นำบทวิจารณ์ละครเวทีเรื่องล่าสุดที่ผ่านไปแล้วของเรามาลงให้อ่านกันค่ะ
เสียง ‘อัสลาม’ อันแผ่วเบา ของเจ้าหญิงเสียงเศร้าแห่งดาวดวงที่ ๔
โดย ชญานิน เตียงพิทยากร
ผมเริ่มเขียนถึงละครเวทีเรื่องนี้ หลังจากภาวะน้ำใกล้ถล่มกรุงเทพฯ กลบข่าวเหตุระเบิด 33 จุดที่จังหวัดยะลาจนเงียบกริบ – บังเอิญดีแท้ เพราะมันสอดรับกับสิ่งที่ละครพยายามจะสื่อ และภาวะ ‘ไปไม่ถึง’ ที่ละครประสบอยู่พอดี
‘อัสลาม… จากเจ้าหญิงเสียงเศร้าแห่งดาวดวงที่ ๔’ กำกับและนำแสดงโดย ฟารีดา จิราพันธุ์ หนึ่งในนักแสดงละครเวทีหญิงที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคนหนึ่งของเมืองไทย ปัจจัยนี้ช่วยเรียกคนดูได้มากพอประมาณอยู่แล้ว ทั้งจากกลุ่มผู้ชมละครขาประจำและขาจร บวกกับหน้าตาของละครหลังการโปรโมตที่เน้นความน่ารักของนักแสดงเด็ก (ณัษฐภัทร์ คุ้มเมธา) ที่ทำให้เกิดกระแสปากต่อปากหลังจากรอบการแสดงผ่านไประยะหนึ่ง
โดย ชญานิน เตียงพิทยากร
ผมเริ่มเขียนถึงละครเวทีเรื่องนี้ หลังจากภาวะน้ำใกล้ถล่มกรุงเทพฯ กลบข่าวเหตุระเบิด 33 จุดที่จังหวัดยะลาจนเงียบกริบ – บังเอิญดีแท้ เพราะมันสอดรับกับสิ่งที่ละครพยายามจะสื่อ และภาวะ ‘ไปไม่ถึง’ ที่ละครประสบอยู่พอดี
‘อัสลาม… จากเจ้าหญิงเสียงเศร้าแห่งดาวดวงที่ ๔’ กำกับและนำแสดงโดย ฟารีดา จิราพันธุ์ หนึ่งในนักแสดงละครเวทีหญิงที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคนหนึ่งของเมืองไทย ปัจจัยนี้ช่วยเรียกคนดูได้มากพอประมาณอยู่แล้ว ทั้งจากกลุ่มผู้ชมละครขาประจำและขาจร บวกกับหน้าตาของละครหลังการโปรโมตที่เน้นความน่ารักของนักแสดงเด็ก (ณัษฐภัทร์ คุ้มเมธา) ที่ทำให้เกิดกระแสปากต่อปากหลังจากรอบการแสดงผ่านไประยะหนึ่ง
ละครดัดแปลงหนังสือรวมเรื่องสั้น ‘เจ้าหงิญ’ ของ บินหลา สันกาลาคีรี ได้น่าสนใจมาก ซึ่งผมเองเคยอ่านเมื่อนานมาแล้วทำให้ไม่แน่ใจว่าแง่มุมต่างๆ เหล่านี้มีอยู่ในหนังสือของบินหลาอยู่แต่เดิมหรือเปล่า แต่อย่างไรก็ดีการเล่าเรื่องความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้ของฟารีดา โดยยืนพื้นบนเรื่องสั้นหลายเรื่องของหนังสือดังกล่าวก็ทำได้น่าสนใจ ทั้งการตีความเรื่องและการวางสถานะของตัวละคร
ฟารีดารับบทเป็น ‘เจ้าหญิงเสียงเศร้าแห่งดาวดวงที่ ๔’ ผู้เป็นมุสลิม (เช่นเดียวกับตัวจริงของเธอ) ที่ได้พบกับเจ้าชายน้อยที่เดินทางมาจากแดนไกล และเป็นเพียงคนเดียวในหมู่เจ้าชายที่ไม่หลงทิศหลงทางจนได้มาพบเจ้าหญิง โดยในช่วงแรกของละครนั้นยังมีหลานชายของ ‘โต๊ะ’ (รับบทโดย คอลิด มิดำ ซึ่งเป็นมุสลิมเช่นกันกับฟารีดา) ที่ปรากฏตัวในฉากที่รุนแรงและยาวนานซึ่งอาศัยการแสดงอันทรงพลังล้วนๆ ก่อนที่ตัวละครนี้จะหายไป และกลับเข้ามาในฐานะ alter-ego ของเจ้าชายน้อย ผ่านการเล่าเรื่องที่ให้สองตัวละครสลับกันเข้าฉากไปมาอยู่ระยะหนึ่ง
ความรู้สึกที่เกิดขึ้นหลังจากละครจบคือ ละครดี แต่น่าเสียดาย จำนวนคนดูเต็มโรงละครในการแสดงรอบสุดท้ายเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม เกินกว่าครึ่งหัวเราะเอ็นดูกับความน่ารักของนักแสดงเด็กเป็นหลัก แม้กระทั่งในฉากที่เสนอสารซึ่งทั้งเศร้า ทั้งรุนแรง – ผมจึงค่อนข้างมั่นใจว่าเนื้อหาที่ฟารีดาต้องการสื่อสาร ไปไม่ใคร่จะถึงคนดูเท่าไรนัก ทั้งที่สิ่งที่เธอกำลังพูดถึงคือการบอกให้ ‘คนนอก’ (ไม่ว่าจะนอกพื้นที่ หรือนอกบริบทศาสนาอิสลาม) เข้าใจสถานการณ์ ความเป็นไป และสิ่งที่พวกเขารู้สึกบ้าง
แต่ด้วยวิธีการที่เลือกนำเสนอ พลังของคำถามไม่พุ่งเข้ากระแทกใส่คนดู คำถามนี้จึงกลายเป็นคำถามที่ไม่มีใครเห็น ในระดับเดียวกับการเขียนตัวหนังสือบนกระดาษขาวด้วยลิควิดเปเปอร์ แล้วถือเดินไกลออกมาหลายเมตร มีไม่กี่คนเท่านั้นหรอกที่จะอ่านออก และเห็นว่านั่นคือคำถาม หรือคิดต่อได้ไกลถึงคำตอบ – เสียง ‘อัสลาม’ ของเจ้าหญิงเสียงเศร้าแห่งดาวดวงที่ ๔ เป็นเสียงที่แผ่วเบาเกินไป เหมือนเจ้าหญิงเกรงว่าหากพูดดังเกินไป ผู้ชมจะหาว่ากิริยามารยาทไม่งดงามสมกับเป็นเจ้าหญิง หรือกลัวคนดูจะตกใจว่าทำไมเจ้าหญิงพูดอะไรรุนแรงเช่นนี้แล้วมีแรงสะท้อนกลับไป
ขอบคุณข้อมูลจาก :
http://www.siamintelligence.com/asalam-stageplay-review/
ภาพถ่ายโดย : วิชย อาทมาท
No comments:
Post a Comment