ประกาศ
เรื่อง ขอความร่วมมือให้เลื่อนการแถลงข่าวเปิดตัวยุทธศาสตร์ละครสำหรับเยาวชน ปี 2ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 1 ตุลาคม 2552 ณ The style by TOYOTA ออกไปก่อน
ขณะนี้แผนงานทุนอุปถัมภ์เชิงรุกฯ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) อยู่ระหว่างการปรับและพัฒนาทิศทางใหม่ให้สอดคล้องกับทิศทางและภาพรวมของการพัฒนาแผนและกลยุทธ์การขับเคลื่อนขององค์กร สสส. สำหรับปีงบประมาณ 2553 (ตุลาคม 2552 – กันยายน 2553) โดยรวม ซึ่งเพิ่งมีการประชุมด่วนที่สุดเมื่อวันที่ 28 กันยายนที่ผ่านมา โดยมีการหารือร่วมกันกับคณะกรรมการกำกับทิศทางของแผนงานฯ และผู้ทรงคุณวุฒิของ สสส.
และเพื่อให้การดำเนินการยุทธศาสตร์ทางด้านศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่แผนงานฯ ให้การสนับสนุน อาทิ ยุทธศาสตร์ละครสำหรับเยาวชน ยุทธศาสตร์ดนตรีสร้างสุข ยุทธศาสตร์สื่อพื้นบ้านสานสุข และยุทธศาสตร์สื่อสร้างสรรค์ร่วมสมัยสำหรับเยาวชน มีความสอดคล้องต่อเนื่องไปในทิศทางเดียวกันกับแผนงานฯ อีกทั้งเพื่อให้สามารถตอบข้อซักถามแก่คณะขับเคลื่อนงานฯ ผู้เป็นภาคีพันธมิตรเครือข่ายด้านสื่อต่าง ๆ เครือข่ายเยาวชน เครือข่ายองค์กรสาธารณะและผู้ร่วมงานในกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงสื่อมวลชน ได้เห็นถึงทิศทางของการขับเคลื่อน ในปี 2553 ที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพและมีพลังขับเคลื่อนสังคมได้ดีตามความคาดหวังของฝ่ายต่าง ๆ
แผนงานทุนอุปถัมภ์เชิงรุกฯ สสส. จึงเรียนมาเพื่อใคร่ขอความร่วมมือ และเพื่อมิให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนหรือสับสนสำหรับพันธมิตร ภาคีเครือข่าย ผู้รับทุน หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง จึงใคร่ขอความกรุณาให้ท่าน เลื่อนการแถลงข่าวเปิดตัวยุทธศาสตร์ ฯ ดังกล่าวที่มีผลต่อทิศทางการสนับสนุนของแผนงานฯ ออกไปก่อน อย่างไรก็ตาม บางกิจกรรมที่มิได้เกี่ยวข้องกับทิศทางและนโยบายการสนับสนุนของแผนงานฯ สสส. ทางคณะทำงานฯ ที่เกี่ยวข้องของท่าน ยังสามารถดำเนินการตามกรอบที่ตกลงไว้ก่อนหน้านี้ได้ ทั้งนี้ ทางแผนงานฯจะใคร่ขอแจ้งให้ทราบความชัดเจนและกรอบทิศทาง นโยบายและกรอบกำหนดการที่ชัดเจนอีกครั้งภายในสัปดาห์หน้า
แผนงานฯ จึงเรียนมาเพื่อขออภัย หากทำให้ท่านเกิดความไม่สบายใจ มีผลกระทบหรือมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องไม่เป็นไปตามที่ได้ตกลงหรือวางแผนไว้ก่อนหน้านี้
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และขออภัยในความไม่สะดวกในครั้งนี้อีกครั้ง
ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน 2552
29 September 2009
พระจันทร์เสี้ยวกับยุทธศาสตร์ละครสำหรับเยาวชน ปี 2
โครงการยุทธศาสตร์ละครสำหรับเยาวชน ปีที่ 2
ตอนนี้พระจันทร์เสี้ยวการละครเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานคณะขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ละครสำหรับเยาวชน ปีที่ 2 ร่วมกับ สถาบันคลังสองของชาติ และ กลุ่มละครเพื่อการเรียนรู้บางเพลย์
ตอนนี้เริ่มทำงานแล้ว กำลังเปิดรับสมัครโครงการที่จะเข้าร่วมกิกจรรมในปีนี้แล้ว หากใครสนใจคลื๊กเข้าไปดูได้ที่ http://www.theatreforyoungpeople.com/
ซึ่งจะจัดงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการฯขึ้น ในวันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม 2552 ตั้งแต่เวลา 14.00 – 16.30 น. สถานที่ The style by TOYOTA สยามสแควร์
ในงานนี้ก็จะมีการเล่าภาพรวมของโครงการ ฉายภาพปีที่ 1 และแนวทางการทำงานปีที่ 2 ดูละครสั้นจากตัวแทนเยาวชน ฟังเยาวชนพูด ฟังผู้ใหญ่ที่ทำงานด้านเยาวชนพูดถึงการทำงานกับเยาวชน
อยากชวนเชิญเยาวชน นักละคร ครูสอนละคร และผู้สนใจงานด้านละครและเยาวชนมาร่วมงานกันให้อบอุ่น
พบกันวันที่ 1 ตุลาคม ที่ The Style by Toyota ชั้น 3
ตอนนี้พระจันทร์เสี้ยวการละครเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานคณะขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ละครสำหรับเยาวชน ปีที่ 2 ร่วมกับ สถาบันคลังสองของชาติ และ กลุ่มละครเพื่อการเรียนรู้บางเพลย์
ตอนนี้เริ่มทำงานแล้ว กำลังเปิดรับสมัครโครงการที่จะเข้าร่วมกิกจรรมในปีนี้แล้ว หากใครสนใจคลื๊กเข้าไปดูได้ที่ http://www.theatreforyoungpeople.com/
ซึ่งจะจัดงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการฯขึ้น ในวันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม 2552 ตั้งแต่เวลา 14.00 – 16.30 น. สถานที่ The style by TOYOTA สยามสแควร์
ในงานนี้ก็จะมีการเล่าภาพรวมของโครงการ ฉายภาพปีที่ 1 และแนวทางการทำงานปีที่ 2 ดูละครสั้นจากตัวแทนเยาวชน ฟังเยาวชนพูด ฟังผู้ใหญ่ที่ทำงานด้านเยาวชนพูดถึงการทำงานกับเยาวชน
อยากชวนเชิญเยาวชน นักละคร ครูสอนละคร และผู้สนใจงานด้านละครและเยาวชนมาร่วมงานกันให้อบอุ่น
พบกันวันที่ 1 ตุลาคม ที่ The Style by Toyota ชั้น 3
27 September 2009
เทศกาลศิลปะนานาพันธุ์
สถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับ โครงการจัดงานครบรอบชาตกาล ๑๑๐ ปี รัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ จัดงาน
"เทศกาลศิลปะนานาพันธุ์"
ในวาระครบรอบชาตกาล ๑๑๐ ปี รัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์
อภิวัฒน์สู่สันติ : CHANGE TO PEACE
วันที่ 24 ตุลาคม - 11 พฤศจิกายน 2552ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์
ชม
ปาฐกถาทางศิลปะ การแสดงละคร การแสดงดนตรี การแสดงสด การอ่านบทกวี การแสดงพื้นบ้าน ฉายภาพยนตร์ การแสดงทัศนศิลป์
สอบถามรายละเอียดโทรศัพท์ 02 381 3860-1
http://www.pridiinstitute.com/
ในงานนี้ 'พระจันทร์เสี้ยวการละคร' นำเสนองาน 3 ชิ้นด้วยกัน ชิ้นแรกเป็นงานแสดงอ่านบทละคร "อ่านสันติภาพ" โดยเราชวนนักการละครมาช่วยกันเลือกวรรณกรรม เรื่องสั้น บทกวี หรือ บทเพลง ในคอนเซ็ปเรื่องสันติภาพมาอ่านกัน งานที่สอง เป็นละครหุ่นและสื่อผสมเรื่อง "ติสตู นักปลูกต้นไม้" และงานอีกชิ้นเป็นงานจัดวาง โปรดติดตามรายละเอียดเร็วๆนี้
"เทศกาลศิลปะนานาพันธุ์"
ในวาระครบรอบชาตกาล ๑๑๐ ปี รัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์
อภิวัฒน์สู่สันติ : CHANGE TO PEACE
วันที่ 24 ตุลาคม - 11 พฤศจิกายน 2552ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์
ชม
ปาฐกถาทางศิลปะ การแสดงละคร การแสดงดนตรี การแสดงสด การอ่านบทกวี การแสดงพื้นบ้าน ฉายภาพยนตร์ การแสดงทัศนศิลป์
สอบถามรายละเอียดโทรศัพท์ 02 381 3860-1
http://www.pridiinstitute.com/
ในงานนี้ 'พระจันทร์เสี้ยวการละคร' นำเสนองาน 3 ชิ้นด้วยกัน ชิ้นแรกเป็นงานแสดงอ่านบทละคร "อ่านสันติภาพ" โดยเราชวนนักการละครมาช่วยกันเลือกวรรณกรรม เรื่องสั้น บทกวี หรือ บทเพลง ในคอนเซ็ปเรื่องสันติภาพมาอ่านกัน งานที่สอง เป็นละครหุ่นและสื่อผสมเรื่อง "ติสตู นักปลูกต้นไม้" และงานอีกชิ้นเป็นงานจัดวาง โปรดติดตามรายละเอียดเร็วๆนี้
26 September 2009
โครงการอ่านบทละคร : อ่าน(เรื่อง)รัก
อ่านรักจากวรรณกรรม
ก่อนจะถึงคราว “อ่านสันติภาพ” เราขอทวนความจำจาก “อ่านเรื่องรัก” กันสักเล็กน้อย โครงการอ่านบทละคร : อ่าน(เรื่อง)รัก เป็นโครงการแรกของปี 2552 ของพระจันทร์เสี้ยวการละคร เมื่อวันที่ 7 และ 8 กุมภาพันธ์ 2552เราชักชวนทำละครทั้งสิบคนมาอ่านบทละคร โดยเลือกจากสือที่รัก ที่พูดถึงความรักในแง่มุมต่างๆ พร้อมกับชวนกันมาอ่านบทละคร ด้วยวิธีการไม่จำกัด แต่เราอยู่ในคอนเซ็ปเดียวกัน คือ การอ่านบทละคร และ ว่าด้วยเรื่องความรัก
โครงการประสบความสำเร็จเกินความคาดหมาย และได้รับเสียงตอบรับอย่างอบอุ่นจากผู้เข้าชม หลังจากการอ่านเราเปิดวงพูดคุยกันหลังจากนั้น ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางความคิด และได้รับกำลังใจดีๆจากผู้ชม และเรานักทำละครก็ยังได้มีโอกาสคลุกคลีรวมทั้งพูดคุยอยู่ด้วยเรื่องที่เกินความคาดหมายอีกอย่างหนึ่งคือ เราได้เห็นวิธีการอันหลากหลาย หรือ กลวิธีในการนำเสนอการอ่านต่อผู้ชมอย่างอิสระและสร้างสรรค์
เราได้เห็นวิธีการอ่านแบบคลาสสิคดั้งเดิม คือแบบอ่านบทละคร ที่เน้นสร้างจินตนาการผ่านการตีความจากความรู้สึก โดยไม่ใช้การเคลื่อนที่บนเวทีมากนัก แต่ก็ตรึงผู้ชมไว้ได้ ไปจนถึงกลวิธีทั้งเล่น ทั้งเคลื่อนไหว และทั้งอ่านไปด้วย หรือ อ่านไปด้วย เล่นไปด้วย พร้อมมัลติมีเดีย ส่วนท่าทีในการอ่านมากจากการตีความของผู้กำกับแต่ละชิ้นที่แสดงทรรศนะต่อความรักจากช่วงตอนจากหนังสือที่เขาเลือกมาอ่าน ซึ่งมีทั้ง ความรักแบบศรัทธา ความรักแบบหวานซึ้งแต่เจ็บปวด ความรักแบบแอบซ่อน หรือการเสียดสีจิกกัดความรัก
ลองมาทวนความจำกับนักทำละครทั้งสิบคนและเรื่องรักทั้งสิบเรื่องที่นำมาอ่านใน “อ่าน(เรื่อง)รัก” กันเพลินๆในระหว่างที่รอ ก่อนที่จะได้ดู “อ่านสันติภาพ” ในเร็วๆนี้
“ความรักของวัลยา” บทประพันธ์ของ เสนีย์ เสาวพงศ์ นำเสนอโดย สวนีย์ อุทุมมา
“ไหม” บทประพันธ์ของ อเลซซานโดร บาริกโก นำเสนอโดย สายฟ้า ตันธนา
“เสียงระหว่างเรา” จากรวมเรื่องสั้นชุด 'ภวาภพ' ของ อุเทน มหามิตร นำเสนอโดย คานธี อนันตกาญจน์
“หาแว่นให้หน่อย” จากรวมเรื่องสั้นชุด 'เราหลงลืมอะไรบางอย่าง' ของ วัชระ สัจจะสารสิน นำเสนอโดย อภิรักษ์ ชัยปัญหา
“แวร์เธอร์ระทม” บทประพันธ์ของ โยฮัน โวลฟ์กัง ฟอน เกอเธ่ นำเสนอโดย ปานรัตน กริชชาญชัย
“BLU : เยือกเย็น” เขียนโดย ท์ซึจิ ฮิโตนาริ นำเสนอโดย เกรียงไกร ฟูเกษม
“ความลับในความรัก” ของ จอห์น อาร์มสตรอง นำเสนอโดย นพพันธ์ บุญใหญ่
“การเดินทางของส่วนที่หายไป” นำเสนอโดย ศรวณี ยอดนุ่น
“แพนด้า” เขียนโดย ปราบดา หยุ่น นำเสนอโดย เบญจ์ บุษราคัมวงศ์
“เขาไม่นับเธอ” ของ ไฮนริช เบิล นำเสนอโดย สุวรรณา พร้อมตั้งตระกูล
นี่เป็นการแบ่งกันอ่านแบ่งกันชมว่าด้วยเรื่องความรักจากวรรณกรรมและมุมมองจากนักทำละครทั้งสิบคน หากสนใจอ่านมุมมองจากผู้ชม หาอ่านเพิ่มเติมได้ที่
อ่าน(เรื่อง)รัก อ่านรักจากวรรณกรรม
โดย : ไอติมลอร์ด
จากหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552
(หรือเข้าไปที่เว็บไซด์พระจันทร์เสี้ยว
http://www.crescentmoontheatre.com/
ในหัวข้อ Review)
ก่อนจะถึงคราว “อ่านสันติภาพ” เราขอทวนความจำจาก “อ่านเรื่องรัก” กันสักเล็กน้อย โครงการอ่านบทละคร : อ่าน(เรื่อง)รัก เป็นโครงการแรกของปี 2552 ของพระจันทร์เสี้ยวการละคร เมื่อวันที่ 7 และ 8 กุมภาพันธ์ 2552เราชักชวนทำละครทั้งสิบคนมาอ่านบทละคร โดยเลือกจากสือที่รัก ที่พูดถึงความรักในแง่มุมต่างๆ พร้อมกับชวนกันมาอ่านบทละคร ด้วยวิธีการไม่จำกัด แต่เราอยู่ในคอนเซ็ปเดียวกัน คือ การอ่านบทละคร และ ว่าด้วยเรื่องความรัก
โครงการประสบความสำเร็จเกินความคาดหมาย และได้รับเสียงตอบรับอย่างอบอุ่นจากผู้เข้าชม หลังจากการอ่านเราเปิดวงพูดคุยกันหลังจากนั้น ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางความคิด และได้รับกำลังใจดีๆจากผู้ชม และเรานักทำละครก็ยังได้มีโอกาสคลุกคลีรวมทั้งพูดคุยอยู่ด้วยเรื่องที่เกินความคาดหมายอีกอย่างหนึ่งคือ เราได้เห็นวิธีการอันหลากหลาย หรือ กลวิธีในการนำเสนอการอ่านต่อผู้ชมอย่างอิสระและสร้างสรรค์
เราได้เห็นวิธีการอ่านแบบคลาสสิคดั้งเดิม คือแบบอ่านบทละคร ที่เน้นสร้างจินตนาการผ่านการตีความจากความรู้สึก โดยไม่ใช้การเคลื่อนที่บนเวทีมากนัก แต่ก็ตรึงผู้ชมไว้ได้ ไปจนถึงกลวิธีทั้งเล่น ทั้งเคลื่อนไหว และทั้งอ่านไปด้วย หรือ อ่านไปด้วย เล่นไปด้วย พร้อมมัลติมีเดีย ส่วนท่าทีในการอ่านมากจากการตีความของผู้กำกับแต่ละชิ้นที่แสดงทรรศนะต่อความรักจากช่วงตอนจากหนังสือที่เขาเลือกมาอ่าน ซึ่งมีทั้ง ความรักแบบศรัทธา ความรักแบบหวานซึ้งแต่เจ็บปวด ความรักแบบแอบซ่อน หรือการเสียดสีจิกกัดความรัก
ลองมาทวนความจำกับนักทำละครทั้งสิบคนและเรื่องรักทั้งสิบเรื่องที่นำมาอ่านใน “อ่าน(เรื่อง)รัก” กันเพลินๆในระหว่างที่รอ ก่อนที่จะได้ดู “อ่านสันติภาพ” ในเร็วๆนี้
“ความรักของวัลยา” บทประพันธ์ของ เสนีย์ เสาวพงศ์ นำเสนอโดย สวนีย์ อุทุมมา
“ไหม” บทประพันธ์ของ อเลซซานโดร บาริกโก นำเสนอโดย สายฟ้า ตันธนา
“เสียงระหว่างเรา” จากรวมเรื่องสั้นชุด 'ภวาภพ' ของ อุเทน มหามิตร นำเสนอโดย คานธี อนันตกาญจน์
“หาแว่นให้หน่อย” จากรวมเรื่องสั้นชุด 'เราหลงลืมอะไรบางอย่าง' ของ วัชระ สัจจะสารสิน นำเสนอโดย อภิรักษ์ ชัยปัญหา
“แวร์เธอร์ระทม” บทประพันธ์ของ โยฮัน โวลฟ์กัง ฟอน เกอเธ่ นำเสนอโดย ปานรัตน กริชชาญชัย
“BLU : เยือกเย็น” เขียนโดย ท์ซึจิ ฮิโตนาริ นำเสนอโดย เกรียงไกร ฟูเกษม
“ความลับในความรัก” ของ จอห์น อาร์มสตรอง นำเสนอโดย นพพันธ์ บุญใหญ่
“การเดินทางของส่วนที่หายไป” นำเสนอโดย ศรวณี ยอดนุ่น
“แพนด้า” เขียนโดย ปราบดา หยุ่น นำเสนอโดย เบญจ์ บุษราคัมวงศ์
“เขาไม่นับเธอ” ของ ไฮนริช เบิล นำเสนอโดย สุวรรณา พร้อมตั้งตระกูล
นี่เป็นการแบ่งกันอ่านแบ่งกันชมว่าด้วยเรื่องความรักจากวรรณกรรมและมุมมองจากนักทำละครทั้งสิบคน หากสนใจอ่านมุมมองจากผู้ชม หาอ่านเพิ่มเติมได้ที่
อ่าน(เรื่อง)รัก อ่านรักจากวรรณกรรม
โดย : ไอติมลอร์ด
จากหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552
(หรือเข้าไปที่เว็บไซด์พระจันทร์เสี้ยว
http://www.crescentmoontheatre.com/
ในหัวข้อ Review)
24 September 2009
บันทึกจากงาน 40 ปี อาเซียน
บทบันทึกนี้บันทึกกิจกรรมที่พระจันทร์เสี้ยวไปเข้าร่วมงานในปี 2550 อยากจะนำมาเก็บไว้ที่นี่เพื่อเผยแพร่ หรืออย่างน้อยเอาไว้ทวนความจำ
พระจันทร์เสี้ยวการละคร
ในงาน 40 ปี อาเซียน
บันทึกโดย ศรวณี ยอดนุ่น
พระจันทร์เสี้ยวการละคร เข้าร่วมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการแสดงและสื่อผสม Asian Performance and Multi-Media Arts Workshop 2007 ในงาน 40 ปี อาเซียน ที่ประเทศฟิลิปปินส์
ตัวแทนจากพระจันทร์เสี้ยวการละคร 4 คน คือ กวินธร แสงสาคร, ศรวณี ยอดนุ่น, บูรณิจฉ์ ถิ่นจะนะ และ กมลภัทร อินสร ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงวัฒนธรรมให้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ ใน Asian Performance and Media Arts Workshop ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ในระหว่าง วันที่ 26 กรกฎาคม ถึง 8 สิงหาคม 2552จากการเข้าร่วมโครงการครั้งนี้ ทางตัวแทนจากพระจันทร์เสี้ยวการละครได้รับประโยชน์และความรู้ต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านของศิลปะการแสดง เต้นรำ ภาพยนตร์สั้น หรือการวาดการ์ตูน Comic อีกทั้งยังได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ความรู้ ทัศนคติ วิถีชีวิต กับเพื่อนต่างชาติทั้ง 9 ประเทศที่ได้เข้าร่วม workshop ด้วยกัน
กิจกรรมทั้งหมดที่ทางประเทศเจ้าภาพได้ไว้มีดังนี้คือ
1. Theatre Workshop
3. Comic Workshop
เนื่องจากประเทศฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีชื่อเสียงมากเรื่องการวาดการ์ตูน Comic การ Workshop นี้ จึงได้มีการเชิญวิทยากรที่เป็นนักวาดการ์ตูนที่มีชื่อเสียงของประเทศ มาแนะนำวิธีการวาด Comic ให้กับผู้เข้าร่วม Workshop แต่ละประเทศ โดยที่เริ่มจากการเขียนถึงปัญหาของประเทศตัวเองเป็นภาษาของตัวเอง แล้วจึงค่อยพัฒนามาเป็น Comic และเมื่อแต่ละประเทศวาด Comic ของตัวเองเสร็จเรียบแล้วแล้ว ก็จะมีการออกมาอธิบายถึง Comic ของแต่ละประเทศ ซึ่งถือเป็นการนำเอา Comic มารับใช้สังคมอีกทางหนึ่ง
4. Short Film Workshop
5. Outdoor Workshop
6. ออกรายการโทรทัศน์
ในเช้าวันที่ 8 กันยายน 2550 ผู้เข้าร่วม Workshop ทุกคนไปร่วมพิธีเปิดงาน 40 ปีอาเซียน ที่กระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์
8. Workshop Show Case
9. Manila Films Festival
พระจันทร์เสี้ยวการละคร
ในงาน 40 ปี อาเซียน
บันทึกโดย ศรวณี ยอดนุ่น
พระจันทร์เสี้ยวการละคร เข้าร่วมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการแสดงและสื่อผสม Asian Performance and Multi-Media Arts Workshop 2007 ในงาน 40 ปี อาเซียน ที่ประเทศฟิลิปปินส์
ตัวแทนจากพระจันทร์เสี้ยวการละคร 4 คน คือ กวินธร แสงสาคร, ศรวณี ยอดนุ่น, บูรณิจฉ์ ถิ่นจะนะ และ กมลภัทร อินสร ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงวัฒนธรรมให้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ ใน Asian Performance and Media Arts Workshop ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ในระหว่าง วันที่ 26 กรกฎาคม ถึง 8 สิงหาคม 2552จากการเข้าร่วมโครงการครั้งนี้ ทางตัวแทนจากพระจันทร์เสี้ยวการละครได้รับประโยชน์และความรู้ต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านของศิลปะการแสดง เต้นรำ ภาพยนตร์สั้น หรือการวาดการ์ตูน Comic อีกทั้งยังได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ความรู้ ทัศนคติ วิถีชีวิต กับเพื่อนต่างชาติทั้ง 9 ประเทศที่ได้เข้าร่วม workshop ด้วยกัน
กิจกรรมทั้งหมดที่ทางประเทศเจ้าภาพได้ไว้มีดังนี้คือ
1. Theatre Workshop
เป็นการ workshop โดยนำเอาละครเข้าไปรับใช้สังคม โดยกำหนดให้ประเด็นของละครแต่ละเรื่องนั้นพูดเกี่ยวกับปัญหาสังคมทั้งสิ้น เช่น ประเด็นความยากจน ประเด็นผู้หญิง ประเด็นเอดส์ ประเด็นสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ประเด็นเรื่องเพศ ประเด็นการศึกษา ฯลฯ และให้แต่ละประเทศสร้างงานจากประเด็นทางสังคมที่ได้รับ โดยให้พัฒนาชิ้นงานของตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ
เป็นการสอนการเต้น โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อให้เรียนรู้วัฒนธรรมการเต้นของแต่ละประเทศ และนำเอาการเต้นของแต่ละประเทศที่ต่างกันนั้นมาผสานเข้าด้วยกัน เป็นชิ้นงาน ที่ถือเป็นทั้งการเผยแพร่วัฒนธรรมของเราและเรียนรู้วัฒนธรรมที่ต่างกันไปพร้อมกันด้วย
3. Comic Workshop
เนื่องจากประเทศฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีชื่อเสียงมากเรื่องการวาดการ์ตูน Comic การ Workshop นี้ จึงได้มีการเชิญวิทยากรที่เป็นนักวาดการ์ตูนที่มีชื่อเสียงของประเทศ มาแนะนำวิธีการวาด Comic ให้กับผู้เข้าร่วม Workshop แต่ละประเทศ โดยที่เริ่มจากการเขียนถึงปัญหาของประเทศตัวเองเป็นภาษาของตัวเอง แล้วจึงค่อยพัฒนามาเป็น Comic และเมื่อแต่ละประเทศวาด Comic ของตัวเองเสร็จเรียบแล้วแล้ว ก็จะมีการออกมาอธิบายถึง Comic ของแต่ละประเทศ ซึ่งถือเป็นการนำเอา Comic มารับใช้สังคมอีกทางหนึ่ง
4. Short Film Workshop
ทางผู้จัดงานได้ให้โจทย์ว่าผู้เข้าร่วม Workshop ต้องทำภาพยนตร์สั้นร่วมกัน โดยได้มีการอบรมเกี่ยวกับการทำภาพยนตร์สั้นเบื้องต้นให้ และได้แบ่งกลุ่มกันเป็น 6 กลุ่ม ทำภาพยนตร์สั้น 6 เรื่อง โดยไม่จำกัดรูปแบบ แต่ประเด็นของภาพยนตร์นั้นต้องเป็นประเด็นเกี่ยวกับปัญหาสังคม เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่าแม้ว่าจะเป็นงานเกี่ยวกับ Media ก็สามารถนำมารับใช้สังคมได้ และการในทำภาพยนตร์สั้นนี้ก็เป็นการได้แลกเปลี่ยนทัศนคติกันระหว่าง film maker และประเทศไทยก็ได้มีส่วนร่วมในภาพยนตร์สั้นทั้ง 6 เรื่อง ทั้งใน่สวนของผู้กำกับการแสดง ผู้กำกับศิลป์ นักแสดง และ ผู้ตัดต่อ
5. Outdoor Workshop
กิจกรรมนี้ก็คล้ายกับการออกไปทัศนศึกษา โดยประเทศเจ้าภาพได้นำเราไป Baseco แหล่งชุมชนแออัดของประเทศที่ตั้งอยู่ในกรุงมะนิลา ที่ทางรัฐบาลได้จัดเป็นเขตไว้เฉพาะ เพื่อให้คนที่ยากจนไม่มีที่อยู่อาศัย เข้ามาอยู่ตรงนี้ และอธิบายถึงวิธีการจัดการกับปัญหา ที่ถือเป็นปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งของประเทศ , Fort Santiago เมืองเก่าของฟิลิปปินส์ ในเมืองมะนิลา , Munting Buhangin Beach Resort ชายหาดที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในเมือง Nasugbu,Batangas และยังได้พาไปชมการแสดงพิเศษที่จัดขึ้นเพื่องานเฉลิมฉลอง 40 ปีอาเซียน ที่CULTURAL CENTER OF THE PHILIPPINES ซึ่งถือเป็นโรงละครหลักคล้ายๆกับศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยของเรา
6. ออกรายการโทรทัศน์
ทุกวันอาทิตย์ทางผู้จัดงานจะพาผู้เข้าร่วม Workshop ไปสถานีโทรทัศน์ NBN เพื่อประชาสัมพันธ์งาน 40 ปีอาเซียน และงาน Asean Performance and Media Arts Workshop โดยผู้เข้าร่วมจะทำการแสดงร่วมกันเพื่อแสดงสดในรายการด้วย
7. ร่วมเปิดงาน 40 ปี อาเซียน
ในเช้าวันที่ 8 กันยายน 2550 ผู้เข้าร่วม Workshop ทุกคนไปร่วมพิธีเปิดงาน 40 ปีอาเซียน ที่กระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์
8. Workshop Show Case
บ่ายของวันที่ 8 กันยายน 2550 ที่ Fr. James B. Reuter Theater, St. Paul’s University ที่เป็นสถานที่ที่เราใช้ Workshop กันมาตลอด 2 สัปดาห์ จะมีการแสดงของ ผู้เข้าร่วม Workshop ทั้ง 10 ประเทศ รวมถึงฉายภาพยนตร์สั้นทั้ง 6 เรื่อง ที่ผู้เข้าร่วม Workshop ได้ทำร่วมกัน ให้กับนักเรียนนักศึกษาและประชาชนที่สนใจชม
9. Manila Films Festival
22 September 2009
โครงการอ่านบทละคร – อ่านสันติภาพ (1)
จะมีใครมาร่วมแจมในการ ‘อ่านสันติภาพ’ กันบ้าง?
ตอนนี้พระจันทร์เสี้ยวกำลังเตรียมโครงการอ่านบทละคร เป็นที่แน่นอนแล้วว่าเราได้นักการละครที่สนใจเข้ามาร่วมแจมกับเราทั้งหมด 13 คน จะมีชิ้นการแสดง ‘อ่านบทละคร’ ทั้งหมด 12 ชิ้น จากหนังสือหลายเรื่อง ทั้งจากเรื่องสั้น สารคดี หนังสือธรรมะ บทความ บทกวี และเพลง แต่ที่น่าแปลกคือ ไม่มีใครเลือกหยิบบทละครมาอ่านเลย แต่ก็น่าสนใจที่ว่า แล้วบรรดาหนังสือที่พวกเขาเลือกมานั้นน่าสนใจตรงไหน
ใครเป็นใคร มาตามดูกันได้เลย
สายฟ้า ตันธนา
นักแสดงที่ทำละครมากกว่า 10 ปี และเป็นผู้กำกับ จากกลุ่มออนบ๊อกซ์
ตอนนี้พระจันทร์เสี้ยวกำลังเตรียมโครงการอ่านบทละคร เป็นที่แน่นอนแล้วว่าเราได้นักการละครที่สนใจเข้ามาร่วมแจมกับเราทั้งหมด 13 คน จะมีชิ้นการแสดง ‘อ่านบทละคร’ ทั้งหมด 12 ชิ้น จากหนังสือหลายเรื่อง ทั้งจากเรื่องสั้น สารคดี หนังสือธรรมะ บทความ บทกวี และเพลง แต่ที่น่าแปลกคือ ไม่มีใครเลือกหยิบบทละครมาอ่านเลย แต่ก็น่าสนใจที่ว่า แล้วบรรดาหนังสือที่พวกเขาเลือกมานั้นน่าสนใจตรงไหน
ใครเป็นใคร มาตามดูกันได้เลย
สายฟ้า ตันธนา
นักแสดงที่ทำละครมากกว่า 10 ปี และเป็นผู้กำกับ จากกลุ่มออนบ๊อกซ์
ไพบูลย์ โสภณสุวภาพ
นักการละครจากกลุ่มละครเพื่อการเรียนรู้บางเพลย์ อาจารย์สอนละครที่ มหาวิทยาลัยบูรพา
จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์ และ ประภัสสร จันทร์สถิตย์พร
ทั้งสองเป็นอาจารย์สอนละครจาก คณะนิเทศศาสตร์ จุฬา
ทั้งสองเป็นอาจารย์สอนละครจาก คณะนิเทศศาสตร์ จุฬา
ภาวิณี สมรรคบุตร
นักการละครที่มีประสบการณ์มามากกว่า 10 ปี อีกคนหนึ่ง เป็นสมาชิกกลุ่มแปดคูณแปด ผู้ดูแลและอำนวยการโรงละคร Democrazy Theatre Studio
นักการละครที่มีประสบการณ์มามากกว่า 10 ปี อีกคนหนึ่ง เป็นสมาชิกกลุ่มแปดคูณแปด ผู้ดูแลและอำนวยการโรงละคร Democrazy Theatre Studio
ดุจดาว วัฒนปกรณ์
นักการละครจากลุ่มบีฟลอร์ จบปริญญาโทด้าน Dance and Movement Therapy จากประเทศอังกฤษ
นักการละครจากลุ่มบีฟลอร์ จบปริญญาโทด้าน Dance and Movement Therapy จากประเทศอังกฤษ
วสุรัชต อุณาพรหม
นักการละคร อาจารย์สอนละครและศิลปะ จบปริญญาโทด้านการออกแบบการแสดงจากประเทศอังกฤษ
นักการละคร อาจารย์สอนละครและศิลปะ จบปริญญาโทด้านการออกแบบการแสดงจากประเทศอังกฤษ
วรัญญู อินทรกำแหง
นักการละครจากกลุ่มบีฟลอร์ และเป็นนักเขียนหนังสือให้กับนิตยสารฉบับหนึ่ง ผลงานการแสดงที่เพิ่งผ่านมาคือ RUN
นักการละครจากกลุ่มบีฟลอร์ และเป็นนักเขียนหนังสือให้กับนิตยสารฉบับหนึ่ง ผลงานการแสดงที่เพิ่งผ่านมาคือ RUN
กมลภัทร อินทรสร
นักละครจากพระจันทร์เสี้ยวการละคร นอกจากนั้นยังทำงานภาพยนตร์ สารคดี และ มิวสิควิดิโอ
นักละครจากพระจันทร์เสี้ยวการละคร นอกจากนั้นยังทำงานภาพยนตร์ สารคดี และ มิวสิควิดิโอ
วิชย อาทมาท
นักการละครอิสระ ที่มีฝีมือทางการถ่ายภาพ และทำอาร์ตเวริ์ค รวมทั้งงานตัดต่อเสียง
นักการละครอิสระ ที่มีฝีมือทางการถ่ายภาพ และทำอาร์ตเวริ์ค รวมทั้งงานตัดต่อเสียง
สุกัญญา เพี้ยนศรี
นักเรียนละคร ชั้นปีที่ 4 จาก ม.สวนสุนันทา เพิ่งมีผลงานศิลปะนิพนธ์เรื่อง “Drawing”
นักเรียนละคร ชั้นปีที่ 4 จาก ม.สวนสุนันทา เพิ่งมีผลงานศิลปะนิพนธ์เรื่อง “Drawing”
ผดุงพงศ์ ประสาททอง
นักการละครที่ทำงานละครมาตั้งแต่อายุ 15 ปี เป็นสมาชิกกลุ่มละครมะขามป้อม ทำงานในหลายด้าน ผลงานกำกับ เช่น Sperms
นักการละครที่ทำงานละครมาตั้งแต่อายุ 15 ปี เป็นสมาชิกกลุ่มละครมะขามป้อม ทำงานในหลายด้าน ผลงานกำกับ เช่น Sperms
ฟารีดา จิราพันธุ์
นักการละครจากพระจันทร์เสี้ยวการละคร ทำงานในหลายด้านมานานกว่า 10 ปี เพิ่งผลการแสดงเรื่องล่าสุด “The World according to Farida and Damkorng”
นักการละครทั้ง 13 คน มาร่วมโครงการกับเรากันด้วยความใจดีและใจที่รักละคร แล้วพวกเขาก็จะพานักอ่านอีกหลายคนมานำเสนอ การอ่านบทละคร : “อ่านสันติภาพ” ให้เราได้ดูได้ฟังกัน โปรดติดตามและมาให้กำลังใจพวกเขาได้ในวันที่ 24-25 ตุลาคมนี้ ที่ ละครโรงเล็ก Crescent Moon space โรงละครเล็กๆของเรารับผู้ชมได้รอบละ 30-40 ที่นั่ง กรุณาสำรองที่นั่งล่วงหน้า ที่เบอร์ 083 995 6040 และ 081 259 6906
นักการละครจากพระจันทร์เสี้ยวการละคร ทำงานในหลายด้านมานานกว่า 10 ปี เพิ่งผลการแสดงเรื่องล่าสุด “The World according to Farida and Damkorng”
นักการละครทั้ง 13 คน มาร่วมโครงการกับเรากันด้วยความใจดีและใจที่รักละคร แล้วพวกเขาก็จะพานักอ่านอีกหลายคนมานำเสนอ การอ่านบทละคร : “อ่านสันติภาพ” ให้เราได้ดูได้ฟังกัน โปรดติดตามและมาให้กำลังใจพวกเขาได้ในวันที่ 24-25 ตุลาคมนี้ ที่ ละครโรงเล็ก Crescent Moon space โรงละครเล็กๆของเรารับผู้ชมได้รอบละ 30-40 ที่นั่ง กรุณาสำรองที่นั่งล่วงหน้า ที่เบอร์ 083 995 6040 และ 081 259 6906
20 September 2009
พระจันทร์เสี้ยวกับอ่านบทละคร
อ่านบทละคร
โดย สินีนาฏ เกษประไพ
ตอนนี้พระจันทร์เสี้ยวการละครกำลังเตรียมโครงการอ่านบทละครในธีมเรื่องสันติภาพ มีชื่อโครงการในครั้งนี้ว่าโครงการอ่านบทละคร “อ่านสันติภาพ” ที่จะเข้าร่วมแสดงในงานเทศกาลศิลปะนานาพันธ์ ในช่วงเดือนตุลาคมนี้ ตอนนี้อยู่ในขั้นประสานงานและเตรียมการ แต่เป็นที่แน่นอนแล้วว่าเรามีนักการละครมาร่วมในโครงการทั้งหมด 13 คน จะมีชิ้นงานแสดงอ่านบทละครทั้งหมด 12 ชิ้น เราจะจัดแสดงในวันเสาร์-อาทิตย์ ที่ 24-25 ตุลาคม รอบเวลา 13.00 และ 15.30 น. โดยในรอบหนึ่งจะจัดแสดง 6 ชิ้น ดังนั้นถ้าจะดูให้ครบทั้ง 12 ชิ้น ก็ต้องอยู่ดูในรอบถัดไป หรือกลับมาในวันรุ่งขึ้น
จากครั้งที่แล้ว “อ่านเรื่องรัก” ที่เราจัดในเดือนกุมภาพันธ์ เรามีมีชิ้นการแสดงทั้งหมด 10 ชิ้น จากนักการละคร 10 คน มีผู้ชมล้น และเรามีผู้ชมน้องๆนักศึกษามาดูกันเยอะ ในช่วงแลกเปลี่ยนพูดคุย เราได้เสียงสะท้อนมาว่า การอ่านบทละครนี้น่าสนใจ หลายๆคน ไม่ดิดว่าการอ่านบทละครจะน่าสนใจเท่านี้ หรือบางคนก็ไม่เคยเห็นเลยด้วยซ้ำ
‘การอ่านบทละคร’ เป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับนักละคร ก่อนจะเกิดการซ้อม ผู้กำกับ นักแสดง และทีมงาน จะต้องมาเจอกันเพื่อทำความเข้าใจบท โดยการอ่านบทละคร คืออ่านออกเสียงดัง มีการตีความตามบทบาท นอกจานี้การ ‘อ่านบทละคร’ ก็ยังเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งของการพัฒนานักเขียนหรือนักเขียนบท เมื่อนักเขียนบทเขียนบทออกมาเสร็จแล้ว อาจจะจัดให้มีการอ่านบทต่อผู้ชม เพื่อให้รับฟังความคิดเห็นต่อบท เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงบทก็ได้
‘การอ่านบทละคร’ ต่อหน้าผู้ชมก็ยังเป็นการแสดงอีกรูปแบบหนึ่ง และเป็นอีกทักษะหนึ่งที่ช่วยพัฒนานักแสดง ทางพระจันทร์เสี้ยวการละครก็ใช้การอ่านบทละครเป็นแบบฝึกหัดพื้นฐานให้นักแสดง รวมทั้งจัดการแสดง ‘อ่านบทละคร’ ทั้งจากวรรณกรรม และบทละคร มาหลายครั้ง เช่น อ่านบทละครยุคแสวงหา, อ่านวรรณกรรม 100 เรื่อง ที่คนไทยควรอ่าน, อ่านบทละคร(ตามวาระโอกาสต่างๆ), อ่านเรื่องสั้น “ผมไม่มีน้ำตาจะร้องไห้อีกแล้ว” บทประพันธ์ของ เสนีย์ เสาวพงศ์
จากการอ่านบทละคร “อ่านเรื่องรัก” ครั้งที่แล้ว ที่เราจัดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เราได้รับเกียรติจากครูถิ รศ.ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ จากคณะนิเทศศาสตร์ มาชมงานและแลกเปลี่ยนพูดคุยกับเรา รวมทั้งให้มุมองในเรื่องการอ่านบทละคร หลังจากนั้นครูถิยังได้มอบหนังสือ “ละครสร้างนักอ่าน” มาให้เรา ซึ่งในนั้นได้ให้ความรู้เรื่องการอ่านบทละครไว้น่าสนใจมาก และเรียกการอ่านบทละครว่า Readers Theatre เราเลยตัดตอนส่วนหนึ่งมาให้อ่านกัน ณ ที่นี้
Readers Theatre ต่างจากละครอย่างไร
รีดเดอร์ เธียเตอร์ (Readers Theatre) มีจุดมุ่งหมายต่างจากละครโดยทั่วไป ขณะที่ละคร (Theatre) มีเป้าหมายเพื่อให้ความบันเทิงและสาระกับผู้ชมโดยการจำลองภาพ “โลกสมมุติ” ให้เกิดความเชื่อถือมากที่สุด แต่รีดเดอร์ส เธียเตอร์ สามารถให้ทั้งความบันเทิงและใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนให้เกิดความเข้าใจในวรรณกรรมได้ลึกซึ้งมากขึ้น ซึ่งแตกต่างจากการอ่านเพียงอย่างเดียว
ความแตกต่างระหว่างการแสดง “ละคร” กับการแสดง “รีดเดอร์ส เธียเตอร์”
ละคร
1.เน้นที่การแสดง
2.นักแสดงจะมีจุดมองหลักๆอยู่บนเวที คือ มองหน้ากันระหว่างนักแสดง (on-stage focus)
3.นักแสดงจะต้องจำบท และต้องไม่ถือบทขณะแสดง
4.นักแสดงจะต้องแต่งหน้าและแต่งตัวเพื่อแสดงบุคคลิกลักษณะของตัวละคร
5.คนดูกับนักแสดงจะแยกออกจากัน และมักจะมีพื้นที่หรือเวทีให้รู้ว่าเป็นการแสดง
6.นักแสดงจะใช้การเคลื่อนไหวมาก และเคลื่อนไหวไปบนพื้นที่เวที และใช้อุปกรณ์ประกอบฉากเป็นประโยชน์ในการแสดง
รีดเดอร์เธียเตอร์
1.เน้นที่เนื้อหาวรรณกรรม
2.นักแสดงจะสร้างจินตนาการให้กับคนดูเกี่ยวกับตัวละครที่ปรากฏในบทโดยมองไปนอกเวที ซึ่งมักจะมองไปที่ด้านหลังกลุ่มคนดู (off-stage focus) และมีผู้บรรยายร่วมแสดงด้วย
3.นักแสดงต้องมีบท (ถือ/วาง) ให้เห็นบนเวที ไม่จำเป็นต้องจำเพราะใช้การอ่าน แต่ต้องซ้อม
4.นักแสดงไม่จำเป็นต้องแต่งตัว แต่ใช้ความสามารถในการสร้างจินตนาการให้ผู้ฟังเห็นภาพ
5.คนดูจะใกล้ชิดกับนักแสดง และใช้พื้นที่ใดเป็นเวทีก็ได้ เพราะไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์/ฉาก
6.นักแสดงไม่เคลื่อนที่มากนัก แต่ใช้น้ำเสียง สายตา และท่าทางเพียงเล็กน้อยประกอบ
อ่านเพิ่มเติมได้จาก :
หนังสือ “ละครสร้างนักอ่าน” โครงการวิจัยปฏิบัติการเชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมนักสื่อสารการอ่าน (ปสอ.) สาขาสื่อสารการแสดง ภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดย สินีนาฏ เกษประไพ
ตอนนี้พระจันทร์เสี้ยวการละครกำลังเตรียมโครงการอ่านบทละครในธีมเรื่องสันติภาพ มีชื่อโครงการในครั้งนี้ว่าโครงการอ่านบทละคร “อ่านสันติภาพ” ที่จะเข้าร่วมแสดงในงานเทศกาลศิลปะนานาพันธ์ ในช่วงเดือนตุลาคมนี้ ตอนนี้อยู่ในขั้นประสานงานและเตรียมการ แต่เป็นที่แน่นอนแล้วว่าเรามีนักการละครมาร่วมในโครงการทั้งหมด 13 คน จะมีชิ้นงานแสดงอ่านบทละครทั้งหมด 12 ชิ้น เราจะจัดแสดงในวันเสาร์-อาทิตย์ ที่ 24-25 ตุลาคม รอบเวลา 13.00 และ 15.30 น. โดยในรอบหนึ่งจะจัดแสดง 6 ชิ้น ดังนั้นถ้าจะดูให้ครบทั้ง 12 ชิ้น ก็ต้องอยู่ดูในรอบถัดไป หรือกลับมาในวันรุ่งขึ้น
จากครั้งที่แล้ว “อ่านเรื่องรัก” ที่เราจัดในเดือนกุมภาพันธ์ เรามีมีชิ้นการแสดงทั้งหมด 10 ชิ้น จากนักการละคร 10 คน มีผู้ชมล้น และเรามีผู้ชมน้องๆนักศึกษามาดูกันเยอะ ในช่วงแลกเปลี่ยนพูดคุย เราได้เสียงสะท้อนมาว่า การอ่านบทละครนี้น่าสนใจ หลายๆคน ไม่ดิดว่าการอ่านบทละครจะน่าสนใจเท่านี้ หรือบางคนก็ไม่เคยเห็นเลยด้วยซ้ำ
‘การอ่านบทละคร’ เป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับนักละคร ก่อนจะเกิดการซ้อม ผู้กำกับ นักแสดง และทีมงาน จะต้องมาเจอกันเพื่อทำความเข้าใจบท โดยการอ่านบทละคร คืออ่านออกเสียงดัง มีการตีความตามบทบาท นอกจานี้การ ‘อ่านบทละคร’ ก็ยังเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งของการพัฒนานักเขียนหรือนักเขียนบท เมื่อนักเขียนบทเขียนบทออกมาเสร็จแล้ว อาจจะจัดให้มีการอ่านบทต่อผู้ชม เพื่อให้รับฟังความคิดเห็นต่อบท เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงบทก็ได้
‘การอ่านบทละคร’ ต่อหน้าผู้ชมก็ยังเป็นการแสดงอีกรูปแบบหนึ่ง และเป็นอีกทักษะหนึ่งที่ช่วยพัฒนานักแสดง ทางพระจันทร์เสี้ยวการละครก็ใช้การอ่านบทละครเป็นแบบฝึกหัดพื้นฐานให้นักแสดง รวมทั้งจัดการแสดง ‘อ่านบทละคร’ ทั้งจากวรรณกรรม และบทละคร มาหลายครั้ง เช่น อ่านบทละครยุคแสวงหา, อ่านวรรณกรรม 100 เรื่อง ที่คนไทยควรอ่าน, อ่านบทละคร(ตามวาระโอกาสต่างๆ), อ่านเรื่องสั้น “ผมไม่มีน้ำตาจะร้องไห้อีกแล้ว” บทประพันธ์ของ เสนีย์ เสาวพงศ์
จากการอ่านบทละคร “อ่านเรื่องรัก” ครั้งที่แล้ว ที่เราจัดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เราได้รับเกียรติจากครูถิ รศ.ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ จากคณะนิเทศศาสตร์ มาชมงานและแลกเปลี่ยนพูดคุยกับเรา รวมทั้งให้มุมองในเรื่องการอ่านบทละคร หลังจากนั้นครูถิยังได้มอบหนังสือ “ละครสร้างนักอ่าน” มาให้เรา ซึ่งในนั้นได้ให้ความรู้เรื่องการอ่านบทละครไว้น่าสนใจมาก และเรียกการอ่านบทละครว่า Readers Theatre เราเลยตัดตอนส่วนหนึ่งมาให้อ่านกัน ณ ที่นี้
Readers Theatre ต่างจากละครอย่างไร
รีดเดอร์ เธียเตอร์ (Readers Theatre) มีจุดมุ่งหมายต่างจากละครโดยทั่วไป ขณะที่ละคร (Theatre) มีเป้าหมายเพื่อให้ความบันเทิงและสาระกับผู้ชมโดยการจำลองภาพ “โลกสมมุติ” ให้เกิดความเชื่อถือมากที่สุด แต่รีดเดอร์ส เธียเตอร์ สามารถให้ทั้งความบันเทิงและใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนให้เกิดความเข้าใจในวรรณกรรมได้ลึกซึ้งมากขึ้น ซึ่งแตกต่างจากการอ่านเพียงอย่างเดียว
ความแตกต่างระหว่างการแสดง “ละคร” กับการแสดง “รีดเดอร์ส เธียเตอร์”
ละคร
1.เน้นที่การแสดง
2.นักแสดงจะมีจุดมองหลักๆอยู่บนเวที คือ มองหน้ากันระหว่างนักแสดง (on-stage focus)
3.นักแสดงจะต้องจำบท และต้องไม่ถือบทขณะแสดง
4.นักแสดงจะต้องแต่งหน้าและแต่งตัวเพื่อแสดงบุคคลิกลักษณะของตัวละคร
5.คนดูกับนักแสดงจะแยกออกจากัน และมักจะมีพื้นที่หรือเวทีให้รู้ว่าเป็นการแสดง
6.นักแสดงจะใช้การเคลื่อนไหวมาก และเคลื่อนไหวไปบนพื้นที่เวที และใช้อุปกรณ์ประกอบฉากเป็นประโยชน์ในการแสดง
รีดเดอร์เธียเตอร์
1.เน้นที่เนื้อหาวรรณกรรม
2.นักแสดงจะสร้างจินตนาการให้กับคนดูเกี่ยวกับตัวละครที่ปรากฏในบทโดยมองไปนอกเวที ซึ่งมักจะมองไปที่ด้านหลังกลุ่มคนดู (off-stage focus) และมีผู้บรรยายร่วมแสดงด้วย
3.นักแสดงต้องมีบท (ถือ/วาง) ให้เห็นบนเวที ไม่จำเป็นต้องจำเพราะใช้การอ่าน แต่ต้องซ้อม
4.นักแสดงไม่จำเป็นต้องแต่งตัว แต่ใช้ความสามารถในการสร้างจินตนาการให้ผู้ฟังเห็นภาพ
5.คนดูจะใกล้ชิดกับนักแสดง และใช้พื้นที่ใดเป็นเวทีก็ได้ เพราะไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์/ฉาก
6.นักแสดงไม่เคลื่อนที่มากนัก แต่ใช้น้ำเสียง สายตา และท่าทางเพียงเล็กน้อยประกอบ
อ่านเพิ่มเติมได้จาก :
หนังสือ “ละครสร้างนักอ่าน” โครงการวิจัยปฏิบัติการเชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมนักสื่อสารการอ่าน (ปสอ.) สาขาสื่อสารการแสดง ภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
13 September 2009
ฟารีดากับละครเรื่องใหม่
ติดตามผลงานแสดงในละครเรื่องใหม่ของ ฟารีดา สมาชิกพระจันทร์เสี้ยวการละครได้ในละครที่มีชื่อของเธอเป็นชื่อเรื่อง ที่ว่า
"The World according to Farida and Damkerng"
หรือ
"โลกที่หมุนตามฟารีดาและดำเกิง"
แสดงโดย
ดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์
และ ฟารีดา จิราพันธุ์
เขียนบทและกำกับโดย นพพันธ์
และ ฟารีดา จิราพันธุ์
เขียนบทและกำกับโดย นพพันธ์
ละครเวที / multi visual / ดนตรี / เธอ / เขา / และพวกเราทุกคน เตรียมตัวหมุนไปด้วยกันที่
@ Democrazy Theatre studio
สถานณี ลุมพินี (MRT ทางออกที่1 ซอยสะพานคู่)
สถานณี ลุมพินี (MRT ทางออกที่1 ซอยสะพานคู่)
วันที่ 23,24,25,26,27 และ 30 ก.ย.
และ 1,2,3,4, ต.ค 52
เวลา 19.30
เวลา 19.30
โทร 0868141676
12 September 2009
นิทรรศการภาพคัตเอาท์เดือนตุลา
สถาบันปรีดี พนมยงค์
ขอเชิญร่วมงาน
ขอเชิญร่วมงาน
เปิดนิทรรศการภาพคัตเอาท์การเมืองเดือนตุลา
(ในวาระครบรอบ ๓๕ ปี แนวร่วมศิลปินแห่งประเทศไทย)
วันเสาร์ที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๒เวลา ๑๓.๐๐ น.
ชมวิดีทัศน์ สร้างสาน ตำนานศิลป์ แนวร่วมศิลปินแห่งประเทศไทย
พิธีเปิดนิทรรศการ
โดยชมรมโดมรวมใจ ชมรมเพื่อนจุฬา
โดยชมรมโดมรวมใจ ชมรมเพื่อนจุฬา
เวลา ๑๔.๐๐ -๑๖.๐๐ น.
เสวนาหัวข้อ “มองย้อน-ร่องรอยศิลปะกับการเมืองเดือนตุลา
ในทัศนะของคนต่างรุ่น”
ในทัศนะของคนต่างรุ่น”
วิทยากร
รศ.ดร.ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม
ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
อาจารย์สิทธิเดช โรหิตะสุข คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
นงค์ลักษณ์ เหล่าวอ สถาบันปรีดี พนมยงค์
ดำเนินรายการ จารุนันท์ พันธชาติ ศิลปินกลุ่มบี-ฟลอร์
พิธีกรตลอดรายการ สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย อดีตผู้ประสานงานแนวร่วมศิลปินแห่งประเทศไทย ๒๕๑๘
เวลา ๑๖.๑๕ น.
ฉายภาพยนตร์เรื่อง“JONATHAN LIVINGSTON SEAGULL 1973” colour 99 minutes
บทเพลง-ความบันดาลใจ จาก JONATHAN LIVINGSTON SEAGULL: โดย ชัยพร นามประทีป
นิทรรศการจัดแสดงตั้งแต่วันที่ ๓ จนถึง ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๒
ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์
โทรศัพท์ ๐-๒๓๘๑-๓๘๖๐-๑
โทรสาร ๐-๒๓๘๑-๓๘๕๙
E-mail: banomyong_inst@yahoo.com
10 September 2009
Workshop สื่อละครเวที “คิดดี โปรเจกต์ 5”
ค่ายละครคิดดี 5
กลับจากค่ายคิดดี (มาก็หลายวันแล้ว) ขอเล่านิดนึงว่า “ค่ายละครคิดดี 5” คือการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับเยาวชนโดยใช้สื่อละครเวที จัดโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับยุทธศาสตร์ละครสำหรับเยาวชน คณะทำงานในปีที่ 2 ประกอบด้วย สถาบันคลังสทองของชาติ, กลุ่มละครเพื่อการเรียนรู้บางเพลย์ และ พระจันทร์เสี้ยวการละคร
การอบรมทั้งหมด 4 วัน คือตั้งแต่ 29 สิงหาคม ถึง 1 กันยายน ค่ายครั้งนี้เข้มข้นมากทั้งการอบรมเรื่องประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องบทบาทชายหญิง เรื่องของวัยรุ่น อบรมเรื่องการแสดง ฝึกการทำงานกลุ่ม ด้วยการระดมสมอง ช่วยกันคิดเรื่อง สร้างบท และแสดงผลงานละครสั้นๆ ในวันสุดท้าย มีทั้งหมด 5 เรื่อง
ถึงหนักทั้งกิจกรรมและการฝึกทำงานแต่ก็สนุก จนน้องๆบอกว่าเวลา 4 วันมันน้อยเกินไป อยากให้จัดเพิ่มอีก จะได้เรียนรู้ร่วมกันและอยู่ด้วยกันได้มากขึ้น แล้วน้องๆก็แยกย้ายกันกลับบ้านซึ่งอยู่ในหลายจังหวัด แต่เขาก็หวังกันว่าน่าจะมีโอกาสมาร่วมกิจกรรมด้วยกันอีกในอนาคต
กลับจากค่ายคิดดี (มาก็หลายวันแล้ว) ขอเล่านิดนึงว่า “ค่ายละครคิดดี 5” คือการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับเยาวชนโดยใช้สื่อละครเวที จัดโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับยุทธศาสตร์ละครสำหรับเยาวชน คณะทำงานในปีที่ 2 ประกอบด้วย สถาบันคลังสทองของชาติ, กลุ่มละครเพื่อการเรียนรู้บางเพลย์ และ พระจันทร์เสี้ยวการละคร
ครั้งนี้เราไปจัดอบรมกันที่ V Train หรือ บ้านพักฉุกเฉิน มีน้องๆมาเข้าร่วม ส่งตัวแทนมากลุ่มละ 3 คน มีทั้งหมด 9 โครงการ
1.การละครเพื่อการสื่อสารสุขภาพ กลุ่มนักสื่อสารสุขภาพไทใหญ่
2.ผญาภาษิตปลูกจิตสำนึกเพศสัมพันธ์ที่เหมาะสม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
3.ละครวัยใสท้าใจวัยโจ๋ โรงเรียนวังเหนือวิทยา
4.ละครเวทีเรื่อง ดาวมหาลัย โรงเรียนบางปลาม้า สุพรรณบุรี
5.ละครเวทีเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
6.เยาวชนไทย ใส่ใจเพศศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
7.ละครเวที พี่คิดดี น้องคิดตาม ชวนน้องห่างภัยบุหรี่ โรงเรียนดวงแก้วพิทยา
8.สื่อสร้างสรรค์คู่บ้าน สจล. สถาบันเทคโนโยลีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ชุมพร
9.รู้ทันรัก รู้ทันเอดส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
2.ผญาภาษิตปลูกจิตสำนึกเพศสัมพันธ์ที่เหมาะสม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
3.ละครวัยใสท้าใจวัยโจ๋ โรงเรียนวังเหนือวิทยา
4.ละครเวทีเรื่อง ดาวมหาลัย โรงเรียนบางปลาม้า สุพรรณบุรี
5.ละครเวทีเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
6.เยาวชนไทย ใส่ใจเพศศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
7.ละครเวที พี่คิดดี น้องคิดตาม ชวนน้องห่างภัยบุหรี่ โรงเรียนดวงแก้วพิทยา
8.สื่อสร้างสรรค์คู่บ้าน สจล. สถาบันเทคโนโยลีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ชุมพร
9.รู้ทันรัก รู้ทันเอดส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
การอบรมทั้งหมด 4 วัน คือตั้งแต่ 29 สิงหาคม ถึง 1 กันยายน ค่ายครั้งนี้เข้มข้นมากทั้งการอบรมเรื่องประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องบทบาทชายหญิง เรื่องของวัยรุ่น อบรมเรื่องการแสดง ฝึกการทำงานกลุ่ม ด้วยการระดมสมอง ช่วยกันคิดเรื่อง สร้างบท และแสดงผลงานละครสั้นๆ ในวันสุดท้าย มีทั้งหมด 5 เรื่อง
ถึงหนักทั้งกิจกรรมและการฝึกทำงานแต่ก็สนุก จนน้องๆบอกว่าเวลา 4 วันมันน้อยเกินไป อยากให้จัดเพิ่มอีก จะได้เรียนรู้ร่วมกันและอยู่ด้วยกันได้มากขึ้น แล้วน้องๆก็แยกย้ายกันกลับบ้านซึ่งอยู่ในหลายจังหวัด แต่เขาก็หวังกันว่าน่าจะมีโอกาสมาร่วมกิจกรรมด้วยกันอีกในอนาคต
ภาพถ่ายโดย พี่ฐาน ภูมิฐาน ศรีนาค
Subscribe to:
Posts (Atom)