19 July 2010

"คือผู้อภิวัฒน์" สัญจรเชียงใหม่

โครงการจัดงานในวาระครบรอบ ๑๑๐ ปี ชาตกาลรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์, คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ พระจันทร์เสี้ยวการละคร

ภูมิใจเสนอ
ละครเวทีสร้างสรรค์...ที่ไม่ธรรมดา

คือผู้อภิวัฒน์
เรื่องราวชีวประวัติของ ‘ปรีดี พนมยงค์’ รัฐบุรุษอาวุโสของประเทศไทย หลังจากทำการแสดงที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ ไปแล้ว 6 รอบ และได้รับเสียงตอบรับอย่างดี ‘คือผู้อภิวัฒน์’ จะสัญจรไปแสดงที่ มช. 2 รอบ
มาชมละครเวทีร่วมสมัยของไทยเรื่องนี้ที่ถือได้ว่านำกลับมาจัดแสดงใหม่มากครั้งที่สุดเรื่องหนึ่ง และได้รับการยอมรับว่าเป็นสุดยอดของละครไทยในแนวทาง Brechtian ทั้งยังเป็นละครเวทีเพื่อการศึกษาประวัติศาสตร์ทางการเมืองของไทยที่เข้มข้นทั้งความคิดและรูปแบบการนำเสนอ

จัดแสดง ณ ห้องประชุม มล. ตุ้ย ชั้นที่ 8 อาคาร HB7
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม 2553 เวลา 19.00 น
วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม 2553 เวลา 14.30 น

บัตรราคา 200 บาท (นักเรียน,นักศึกษา 100 บาท)

สำรองที่นั่งได้ที่
086 728 6828 (คุณกระแต)
081 562 4636 (คุณจั่น)

WWW.CrescentMoonTheatre.com

18 July 2010

10 BEST Thai Theatres of the DECADE

Dance and Theatre / Previews, Interviews, and Reviews written by "The Nation" dance and theatre critics : written by Pavit Mahasarinand, published in The Nation Newspaper on Monday, Decvember 28,2009 that collected our stage play "Salang" (Bitter Love) is one of thr best.



The theatre's had plenty to celebrate in the first decade of this millennium but the most important event of the noughties was undoubtedly the formation of the Bangkok Theatre Network (BTN) in mid-2002. This alliance of professional and student dance and theatre troupes led to the organisation of annual showcase known as Bangkok Theatre Festival, which kicked off later that year and is still going strong.

Collaborations between members of different troupes were also initiated and we've seen remarkable works, among them Chai Yak ((Gi)ant), by Theatre 8X8 and Babymime.

The decade ended on a high note with BTN's highly acclaimed production of Sao Chaona (Girl of the Soil), tradapted from the Japanese play Nogyo Shojyo written by Hideki Noda, whose production of Yak Tua Dang (Akaoni) here 12 years ago brought together actors from various groups and started the informal alliance that became BTN.

Space, a major problem 10 years ago, is now available, with six small venues across the city now hosting performances almost every weekend.

The opening of Muangthai Rachadalai Theatre in 2007 marked another milestone on the Bangkok theatre scene. , and many audiences are still excited with the fact that we now have the so-called “Broadway-standard” private-run playhouse—in other words, a good hardware, backed up by great paperware, or money. House company Scenario regularly stages spectacular productions at the privately run playhouse though reviews have been mixed and more acclaimed works in the venue are by other companies—Theatre 28’s Man of La Mancha and imported productions of We Will Rock You and Chicago.

Genre-wise, the imported production of Action Theatre’s Chang and Eng: The Musical from Singapore in early 2001 started the trend of musicals. Scenario followed it and has been able to draw the attention, of the public and the media, to grand-scale musicals, despite its quality, especially in terms of acting and script. Elsewhere, with more small venues, more experiments in using physical movements and multimedia in theatre have been evident. There have been, however, too few collaborations between dance and theatre artists, and the number of dance productions is still lacking behind.

Content-wise, with the ever increasing number of works, contemporary Thai theatre offers more variety than ever before though it still tends to avoid politics. This is a proof perhaps that the audience may be tired of reading about and watching these political soap operas in newspaper, online, and on TV.

It should be noted here that a stage performance, unlike film and television, differs, to a certain degree, from one evening to another. Occasionally, I missed good and great stage works because of other duties, locally and overseas. I’m sorry if I missed out some of your favorites but as I say very often, a theatre critic is just an avid playgoer, and vice versa. On that note, I’d like to hear your thoughts as well.

However, I've watched some of these local theatre works more than once, usually at their restagings, and would enjoy seeing them all again as each time I discover something new in them that moves me in different ways. Here they are, listed in chronological order rather than by preference.


*************************





SALANG (BITTER LOVE)

Written and directed by Crescent Moon Theatre's artistic director Sineenadh Keitprapai, this is a poignant two-character drama about romantic and parental love. The production featured two thespians of very different styles, and yet the director was able to balance and hone their performances. Fittingly so, Sineenadh was honoured with Silpathorn Award in 2008, and is still the only female Silpathorn artist in the field.


Read more:
http://blog.nationmultimedia.com/danceandtheatre/2010/01/31/entry-1


16 July 2010

Tistou in Bangkok Post

ค้นหาข้อเขียนที่นักวิจารณ์พูดถึงผลงานของเรา "ติสตู นักปลูกต้นไม้" ผลงานเมื่อปีที่แล้วลงในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ก็เลยนำมาแบ่งกันอ่านที่นี่


It's a wrap
The entertainment year in review

It seems like we've blinked our eyes twice only, and 2009 is nearing its end. It's hard to believe that an entire year has passed already and the decade is also coming to a close. As always, it's been fun-filled year with ups and downs. Some months were quiet while some were action-packed.

Before getting all giddy over Christmas and New Year's presents, 'Outlook' would like to take some time to reflect on the passing year. We've selected our top five in local music events, movies and the performing arts.



Tistou Nak Pluke Ton Mai (Tistou)

In this charming collaboration between Crescent Moon Theatre and Kae Dam Dam Puppet Group, the world is transformed with the touch of a child's hands. Adapted from the French children's novel, Tistou les pouces verts, by Maurice Druon, this marionette and shadow puppet production is thoroughly delightful for both children and adults. Director and Sipathorn artist Sineenadh Keitprapai has been with the Crescent Moon from the time the company dealt heavily with political and social issues. Today Sineenadh, who's the current head of Crescent Moon, is actively providing space for new directors and writers. Although the works that the troupe has been supporting seem to lack real substance of late, this uplifting puppet production casts a new brighter light on the company. It's a far cry from what Crescent Moon once was, but its honesty and innocence are undeniably powerful and breathtaking.

About the author
Writer: Amitha Amaranand


info from : Bangkok Post
Newspaper section: Outlook

read more:

http://pages.citebite.com/t2h0n5u2m6qkp

11 July 2010

บทวิจารณ์ "คือผู้อภิวัฒน์" (2553)

มีบทวิจาณ์จากเว็บไซด์ วิจารณ์แบบไร้ปราณี ที่เขียนถึงละครเวที "คือผู้อภิวัฒน์" ในครั้งนี้มาให้อ่านกัน หากใครสนใจอ่านบทวิจารณ์ละครเวทีและหนังตามไปอ่านได้ที่
http://www.barkandbite.net/


คือผู้อภิวัฒน์:
แด่คนดี แด่อุดมการณ์ แด่ประเทศชาติ

Posts by nuttaputch


"คือผู้อภิวัฒน์” น่าจะเป็นหนึ่งในละคร “ตำนาน” ของประวัติศาสตร์ละครเวทีไทย ตั้งแต่การที่เป็นบทละครดั้งเดิมโดยคนไทยที่ถูกหยิบนำมาสร้างใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่ามากที่สุดเรื่องหนึ่ง จนไปถึงบทบาทของละครต่อการเมืองและสังคมที่เห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งนอกเหนือจากสถิติต่าง ๆ แล้วนั้น สิ่งที่พระจันทร์เสี้ยวการละคร ซึ่งเป็นผู้สร้างละครเรื่องนี้มาก็ยังคงคุณภาพและ “พลัง” ที่อัดแน่นไว้ในละครทุกโปรดักชั่นโดยตลอด

ซึ่ง “คือผู้อภิวัฒน์” ในวาระล่าสุดนั้น ก็ยังคงเป็นละครที่ยอดเยี่ยมและเหนือชั้นในวิธีการนำเสนอ พร้อม ๆ กับการพูดถึงเนื้อหาว่านี่คือละครที่คนไทยทุกคนในสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบันควรจะได้ดูอย่างยิ่ง

เรื่องราวของ “คือผู้อภิวัฒน์” คือชีวประวัติของปรีดี พนมยงค์ บรุษผู้ได้ชื่อว่ามีส่วนสำคัญกับการพลิกประวัติศาสตร์และระบอบการปกครองของประเทศไทย ซึ่ง “คือผู้อภิวัฒน์” หยิบสาระและช่วงเหตุการณ์สำคัญตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฏร์ พ.ศ. 2475 จนถึงเหตุการณ์สำคัญทางเมืองต่าง ๆ ที่ตามมา ผ่านทางมุมมอง (ส่วนหนึ่ง) ของปรีดีเองไปจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ซึ่งเนื้อหาสาระสำคัญหลักคือการตีแผ่ “ความจริง” หรือที่ละครเรียกว่า “สัจจะ” ของประวัติศาสตร์ที่บางคนอาจจะรู้บ้างไม่รู้บ้าง (หรือแม้กระทั่งรู้จริงและรู้ไม่จริง) ให้ได้รับรู้กัน

กลวิธีเด่น ๆ ของ “คือผู้อภิวัฒน์” คือการใช้กลวิธีการเล่าเรื่องแบบละคร Brechtian ซึ่งมีลักษณะสำคัญคือไม่ลากหรือนำพาให้คนดูอินไปกับเรื่องราวที่เกิดขึ้น แต่มุ่งเน้นให้คนดูถอยห่างและพิจารณาเรื่องด้วยการใช้สติอย่างแท้จริง โดยละครซึ่งมีเนื้อหาทางด้านประวัติศาสตร์อยู่แล้วนั้นจะมีข้อได้เปรียบเรื่องนี้อยู่พอสมควร จึงไม่แปลกที่ถ้าผู้ชมคนใดรู้ประวัติศาสตร์มาบ้างแล้วเกี่ยวกับการเมืองไทยในยุคตั้งไข่ ก็จะทำให้ไม่ต้องสนใจว่า “อะไรจะเกิดต่อไป​” แต่มุ่งสนใจไปที่ “อะไรที่ทำให้เกิดอย่างนั้น” ซึ่งนั่นเป็นประเด็นสำคัญของเรื่องโดยแท้จริง

“คือผู้อภิวัฒน์” จึงใช้การเล่าเรื่องผ่านทางผุ้บรรยาย หรือการบอกเล่าจากตัวละครต่าง ๆ ที่ไม่ต่างจากการเล่าให้ผู้ชมฟังถึงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งมีการลำดับบทได้อย่างคมคาย มีการเกริ่น บอกใบ้ และกระตุ้นให้คนดูคิดตามและพิจารณาเรื่องราวอยู่ตลอดเวลาเพื่อที่จะได้รับรู้ที่มาที่ไปของหน้าประวัติศาสตร์ รวมทั้งสิ่งที่กลืนอยู่ในนั้นแต่ไม่ได้ถูกจารึกไว้ ซึ่งก็คือ “อุดมการณ์” “ความรู้สึก” และ “จุดมุ่งหมายที่แท้จริง” ของบุคคลสำคัญต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์
นอกจากนี้แล้ว วิธีการนำเสนอของละครยังเป็นการผสมผสานของการแสดงสมัยใหม่เช่นการใช้ร่างกายหรือท่วงท่าและการเคลื่อนไหวบอกเล่าหรืออธิบายแทนที่จะหวังพึ่งเพียงแค่บทสทนาเพียงอย่างเดียว ซึ่งสำหรับโปรดักชั่นนี้ สินีนาฏ เกษประไพ ผู้กำกับทำออกมาได้โดดเด่นและสวยงามมากองค์ประกอบต่าง ๆ บทเวทีนั้นลงตัวกับบทละครและลึกซึ้งในด้านตีความตลอดไปจน “พลัง” ของภาพบนเวทีที่ผู้ชมจะได้ชม (ซึ่งนี่เป็นหนึ่งในเอกลักษณ์เด่น ๆ ซึ่งเราจะเห็นได้จากผลงานละครเวทีเรื่องอื่น ๆ ของเธอ) ซึ่ง ”คือผู้อภิวัฒน์” ในวาระนี้น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีมาก ๆ สำหรับนักเรียนละครที่พยายามหาคำตอบว่าบล็อคกิ้งหรือตำแหน่งของนักแสดงบนเวทีนั้นสำคัญและให้พลังกับเรื่องที่แตกต่างกันได้อย่างใด

ในส่วนของทีมนักแสดงสำหรับ​ “คือผู้อภิวัฒน์” ในวาระนี้นั้น ก็ทำหน้าที่ได้อย่างยอดเยี่ยมด้วยพลังของการแสดงรวมทั้งจังหวะการโต้ตอบและรับส่งบทไปมานั้น มีความต่อเนื่องและเฉียบคมค่อนข้างสูง ซึ่งกลายเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ละครเรื่องนี้ดูฮึกเหิมและคึกคักอยู่ตลอด

สำหรับผู้เขียนแล้ว “คือผู้อภิวัฒน์” คือหนึ่งในละครสมัยใหม่ที่มีความโดดเด่นทั้งในเชิงวรรณกรรมและเชิงศิลปะการแสดงค่อนข้างสูง และไม่น่าแปลกที่มันจะถูกนำมาแสดงครั้งแล้วครั้งเล่าโดยที่ผู้ชมดูกี่ครั้งก็จะไม่รู้สึกเบื่อ แต่กลับสัมผัสได้ถึงพลังและแรงบันดาลใจที่จะทำให้ก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงชีวิตบางอย่าง เฉกเช่นกับพลังและอุดมการณ์ของคน ๆ หนึ่งที่หมายว่าจะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้ดีขึ้นเพื่อคนไทยทุกคน

นี่อาจจะไม่ใช่ละครที่ดูแล้วรู้สึกสบาย รู้สึกยิ้มเปรมปรีย์ มีหลายช่วงที่อาจจะรู้สึกสะเทือนใจหรือกดดันมากพอสมควร แต่อย่างไรซะ ในท้ายที่สุดละครจะพาผู้ชมไปสู่จุดที่ค้นพบแสงสว่างและความหวัง และที่สำคัญซึ่งอาจจะเหมาะเจาะกับช่วงเวลาปัจจุบัน คือความหมายที่แท้จริงของ “ประชาธิปไตย” รวมทั้ง สาเหตุและสิ่งที่ต้องแลกมาเพื่อสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยทุกคน ซึ่งผู้เขียนคิดว่าคือหนึ่งในสิ่งที่เราทุกคนควรสำรวจและคิดทบทวนกันเสียแล้วก่อนที่เราจะต้องเจอบทเรียนแสนบอบช้ำจากประชาธิปไตยที่เอามาอ้างกันอีกสักเท่าไรกัน

ขอขอบคุณ:
เว็บไซด์วิจารณ์แบบไร้ปราณี และ nuttaputch

ภาพถ่ายโดย:
ทวิทธิ์ เกษประไพ

10 July 2010

คือผู้อภิวัฒน์ : สัจธรรมอมตะที่มิอาจเปลี่ยนไปตามกาลเวลา

ละครเวทีเรื่องล่าสุดของเรา "คือผู้อภิวัฒน์" ได้แสดงจบลงไปแล้ว แต่เรายังมีข้อความและบทวิจารณ์ที่ผู้ชมและนักวิจารณ์เขียนถึง เราจะนำมาแบงปันมาให้อ่านกันที่นี่เร็วๆนี้


หัวข้อข้างบนนี้เป็นข้อเขียนจากบันทึกในเฟซบุคของ คุณดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์ นักการละครและผู้กำกับละครเวทีจากกลุ่ม New Theatre Society ที่เขียนถึง "คือผู้อภิวัฒน์" ในคราวนี้




คือผู้อภิวัฒน์
: สัจธรรมอมตะที่มิอาจเปลี่ยนไปตามกาลเวลา

เขียนโดย ดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์




เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ผมไปสถาบันปรีดีฯ ซอยทองหล่อ – สถานที่หนึ่งซึ่งอาจเรียกได้ว่า...ถ้าสมมุติว่ามีระเบิดลงคนทำละครเวทีเมืองไทยจะหายไปครึ่งประเทศ วันนั้นเป็นรอบสุดท้ายของละครเรื่อง “สุดทางที่บางแคร์” พอดี อันที่จริงในฐานะที่ผมเป็นสมาชิกคนหนึ่งของแก๊งค์นี้ ผมควรจะอยู่ดูและร่วมชื่นชมด้วย แต่เนื่องจากผมดูแล้ว ก็เลยตัดสินใจว่าควรจะเว้นที่ว่างให้ผู้ชมที่ยังไม่ดูดีกว่า ก็เลยเข้าไปดูการซ้อมละครเรื่อง “คือผู้อภิวัฒน์” แทน เพราะไม่แน่ใจว่าอาทิตย์หน้าจะมีเวลามาดูการแสดงรอบจริงได้หรือไม่ และเมื่อได้เข้าไปนั่งดู ก็รู้สึกภาคภูมิใจเป็นอันมากที่นักแสดงทั้งหมดเล่นละครทั้งเรื่องแบบทุ่มตัวสุดตีนให้ผมดูเพียงคนเดียว ส่วนคุณสินีนาฏผู้กำกับก็วิ่งไปวิ่งมาคอยเคาะเสียงประกอบให้ด้วยความเครียด นับว่าเป็นเกียรติและโอกาสที่งดงามอย่างยิ่งที่ใครๆจะหาได้ไม่ง่ายนัก อิอิ

แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่ผมจะกล่าวถึง เพราะสิ่งที่คันปากอยากบอกจนต้องลงมือเขียนบันทึกฉบับนี้ไว้ก็คือ ความรู้สึกที่ยิ่งใหญ่หัวใจพอโตต่อการได้กลับมาดูละครเรื่องนี้อีกครั้ง หลังจากได้เคยร่วมงานในฐานะฝ่ายเสียงในการจัดแสดงละครเรื่องนี้ครั้งแรกเมื่อ 23 ปีก่อน และเป็นคนตีกลองในการจัดแสดงครั้งที่สองใน 10 ปีต่อมา ผมรู้สึกว่าละครเรื่องนี้มันทรงอานุภาพมากขึ้นทุกวัน ไม่ว่าหน้าตานักแสดงและทีมงานจะเปลี่ยนไปกี่รุ่น หรือรายละเอียดปลีกย่อยจะมีความแตกต่างไปบ้างเล็กน้อยก็ตาม แต่ความรู้สึกที่ละครเรื่องนี้มาปะทะเรามันช่างยิ่งใหญ่เหลือเกิน แถมยังบาดลึกกินใจมากขึ้นไปทุกทีที่ได้ดูทุกครั้งที่ละครเรื่องนี้กลับมาเล่น ครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน อาจจะเป็นเพราะว่าเราเคยเป็นส่วนหนึ่งของละครเรื่องนี้ หรือจะเป็นเพราะเราแก่ตัวลง...ก็มิอาจทราบได้ แต่เท่าที่คิดว่าทราบแน่ๆก็คือ ถึงแม้ว่าบทละครยังคงเหมือนเดิมจนผมยังจำได้แทบทุกตอน หรือรูปแบบการแสดงที่ยังคงเรียบ(แต่ไม่ง่าย)เหมือนเดิม แต่ท่ามกลางความ “เหมือนเดิม” ทั้งหมดนั้น “ทุกสิ่งทุกอย่างก็เปลี่ยนไปจริงๆตามกาลเวลา” ดังที่ละครบอกจริง ๆ ถึงแม้มันไม่ได้เปลี่ยนที่ตรงการแสดง แต่สิ่งที่เราได้ดูนั้น กลับทำให้เราเปลี่ยนแปลงมากกว่า อย่างน้อยก็ตรงความคิดของบทที่จี้ความคิดและความรู้สึกของเราล่ะ ผมรู้สึกว่าสารของเรื่องที่ผมได้ดูในครั้งนี้นั้นมันกลับทรงพลังยิ่งกว่าครั้งไหน ๆ และผมรู้สึกได้ว่าพลังที่ว่านี้ได้แผ่ขยายมากยิ่งขึ้นไปทุกที โดยเฉพาะเมื่อยุคสมัยของเราได้มีโอกาสผ่านร้อนผ่านหนาวกับสถานการณ์ต่าง ๆ รอบข้างที่ดูเหมือนจะเป็นบทเรียนที่ดี แต่เราไม่เคยรู้จัดหัดจดจำ เรามีประวัติศาสตร์ให้เรียนรู้ แต่เราก็ยังคงดูเหมือนติดหลงอยู่ในวังวนไม่ไปไหน และนี่ก็คงเป็นสัจจธรรมอย่างหนึ่งที่ละครเรื่องนี้มีให้โดยไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาเหมือนที่ละครบอกเรา ที่สำคัญ ความแหลมคมของโครงสร้างและความคมคายของเนื้อหาของบทละครเรื่องนี้ที่ถูกออกแบบมาอย่างมีมิติพอดีพองาม ทำให้ผมเชื่อว่าคนที่ได้ดูละครเรื่องนี้ในปี พ.ศ.นี้ คงไม่ได้มองละครเรื่องนี้ว่าเป็นเพียงแค่การแสดงที่มุ่งเล่าเรื่องให้เห็นประวัติชีวิตของรัฐบุรุษที่ชื่อปรีดี พนมยงค์อีกต่อไปเป็นแน่ แต่กลับจะยิ่งทำให้เราเห็น “มนุษยธรรม” ของคนธรรมดาคนหนึ่งที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งแน่นอน ผมเชื่อว่าสิ่งนั้นได้ตั้งคำถามกลับมายังเราในฐานะผู้ชมว่าเราคือใคร มีชีวิตอยู่เพื่ออะไร และเราได้ทำสิ่งต่าง ๆ ที่ควรค่าในขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่แล้วหรือยัง ฯลฯ

สรุป (เพราะไม่อยากเขียนยาว) ถึงแม้ว่าโดยรูปแบบการนำเสนอของละครเรื่องนี้ไม่ได้มุ่งเร้าอารมณ์ของผู้ชมตามสไตล์ที่ละครเรื่องนี้มีมาแต่กำเนิด แต่ผมขอสารภาพว่าในขณะดูผมฟูมฟายเป็นอันมากทั้งในระดับความคิด ความรู้สึก และอาจจะสั่นสะเทือนลึกลงไปถึงระดับจิตวิญญาณตามทฤษฎีของท่านอริสโตเติลไปด้วยเป็นแน่ และผมแอบหวังอยู่ในใจลึก ๆ ด้วยว่า คนที่ได้ดูละครเรื่องนี้แล้ว ไม่ว่าท่านจะเป็นใคร หรือคิดยังไง อย่างน้อยก็น่าจะมีคนที่อาจจะรู้สึกเหมือนกับผมบ้างเหมือนกัน...ไม่มากก็น้อย...ก็ยังดี อิอิ

ขอพล่ามแค่นี้ก่อน พล่ามมากเดี๋ยวจะหาว่าเชียร์แอนด์สปอยด์ ไว้ไปดูเองก็แล้วกัน แล้วท่านจะจดจำละครเรื่อง “คือผู้อภิวัฒน์” ไปนานแสนนานตราบจนชีวิตจะหาไม่ ^^

ด้วยความคารวะต่อท่านปรีดี พนมยงค์ คือผู้อภิวัฒน์
และขอกราบงาม ๆ แด่พี่คำรณ คุณะดิลก ผู้สร้างบทและการแสดงละครเรื่องนี้
สินีนาฎ, นักแสดง, ทีมงาน...จงสู้เข้าไป อย่าได้ถอย ฯลฯ

ดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์
28 มิถุนายน 2553



ขอขอบคุณ:
บทความจาก คุณดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์
ภาพถ่ายโดย คุณธเนศ ม่วงทอง

02 July 2010

“คือผู้อภิวัฒน์” วาระห้า

การกลับมาอีกครั้งกับการทำงานของนักแสดงรุ่นที่ 5

ปี 2553 นี้เป็นปีวาระครบรอบ 110 ชาตกาล รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ เป็นปีครบรอบ 78 ปี การอภิวัฒน์ไทย ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ครบรอบ ๑๕ ปี สถาบันปรีดี พนมยงค์‏ และยังเป็นการแสดงในพิธีเปิดห้องนิทรรศการ “ห้องแห่งแรงบันดาลใจ ปรีดี พนมยงค์” ซึ่งจะเป็นห้องนิทรรศการถาวรที่เปิดให้เยาวชนและผู้สนใจเข้าชมและหาความรู้เกี่ยวกับ อ.ปรีดี พนมยงค์ และขบวนการเสรีไทย





ครั้งนี้เราได้นักแสดงจากรุ่นที่สี่มาร่วมแสดงสามคน คือ เกรียง ไกร ฟูเกษม กวินธร แสงสาคร และ ศรวณี ยอดนุ่น นอกนั้นเป็นสมาชิกรุ่นใหม่ของพระจันทร์เสี้ยวการละครอีก 5 คน คือ จิรฏชพงศ์ เรืองจันทร์ สุกัญญา เพี้ยนศรี สุรชัยเพชรแสงโรจน์ อรุณโรจน์ ถมมา และ จีรณัทย์ เจียรกุล และเราได้เปิด Workshop Audition เพื่อคัดเลือกหานักแสดงเพิ่มมาอีก 4 คน คือ ลัดดา คงเดช คฑาวุธ ดวงอินทร์ วงศิริ ดีระพัฒน์ และ ช่อลดา สุริยะโยธิน ที่นอกจากเป็นนักแสดงแล้วยังเป็นผู้ฝึกเสียงและการร้องเพลงในครั้งนี้



เราทำการฝึกซ้อมและทำความเข้าใจบท การค้นคว้าอ่านข้อมูลเพิ่มเติมรวมกระบวนการทั้งหมดใช้เวลา 3 เดือน ในกระบวนการฝึกซ้อมเราเน้นกระบวนการฝึกฝนตามแนวทางละครแบบพระจันทณ์เสี้ยวที่เน้น Group Dynamic การฝึกร่างกาย เสียง และการเคลื่อนไหว Force and Dynamic และการเชื่อมประสานทกายและจิต



เรื่องดนตรีเราได้ปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมเพื่อสร้างสีสัน การทำให้แปลก และช่วยขับเน้นความหมายให้กับเรื่อง การดูแลดนตรีในครั้งนี้คือ คานธี อนันตกาญจน์ รวมทั้งเล่นฟลุตประกอบ เราได้ พฤฒิรณ นันทโววาทย์ มาเป็นมือกลองให้กับเรา ส่วนเสียงกลองทัดตามแบบอย่างออริจินอลเวอร์ชั่นครั้งนี้ตีโดย เบญจ์ บุษราคัมวงศ์

ในวาระนี้เราเปิดทำการแสดงทั้งหมดที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ จำนวน 6 รอบการแสดง พิเศษหลังรอบบ่ายเสาร์-อาทิตย์ มีเสวนาหลังละคร “คนกับละคร...ละครกับสังคม” ขอเชิญร่วมพูดคุยกับ คำรณ คุณะดิลก, สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย และผู้กำกับในครั้งนี้ สินีนาฏ เกษประไพ ในวันเสาร์ 3 มิ.ย.2553 ดำเนินรายการโดย อ.ภาสกร อินทุมาร ส่วนวันอาทิตย์ 4 มิ.ย.2553 ดำเนินรายการโดย อ.อภิรักษ์ ชัยปัญหา และเราจะเดินทางไปสัญจรที่คณะมนุษยศษสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อีก 2 รอบ ในเดือนสิงหาคม 2553 นี้


ขอขอบคุณ ครูคำรณ คุณะดิลก ที่สร้างงานที่มีคุณค่าไว้ให้กับเรา เป็นครูและเป็นที่ปรึกษาให้เราเสมอมา ขอบคุณคุณนักแสดงและทีมงาน รวมทั้งพี่ๆเพื่อนๆน้องๆละคร “คือผู้อภิวัฒน์” และ พระจันทร์เสี้ยวทุกรุ่นที่ช่วยงานและให้กำกลังใจในการทำงานครั้งนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

กำกับ
สินีนาฏ เกษประไพ

นักแสดง
ปรีดี เกรียงไกร ฟูเกษม
มโน,ท่านเจ้าคุณ กวินธร แสงสาคร
แปลก, สาย สีมา ภูมิฐาน ศรีนาค
ประยูร, อ๊อด สุรชัย เพชรแสงโรจน์
พหล จีรณัทย์ เจียรกุล
ทรง, เพิ่ม คฑาวุธ ดวงอินทร์
ผู้บรรยาย, แม่พลอย ศรวณี ยอดนุ่น
ผู้บรรยาย, พี่ ตุลาคม สุกัญญา เพี้ยนศรี
ผู้บรรยาย, น้อง ตุลา อรุณโรจน์ ถมมา
พูนศุข ช่อลดา สุริยะโยธิน
เล่านิทาน, ผู้บรรยาย ลัดดา คงเดช
ผู้บรรยาย, เล็ก วรศิริ ดีระพัฒน์

นักดนตรี
คานธี อนันตกาญจน์
พฤฒิรณ นันทโววาทย์
เบญจ์ บุษราคัมวงศ์


ทีมงาน
ผู้เขียนบท คำรณ คุณะดิลก
ผู้กำกับการแสดง สินีนาฏ เกษประไพ
ผู้กำกับเทคนิค/ออกแบบแสง ทวิทธิ์ เกษประไพ
ผู้ช่วยผู้กำกับ เกรียงไกร ฟูเกษม, กวินธร แสงสาคร
ผู้กำกับเวที เบญจ์ บุษราคัมวงศ์
ฝึกเสียงและสอนร้องเพลง ช่อลดา สุริยะโยธิน
กำกับดนตรี คานธี อนันตกาญจน์
นักดนตรี คานธี อนันตกาญจน์, พฤฒิรณ นันทโววาทย์
ผู้ประสานงาน/อุปกรณ์ประกอบ ชาคริยา ถิ่นจะนะ
ออกแบบเสื้อผ้า ประวิทย์ หิรัญพฤกษ์
ประชาสัมพันธ์ วรัญญู อิทรกำแหง
ควบคุมแบบแสง สุมนา สุมนะกุล
ควบคุมเสียง พงศกร ตรีหิรัญ
ฝ่ายบัตร ดลฤดี จำรัสฉาย, ชาครยา ถิ่นจะนะ

ฝ่ายต้อนรับ ณัชศลิษฏา วัลย์ณัฐประภา, กีรติ ศิวะเกื้อ
ฝ่ายเทคนิค ชัยวัฒน์ คำดี, พลัฏ สังขกร, ฉันทิกา โชติขจรไทย
ถ่ายวิดิโอ สุเมธ พวงอก, เสี้ยวเขนโปรัดกชั่น
ถ่ายภาพ จีรณัทย์ เจีบรกุล และ วิชย อาทมาท
ออกแบบสิ่งพิมพ์ วิชย อาทมาท
ดูแลการผลิต ฟารีดา จิราพันธุ์ และ พระจันทร์เสี้ยวการละคร