23 July 2013
โปรเจค 1/4 restage at CMU
กลับมาอีกครั้ง...พร้อมเดินทางต่อไป.... ไปแสดงที่คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โปรเจค 1/4 เส้นทางระหว่างเขาและเธอ
4 ผู้กำกับ 1 นักเขียนบท กับละครสั้น 4 เรื่อง
"ที่พักใจ"
แสดงโดย : อาคีรา โหมดสกุล, เกรียงไกร ฟูเกษม
"สายน้ำกับสายลม"
แสดงโดย : อรรถพล อนันตวรสกุล, อรดา ลีลานุช
"นี่ไม่ใช่บทเพลงรัก"
แสดงโดย : ชลดี แจ่มปฐม, เบ็น โกศลศักดิ์
"เสียงสะท้อนจากความเงียบ"
แสดงโดย : วรุตม์ เข็มประสิทธิ์, เววิรี อิทธิอนันต์กุล
วันที่ 9-11 สิงหาคม 2556
ร่วมแสดงในงาน
"50 ปี เส้นทางแห่งความภาคภูมิใจของพวกเราชาวภาษาอังกฤษ มช."
ณ อาคาร HB 5 ชั้น 1 ห้อง 5100
คณะมนุษยศาสตร์ มช.
*** รายละเอียดรอบแสดงและการจองบัตร จะประกาศก่อนวันแสดง 2 อาทิตย์ ***
see :
http://www.facebook.com/CrescentMoonTheatre
.......................
เกี่ยวกับผู้เขียนบท
อรดา ลีลานุช
เริ่มสนใจละครเวทีและเข้าร่วมเวิร์คชอปละครเวทีตอนเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากนั้นได้ทุนไปศึกษาต่อที่ St. Olaf College และจบปริญญาตรีทางด้าน Theatre เริ่มเขียนบทละครเวทีตอนศึกษาระดับปริญญาโทที่ Miami University และจากนั้นก็เขียนบทละครมาตลอด มีผลงานการเขียนบทละครทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาและในประเทศไทย ผลงานล่าสุดที่ผ่านมาคือเรื่อง หญิงสาวกับดวงดาว แสดงที่ The Reading Room
----------------
เกี่ยวกับผู้กำกับ
สุกัญญา เพี้ยนศรี
สนใจและเริ่มทำละครตั้งแต่เรียนมัธยมปลาย ต่อมาเข้าศึกษาต่อและจบจากสาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ เอกการละคร มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา มีผลงานกำกับเรื่อง "Drawing" เข้าร่วมเป็นสมาชิกพระจันทร์เสี้ยวการละครในปี 52 มีผลงานการแสดงและกำกับเรื่อยมา ผลงานกำกับล่าสุดคือ "Fall ร่วง หก ตก หล่น" ซึ่งสร้างสรรค์และแสดงร่วมกับ ศิริธร ศิริวรรณ
รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ
ผู้กำกับและนักเขียนบทประจำคณะ Pastel Theatre เริ่มต้นสนใจละครจากการแสดงเป็นเด็กยกของในเทศกาลละครเล็กๆ ของเครือข่ายหน้ากากเปลือย หลังจากฝึกละครกับเครือข่ายหน้ากากเปลือยอยู่ ๓ ปี จึงเริ่มมีผลงานการเขียนบท และการกำกับการแสดงออกมา เมื่อเริ่มมีแนวทางเป็นของตนเองจึงรวมตัวกับเพื่อน ๓ คนออกมาตั้งกลุ่ม Pastel Theatre จบการศึกษาปริญญาโท ภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และการร่วมงานละครกับกลุ่มละครอาชีพอื่นๆ ผลงานการเขียนบท และกำกับการแสดงที่ผ่านมาในนาม Pastel Theatre คือ เรื่อง “วันที่สหายพายุกลับบ้าน” และผลงานล่าสุด “คิมจองอิลตายแล้ว”
ศิริธร ศิริวรรณ
จบจากภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เคยเข้าอบรมโครงการละคร Do Drama ของคณะมนุษยศาสตร์ สถาบันคลังสมอง และพระจันทร์เสี้ยวการละคร หลังจากนั้นจึงเริ่มทำละครกับภาควิชา ต่อมาได้เข้ามาร่วมเป็นนักทำละครกับพระจันทร์เสี้ยวการละคร มีผลงานที่ผ่านมาโครงการอ่านบทละคร "อ่านในใจ" และผลงานกำกับ "fall ร่วง หก ตก หล่น" ซึ่งสร้างสรรค์และแสดงร่วมกับ สุกัญญา เพี้ยนศรี
เบญจ์ บุษราคัมวงศ์
คุณครูที่รักการทำละคร จบการศึกษาจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนใจศิลปะ และละครตั้งแต่เป็นนิสิตชั้นปีที่1 และทำงานละครอย่างต่อเนื่องขณะที่เป็นนิสิต เป็นอดีตประธานชมรมศิลปะการแสดงคณะครุศาสตร์ มีผลงานการกำกับละครเรื่อง "จริงเพียงจริง" และ "รอยยิ้มของอลัน" ในเทศกาลละครกรุงเทพฯ 2551เข้าร่วมเป็นสมาชิกพระจันทร์เสี้ยวการละครในปี 2552 มีผลงานการกำกับในโครงการอ่านบทละคร ได้แก่ อ่านเรื่องรัก, อ่านในใจ และอ่านผู้ชาย ปัจจุบันเป็นครูสอนวิชาสังคมศึกษาที่โรงเรียนภัทราวดีมัธยมศึกษา หัวหิน
14 July 2013
"ภาพลวงตาจากเนินมะเฟือง" ที่ ม.บูรพา
พระจันทร์เสี้ยว จะไปร่วมในโครงการ Chance to Change : Film & Stage ที่ ม.บูรพา
โครงการดีๆ ที่จัดขึ้นเพื่อเป็นโอกาสในการได้รับชม และรับฟังความรู้จากศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานต่างๆ มากมาย ทั้งในด้านดนตรีและการแสดง
จัดขึ้นในวันที่ 14-18 , 25-27 กรกฎาคม 2556
สามารถลงชื่อเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่สถาบันวิจัยวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยบูรพา
หมายเหตุ **
เข้าร่วมชมและพูดคุยกับศิลปินผู้สร้างผลงาน ฟรี!!!
see more
http://www.facebook.com/ChanceToChangeFilmAndStage
08 July 2013
เสียงสะท้อนจากเสวนาเรื่องละครโรงเล็ก
สืบเนื่องมาจากการบรรยายพิเศษ “ที่ทางของละครร่วมสมัยไทย ตอน 2 : ละครโรงเล็กในกรุงเทพมหานคร” ในวันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม 2556 เวลา 18:00-21:00 น. ที่ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร นี่เป็นเสียงสะท้อนจากหนึ่งในผู้เข้าฟังในวันนั้น คือ อ.เจตนา นาควัชระ และเราขอขอบพระตุณอาจารย์อีกครั้งสำหรับเสียงสะท้อนที่เป็นกำลังเสริมแรงให้กับเรา
LEAN THEATRE" AND ITS ROLE MODEL
by Chetana Nagavajara
ที่มา : จาก fb อ.เจตนา นาควัชระ
Something must have gone wrong with me. I had in recent years been mored inspired by works of art than by people - until this evening, when I went to hear 5 theatre people talk about their vocation at the Bangkok Art and Culture Centre. The last words pronounced by the moderator, Pradit Prasartthong, inspired me beyond any description: MONEY IS NOT THEIR AIM IN L...IFE. THEY CHOOSE TO DO WHAT THEY LOVE, and their love is the theatre.
Pradit was joined by Sineenat (Crescent Moon), Jarunee (B-Floor), Pavinee (Democrazy Theatre) and Sunond (Pichet Dance Company). The word that came up all the time was rehearsal. I have seen all of them perform and can testify that they never go public with any slapdash work. Normally they don't earn enough to pay themselves artists' fees, but they remain dedicated to their art. They are the "Lean Theatre" that feels no inferiority to the "musical"-fed "Plump Theatre".
I don't admire them just because of the quality of their work (which fortunately has been recognized internationally), but also because of their attitude to life. They deserve to be regarded as the role model for our youth. Alas, the Bangkok Art and Culture Centre is only a few steps away from the most lustrous and most expensive shopping centre in the kingdom (which I shall not deign to name).
It's too late now to get into a weighty and serious discourse. I'll write at greater length later.See more
LEAN THEATRE" AND ITS ROLE MODEL
by Chetana Nagavajara
ที่มา : จาก fb อ.เจตนา นาควัชระ
Something must have gone wrong with me. I had in recent years been mored inspired by works of art than by people - until this evening, when I went to hear 5 theatre people talk about their vocation at the Bangkok Art and Culture Centre. The last words pronounced by the moderator, Pradit Prasartthong, inspired me beyond any description: MONEY IS NOT THEIR AIM IN L...IFE. THEY CHOOSE TO DO WHAT THEY LOVE, and their love is the theatre.
Pradit was joined by Sineenat (Crescent Moon), Jarunee (B-Floor), Pavinee (Democrazy Theatre) and Sunond (Pichet Dance Company). The word that came up all the time was rehearsal. I have seen all of them perform and can testify that they never go public with any slapdash work. Normally they don't earn enough to pay themselves artists' fees, but they remain dedicated to their art. They are the "Lean Theatre" that feels no inferiority to the "musical"-fed "Plump Theatre".
I don't admire them just because of the quality of their work (which fortunately has been recognized internationally), but also because of their attitude to life. They deserve to be regarded as the role model for our youth. Alas, the Bangkok Art and Culture Centre is only a few steps away from the most lustrous and most expensive shopping centre in the kingdom (which I shall not deign to name).
It's too late now to get into a weighty and serious discourse. I'll write at greater length later.See more
ป้ายกำกับ:
โรงละครพระจันทร์เสี้ยว,
ละครโรงเล็ก,
ละครเวที
01 July 2013
เปิดรับสมัครละครลงเทศกาลละครกรุงเทพ 2013
เทศกาลละครกรุงเทพปี ๒๕๕๖
เริ่มเทศกาลวันที่ ๒-๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
ณ สวนสันติชัยปราการ โรงละครเล็กทั่วกรุงเทพ และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
สำหรับผู้ที่สนใจ Download ใบสมัครได้ที่ FB:bangkok theatre festival , bangkok theatre network , เครือข่ายละครกรุงเทพ
ตั้งแต่บัดนี้ ปิดรับใบสมัคร ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖
see more
https://www.facebook.com/BangkokTheatreFestival?ref=ts&fref=ts
https://www.facebook.com/BangkokTheatreFestival?ref=ts&fref=ts#!/BangkokTheatreNetwork.fanpage?fref=ts
30 June 2013
"โปรเจค 1/4" บทวิจารณ์จากนิตยสารสีสัน
"โปรเจค 1/4 เส้นทางระหว่างเขาและเธอ" คัดมาจากนิตยสารสีสัน ปีที่ 24 ฉบับที่ 10 2556
ละคร THEATRES
เขียนโดย กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน
“Project ¼ เส้นทางระหว่างเขาและเธอ” เป็นผลงานล่าสุดของคณะพระจันทร์เสี้ยวการละครซึ่งดูเหมือนจะมีกิจกรรมต่างๆอย่างต่อเนื่อง เป็นละครสั้นสี่เรื่องจากบทละครของ อรดา ลีลานุช กำกับโดยผู้กำกับรุ่นใหม่ 4 คน โดยตัว สินีนาฏ เกษประไพ ไปรับหน้าที่โปรดิวเซอร์
จากการเสวนาหลังละครจบ จึงทำให้ได้รู้ว่าบทของอรดานั้น มีแต่ตัวละครและบทพูด ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับสถานการณ์ สถานที่ เวลา แต่อย่างใด บทแบบนี้ ผู้กำกับละครชอบกันนัก เพราะให้อิสระในการสร้างภาพอย่างเต็มที่ รวมถึงตอนจบซึ่งเมื่อบทพูดจบไปแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของผู้กำกับเองที่จะตัดสินใจว่าละครจะจบลงอย่างไร
ละครทั้ง 4 เรื่อง แบ่งออกเป็นเป็นเหมือนจริงสองเรื่อง และแอ็บสแทร็คท์ 2 เรื่อง แน่นอนคนดูย่อมรับเรื่องเหมือนจริงได้มากกว่า เพราะมีอะไรจับต้องได้ ในขณะที่แอ็บสแทร็คท์นั้น คนดูได้ใช้จินตนาการร่วมสร้างเรื่องราวขึ้นมาด้วย
“สายน้ำกับสายลม” กำกับโดย สุกัญญา เพี้ยนศรี แสดงโดย อรรถพล อนันตวรสกุล และตัวผู้เขียนบท อรดา ลีลานุช เป็นเรื่องของสามีภรรยาที่ความคิดไม่ตรงกัน จนในที่สุดสามีก็ต้องลงมือทำอาหารด้วยตนเอง ส่วนภรรยาก็ทำหน้าที่ซักผ้ารีดผ้า ดูจากภาพก็เหมือนครอบครัวที่มีความสุข แต่เราก็ได้เห็นความแบ่งแยก และบางครั้งก็มีการก้าวก่ายรุกล้ำซึ่งกันและกัน
เป็นเรื่องที่เรียกเสียงหัวเราะจากคนดูได้มากที่สุด ดูได้เพลินที่สุดโดยเฉพาะการแสดงของทั้งคู่ เพราะโดยปกติแล้วทั้ง 2 คน ไม่ใช่นักแสดงตลกจึงออกมาในลักษณะของตลกหน้าตาย ที่ยิ่งเรียกเสียงหัวเราะได้มากขึ้น
“ที่พักใจ” กำกับโดย ศิริธร ศิริวรรณ แสดงโดย อาคีรา โหมดสกุล และ เกรียงไกร ฟูเกษม ซึ่งทั้ง 2 คนมีชื่อในบทตลกโลดโผนเฮฮา จึงเป็นเรื่องที่คนดูตั้งใจมาฮากันมากที่สุด แต่กลับผิดคาด เพราะเป็นเรื่องของสามีภรรยาอีกคู่ ที่ดูจากภายนอกก็รักใคร่เอาใจใส่กันดี มีชีวิตที่ราบเรียบ ปกติสุข และผู้แสดงทั้ง 2 คน แสดงออกมาเรียบๆเหมือนภาพชีวิตประจำวัน
ในความเรียบง่ายของการแสดงออกนี่เองที่นักแสดงให้เห็นถึงฝีมือของทั้งคู่ วิธีการพูดของทั้ง 2 คนดึงเอาความหมายบางอย่างที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวบทออกมาให้เห็นเด่นชัด กลายเป็นแบล็คคอเมดี้ที่เรียกเสียงหัวเราะจากคนดูได้โดยไม่ต้องทำตลก
“นี่ไม่ใช่บทเพลงรัก” กำกับโดย เบญจ์ บุษราคัมวงศ์ แสดงโดย ณัฐนันท์ ประเสริฐรัสมี และเบน โกศลศักดิ์ หนุ่มสาวทั้ง 2 คนมาพบกันในที่แห่งหนึ่งไร้ขอบเขตกว้างขวางว่างเปล่า ทั้ง 2 คนมุ่งหาความหมายบางอย่างและไม่แน่ใจว่าจะรู้ตัวได้พบหรือไม่ หรือจะวนเวียนกันไปอย่างในละคร คือเริ่มต้นและจบลงด้วยภาพเดียวกัน
เบน โกศลศักดิ์ มีลักษณะโรแมนติคแบบฝันๆและมีความเด่นมากเวลาอยู่บนเวที ส่วนณัฏฐนันท์ ก็ดูเปราะบาง อ้างว้าง เหมาะกับเรื่องนี้มาก
“เสียงสะท้อนจากความเงียบ” กำกับโดย รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ แสดงโดย วรุฒม์ เข็มประสิทธิ์ และ เววิรี อิทธิอนันตกุล เป็นคู่ที่เข้ากันได้ดีมาก ทั้งรูปร่างหน้าตา และการรับส่งบท หนุ่มสาว 2 คนที่มาอยู่ด้วยกันในสถานที่ที่ระบุว่าเป็นแพ แต่อยู่ที่ไหนไม่รู้ และดูไม่มีทางออก ในขณะที่คนหนึ่งกำลังตามหาอะไรบางอย่าง อีกคนหนึ่งก็พยายามหลีกหนีไปเหมือนกัน
เรื่องนี้มีจุดเด่นอยู่ตรงเสียงประกอบที่เป็นเสียงปืนดังมาจากภายนอกเป็นระยะๆและเสียงวิทยุรายงานข่าวต่างประเทศเกี่ยวกับการเผชิญหน้ากันระหว่างฝ่ายรัฐและประชาชน
สองเรื่องหลังนี้ออกแนวแอ็บสแทร็คท์ที่ผู้ชมต้องคิดและตีความเอาเอง แต่การตีความของตัวผู้กำกับเองก็เด่นชัดมาก (เกินไป?) ด้วยการมีของประกอบฉาก องแรกนั้นมีกระดาษพับเป็นรูปเรือแบบที่ใช้ในพิธีกงเต๊ก ส่วนเรื่องที่ 2 นอกจากเสียงประกอบแล้วก็ยังมีตุ๊กตานอนกลาดเกลื่อนอยู่บนพื้นอีกด้วยออกไป
จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของละคร 4 เรื่องนี้ ก็คือการใช้พื้นที่ในการแสดง เป็นโรงละครเล็กๆแต่ก็ดูกว้างขวางเมื่อมีผู้แสดงเพียง 2 คน การจัดตำแหน่งและการเคลื่อนไหวของตัวละครจึงต้องทำให้ดู้ต็มเวทีและก็ทำได้ดี โดยเฮพาะทั้ง 4 เรื่องเป็นเรื่องที่ดูไร้ขอบเขตของฉาก แต่กลับต้องแสดงถึงความคับแคบที่ตัวละครต้องการหลบหนี ในส่วนนี้ “นี่ไม่ใช่บทเพลงรัก” ทำได้ดีที่สุด เพราะตามเรื่องแล้วฉากของเขากว้างที่สุด
นอกจากนี้ยังมีการใช้พื้นที่ของโรงละครให้เป็นประโยชน์มากขึ้นกว่าเรื่องอื่นๆที่เคยมาแสดงกันที่นี่ เช่นหน้าต่างกระจกซึ่งปกติจะใช้ม่านปิดเอาไว้ หรือพื้นที่ที่เป็นซอกเล็กๆข้างโรงที่ไม่เคยใช้กันเลย
ที่สำคัญคือโรงละครพระจันทร์เสี้ยวที่ปกติจะรับคนดูได้เพียง 30 คน ในบางรอบต้องจัดที่นั่งให้คนดูถึง 50 คน
ภาพถ่ายโดย
อดิเดช ชัยวัฒนกุล
ป้ายกำกับ:
โปรเจค 1/4,
โรงละครพระจันทร์เสี้ยว,
ละครเวที พระจันทร์เสี้ยว,
ละครสั้น
29 June 2013
“ที่ทางของละครร่วมสมัยไทย ตอน 2 : ละครโรงเล็กในกรุงเทพมหานคร”
การบรรยายพิเศษ “ที่ทางของละครร่วมสมัยไทย ตอน 2 : ละครโรงเล็กในกรุงเทพมหานคร”
วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม 2556 เวลา 18:00-21:00 น.
ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
กำหนดการ
17.30 น. ลงทะเบียนผู้ร่วมงาน
18.00 น. กล่าวต้อนรับ โดย ฝ่ายกิจกรรมเครือข่าย หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
บรรยาย “ละครโรงเล็ก คืออะไร ทำไมต้องเล็ก” และ ที่มาและที่ไปของละครโรงเล็กในประเทศไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน โดย ประดิษฐ ประสาททอง
19.00 น. ร่วมบรรยายแลกเปลี่ยน “โรงละครขนาดเล็กในกรุงเทพฯ สถานการณ์ในปัจจุบัน” โดย ศิลปินและผู้บริหารโรงละครขนาดเล็ก
คุณภาวิณี สมรรคบุตร (Democrazy Theatre Studio)
คุณสินีนาฏ เกษประไพ (Crescent Moon Space)
คุณจารุนันท์ พันธชาติ (B-floor Room)
คุณสุนนท์ วชิรวราการ (Chang Theatre)
20.00 น. ถาม-ตอบ
see more
https://www.facebook.com/messages/730707041#!/events/533996073331928/?notif_t=plan_edited
27 June 2013
"ภาพลวงตาจากเนินมะเฟือง" บทวิจารณ์จากนิตยสารสีสัน
สองเรื่องกับอีกสองคน
บางส่วนมาจากนิตยสารสีสัน ปีที่ 24 ฉบับที่ 9 2556
ละคร THEATRES เขียนโดย กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน
ปีนี้นักเขียนสตรีชื่อดัง ศรีดาวเรือง มีอายุครบ 72 ปีแล้ว ในวาระนี้ พระจันทร์เสี้ยวการละคร โดยศิลปินศิลปาธร สินีนาฏ เกษประไพ ร่วมฉลองด้วยละครเรื่อง “ภาพลวงตาจากการเปลี่ยนสรรพนาม” และ “เนินมะเฟือง”
สำหรับคนชนบทในยุคก่อนสถานีรถไฟคือศูนย์กลางย่อมๆของชุมชนมีทั้งร้านขายของ ร้านขายหนังสือพิมพ์ พ่อค้าแม่ค้าที่เร่ขายของให้คนบนรถไฟ ผู้คนที่ทั้งไปและมาโดยรถไฟ เรื่องสั้นจำนวนไม่น้อยของศรีดาวเรืองจึงเป็นเรื่องราวของชุมชนนี้และการเดินทางโดยรถไฟ
เรื่องแรกเป็นความรักความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มสาวสองคนจากย่านชานเมืองที่อาศัยรถไฟเป็นพาหนะเดินทางเข้าไปทำงานในเมืองอยู่ทุกวัน ความสัมพันธ์ของทั้งสองเริ่มก่อตัวขึ้น โดยมีสายตาของผู้โดยสารจำนวนหนึ่งเป็นประจักษ์พยาน
ศรีดาวเรือง เขียนเรื่องนี้โดยถ่ายทอดเรื่องราวผ่านสายตาของตัวละครหลายๆคน ทั้งชายหนุ่ม หญิงสาว และผู้โดยสารคนอื่นๆ ซึ่งแต่ละคนก็มีภาพและจินตนาการในมุมมองของตนเอง เห็นและคิดเกี่ยวกับความเป็นไปนั้นแตกต่างกันออกไปตามสายตาของตนเอง ซึ่งในส่วนนี้ละครได้ถ่ายทอดออกมาอย่างชัดเจน โดยบทพูดของตัวละครแต่ละคน ซึ่งทำได้เป็นธรรมชาติมาก เราได้เห็นเรื่องราวดำเนินไปพร้อมๆกับการวิพากษ์จากสายตาที่แตกต่างกันของตัวละคร
หญิงสาวคนนั้นมีสามีแล้วแต่ก็ไม่ใช่อุปสรรคความรักของเธอ ฝ่ายชายไม่กังขาในเรื่องนี้เมื่อเธอเลิกกับสามีก็ดูเหมือนว่าเรื่องจะลงเอยลงด้วยดี ทั้งสองมีโอกาสหลับนอนร่วมกัน แล้วเธอก็ปฏิเสธที่จะแต่งงานกับเขา เลือกที่จะอยู่ตัวคนเดียวพร้อมลูกในครรภ์
ในส่วนการเล่าเรื่องของหญิงสาว เธอไม่ได้พูดถึงเหตุผลอันแท้จริงว่าทำไมเธอจึงไม่ยอมแต่งงานกับเขา เพียงแต่มันเป็นทางเลือกของเธอเท่านั้น ตัวละครตัวอื่นๆก็ไม่สามารถจะให้ความกระจ่างในเรื่องนี้ได้ เรื่องจบลงด้วยการทิ้งปริศนาให้คนดูเอาไปคิดกันเอง
เรารู้ว่าเธอได้หลับนอนกับเขาหลังจากเลิกกับสามี แต่เธอได้หลับนอนกับเขาก่อนที่จะเลิกกับสามีหรือเปล่า หรือว่านี่คือสาเหตุที่ทำให้เธอเลิกกับสามี เด็กในท้องของเธอเป็นลูกของเขาหรือของสามี และที่สำคัญ ทำไม เธอจึงปฏิเสธที่จะแต่งงานกับเขา
“เนินมะเฟือง” เป็นเรื่องราวของผู้คนหลากหลายในชุมชนสถานีรถไฟ ชีวิตของเด็กหนุ่มสาว 4 คน ดำเนินไปที่สถานีรถไฟแห่งนี้ เด็กสาวคนหนึ่งมีอาชีพขายตัว เป็นโสเภณีเด็กก่อนที่จะได้ใช้คำว่านางสาวนำหน้า โดยมีเด็กชายเป็นนายหน้าให้ เด็กสาวอีกคนพบความรักกับครูหนุ่ม แต่พ่อของเธอเรียกค่าสินสอดที่เกินกำลังของครูจนๆ ในที่สุดเธอก็ตัดสินใจหนีเข้าเมืองไปประกอบอาชีพเป็นโสเภณี เด็กสาวคนที่ 3 เป็นคนขี้เหร่ แต่เธอก็ขยันทำมาหากิน และในที่สุดเธอก็ได้พบกับความรัก และมีความสุขในชีวิตสมรส
เรื่องแรกนั้น ดูเป็นเรื่องโรแมนติค มีบทกระจุ๋มกระจิ๋มของหนุ่มสาวให้พร้อมอมยิ้มกันได้ รวมทั้งบทของชาวบ้านบนรถไฟที่มีความหลากหลาย แม้ในตอนท้ายจะเป็นการลาจากกันก็เป็นไปอย่างเรียบง่าย ไม่มีการคร่ำครวญหวนหา แต่กินใจคนดูพอสมควรทีเดียว ส่วนเรื่องหลังเป็นประเด็นของความจริงในชีวิตที่ค่อนข้างจะแรง แต่ก็ยังคงลักษณะเรียบง่ายเหมือนจริงอยู่ ไม่มีการบีบคั้นอารมณ์ให้ฟูมฟายแต่อย่างไร
แต่ความเหมือนจริงของการแสดงนี่แหละที่ทำให้คนดูต้องสะท้อนในใจ เมื่อมาคิดว่ามันมีอยู่จริงๆโดยเฉพาะประเด็นโสเภณีเด็กในเรื่องหลัง ภาพของเด็กชายหญิงนอนหนุนรางรถไฟคุยกันในยามไม่มีลูกค้าสะเทือนใจคนดูมาก เพราะเห็นว่าสองคนยังเป็นเด็ก และทำทุกอย่างไปเพราะความเป็นเด็กนั่นเอง ความจริงในเรื่องที่ 2 ทำให้ความหวานของเรื่องแรกนั้นกลายเป็นเพียงภาพลวงตาเท่านั้นเอง
สินีนาฏ ดึงประเด็นสำคัญจากเรื่องของ ศรีดาวเรือง ออกมาแสดงได้ชัดเจนมากคือความเป็นอิสระของตัวละครฝ่ายหญิง หญิงสาวในเรื่องแรกเป็นคนเลือกที่จะอยู่คนเดียว เป็น sigle mom โดยไม่สนใจความต้องการของฝ่ายชาย เด็กหญิงยึดอาชีพขายตัวโดยไม่มีใครมาบีบบังคับ และเด็กสาวอีกคนก็เช่นกัน เธอตัดสินใจไปขายตัวดีกว่าที่จะยอมเป็นสินค้าให้พ่อขาย
บางส่วนมาจากนิตยสารสีสัน ปีที่ 24 ฉบับที่ 9 2556
ละคร THEATRES เขียนโดย กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน
ปีนี้นักเขียนสตรีชื่อดัง ศรีดาวเรือง มีอายุครบ 72 ปีแล้ว ในวาระนี้ พระจันทร์เสี้ยวการละคร โดยศิลปินศิลปาธร สินีนาฏ เกษประไพ ร่วมฉลองด้วยละครเรื่อง “ภาพลวงตาจากการเปลี่ยนสรรพนาม” และ “เนินมะเฟือง”
สำหรับคนชนบทในยุคก่อนสถานีรถไฟคือศูนย์กลางย่อมๆของชุมชนมีทั้งร้านขายของ ร้านขายหนังสือพิมพ์ พ่อค้าแม่ค้าที่เร่ขายของให้คนบนรถไฟ ผู้คนที่ทั้งไปและมาโดยรถไฟ เรื่องสั้นจำนวนไม่น้อยของศรีดาวเรืองจึงเป็นเรื่องราวของชุมชนนี้และการเดินทางโดยรถไฟ
เรื่องแรกเป็นความรักความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มสาวสองคนจากย่านชานเมืองที่อาศัยรถไฟเป็นพาหนะเดินทางเข้าไปทำงานในเมืองอยู่ทุกวัน ความสัมพันธ์ของทั้งสองเริ่มก่อตัวขึ้น โดยมีสายตาของผู้โดยสารจำนวนหนึ่งเป็นประจักษ์พยาน
ศรีดาวเรือง เขียนเรื่องนี้โดยถ่ายทอดเรื่องราวผ่านสายตาของตัวละครหลายๆคน ทั้งชายหนุ่ม หญิงสาว และผู้โดยสารคนอื่นๆ ซึ่งแต่ละคนก็มีภาพและจินตนาการในมุมมองของตนเอง เห็นและคิดเกี่ยวกับความเป็นไปนั้นแตกต่างกันออกไปตามสายตาของตนเอง ซึ่งในส่วนนี้ละครได้ถ่ายทอดออกมาอย่างชัดเจน โดยบทพูดของตัวละครแต่ละคน ซึ่งทำได้เป็นธรรมชาติมาก เราได้เห็นเรื่องราวดำเนินไปพร้อมๆกับการวิพากษ์จากสายตาที่แตกต่างกันของตัวละคร
หญิงสาวคนนั้นมีสามีแล้วแต่ก็ไม่ใช่อุปสรรคความรักของเธอ ฝ่ายชายไม่กังขาในเรื่องนี้เมื่อเธอเลิกกับสามีก็ดูเหมือนว่าเรื่องจะลงเอยลงด้วยดี ทั้งสองมีโอกาสหลับนอนร่วมกัน แล้วเธอก็ปฏิเสธที่จะแต่งงานกับเขา เลือกที่จะอยู่ตัวคนเดียวพร้อมลูกในครรภ์
ในส่วนการเล่าเรื่องของหญิงสาว เธอไม่ได้พูดถึงเหตุผลอันแท้จริงว่าทำไมเธอจึงไม่ยอมแต่งงานกับเขา เพียงแต่มันเป็นทางเลือกของเธอเท่านั้น ตัวละครตัวอื่นๆก็ไม่สามารถจะให้ความกระจ่างในเรื่องนี้ได้ เรื่องจบลงด้วยการทิ้งปริศนาให้คนดูเอาไปคิดกันเอง
เรารู้ว่าเธอได้หลับนอนกับเขาหลังจากเลิกกับสามี แต่เธอได้หลับนอนกับเขาก่อนที่จะเลิกกับสามีหรือเปล่า หรือว่านี่คือสาเหตุที่ทำให้เธอเลิกกับสามี เด็กในท้องของเธอเป็นลูกของเขาหรือของสามี และที่สำคัญ ทำไม เธอจึงปฏิเสธที่จะแต่งงานกับเขา
“เนินมะเฟือง” เป็นเรื่องราวของผู้คนหลากหลายในชุมชนสถานีรถไฟ ชีวิตของเด็กหนุ่มสาว 4 คน ดำเนินไปที่สถานีรถไฟแห่งนี้ เด็กสาวคนหนึ่งมีอาชีพขายตัว เป็นโสเภณีเด็กก่อนที่จะได้ใช้คำว่านางสาวนำหน้า โดยมีเด็กชายเป็นนายหน้าให้ เด็กสาวอีกคนพบความรักกับครูหนุ่ม แต่พ่อของเธอเรียกค่าสินสอดที่เกินกำลังของครูจนๆ ในที่สุดเธอก็ตัดสินใจหนีเข้าเมืองไปประกอบอาชีพเป็นโสเภณี เด็กสาวคนที่ 3 เป็นคนขี้เหร่ แต่เธอก็ขยันทำมาหากิน และในที่สุดเธอก็ได้พบกับความรัก และมีความสุขในชีวิตสมรส
เรื่องแรกนั้น ดูเป็นเรื่องโรแมนติค มีบทกระจุ๋มกระจิ๋มของหนุ่มสาวให้พร้อมอมยิ้มกันได้ รวมทั้งบทของชาวบ้านบนรถไฟที่มีความหลากหลาย แม้ในตอนท้ายจะเป็นการลาจากกันก็เป็นไปอย่างเรียบง่าย ไม่มีการคร่ำครวญหวนหา แต่กินใจคนดูพอสมควรทีเดียว ส่วนเรื่องหลังเป็นประเด็นของความจริงในชีวิตที่ค่อนข้างจะแรง แต่ก็ยังคงลักษณะเรียบง่ายเหมือนจริงอยู่ ไม่มีการบีบคั้นอารมณ์ให้ฟูมฟายแต่อย่างไร
แต่ความเหมือนจริงของการแสดงนี่แหละที่ทำให้คนดูต้องสะท้อนในใจ เมื่อมาคิดว่ามันมีอยู่จริงๆโดยเฉพาะประเด็นโสเภณีเด็กในเรื่องหลัง ภาพของเด็กชายหญิงนอนหนุนรางรถไฟคุยกันในยามไม่มีลูกค้าสะเทือนใจคนดูมาก เพราะเห็นว่าสองคนยังเป็นเด็ก และทำทุกอย่างไปเพราะความเป็นเด็กนั่นเอง ความจริงในเรื่องที่ 2 ทำให้ความหวานของเรื่องแรกนั้นกลายเป็นเพียงภาพลวงตาเท่านั้นเอง
สินีนาฏ ดึงประเด็นสำคัญจากเรื่องของ ศรีดาวเรือง ออกมาแสดงได้ชัดเจนมากคือความเป็นอิสระของตัวละครฝ่ายหญิง หญิงสาวในเรื่องแรกเป็นคนเลือกที่จะอยู่คนเดียว เป็น sigle mom โดยไม่สนใจความต้องการของฝ่ายชาย เด็กหญิงยึดอาชีพขายตัวโดยไม่มีใครมาบีบบังคับ และเด็กสาวอีกคนก็เช่นกัน เธอตัดสินใจไปขายตัวดีกว่าที่จะยอมเป็นสินค้าให้พ่อขาย
17 June 2013
ภาพบรรยากาศในงานมหกรรมการแสดงแสนหรรษา ครั้งที่ 15
บรรยากาศงานรำลึกครูองุ่น มาลิก หรืองานมหกรรมการแสดงแสนหรรษา ปีนี้จัดกันมาเป็นครั้งที่ 15 แล้ว ปีนี้อบอุ่นและหรรษาเฮฮามาก
รายการแรกเริ่มด้วยนิทานช่วยกันเล่าโดยพี่ๆและเพื่อนพระจันทร์เสี้ยวชักชวนน้องและครอบครัวมาช่วยกันเล่านิทานด้วยกัน สนุกสนานกันมากกับการเล่านิทานไปเล่นไปด้วยกันทั้งห้องประชุม
การแสดงชุดที่สองนี้คือเด็กๆจากโรงเรียนสืบสานศิลปะวัฒนธรรมล้านนา วัดวชิรธรรมสาธิต มาร่วมงานกับเราทุกปี โดยการนำของแม่จำปา แสนพรม
รายการต่อมาคือการแสดงละครหุ่นในโรงเล็กเรื่อง "นกฮูกกับแมวเหมียว" ท่องเที่ยวในทะเล น่ารักเล็กๆในโรงหุ่นจิ๋ว โดยพี่ๆคณะละครยายหุ่น
ละครหุ่นน่ารักทั้งหุ่นและคนเล่าเรื่อง "เจ้าชายกบ" จากคณละครหุ่น Mommy Puppet โดยแม่แก้ม น้องจี้ ครอบครัว และนักดนตรี ที่มาร่วมงานกับเราเป็นครั้งแรกในปีนี้
นักแสดงหลากหลายมากกับเรื่องนี้ "ไก่เกเร" คณะละครยายหุ่น จากพี่ๆพระจันทร์เสี้ยวการละคร ที่แปลงร่างไปเชิดหุ่น แล้วตั้งชื่อคณะว่ายายหุ่น เพื่อเป็นที่ระลึกให้กับ ครูองุ่น มาลิก ที่ทำหุ่นและแสดงละครหุ่นเชิดมือเพื่อเด็กๆ เป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้คนมากมาย
มหัศจรรย์แสงและเงากับ "กระต่ายกับเต่า" จากพี่ๆกลุ่มมละครมะขามป้อม สนุกสนานกันมากกับการเล่าเรื่อง หุ่นมือ ดนตรี และ หุ่นเงา
และขอขอบคุณผู้ชมที่มาร่วมชมด้วยกันอย่างมีความสุข
รายการแรกเริ่มด้วยนิทานช่วยกันเล่าโดยพี่ๆและเพื่อนพระจันทร์เสี้ยวชักชวนน้องและครอบครัวมาช่วยกันเล่านิทานด้วยกัน สนุกสนานกันมากกับการเล่านิทานไปเล่นไปด้วยกันทั้งห้องประชุม
การแสดงชุดที่สองนี้คือเด็กๆจากโรงเรียนสืบสานศิลปะวัฒนธรรมล้านนา วัดวชิรธรรมสาธิต มาร่วมงานกับเราทุกปี โดยการนำของแม่จำปา แสนพรม
รายการต่อมาคือการแสดงละครหุ่นในโรงเล็กเรื่อง "นกฮูกกับแมวเหมียว" ท่องเที่ยวในทะเล น่ารักเล็กๆในโรงหุ่นจิ๋ว โดยพี่ๆคณะละครยายหุ่น
ละครหุ่นน่ารักทั้งหุ่นและคนเล่าเรื่อง "เจ้าชายกบ" จากคณละครหุ่น Mommy Puppet โดยแม่แก้ม น้องจี้ ครอบครัว และนักดนตรี ที่มาร่วมงานกับเราเป็นครั้งแรกในปีนี้
นักแสดงหลากหลายมากกับเรื่องนี้ "ไก่เกเร" คณะละครยายหุ่น จากพี่ๆพระจันทร์เสี้ยวการละคร ที่แปลงร่างไปเชิดหุ่น แล้วตั้งชื่อคณะว่ายายหุ่น เพื่อเป็นที่ระลึกให้กับ ครูองุ่น มาลิก ที่ทำหุ่นและแสดงละครหุ่นเชิดมือเพื่อเด็กๆ เป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้คนมากมาย
มหัศจรรย์แสงและเงากับ "กระต่ายกับเต่า" จากพี่ๆกลุ่มมละครมะขามป้อม สนุกสนานกันมากกับการเล่าเรื่อง หุ่นมือ ดนตรี และ หุ่นเงา
รายการสุดท้ายเฮฮาหรรษกับรายการสุดท้ายของเรา Baby Mime Show กับนักละครใบ้อารมณ์ดี ที่ชอบสร้างเสียงหัวเราะให้กับผู้ชม และยังช่วยนำภาพวาดมาประมูลหารายได้สมทบทุนเข้ามูลนิธิไชยวนาด้วย
มูลนิธิไชยวนา สถาบันปรีดี พนมยงค์ และพระจันทร์เสี้ยวการละครขอขอบคุณเหล่าศิลปินนักเชิดหุ่นที่มาร่วมแสดงและสร้างเสียงหัวเราะและความสุขให้กับเด็กๆและผู้ชมร่วมกันในปีนี้ค่ะ
และขอขอบคุณผู้ชมที่มาร่วมชมด้วยกันอย่างมีความสุข
ป้ายกำกับ:
ครูองุ่น มาลิก,
พระจันทร์เสี้ยว,
ละครใบ้,
ละครหุ่น,
หุ่นเงา
01 June 2013
สูจิบัตรโปรเจค 1/4
"โปรเจค 1/4 เส้นทางระหว่างเขาและเธอ"
4 ผู้กำกับ 1 นักเขียนบท กับละครสั้น 4 เรื่อง
บทละครโดย อรดา ลีลานุช
"นี่ไม่ใช่บทเพลงรัก"
นักแสดง : ณัฎฐนันท์ ประเสริฐรัสมี,เบ็น โกศลศักดิ์
ผู้กำกับ : เบญจ์ บุษราคัมวงศ์
"สายน้ำกับสายลม"
นักแสดง : อรรถพล อนันตวรสกุล, อรดา ลีลานุช
ผู้กำกับ : สุกัญญา เพี้ยนศรี
"เสียงสะท้อนจากความเงียบ"
นักแสดง : วรุตม์ เข็มประสิทธิ์, เววิรี อิทธิอนันต์กุล
ผู้กำกับ : รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ
"ที่พักใจ"
นักแสดง : อาคีรา โหมดสกุล, เกรียงไกร ฟูเกษม
ผู้กำกับ : ศิริธร ศิริวรรณ
ทีมงาน
ดูแลการผลิต สินีนาฏ เกษประไพ อรดา ลีลานุช
ตัดต่อและควบคุมแสง ทวิทธิ์ เกษปะไพ
ออกแบบและควบคุมเสียง พลัฏ สังขกร
กำกับเวที สุธี ใจเพ็ง
บัตรและหน้างาน กอใจ อุ่ยวัฒพงศ์
ประชาสัมพันธ์ ลัดดา คงเดช
ออกแบบโปสเตอร์ อดิเดช ชัยวัฒกุล วิชย อาทมาท
ถ่ายภาพ อดิเดช ชัยวัฒกุล วิชย อาทมาท จีรณัทย์ เจียรกุล
ขอขอบคุณ
สถาบันปรีดี พนมยงค์
น้ำดื่มตราโอมิซึ
และท่านผู้ชมทุกท่านที่สนับสนุนศิลปะการละคร
ป้ายกำกับ:
พระจันทร์เสี้ยว โรงละครพระจันทร์เสี้ยว,
ละครเวที
31 May 2013
ภาพบรรยากาศพูดคุยหลังละคร โปรเจค 1/4
"โปรเจค 1/4"
...เส้นทางระหว่างเขาและเธอ...
เราจัด Post Talk พูดคุยหลังละคร กับ ผู้เขียนบท ผู้กำกับทั้ง 4 เรื่อง และแขกรับเชิญพิเศษ (เฉพาะรอบวันเสาร์) เราจัดสองเสาร์
เสาร์แรก วันที่ 25 พ.ค. 56 พูดคุยกับแขกพิเศษ อ.ภาสกร อินทุมาร คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
ส่วนครั้งต่อไปคือเสาร์ที่ 1 มิ.ย. 56 แขกพิเศษของเราคือ ครูหนิง อ.พันพัสสา ธูปเทียน คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ หากท่านผู็ชมท่านใดสนใจ อยู่ร่วมแลกเปลี่ยนพูดคุยกับเราได้ค่ะ
29 May 2013
อบรมทำหุ่นหรรษา
คณะละครยายหุ่น (ครูองุ่น มาลิก) และ มูลนิธิไชยวนา
ขอชวนหนูๆเด็กๆและผู้ใหญ่ที่สนใจมาอบรมทำหุ่นหรรษากันเถอะ
วันอาทิตย์ที่ 2 มิ.ย. 56 (เวลา 13.00-16.00 น.)
“มหัศจรรย์หรรษากับแสงและเงา”
ชวนมาทดลองกันดูว่าแสงและเงาเกิดขึ้นได้ยังไง แล้วลงมือทำหุ่นเงาและโรงจิ๋วกลับไปเล่นสนุกเองได้ที่บ้าน
สอนโดย พี่แจ๋กับพี่พาย จากกลุ่มละครมะขามป้อม
วันอาทิตย์ที่ 9 มิ.ย. 56 (เวลา 13.00-16.00 น.)
“หุ่นถุงเท้าหรรษา”
มามะๆ มาลองตัด แปะ มัด และเย็บผ้าจากถุงเท้าให้เป็นหุ่น
สอนโดย พี่ผึ้งกับพี่เพลิน จากคณะละครยายหุ่น
สถานที่อบรม ห้องกระจก สถาบันปรีดี พนมยงค์ (ซ.ทองหล่อ)
รับผู้เข้าอบรม ตั้งแต่ 8 ขวบขึ้นไป ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ จะมาเดี่ยว มาเป็นคู่หรือมาเป็นกลุ่มก็ได้ค่ะ
ค่าอบรม เด็ก 100 บาท, ผู้ใหญ่ 200 บาท (ต่อหนึ่งการอบรม)
โทรจองที่ 081 929 4246
https://www.facebook.com/CrescentMoonTheatre
ขอชวนหนูๆเด็กๆและผู้ใหญ่ที่สนใจมาอบรมทำหุ่นหรรษากันเถอะ
วันอาทิตย์ที่ 2 มิ.ย. 56 (เวลา 13.00-16.00 น.)
“มหัศจรรย์หรรษากับแสงและเงา”
ชวนมาทดลองกันดูว่าแสงและเงาเกิดขึ้นได้ยังไง แล้วลงมือทำหุ่นเงาและโรงจิ๋วกลับไปเล่นสนุกเองได้ที่บ้าน
สอนโดย พี่แจ๋กับพี่พาย จากกลุ่มละครมะขามป้อม
วันอาทิตย์ที่ 9 มิ.ย. 56 (เวลา 13.00-16.00 น.)
“หุ่นถุงเท้าหรรษา”
มามะๆ มาลองตัด แปะ มัด และเย็บผ้าจากถุงเท้าให้เป็นหุ่น
สอนโดย พี่ผึ้งกับพี่เพลิน จากคณะละครยายหุ่น
สถานที่อบรม ห้องกระจก สถาบันปรีดี พนมยงค์ (ซ.ทองหล่อ)
รับผู้เข้าอบรม ตั้งแต่ 8 ขวบขึ้นไป ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ จะมาเดี่ยว มาเป็นคู่หรือมาเป็นกลุ่มก็ได้ค่ะ
ค่าอบรม เด็ก 100 บาท, ผู้ใหญ่ 200 บาท (ต่อหนึ่งการอบรม)
โทรจองที่ 081 929 4246
https://www.facebook.com/CrescentMoonTheatre
20 May 2013
เตรียมงานเทศกาลละครกรุงเทพ 2013
มาแล้วค่ะ ปีนี้เราชาวเครือข่ายละครกรุงเทพกำลังเตรียมการจัดงานเทศกาลละครประจำปีนี้กันแล้ว เราเปิดเพจ เพื่อใช้เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนข่าวสารเทศกาลละครกรุงเทพ ครั้งที่ 11
ที่นี่
https://www.facebook.com/BangkokTheatreFestival
เทศกาลละครกรุงเทพ 2556 ครั้งที่ 11 กำหนดจะจัดงาน ระหว่างวันที่ 2-17 พ.ย. 2556
สำหรับกลุ่มละครใด ที่อยากส่งผลงานเข้าร่วมในปีนี้ ในส่วนของกลุ่มละครวิสามัญ คือ ยังไม่ได้เป็นคณะบริหารเทศกาล ทาง BTF2013 ขอเชิญร่วมประชุมเพื่อรับฟังคำชี้แจงการสมัครและส่งผลงาน ได้ในวันอังคารที่ 25 มิถุนายน 2556 ณ หอศิลปะแห่งกรุงเทพมหานคร (หอศิลป์ กทม) เวลา ห้าโมงเย็นค่ะ
ที่นี่
https://www.facebook.com/BangkokTheatreFestival
เทศกาลละครกรุงเทพ 2556 ครั้งที่ 11 กำหนดจะจัดงาน ระหว่างวันที่ 2-17 พ.ย. 2556
สำหรับกลุ่มละครใด ที่อยากส่งผลงานเข้าร่วมในปีนี้ ในส่วนของกลุ่มละครวิสามัญ คือ ยังไม่ได้เป็นคณะบริหารเทศกาล ทาง BTF2013 ขอเชิญร่วมประชุมเพื่อรับฟังคำชี้แจงการสมัครและส่งผลงาน ได้ในวันอังคารที่ 25 มิถุนายน 2556 ณ หอศิลปะแห่งกรุงเทพมหานคร (หอศิลป์ กทม) เวลา ห้าโมงเย็นค่ะ
18 May 2013
Post Talk with Project 1/4
ประกาศ!!!
เราจะมี Post Talk พูดคุยหลังละคร “โปรเจค ¼ เส้นทางระหว่างเขาและเธอ” โดย ผู้เขียนบท ผู้กำกับทั้ง 4 เรื่อง และแขกพิเศษ (เฉพาะรอบวันเสาร์)
เสาร์ที่ 25 พ.ค. 56 ร่วมพูดคุยกับแขกพิเศษ อ.ภาสกร อินทุมาร คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
เสาร์ที่ 1 มิ.ย. 56 ร่วมพูดคุยกับแขกพิเศษ อ.พันพัสสา ธูปเทียน คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
ขอเชิญชวนชมละครและร่วมพูดคุยกับเราได้ค่ะ ^^
เราจะมี Post Talk พูดคุยหลังละคร “โปรเจค ¼ เส้นทางระหว่างเขาและเธอ” โดย ผู้เขียนบท ผู้กำกับทั้ง 4 เรื่อง และแขกพิเศษ (เฉพาะรอบวันเสาร์)
เสาร์ที่ 25 พ.ค. 56 ร่วมพูดคุยกับแขกพิเศษ อ.ภาสกร อินทุมาร คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
เสาร์ที่ 1 มิ.ย. 56 ร่วมพูดคุยกับแขกพิเศษ อ.พันพัสสา ธูปเทียน คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
ขอเชิญชวนชมละครและร่วมพูดคุยกับเราได้ค่ะ ^^
17 May 2013
มหกรรมการแสดงแสนหรรษา (ครั้งที่ 15)
มูลนิธิไชยวนา ร่วมกับ สถาบันปรีดี พนมยงค์ ขอเชิญร่วมงานรำลึก ครูองุ่น มาลิก
มหกรรมการแสดงแสนหรรษา (ครั้งที่ 15)
ชมฟรี นิทานช่วยกันเล่า การแสดงละครหุ่นหรรษา และ ละครใบ้อารมณ์ดี
จาก
คณะละครยายหุ่น (ครูองุ่น มาลิก)
พระจันทร์เสี้ยวการละคร
มะขามป้อม
และ ละครใบ้เบบี้ไมม์
ชมฟรี และยินดีรับหยอดกล่องเพื่อสมทบทุนมูลนิธิไชยวนา
วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน 2556
เวลา 13.30 น.
ณ หอประชุมพูนศุข พนมยงค์ สถาบันปรีดี พนมยงค์
สอบถามเพิ่มเติม โทร 0-2381-3860-1
16 May 2013
ละครแพ็คสี่เรื่องของ 'โปรเจค 1/4'
'โปรเจค 1/4' จากบทละครสั้นสี่เรื่อง เขียนโดย อรดา ลีลานุช จะถูกนำมาจัดแสดงพร้อมกันโดยฝีมือการกำกับของผู้กำกับ 4 คน เป็นภาพเบลอๆของความสัมพันธ์ผู้หญิงกับผู้ชาย 4 คู่
"นี่ไม่ใช่บทเพลงรัก"
นักแสดง : ณัฎฐนันท์ ประเสริฐรัสมี,เบ็น โกศลศักดิ์
ผู้กำกับ : เบญจ์ บุษราคัมวงศ์
"เสียงสะท้อนจากความเงียบ"
นักแสดง : วรุตม์ เข็มประสิทธิ์, เววิรี อิทธิอนันต์กุล
ผู้กำกับ : รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ
"ที่พักใจ"
นักแสดง : อาคีรา โหมดสกุล, เกรียงไกร ฟูเกษม
ผู้กำกับ : ศิริธร ศิริวรรณ
"สายน้ำกับสายลม"
นักแสดง : อรรถพล อนันตวรสกุล, อรดา ลีลานุช
ผู้กำกับ : สุกัญญา เพี้ยนศรี
แสดงวันที่ 23-26, 30-31 พ.ค. และ 1-2 มิ.ย. 2556 (รอบ 19.30 น.)
ที่โรงละครพระจันทร์เสี้ยว สถาบันปรีดี พนมยงค์ (ซ.ทองหล่อ)
บัตรราคา 350 บาท
จองบัตรโทร 081 929 4246 และ 084 174 2729
07 May 2013
แนะนำผู้กำกับโปรเจค 1/4
ประวัติผู้กำกับทั้ง 4 คนของเราใน 'โปรเจค 1/4'
สุกัญญา เพี้ยนศรี
สนใจและเริ่มทำละครตั้งแต่เรียนมัธยมปลาย ต่อมาเข้าศึกษาต่อและจบจากสาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ เอกการละคร มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา มีผลงานกำกับเรื่อง "Drawing" เข้าร่วมเป็นสมาชิกพระจันทร์เสี้ยวการละครในปี 52 มีผลงานการแสดงและกำกับเรื่อยมา ผลงานกำกับล่าสุดคือ "Fall ร่วง หก ตก หล่น" ซึ่งสร้างสรรค์และแสดงร่วมกับ ศิริธร ศิริวรรณ
รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ
ผู้กำกับและนักเขียนบทประจำคณะ Pastel Theatre เริ่มต้นสนใจละครจากการแสดงเป็นเด็กยกของในเทศกาลละครเล็กๆ ของเครือข่ายหน้ากากเปลือย หลังจากฝึกละครกับเครือข่ายหน้ากากเปลือยอยู่ ๓ ปี จึงเริ่มมีผลงานการเขียนบท และการกำกับการแสดงออกมา เมื่อเริ่มมีแนวทางเป็นของตนเองจึงรวมตัวกับเพื่อน ๓ คนออกมาตั้งกลุ่ม Pastel Theatre ปัจจุบันทำการศึกษาหาความรู้ด้านการละครเพิ่มเติมจากการเรียนปริญญาโท ภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และการร่วมงานละครกับกลุ่มละครอาชีพอื่นๆ ผลงานการเขียนบท และกำกับการแสดงที่ผ่านมาในนาม Pastel Theatre คือ เรื่อง “วันที่สหายพายุกลับบ้าน” และผลงานล่าสุด “คิมจองอิลตายแล้ว”
ศิริธร ศิริวรรณ
จบจากภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เคยเข้าอบรมโครงการละคร Do Drama ของคณะมนุษยศาสตร์ สถาบันคลังสมอง และพระจันทร์เสี้ยวการละคร หลังจากนั้นจึงเริ่มทำละครกับภาควิชา ต่อมาได้เข้ามาร่วมเป็นนักทำละครกับพระจันทร์เสี้ยวการละคร มีผลงานที่ผ่านมาโครงการอ่านบทละคร "อ่านในใจ" และผลงานกำกับ "fall ร่วง หก ตก หล่น" ซึ่งสร้างสรรค์และแสดงร่วมกับ สุกัญญา เพี้ยนศรี
เบญจ์ บุษราคัมวงศ์
คุณครูที่รักการทำละคร จบการศึกษาจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนใจศิลปะ และละครตั้งแต่เป็นนิสิตชั้นปีที่1 และทำงานละครอย่างต่อเนื่องขณะที่เป็นนิสิต เป็นอดีตประธานชมรมศิลปะการแสดงคณะครุศาสตร์ มีผลงานการกำกับละครเรื่อง "จริงเพียงจริง" และ "รอยยิ้มของอลัน" ในเทศกาลละครกรุงเทพฯ 2551เข้าร่วมเป็นสมาชิกพระจันทร์เสี้ยวการละครในปี 2552 มีผลงานการกำกับในโครงการอ่านบทละคร ได้แก่ อ่านเรื่องรัก, อ่านในใจ และอ่านผู้ชาย ปัจจุบันเป็นครูสอนวิชาสังคมศึกษาที่โรงเรียนภัทราวดีมัธยมศึกษา หัวหิน
05 May 2013
แนะนำผู้เขียนบทโปรเจค 1/4
ประวัติผู้เขียนบท
อรดา ลีลานุช
เริ่มสนใจละครเวทีและเข้าร่วมเวิร์คชอปละครเวทีตอนเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากนั้นได้ทุนไปศึกษาต่อที่ St. Olaf College และจบปริญญาตรีทางด้าน Theatre เริ่มเขียนบทละครเวทีตอนศึกษาระดับปริญญาโทที่ Miami University และจากนั้นก็เขียนบทละครมาตลอด มีผลงานการเขียนบทละครทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาและในประเทศไทย ผลงานล่าสุดที่ผ่านมาคือเรื่อง หญิงสาวกับดวงดาว แสดงที่ The Reading Room
02 May 2013
01 May 2013
ประกาศผล "10 Minute PlaY" #2
บทละครที่เข้ารอบสู่กระบวนการต่อไปมีทั้งหมด 3 เรื่อง ดังนี้
1. บทละครเรื่อง “อาจไม่ใช่บทละคร” เขียนโดย รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ
2. บทละครเรื่อง “ยอดมนุษย์” เขียนโดย จตุรชัย ศรีจันทร์วันเพ็ญ
3. บทละครเรื่อง “ทางเลือกที่ 1377″ เขียนโดย วาดฝันย์ ดิลกสัมพันธ์
เนื่องจากครั้งนี้บทละครที่เข้ารอบมีน้อยเกินไป ดังนั้นครั้งนี้เราจะยังไม่จัดทำการแสดง เราจะรอเปิดเฟสใหม่ ครั้งที่ 3 ประมาณเดือน ก.ย. – ต.ค. เพื่อจัดกระบวนการและจัดแสดงร่วมกัน
หากท่านใดสนใจส่งบทมาเข้าร่วมโครงการหรืออยากจะมาชมส่วนการแสดงโปรดติดตามที่นี่ค่ะ
https://www.facebook.com/#!/CrescentMoonTheatre
ป้ายกำกับ:
เขีนบทละคร,
พระจันทร์เสี้ยว โรงละครพระจันทร์เสี้ยว,
อ่านบทละคร
23 April 2013
โปรเจค 1/4 เส้นทางระหว่างเขาและเธอ
พระจันทร์เสี้ยวการละคร เสนอ ละครแพ็คสี่เรื่อง
...เส้นทางระหว่างเขาและเธอ...ที่ริมขอบความฝันกับความจริง...
โปรเจค 1/4
4 ผู้กำกับ 1 นักเขียนบท กับละครสั้น 4 เรื่อง
ที่พักใจ
สายน้ำกับสายลม
นี่ไม่ใช่บทเพลงรัก
เสียงสะท้อนจากความเงียบ
บทละครโดย อรดา ลีลานุช
กำกับโดย รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ, สุกัญญา เพี้ยนศรี, เบญจ์ บุษราคัมวงศ์, ศิริธร ศิริวรรณ
แสดงวันที่ 23-26, 30-31 พ.ค. และ 1-2 มิ.ย. 2556
รอบเวลา 19.30 น.
ที่ โรงละครพระจันทร์เสี้ยว สถาบันปรีดี พนมยงค์ (ซ.ทองหล่อ)
บัตรราคา 350 บาท
Early Bird 300 บาท ***(โอนเงินก่อน 15 พฤษภาคม)***
จองบัตรโทร 081 929 4246 และ 084 174 2729
https://www.facebook.com/CrescentMoonTheatre
ป้ายกำกับ:
พระจันทร์เสี้ยว โรงละครพระจันทร์เสี้ยว,
ละครเวที
19 April 2013
ปิดรับสมัครบทใหม่กับ "10 Minute PlaY" #2
เมื่อวันที่ 15 เม.ย. เป็นวันนี้วันสุดท้ายแล้วกับการรอรับบทใหม่โครงการละครสั้นสิบนาที "1o Minute PlaY" ครั้งที่ 2
เมื่อ 10 Minut PlaY ครั้งแรกที่เราจัดกันไปเมื่อปีที่แล้ว มีผู้สนใจส่งบทละครสั้นเข้ามาร่วมทั้งสิ้น 26 เรื่อง จากผู้เขียนบท 25 คน และเราได้คัดเลือกบทละครเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 8 เรื่อง สำหรับครั้งนี้มีผู้สนใจส่งบทเข้ามาร่วมโครงการกับเราถึง 30 คน มีบทละครสั้นส่งมาทั้งหมด 42 เรื่อง
จากนี้ต้องมารอมารอดูกันว่าจะมีบทเดินทางเข้ามากี่เรื่อง และกี่เรื่องที่จะได้เข้าในโครงการและเข้าสู่กระบวนการการนำเสนอกันต่อไป เราจะประกาศผลตอนสิ้นเดือนเมษายนนนี้ค่ะ โปรดติดตาม
ป้ายกำกับ:
พระจันทร์เสี้ยว,
ละครเวที,
อ่านบทละคร ละครสั้น
14 April 2013
ประกาศรายชื่อผู้เข้าอบรมการแสดง
รายชื่อผู้เข้าอบรมการแสดง Back to Basic #6
1. คุณจารุยศ สุวรรณบัตร
2. คุณปาลิตา สกุลชัยวานิช
3. คุณธัญวรัตน์ บุญฤทธิ์
4. คุณสุธี ใจเพ็ง
5. คุณเบียร์ ยิ่งสุวรรณชัย
6. คุณศิริธร ศิริวรรณ
7. คุณพิชวัฒน์ชัชวาลย์
8. คุณปฏิภาณ อินตระกูล
9. คุณธีระพงศ์ ปานเด
10. คุณเควินทร์ ลัดดาพงศ์
11. คุณสุรกิติ์ บูรณสิน
12. คุณสุกัญญา เพี้ยนศรี
13. คุณพลัฏฐ์ สังขกร
14. คุณเบญจ์ บุษราคัมวงศ์
ป้ายกำกับ:
พระจันทร์เสี้ยว โรงละครพระจันทร์เสี้ยว,
อบรมการแสดง
สูจิบัตร "ภาพลวงตาจากเนินมะเฟือง"
"ภาพลวงตาจากเนินมะเฟือง"
จากบทประพันธ์ ศรีดาวเรือง
บทและกำกับโดย สินีนาฏ เกษประไพ
ภาพลวงตาของการเปลี่ยนสรรพนาม
นักแสดง
ณัฎฐนันท์ ประเสริฐรัศมี
เบญจ์ บุษราคัมวงศ์
ดลฤดี จำรัสฉาย
จิรัชพงศ์ เรืองจันทร์
เนินมะเฟือง
นักแสดง
ธีรกานต์ ไม้จันทร์
สุขุมพันธ์ ฐิติธนพันธ์
เบียร์ ยิ่งสุวรรณชัย,
จิรัชพงศ์ เรืองจันทร์
สินีนาฏ เกษประไพ
ทีมงาน
กำกับเวที ปาลิตา สกุลชัยวานิช, สุธี ใจเพ็ง
ออกแบบควบคุมแสง ทวิทธิ์ เกษประไพ
ควบคุมเสียงและวิดิโอ พลัฏ สังขกร
เสื้อผ้า ชาคริยา ถิ่นจะนะ, สินีนาฏ เกษประไพ
อุปกรณ์ประกอบฉาก ทวิทธิ์ เกษประไพ, สินีนาฏ เกษประไพ, ลัดดา คงเดช
ทีมฉากและเทคนิค ทวิท์ เกษประไพ, พลัฏ สังขกร, พิชวัฒน์ ชัชวาลย์,
ชัยวัฒน์ คำดี, ศุภชัย จิวะพันธุ์ชัย
บัตรและต้อนรับ ศิริธร ศิริวรรณ, สุกัญญา เพี้ยนศรี, ณัฐศลิษฏา วัลย์ณัฐประภา
ภาพถ่ายและออกแบบโปสเตอร์ วิชย อาทมาท
ดูแลการผลิต ลัดดา คงเดช
ขอขอบคุณ
สถาบันปรีดี พนมยงค์
เครือข่ายละครกรุงเทพ
ศรีดาวเรือง
คุณสุชาติ สวัสดิศรี
ครูคำรณ คุณะดิลก
ครูศรวณีย์ สุขุมวาท
คุณสินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย
สื่อมวลชนและท่านผู้ชมทุกท่าน
ขอบคุณน้องแอมเวย์ และ คิมหันต์ ที่เข้ามาช่วยซ้อมแทน
Subscribe to:
Posts (Atom)