พระจันทร์เสี้ยวการละคร
ในงาน 40 ปี อาเซียน
บันทึกโดย ศรวณี ยอดนุ่น
พระจันทร์เสี้ยวการละคร เข้าร่วมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการแสดงและสื่อผสม Asian Performance and Multi-Media Arts Workshop 2007 ในงาน 40 ปี อาเซียน ที่ประเทศฟิลิปปินส์
ตัวแทนจากพระจันทร์เสี้ยวการละคร 4 คน คือ กวินธร แสงสาคร, ศรวณี ยอดนุ่น, บูรณิจฉ์ ถิ่นจะนะ และ กมลภัทร อินสร ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงวัฒนธรรมให้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ ใน Asian Performance and Media Arts Workshop ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ในระหว่าง วันที่ 26 กรกฎาคม ถึง 8 สิงหาคม 2552จากการเข้าร่วมโครงการครั้งนี้ ทางตัวแทนจากพระจันทร์เสี้ยวการละครได้รับประโยชน์และความรู้ต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านของศิลปะการแสดง เต้นรำ ภาพยนตร์สั้น หรือการวาดการ์ตูน Comic อีกทั้งยังได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ความรู้ ทัศนคติ วิถีชีวิต กับเพื่อนต่างชาติทั้ง 9 ประเทศที่ได้เข้าร่วม workshop ด้วยกัน
กิจกรรมทั้งหมดที่ทางประเทศเจ้าภาพได้ไว้มีดังนี้คือ
1. Theatre Workshop
เป็นการ workshop โดยนำเอาละครเข้าไปรับใช้สังคม โดยกำหนดให้ประเด็นของละครแต่ละเรื่องนั้นพูดเกี่ยวกับปัญหาสังคมทั้งสิ้น เช่น ประเด็นความยากจน ประเด็นผู้หญิง ประเด็นเอดส์ ประเด็นสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ประเด็นเรื่องเพศ ประเด็นการศึกษา ฯลฯ และให้แต่ละประเทศสร้างงานจากประเด็นทางสังคมที่ได้รับ โดยให้พัฒนาชิ้นงานของตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ
เป็นการสอนการเต้น โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อให้เรียนรู้วัฒนธรรมการเต้นของแต่ละประเทศ และนำเอาการเต้นของแต่ละประเทศที่ต่างกันนั้นมาผสานเข้าด้วยกัน เป็นชิ้นงาน ที่ถือเป็นทั้งการเผยแพร่วัฒนธรรมของเราและเรียนรู้วัฒนธรรมที่ต่างกันไปพร้อมกันด้วย
3. Comic Workshop
เนื่องจากประเทศฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีชื่อเสียงมากเรื่องการวาดการ์ตูน Comic การ Workshop นี้ จึงได้มีการเชิญวิทยากรที่เป็นนักวาดการ์ตูนที่มีชื่อเสียงของประเทศ มาแนะนำวิธีการวาด Comic ให้กับผู้เข้าร่วม Workshop แต่ละประเทศ โดยที่เริ่มจากการเขียนถึงปัญหาของประเทศตัวเองเป็นภาษาของตัวเอง แล้วจึงค่อยพัฒนามาเป็น Comic และเมื่อแต่ละประเทศวาด Comic ของตัวเองเสร็จเรียบแล้วแล้ว ก็จะมีการออกมาอธิบายถึง Comic ของแต่ละประเทศ ซึ่งถือเป็นการนำเอา Comic มารับใช้สังคมอีกทางหนึ่ง
4. Short Film Workshop
ทางผู้จัดงานได้ให้โจทย์ว่าผู้เข้าร่วม Workshop ต้องทำภาพยนตร์สั้นร่วมกัน โดยได้มีการอบรมเกี่ยวกับการทำภาพยนตร์สั้นเบื้องต้นให้ และได้แบ่งกลุ่มกันเป็น 6 กลุ่ม ทำภาพยนตร์สั้น 6 เรื่อง โดยไม่จำกัดรูปแบบ แต่ประเด็นของภาพยนตร์นั้นต้องเป็นประเด็นเกี่ยวกับปัญหาสังคม เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่าแม้ว่าจะเป็นงานเกี่ยวกับ Media ก็สามารถนำมารับใช้สังคมได้ และการในทำภาพยนตร์สั้นนี้ก็เป็นการได้แลกเปลี่ยนทัศนคติกันระหว่าง film maker และประเทศไทยก็ได้มีส่วนร่วมในภาพยนตร์สั้นทั้ง 6 เรื่อง ทั้งใน่สวนของผู้กำกับการแสดง ผู้กำกับศิลป์ นักแสดง และ ผู้ตัดต่อ
5. Outdoor Workshop
กิจกรรมนี้ก็คล้ายกับการออกไปทัศนศึกษา โดยประเทศเจ้าภาพได้นำเราไป Baseco แหล่งชุมชนแออัดของประเทศที่ตั้งอยู่ในกรุงมะนิลา ที่ทางรัฐบาลได้จัดเป็นเขตไว้เฉพาะ เพื่อให้คนที่ยากจนไม่มีที่อยู่อาศัย เข้ามาอยู่ตรงนี้ และอธิบายถึงวิธีการจัดการกับปัญหา ที่ถือเป็นปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งของประเทศ , Fort Santiago เมืองเก่าของฟิลิปปินส์ ในเมืองมะนิลา , Munting Buhangin Beach Resort ชายหาดที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในเมือง Nasugbu,Batangas และยังได้พาไปชมการแสดงพิเศษที่จัดขึ้นเพื่องานเฉลิมฉลอง 40 ปีอาเซียน ที่CULTURAL CENTER OF THE PHILIPPINES ซึ่งถือเป็นโรงละครหลักคล้ายๆกับศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยของเรา
6. ออกรายการโทรทัศน์
ทุกวันอาทิตย์ทางผู้จัดงานจะพาผู้เข้าร่วม Workshop ไปสถานีโทรทัศน์ NBN เพื่อประชาสัมพันธ์งาน 40 ปีอาเซียน และงาน Asean Performance and Media Arts Workshop โดยผู้เข้าร่วมจะทำการแสดงร่วมกันเพื่อแสดงสดในรายการด้วย
7. ร่วมเปิดงาน 40 ปี อาเซียน
ในเช้าวันที่ 8 กันยายน 2550 ผู้เข้าร่วม Workshop ทุกคนไปร่วมพิธีเปิดงาน 40 ปีอาเซียน ที่กระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์
8. Workshop Show Case
บ่ายของวันที่ 8 กันยายน 2550 ที่ Fr. James B. Reuter Theater, St. Paul’s University ที่เป็นสถานที่ที่เราใช้ Workshop กันมาตลอด 2 สัปดาห์ จะมีการแสดงของ ผู้เข้าร่วม Workshop ทั้ง 10 ประเทศ รวมถึงฉายภาพยนตร์สั้นทั้ง 6 เรื่อง ที่ผู้เข้าร่วม Workshop ได้ทำร่วมกัน ให้กับนักเรียนนักศึกษาและประชาชนที่สนใจชม
9. Manila Films Festival
No comments:
Post a Comment