดงที่โรงละคร Democrazy Theatre studio ซ.สะพานคู่




ชมบรรยากาศภาพจากการซ้อม











ภาพถ่ายโดย จิรัชพงศ์ เรืองจันทร์

06 August 2011

I Sea - review from Madam Figaro

I Sea : เวลา-ผู้หญิง-การมอง-ทะเล
โดย อภิรักษ์ ชัยปัญหา







ใครนะ? ที่เปรียบเทียบอารมณ์ความรู้สึกของผู้หญิงว่าเหมือนทะเล...บางครั้งก็สงบงดงาม แต่บางครั้งก็เกรี้ยวกราด ไม่น่าเข้าใกล้...นั่นอาจเป็นมุมมองที่คนพูดซึ่งอาจเป็นผู้ชายมองพวกเธอเชื่อมโยงกับทะเล...ว่าแต่ แล้วเวลาผู้หญิงมองตัวเองกับทะเล..พวกเธอคิดยังไงกันบ้างนะ...



ผู้หญิงเก่งสองคนของพระจันทร์เสี้ยวการละคร...เธอชวนเราไปดูว่าเวลาที่เธอทั้งสองมองทะเล..พวกเธอคิดอะไรอยู่ ผ่านรูปแบบการแสดงเดี่ยวคนละเรื่องของพวกเธอ แต่ใช้ชื่อรวมเป็นคำนามสองคำว่า I Sea

ตอนที่ผมไปถึงโรงละครขนาดเล็ก black box ที่ชื่อว่า Crescent Moon Space แถว ๆ ทองหล่อ ก่อนเวลาการแสดงจะเริ่ม ปรากฏว่า มีผู้ชมไปรอชมการแสดงของสองสาวกันในจำนวนที่แทบนึกไม่ออกว่า แล้วผู้ชมจะเข้าไปอัดรวมกันในห้องเล็ก ๆ ห้องนั้นได้อย่างไร..แต่ในที่สุด เราก็ทำได้สำเร็จ




งานแบ่งออกเป็นสองชิ้น ชิ้นแรกเป็นงานของ ฟาริดา จิราพันธุ์ ใช้ชื่อว่า FLOTsam เล่าเรื่องราวของความสดใสในการเดินทางของชีวิต ที่คึกคัก สนุกสุดหวี่ยง จนกระทั่งวันหนึ่งเธอก็ตกเรือจมน้ำเพราะเรือแตก แล้วหลังจากนั้นการแสดงก็พาเราดำดิ่งไปกับภาวะของผู้หญิงในวัยผู้ใหญ่ที่ชีวิตเหมือนเรือแตกกลางทะเล เธอต้องกลับมาสำรวจร่างกายของตนเอง ต้องตะเกียกตะกาย ต้องประคองตัวไปเรื่อย ๆ เพื่อที่พบว่า ท้ายที่สุดสิ่งที่ทำได้คือการเกาะซากเรือของชีวิตนั้นอย่างสงบนิ่ง และใช้การรำลึกถึงวัยเยาว์ของตนเอง ประทังชีวิตให้พอหายใจต่อไปได้

ทั้งหมดนั้น เป็นเรื่องย่อ ที่ผมคิดเอง...เพราะการแสดงเดี่ยวในครั้งนี้ ไม่มีบทพูด และไม่ได้เล่าเรื่องแบบละครปกติ แต่เป็นการสื่อสารผ่านการแสดงที่เรียกว่า Physical Theatre ซึ่งนักแสดงมักสื่อสารผ่านการเคลื่อนไหวทางร่างกาย ก่ำกึ่งระหว่างการเต้นกับการแสดงละคร การแสดงชิ้นนี้ของฟาริดานั้น โชว์ทักษะทางร่างกายของนักแสดงได้อย่างน่าสนใจ ผู้ชมจะไม่ได้รับอนุญาตให้รู้เรื่องอะไรทั้งสิ้น เพราะเธอเข้ามาก็แสดงเลย ส่วน “เรื่อง” และ “อารมณ์” ที่ได้ เป็นเรื่องของคนดูแต่ละคน จะใส่จินตนาการของตนเองลงไปกับสิ่งที่ได้ (อย่างที่ผมสร้างเรื่องเองข้างต้น)

ความน้อยของอุปกรณ์ประกอบ เสียง และ ภาพ ที่ฟารีดานำมาใช้ มันทำให้ผู้ชมเน้นไปที่ตัวนักแสดงเป็นลำดับแรก ส่วนประกอบอื่น ๆ เมื่อเข้ามาเมื่อศิลปินต้องการให้เกิดความหมายอะไรบางอย่างในเรื่องเท่านั้น (เช่น ภาพวัยเยาว์ของเด็กหญิงฟารีดา ที่สวมชุดเดียวกับ ฟารีดาในวัยสาว ซึ่งนอนนิ่งเกาะซากเรือที่อัปปางอยู่นั้น เจ็บปวดและชวนให้เข้าไปปลอบโยน)



หากให้ผมมองในฐานะ show ผมคิดว่างานชิ้นนี้ของเธอ “ซื่อ” ดี แต่ก็อด “อยากได้เพิ่ม” ในเรื่องชั้นเชิงในการเล่าเรื่องมากกว่านี้ บางทีหากปรับหรือเพิ่มกลวิธีในการเล่าเรื่องมากกว่านี้อีกนิด FLOTsam อาจพาผู้ชมให้รู้สึกเคว้งคว้างไปกับเธอ มากกว่าการปล่อยให้ผู้ชมเป็นแค่คนบนฝั่งที่เฝ้ามองชะตากรรมของผู้หญิงคนนี้แต่ฝ่ายเดียว




งานชิ้นที่สองเป็นผลงานของ สินีนาฏ เกษประไพ ผู้นำของพระจันทร์เสี้ยวการละคร รุ่นที่ 3 และศิลปาธรสาขาศิลปะการแสดงหญิงคนแรกและคนเดียว เธอตั้งชื่องานของเธอว่า ChANge (สังเกตตัวอักษรตัวใหญ่ที่รวมกันได้ว่า CAN)



งานของเธอเริ่มต้นด้วย ชายหนุ่มนักแซกโซโฟนในชุดเจ้าบ่าว ที่ออกมาเป่ามนต์เรียก เจ้าสาว (สินีนาฎ )ออกมา ในช่วงแรก เราจะได้เห็นว่าการเป่าแซกโซโฟนของเจ้าบ่าวนั้น เป็นการควบคุมการเคลื่อนไหวของเจ้าสาว จนต่อมาเธอทนต่อไปไม่ไหว จึงสลัดกระโปรงของเจ้าสาวนั้นทิ้งไป เพื่อเปลี่ยนไปเป็นตัวของตัวเอง ในช่วงนี้ การแสดงจะขยายภาวะของผู้หญิงที่เลือกเส้นทางของตนเอง โดยขบถจากเรื่องเล่า “ชาย-หญิง” ที่สังคมให้ค่าว่าปกติ ในลักษณะอุปมากับการลอยคว้างกลางทะเล ซึ่งบางครั้งก็ลอยพลิ้วแบบแมงกะพรุน บางครั้งก็ปล่อยตัวไปกับคลื่นที่สาดซัด โดดเดี่ยว จนกระทั่งสามารถเดินทางมาถึงฝั่งในที่สุด (เรื่องจบลงที่ภาพถนนที่ทอดตัวไปข้างหน้าอย่างที่ไม่รู้ว่าจะไปสิ้นสุดตรงไหน)



มีคนกล่าวว่า สำหรับนักเต้นผู้หญิงแล้ว จะเต้นให้มีประสิทธิภาพได้ อายุน่าจะอยู่ในช่วง 20 ไม่เกิน 30 แต่สำหรับการแสดงของสินีนาฏ ในครั้งนี้เป็นอีกครั้งที่พิสูจน์ว่า คำกล่าวที่ว่าไม่จริงเสมอไปสำหรับนักเต้นสาวใหญ่ หากนักเต้นหญิงคนนั้นดูแลและฝึกฝนตนเองอย่างสม่ำเสมอ การเต้น ผสม Butoh ผสม การแสดงแบบ physical Theatre ของสินีนาฎ ในครั้งนี้ ในสายตาผมแล้ว เธอยังให้พลังในการสื่อสารผ่านทางร่างกายได้มาตรฐานทีเดียว มีข่าวลือมาว่า นี่อาจเป็นโซโล่ชิ้นสุดท้ายที่สินีนาฏจะทำ ผมขอภาวนาให้มันเป็นเพียงข่าวลือต่อไป



อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาภาพรวมแล้ว งานชิ้นนี้กลับเด่นในด้านการกำกับการแสดงมากกว่าการแสดงของเธอ ด้วยเพราะองค์ประกอบด้านเพลง ภาพทั้งวิดีโอ และ โมชั่น กราฟฟิค และแสง ที่สินีนาฏ เลือกมาใช้ในงานของเธอนั้น มันทำหน้าที่ “ส่งความหมาย” อย่างโดดเด่นจนกลบการแสดงของเธอไปบ้าง ผมยังรู้สึกเสียดายว่าในบางโมเมนท์มีแค่การแสดงของเธอก็น่าจะเพียงพอ และอาจพาให้เรา ‘รู้สึก’ ไปกับภาวะของผู้หญิงคนนั้นได้มากกว่านี้ (เป็นเทรนด์ของการแสดงร่วมสมัยของไทยในยุคหลังที่นิยมการสื่อสารด้วยสื่อที่หลากหลาย และพยายามทำลายกรอบการนิยามว่าตนเองเป็นศิลปะประเภทใด เห็นงานแบบนี้บ่อย ๆ ชักคิดถึงงานง่าย ๆ กว่านี้สะแล้ว)



หลังจากดูเรื่องเล่าของพวกเธอกับทะเลจบลง..สิ่งที่ผมทำคือโทรศัพท์ไปหาผู้หญิงที่อยู่รอบ ๆ ตัวแล้วถามเธอว่า ‘สบายดีไหม’



ภาพโดย : อดิเดช ชัยวัฒนกุล

I Sea - review from The Nation


Waves of womanhood
By Pawit Mahasarinand
Special to The Nation
Published on June 1, 2011


The poignancy gets watered down in the solo performances of 'I Sea'
"FLOTsam" began last week at the Crescent Moon Space, actress Farida Jiraphan filled the performance area with plastic bags, danced happily to Joey Boy's "Salawan" and "Loi Thale", and invited people from the audience to join her.



Then she produced a rock-like box to dance on, but fell off. The lighting changed abruptly, and when Farida re-emerged from behind the box, her movements expressed what she's experienced in life.

In "ChANge" - the other part of the double bill titled "I Sea" - Silpathorn artist Sineenadh Keitprapai, artistic director of the Crescent Moon Theatre, wore white body powder and a white wedding gown.

Saxophonist Kosit Singchalerm played "Love Potion No 9", "Music Box Lullaby" and Phillip Glass' "Mad Rush". Sineenadh's corresponding movements, like Farida's, took us through different struggles experienced by Thai women.

These two women are better known as actresses rather than dancers, and their talent made it easy to empathise with what they were feeling. But at the same time, their wordless performances would have been more poignant and less melancholic had they collaborated with choreographers.

Solo performance is a significant trend in contemporary dance and theatre, but it doesn't mean one artist has to do everything on his or her own.

Motion-graphic designers Taechit Jiropaskosol and Wattanapume Laisuwanchai, who've collaborated with many different theatre groups recently, projected captivating visuals on the back wall, and lighting designer Tawit Keitprapai helped shift the mood both subtly and sharply.

These visual elements always supported the performance and never "stole the show".


"I Sea" ended its short run on Sunday, but its strong visual and aural imagery lasted much longer, like waves continuing to reach the shore. They are unpredictable - soothing yet doubtful. You don't know whether bigger, more destructive wave might hit.

There were few dance and theatre works onstage in recent months, but our evenings are getting much busier.

Scenario's "Tawiphob: The Musical" opened on Wednesday at the Muangthai Rachadalai Theatre, re-staged with two new leads. Opening tonight at M Theatre's Blue Box Studio is Life Theatre's "Green Concerto".

Next up is B-Floor Theatre's "Flu-Fool", starting on July 13 at the Poonsuk Banomyong Auditorium. The New Theatre Society's Thai version of Harold Pinter's "Betrayal" begins on July 21 at Democrazy Theatre Studio.

The day after that, 4Daruma's "Phu Ying Khang Khang" opens at the Crescent Moon Space. Rounding out the month will be "Directed by Janaprakal", Pichet Klunchun's tribute to his teacher and fellow Silpathorn artist, Janaprakal "Khru Chang" Chandruang, at the Bangkok Art and Culture Centre.

Meanwhile the Bangkok Theatre Network is gearing up for the Bangkok Theatre Festival by hosting free discussions every other Saturday afternoon with 10 directors, all veterans of previous festivals.

Last Saturday Pradit Prasartthong, the festival's first artistic director, shared his thoughts. On July 9 it's the turn of Nikorn Saetang, artistic director of Theatre 8X8.


info from:
http://www.nationmultimedia.com/home/2011/06/01/life/Waves-of-womanhood-30159155.html

02 August 2011

เส้นด้ายในความมืด

Democracy Theatre Studio and Crescent Moon Theatre present
Demo Classic Project

a retelling of the myth

เส้นด้ายในความมืด
A Thread in the Dark

...ความรัก อำนาจ และภาพลวงตา...






บทละครโดย เฮลลา เฮสเส
Original play by Hella Hasse
แปลโดย ศรวณีย์ สุขุมวาท
Translated by Sarawanee Sukhumvada
กำกับการแสดงโดย สินีนาฏ เกษประไพ / พระจันทร์เสี้ยวการละคร
Directed by Sineenadh Keitprapai / Crescent Moon Theatre

2-6 และ 8-12 กันยายน 54 / รอบเวลา 19.30 น.
2-6 & 8-12 Sept, 2011 / Time 7.30 pm.
แสดงที่ เดโมเครซี เธียเตอร์ สตูดิโอ (ซอย สะพานคู่, ลุมพินี)
@ Democrazy Theatre Studio Bangkok (soi Sapankoo, Lumpini)
Ticket 350 B.
Moon Reservation : 081 612 4769 & 084 647 4783

บทละคร “เส้นด้ายในความมืด”
เขียนโดยนักเขียนหญิงชาวเนเ​ธอแลนด์ Hella Haasse นักการละครและเขียนบทละคร มีผลงานนิยายขนาดสั้น อัตชีวประวัติ บทความ บทกวี ที่ได้รับรางวัลทางวรรณกรรม​มากมาย บทละครเรื่อง A Thread in the Dark ได้รับรางวัล Visser Neerlandia เมื่อ ปี ค.ศ.1962

จากเรื่องราวเทพปกรณัมกรีกท​ี่เกี่ยวกับมิโนทอร์ในถ้ำอั​นลึกลับลาบิรินท์บนเกาะครีท​ ทุกปีกษัตริย์มีนอสแห่งครีท​จะต้องจัดส่งชายหญิงเพื่อเป​็นเครื่องสังเวยต่อมิโนทอร์​ กระทั่งถึงคราวของ เธเอซุส เจ้าชายแห่งเอเธนส์ ซึ่งตกอยู่ภายใต้การปกครองข​องครีท ประกาศจะเอาชนะปีศาจร้าย โดยมีอารีอาดเน ธิดาแห่งกษัตริย์มีนอสแอบนำ​เส้นด้ายไปให้เธเอซุสหนีรอด​ออกมาจากความมืดภายในถ้ำลาบ​ิรินท์ แต่เหตุการณ์นี้ถูกนำมาเล่า​ใหม่ผ่านสายตาของอารีอาดเน

A retelling of the Myth...

“เส้นด้ายในความมืด” ด้วยฝีมือการแปลบทละคร โดย ผศ.ศรวณีย์ สุขุมวาท แห่งภาควิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กำกับการแสดงโดย สินีนาฏ เกษประไพ แห่งพระจันทร์เสี้ยวการละคร​กับเรื่องเก่าที่ถูกนำมาเล่​าใหม่ด้วยมุมมองของผู้หญิงท​ี่สะท้อนความจริงเกี่ยวกับ ความรัก อำนาจ และภาพลวงตา

นำแสดงโดย
ศิริธร ศิริวรรณ, เบ็น โกศลศักดิ์, ณัชศลิษฏา วัลย์ณัฐประภา, ณัฐชยา ปอวงศ์สว่าง, ลาภิณ เหล่าสุนทร
ร่วมด้วย
กวินธร แสงสาคร, จิรัชพงศ์ เรืองจันทร์, ลัดดา คงเดช, ชัยวัฒน์ คำดี, กอใจ อุ่ยวัฒนพงศ์ , รพีภัทร มานะสุนทร
นักดนตรี ศุภิสรา กิตติคุณารักษ์
ออกแบบเสียงโดย คานธี อนันตกาญจน์
กำกับเทคนิคโดย ทวิทธิ์ เกษประไพ
ดูแลลการผลิตโดย ภาวิณี สมรรคบุตร และ วสุรัชต อุณาพรหม

***Promotion จองบัตร "เส้นด้ายในความมืด" วันนี้ได้รับส่วนลด***
ดังนี้
1. ถ้าคุณจองบัตรแล้วจ่ายเงินท​ันทีก่อน 31 ก.ค.จะได้ลดในราคา 250 บาท
2. ถ้าคุณจองแล้วจ่ายเงินภายใน​ 31 ส.ค. จะได้ลดในราคา 300 บาท
3. ถ้าจองแต่ยังไม่จ่ายเงิน มาจ่ายหน้างาน ก็จะคิดราคาเต็ม คือ 350 บาท (จะไม่ได้ลดนะคะ จ่ายตามราคาปกติค่ะ)
โดยโอนเงินมาที่ :
ชื่อบัญชี ศรวณี ยอดนุ่น เลขบัญชี 035-2-81016-9..
ธนาคารกสิกรไทย ออมทรัพย์ สาขาบางจาก
***กรุณาโทรกลับมาแจ้งที่
Moon Reservation : 081 612 4769 & 084 647 4783
(โปรดนำสลิปมารับบัตรด้วย)

03 July 2011

อ่านในใจ

โปรแกมหน้าของเราคือ โครงการอ่านบทละคร ซึ่งจัดมาเป็นครั้งที่ 5 แล้ว คราวนี้ "อ่านในใจ" มาติดตามชมการอ่านจากมุมมองนักทำละคร 8 คน








พระจันทร์เสี้ยวการละครขอเชิญชม

โครงการอ่านบทละคร

อ่านในใจ
จากมุมมองของนักการละครรุ่นกลางเก่ากลางใหม่
และรุ่นใหม่แกะกล่อง

วันที่ 9-10 กรกฎาคม 2554
รอบเวลา 14.30 และ 18.30 น.
ณ โรงละครพระจันทร์เสี้ยว สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซ.ทองหล่อ

ชมฟรี
สำรองที่นั่ง 081 612 4769 และ 084 647 4783

24 June 2011

พระจันทร์เสี้ยวเดือนมิถุนายน


เดือนนี้เรามีกิจกรรมที่จัดไปแล้ว คือ งานรำลึกครูองุ่น มาลิก "มหกรรมการแสดงแสนหรรษา ครั้งที่ 13" ซึ่งจัดไปแล้วเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ที่ผ่านมา ชาวพระจันทร์เสี้ยวการละครแปลงร่างเป็น คณะละครยายหุ่น ช่วยจัดและดำเนินงานนนี้ เรายังทำละครหุ่นเรื่อง "เจ้าหมูบินได้" แสดงในงานนี้ด้วย










เดือนนี้พระจันทร์เสี้ยวได้ลงในนิตยสาร A Day ฉบับนี้ A Day เน้นเรื่องชมรมต่างๆที่น่าสนใจ รวมทั้งพระจันทรืเสี้ยวการละครที่มีจุดเริ่มต้นจากการเป็นชมรมพระจันทร์เสี้ยว



ส่วนอีกงานหนึ่งคือการแสดง I Sea : solo performance ซึ่งแสดงโโยสองนักการละครหญิงของเรา ยังคงแสดงอยู่ถึงวันอาทิตย์นี้ที่โรงละครพระจันทร์เสี้ยว




การแสดงชุด I Sea : solo performance ในหนังสือพิมพ์ The Nation
ดูเพิ่มเติม :
http://www.nationmultimedia.com/home/VIEWS-FROM-THE-SHORELINE-30158255.html

20 May 2011

I Sea Project

Next Program

พระจันทร์เสี้ยวการละคร เสนอ การแสดงเดี่ยวของสองนักแสดงหญิง


I Sea : solo performance
การแสดงเดี่ยว โดย สินีนาฏ เกษประไพ และ ฟารีดา จิราพันธุ์

the sea, the bride, the bodymind and the reflection of bright and gloom


FLOTsam by Farida Jiraphan
ChANge by Sineenadh Keitprapai





I Sea เป็นผลงานการแสดงเดี่ยวรูปแบบ movement and body expression ของสองผู้กำกับและนักแสดงหญิงแห่งพระจันทร์เสี้ยวการละคร ฟารีดา จิราพันธุ์ นักแสดงหญิงมากฝีมือ และ สินีนาฏ เกษประไพ ศิลปินศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดง ปี 2551
สินีนาฏและฟารีดาทำงานละครประเด็นผู้หญิงและการใช้รูปแบบการนำเสนอด้วยการเคลื่อนไหวร่างกายและ physical theatre มาเป็นเวลาต่อเนื่องหลายปี

การแสดงชุด I Sea เริ่มต้นด้วยการหยิบยกภาพลักษณ์ของผู้หญิงในสังคมนำมาสะท้อนผ่านบทสนทนาของร่างกาย นำเสนอแนวความคิดที่มีต่อตัวตน การรับรู้ ร่างกายและการเดินทางภายในใจ

I Sea, the solo performance in the form of movement and body expression created by the two women artists of Crescent Moon Theatre – Farida Jiraphan, the brilliant performer and Sineenadh Keitprapai, the Silpathorn Award artist of Thailand in 2008. (an honour for living Thai contemporary artists)



Both have been working on the project associating with women and femininity, together with the use of a unique style of body movement and expression they have been practicing for many years.



I Sea Project genuinely reflects and portrays the images of women in society through the bodily converse, including the projection and notion of self, perception, body and journey of the mind.

Designed and Directed by : Flotsam – Farida Juraphan / Change – Sineenadh Keitprapai
Motion graphic designer: Taechit Jiropaskosol
Costume Designer: Karin Baiphaisan
Lighting & Technical Director: Tawit Keitprapai



22-26 June, 2011 (Time 8.00 pm.)
at Crescent Moon space (Pridi Banomyong Inst. / BTS Thonglor)
Ticket 300 B.
Booking 084 647 4783
www.CrescentMoonTheatre.com

Bad Fine Day





เป็นชื่อการแสดงโชว์เคสของเราในปีนี้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Crescent Moon summer class showcase ในการแสดงชิ้นนี้ เราพาผู้ชมไปทัวร์กับเรา สะพาน บ่อ ความสุข คำถาม ความรัก และ บันได โดยการใช้โจทย์การสร้างการแสดงจาก การด้นสด การใช้บทกวี เรื่องสั้น เพลง และ กระบวนการกลุ่มในการทำงาน




ภาพถ่ายโดย ไผ่ จีรณัทย์ และ อัด อดเดช

16 May 2011

ละครสั้นสามเรื่องใน Lighting Workshop 4




Lighting Design Workshop ครั้งที่ 4 ที่ผ่านมา ชาวพระจันทร์เสี้ยวทำละครสั้นสามเรื่องในหลายเวอร์ชั่นโดยผู้กำกับสี่คน เพื่อเป็นละครสำหรับนักออกแบบแสงได้ลงมือออกแบบกันจริงๆเซ้ทอัพกันจริงแสดงและควบคุมแสงกันจริงๆ เป็นรการลงมือปฏิบัติในเวลาอันจำกัด และได้รับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้สอน












ปีนี้เราใช้บทละครสั้น 3 เรื่อง คือ "คู่รักทั้งหลาย" จากงานอ่านผู้หญิง ดัดแปลงโดย สุกัญญา เพี้ยนศรี อีกเรื่องคือ "กำแพงใจ" แปลโดย สินีนาฏ เกษประไพ และเรื่องสุดท้าย "รักเอย" ซีนสั้นๆจาก Welcome to Nothing โดย นพพันธ์ บุญใหญ่ ครั้งนี้เรามีผู้กำกับสามคน คือ เบญจ์ บุษราคัมวงศ์ กวินธร แสงสาคร สินีนาฏ เกษประไพ และ สายฟ้า ตัณธนา ที่ให้เวลามากำกับอย่างสนุกสนาน




















และภาพรวมผู้เข้าอบรม Lighting Design Workshop รุ่นที่ 4 ของเรา