ปีนี้ครบรอบ 40 ปี ชมรมพระจันทร์เสี้ยว
พี่นกป่าจากเครือข่ายนักเขียน ได้จัดรายการวิทยุและสัมภาษณ์ใครหลายๆคนเกี่ยวกับคนในชมรมนี้ไปเมื่อช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เท่าที่รู้ก็จะมีพี่เวียง วัชระ บัวสนธ์ นักศึกษาที่ติดตามผลงานของ อ.วิทยากร เชียงกูร ผู้สนใจงานของ สิงห์ สนามหลวง หรือ พี่สุชาติ สวัสดิศรี และ สินีนาฏ เกษประไพ ลูกศิษย์ทางการละครของ คำรณ คุณะดิลก เราจะพยายามติดตามขอเทปมาแกะเป็นข้อมูลแล้วนำมาลงในอนาคตที่อาจจะนานสักหน่อย
เนื่องในวาระสำคัญเช่นนี้เราเลยขอตัดบางตอนจากบทความเกี่ยวกับ ชมรมพระจันทร์เสี้ยว และ พระจันทร์เสี้ยวการละคร ในงาน 30 ปี พระจันทร์เสี้ยวการละคร หรืองานฉลอง 60 ปี ครูคำรณ คุณะดิลก ที่จัดไปเมื่อสามปีก่อนที่หอศิลป์ตาดู เพื่อไว้เป็นความรู้ในการค้นคว้า และเพื่อเราสมาชิกรุ่นใหม่ก็จะได้รู้รากเหง้าที่มาที่ไปของเรา บทความนี้นำมาจากเว็บไซด์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน (ลำดับที่ 1010) ซึ่งเผยแพร่บนเว็บไซต์ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2549
ดูเพิ่มเติมที่
พระจันทร์เสี้ยวการละคอน
มุมสะท้อนวิญญาณประชาธิปไตย
โดย รวินทร์ คำโพธิ์ทอง (นักวิชาการอิสระ)
มุมสะท้อนวิญญาณประชาธิปไตย
โดย รวินทร์ คำโพธิ์ทอง (นักวิชาการอิสระ)
“ชมรมพระจันทร์เสี้ยวการละคร กลุ่มละคอนที่มีประวัติความเป็นมายาวนานในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านวรรณกรรม ศิลปวัฒนธรรม และศิลปะการละครอันมีเนื้อหาในการส่งเสริมพัฒนาความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยไทย ทั้งยังสะท้อนภาพสังคมโดยใช้สื่อการแสดงเป็นเครื่องมือสำคัญ จนถือได้ว่าเป็นต้นแบบของละครเพื่อชีวิต”
ประวัติ : ทางสายพระจันทร์เสี้ยว (1)
"พระจันทร์เสี้ยว" เริ่มต้นจากกลุ่มนักศึกษาหลายมหาวิทยาลัยที่สนใจด้านวรรณกรรม เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ อาทิ สุชาติ สวัสดิ์ศรี, วีรประวัติ วงศ์พัวพันธุ์, วิทยากร เชียงกูล, ธัญญา ผลอนันต์, นิคม รายวา, วินัย อุกฤษณ์, เธียรชัย ลาภานันท์ เป็นต้น
"พระจันทร์เสี้ยว" เริ่มต้นจากกลุ่มนักศึกษาหลายมหาวิทยาลัยที่สนใจด้านวรรณกรรม เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ อาทิ สุชาติ สวัสดิ์ศรี, วีรประวัติ วงศ์พัวพันธุ์, วิทยากร เชียงกูล, ธัญญา ผลอนันต์, นิคม รายวา, วินัย อุกฤษณ์, เธียรชัย ลาภานันท์ เป็นต้น
สุชาติ สวัสดิ์ศรี ได้รื้อความทรงจำถึงการก่อตัวและที่มาของคำว่าพระจันทร์เสี้ยวไว้ดังนี้
"การก่อเกิดพระจันทร์เสี้ยว มันก็ไม่มีระบบระเบียบอะไรที่เป็นทางการ แต่จุดเริ่มต้นสำคัญที่อาจจะเป็นการก่อเกิดอันแรก คือเราร่วมกันทำหนังสือ เราเรียกว่าเป็นหนังสือเล่มละบาท ซึ่งถือเป็นจุดก่อเกิดที่ทำให้พวกเรามารวมตัวกัน ในสมัยนั้นการทำหนังสือจะต้องไปขออนุญาตกับทางสันติบาล การเกิดหนังสือเล่มละบาทขึ้นมาก็ด้วยเหตุเพราะมันทำหนังสือในระบบไม่ได้ หนังสือของกลุ่มพระจันทร์เสี้ยวเท่าที่ผมจำชื่อได้ คือธุลี, ตะวัน, ปัญญา, นาคร, ลานโพธิ์ และยังมีอีกหลายเล่ม ส่วนคำว่า พระจันทร์เสี้ยวนั้นต้องให้เครดิตคุณวีระประวัติ วงศ์พัวพัน คือเขามีกลุ่มอ่านหนังสือภาษาอังกฤษที่ชื่อว่า crescent moon แล้วเขาก็เอาคำ ๆ นี้มาแปลเป็นไทย ว่าพระจันทร์เสี้ยว"
"การก่อเกิดพระจันทร์เสี้ยว มันก็ไม่มีระบบระเบียบอะไรที่เป็นทางการ แต่จุดเริ่มต้นสำคัญที่อาจจะเป็นการก่อเกิดอันแรก คือเราร่วมกันทำหนังสือ เราเรียกว่าเป็นหนังสือเล่มละบาท ซึ่งถือเป็นจุดก่อเกิดที่ทำให้พวกเรามารวมตัวกัน ในสมัยนั้นการทำหนังสือจะต้องไปขออนุญาตกับทางสันติบาล การเกิดหนังสือเล่มละบาทขึ้นมาก็ด้วยเหตุเพราะมันทำหนังสือในระบบไม่ได้ หนังสือของกลุ่มพระจันทร์เสี้ยวเท่าที่ผมจำชื่อได้ คือธุลี, ตะวัน, ปัญญา, นาคร, ลานโพธิ์ และยังมีอีกหลายเล่ม ส่วนคำว่า พระจันทร์เสี้ยวนั้นต้องให้เครดิตคุณวีระประวัติ วงศ์พัวพัน คือเขามีกลุ่มอ่านหนังสือภาษาอังกฤษที่ชื่อว่า crescent moon แล้วเขาก็เอาคำ ๆ นี้มาแปลเป็นไทย ว่าพระจันทร์เสี้ยว"
บริบทแห่งยุคสมัย จากยุคสายลม-แสงแดด (2)
ราวปี ๒๕๐๕ ที่ผู้คนส่วนใหญ่ให้ความสนใจในเรื่องส่วนตัวมากกว่าเรื่องส่วนรวม จนมาถึงในปี ๒๕๑๐ จุดเริ่มของยุคแสวงหา (3) ซึ่งเกิดการพูดคุย, วิพากษ์, ถกเถียง แล้วจึงนำไปสู่การรวมกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้น. วิทยากร เชียงกูล เล่าถึงบรรยากาศของกิจกรรมนักศึกษาในยุคสมัยนั้นว่า
"ในยุคนั้นถือว่าเราเป็นนักศึกษากลุ่มน้อย เพราะว่าศิลป-วัฒนธรรมในมหาวิทยาลัยสมัยนั้น ก็มีแต่เพลงเชียร์ฟุตบอลประเพณี (4) เป็นอย่างมาก และก็งิ้วธรรมศาสตร์ (5) เราเป็นพวกที่สนใจหนังสือ ที่สำคัญก็คือว่าการสนใจหนังสือทำให้คุยกันได้นาน คือเราอยากแสดงออกแต่เรายังหาวิธีของมันไม่ค่อยได้ เพราะว่าสมัยนั้นหนังสือในตลาดก็มีน้อย จะมีก็แต่สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์แล้วก็ชาวกรุง...เราจึงพิมพ์หนังสือกันขึ้นมาเอง"
เมื่อวิทยากรได้รับเลือกเป็นประธานชมรมวรรณศิลป์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบกับกรรมการชมรมฯ ในปีนั้นเป็นกลุ่มพระจันทร์เสี้ยวเสียส่วนใหญ่ พวกเขาจึงได้ร่วมกันปรับรูปเปลี่ยนร่างให้กับหนังสือของชมรมวรรณศิลป์ ด้วยการเพิ่มเติมเนื้อหาของเรื่องสั้น, บทวิจารณ์หนังสือ, ปรัชญา ภายใต้แนวคิดที่ว่าวรรณกรรมต้องสะท้อนทั้งภาพของสังคมและชีวิต
สุชาติกล่าวเสริมเติมต่อ"หลังจากปี ๒๕๑๒ กิจกรรมที่ทำเริ่มมีความสัมพันธ์กับสังคมมากขึ้น…ในเวลานั้นยังมีกลุ่มหนุ่มเหน้าสาวสวยของสุจิตต์-ขรรค์ชัย, กลุ่มดำแดงปริทัศน์ของวิรุณ ตั้งเจริญ, กลุ่มวลัญชทัศน์ที่เชียงใหม่ พวกสถาพร ศรีสัจจัง, นิติ อภิรักษ์โสภณ, อารมณ์ พงศ์พงัน ที่โคราช, ธัญญาอยู่สภากาแฟที่ ม.เกษตร และมันก็เป็นผลสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดการรวมตัวกันที่ก้าวพ้นจากองค์กรนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย
"ในยุคนั้นถือว่าเราเป็นนักศึกษากลุ่มน้อย เพราะว่าศิลป-วัฒนธรรมในมหาวิทยาลัยสมัยนั้น ก็มีแต่เพลงเชียร์ฟุตบอลประเพณี (4) เป็นอย่างมาก และก็งิ้วธรรมศาสตร์ (5) เราเป็นพวกที่สนใจหนังสือ ที่สำคัญก็คือว่าการสนใจหนังสือทำให้คุยกันได้นาน คือเราอยากแสดงออกแต่เรายังหาวิธีของมันไม่ค่อยได้ เพราะว่าสมัยนั้นหนังสือในตลาดก็มีน้อย จะมีก็แต่สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์แล้วก็ชาวกรุง...เราจึงพิมพ์หนังสือกันขึ้นมาเอง"
เมื่อวิทยากรได้รับเลือกเป็นประธานชมรมวรรณศิลป์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบกับกรรมการชมรมฯ ในปีนั้นเป็นกลุ่มพระจันทร์เสี้ยวเสียส่วนใหญ่ พวกเขาจึงได้ร่วมกันปรับรูปเปลี่ยนร่างให้กับหนังสือของชมรมวรรณศิลป์ ด้วยการเพิ่มเติมเนื้อหาของเรื่องสั้น, บทวิจารณ์หนังสือ, ปรัชญา ภายใต้แนวคิดที่ว่าวรรณกรรมต้องสะท้อนทั้งภาพของสังคมและชีวิต
สุชาติกล่าวเสริมเติมต่อ"หลังจากปี ๒๕๑๒ กิจกรรมที่ทำเริ่มมีความสัมพันธ์กับสังคมมากขึ้น…ในเวลานั้นยังมีกลุ่มหนุ่มเหน้าสาวสวยของสุจิตต์-ขรรค์ชัย, กลุ่มดำแดงปริทัศน์ของวิรุณ ตั้งเจริญ, กลุ่มวลัญชทัศน์ที่เชียงใหม่ พวกสถาพร ศรีสัจจัง, นิติ อภิรักษ์โสภณ, อารมณ์ พงศ์พงัน ที่โคราช, ธัญญาอยู่สภากาแฟที่ ม.เกษตร และมันก็เป็นผลสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดการรวมตัวกันที่ก้าวพ้นจากองค์กรนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย
กลุ่มอิสระเหล่านี้มีจุดร่วมกันของความรู้สึกโหยหาที่จะกลับไปหาสิ่งที่ตัดต่อความทรงจำในยุคเก่าให้ต่อกับสิ่งที่เป็นรากเหง้าเดิมของบรรดานักคิด, นักเขียนที่ถูกตัดตอนออกไปในช่วงสมัยจอมพล ป., จอมพลสฤษดิ์ กลุ่มต่าง ๆ นั้นได้มีจุดร่วมกันอีกอย่าง คือเป็นขบถทางความคิด เป็นจิตวิญญาณขบถ...สิ่งที่เห็นได้ชัด คือขบถทางการศึกษา ส่วนที่วิพากษ์คือไม่มีเสรีภาพทางวิชาการ... แล้วสังคมก็ยังอยู่ในภาวะกึ่งเผด็จการ การดิ้นรนเพื่อจะทำกิจกรรมจึงเกิดขึ้นและเป็นกระแสต่อเนื่องมาจนกระทั่งเกิด 14 ตุลา"
ฉากของชีวิต
ในเวลาต่อมาสมาชิกของชมรมพระจันทร์เสี้ยวบางคนได้เริ่มหันมาสนใจเขียนบทละคร อาทิ "ฉันเพียงอยากออกไปข้างนอก", "นายอภัยมณี ", "งานเลี้ยง" ของวิทยากร เชียงกูล, "ชั้นที่ ๗" ของสุชาติ สวัสดิ์ศรี, "นกที่บินข้ามฟ้า" ของวิทยากร เชียงกูล และคำรณ คุณะดิลก เป็นต้น จากการเขียนเพื่ออ่านได้เชื่อมโยงไปสู่การทำละครเวที
ฉากของชีวิต
ในเวลาต่อมาสมาชิกของชมรมพระจันทร์เสี้ยวบางคนได้เริ่มหันมาสนใจเขียนบทละคร อาทิ "ฉันเพียงอยากออกไปข้างนอก", "นายอภัยมณี ", "งานเลี้ยง" ของวิทยากร เชียงกูล, "ชั้นที่ ๗" ของสุชาติ สวัสดิ์ศรี, "นกที่บินข้ามฟ้า" ของวิทยากร เชียงกูล และคำรณ คุณะดิลก เป็นต้น จากการเขียนเพื่ออ่านได้เชื่อมโยงไปสู่การทำละครเวที
"นายอภัยมณี" เป็นละครเวทียุคแรกจากบทละครที่เขียนขึ้น เพื่อล้อเลียนเรื่องพระอภัยมณีของวิทยากร เชียงกูล ได้จัดแสดงขึ้น ณ สยามสมาคมโดยมีคำรณ คุณะดิลกรับบทนายอภัยมณี รวมถึงวิทยากร เชียงกูล, เกริกเกียรติ นิติพัฒน์ และธัญญา ผลอนันต์ ที่ขณะนั้นเป็นประธานชมรมวรรณศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมแสดงด้วย
ปี ๒๕๑๔
กลุ่มพระจันทร์เสี้ยวได้เข้าไปมีส่วนร่วมอย่างสำคัญยิ่งในกระบวนการผลิตละครเรื่องอวสานเซลล์แมน ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยรับผิดชอบด้านฉาก แสง เสียง รวมทั้งแสดงนำเป็นตัวละครเอก "อวสานเซลล์แมน" เป็นบทละครดัดแปลงจากงานเขียนของนักเขียนอเมริกันชื่อดัง (6) มีเนื้อหาเสียดสีสังคมของผู้คนที่มีชีวิตอยู่ภายใต้ระบบทุนนิยม และต่อเนื่องด้วย "ชนบทหมายเลข ๑, ๒, ๓" ที่ฉายภาพความล่มสลายของวัฒนธรรมชุมชนพร้อมทั้งนำความแปลกใหม่มาสู่วงการละครไทยด้วยการสร้างสรรค์ผลงานละครในรูปแบบ POOR THEATRE (7) แล้วนำทฤษฎีการละครของ JERZY GROTOWSKI (8) มาปรับใช้เพื่อสอดผสานความสัมพันธ์ระหว่างผู้แสดงและผู้ชมให้เข้าถึงจิตวิญญาณของละคร กลวิธีนี้นำมาจากต้นแบบของ BRECHTIAN THEATRE (9) ซึ่งเป็นแนวละครแถวหน้าของละครร่วมสมัยในศตวรรษ ๒๐. คำรณ คุณะดิลก ได้กล่าวถึงละครเรื่องนี้ว่า
"ก่อนที่ผมจะออกไปสอนทางด้านการละครที่เชียงใหม่ แกรี่ (อาจารย์ชาวต่างชาติผู้สอนวิชาการละคร ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ให้หนังสือของ JERZY GROTOWSKY แก่ผมเล่มหนึ่ง ซึ่งพูดถึงทฤษฎีของการละครของ Stanislavsky (10) ในระดับของจิตวิญญาณความสัมพันธ์ระหว่างนักแสดงกับคนดู คือไม่มีฉาก ไม่มีแสง ไม่มีเมคอัพ และสอดคล้องกับเราพอดีที่ไปอยู่เชียงใหม่ แล้วได้เห็นความล่มสลายของสังคมชนบท สังคมเกษตรกรรมในยุคก่อนตุลาฯ จึงได้นำมาสร้างเป็นละครเรื่องชนบทหมายเลข ๑, ๒, ๓"
จนกระทั่งปี ๒๕๑๘
ชมรมพระจันทร์เสี้ยวการละครได้ถือกำเนิดขึ้น พร้อมเปิดฉากด้วยละครเรื่อง "แม่" ของแมกซิม กอร์กี้ (11) กับเรื่องราวต่อต้านความอยุติธรรมในสังคมแต่เชื่อมั่นในสัจธรรมเหนือสิ่งอื่นใด และละครเรื่อง "นี่แหละโลก" ที่ขับเน้นภาพความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นของคนในสังคมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ภายหลังเดือนตุลาคม ๒๕๑๙ ชมรมพระจันทร์เสี้ยวการละครได้ก่อตั้งคณะละครชื่อ "แฉกดาว" โดยนำละครไปจัดแสดงตามโรงงาน, ชุมชน, ม็อบและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ถือเป็นจรยุทธ์ในการรุกคืบเข้าสู่มวลชน อาทิ ละครเรื่อง "ก่อนอรุณจะรุ่ง" ด้วยการนำบทละครเรื่องชนบทหมายเลข ๑, ๒, ๓ มาดัดแปลงใหม่, ละครเรื่อง "แซมมี่จอมยุ่ง" ที่พูดถึงการรุกรานแทรกซึมของอเมริกา ในยุคที่บทเพลงอเมริกันอันตรายกระหึ่มก้อง
ภายหลังเดือนตุลาคม ๒๕๑๙ ชมรมพระจันทร์เสี้ยวการละครได้ก่อตั้งคณะละครชื่อ "แฉกดาว" โดยนำละครไปจัดแสดงตามโรงงาน, ชุมชน, ม็อบและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ถือเป็นจรยุทธ์ในการรุกคืบเข้าสู่มวลชน อาทิ ละครเรื่อง "ก่อนอรุณจะรุ่ง" ด้วยการนำบทละครเรื่องชนบทหมายเลข ๑, ๒, ๓ มาดัดแปลงใหม่, ละครเรื่อง "แซมมี่จอมยุ่ง" ที่พูดถึงการรุกรานแทรกซึมของอเมริกา ในยุคที่บทเพลงอเมริกันอันตรายกระหึ่มก้อง
หากระหว่างนั้นเองมีสมาชิกของชมรมฯ ได้ถูกจับกุมคุมขังและหลบหนีภัยทางการเมืองจนแตกกระสานซ่านเซ็นอย่างไร้ทิศทาง บางคนถึงกับต้องหลีกลี้ไปยังต่างประเทศ จากเหตุการณ์ดังกล่าวฉากแห่งชีวิตของชมรมพระจันทร์เสี้ยวการละครจึงค่อย ๆ หรี่แสงรูดม่านปิดลง แต่ม่านชีวิตของคำรณ คุณะดิลกยังคงเปิดฉากต่อไปในประเทศฝรั่งเศส โดยคำรณได้เข้าร่วมกับคณะละคร THEATRE DE LA MANDRAGORE เป็นทั้งนักแสดงและผู้ช่วยผู้กำกับ มีผลงานเรื่อง Antigone, Woyzeck, Leon&Lena, La Mort de Danton, L' Avar, La Mort de Bucher, Escalade, La Libbration, L' Eneme and Terminal ออกแสดงตามประเทศต่าง ๆ เช่น ฝรั่งเศส, เบลเยี่ยม, อียิปต์, จอร์แดน, เลบานอน, สวีเดน, โมรอคโค, ตูนิเซีย, กอบอน, การ์คาร์ และซูดาน (12)
No comments:
Post a Comment