10 May 2014

ทำอย่างไรให้โง่


สูจิบัตร ทำอย่างไรให้โง่


นักแสดง

ฐิตวินน์ คำเจริญ (ดีเจ ปาล์ม Fat Radio)
ปี 2540 เคยแสดงละครกับพระจันทร์เสี้ยวการละคร เรื่อง หมู่บ้านจกจ้วง และ นายและนางสาว
มาราธอน หายจากวงการละครเวทีไปหลายปี และเริ่มกลับมาแสดงละครอีกครั้งใน The Odd couple
และ ฉุยฉายเสน่หา ตอนนี้กำลังจะตกงานจากการเป็นดีเจมา 13 ปี ที่ Fat Radio ซึ่งเป็นภาวะเดียวกับ
ตัวละครในเรื่องนี้ และเกลียดฝรั่งเศสมาก รับบทเป็น อองตวน ตัวเอกของเรื่อง M.Antoine”ทำอย่างไรให้โง่”


ศิรเมศร์ อัครภากุลเศรษฐ์ (ศิรเมศร์ จอมซน)
จบวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ นักแสดงมากความสามารถจากกลุ่มละคร New Theatre
Society มีผลงานการแสดงต่างๆ ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังละครเวที ละครเพลง ทีวี โฆษณาและ ผลงาน
ล่าสุดคือ ละครเวทีเรื่อง สิทธารถะ ส่วนในละครเรื่องนี้เขามารับบทนักแสดงที่ต้องเปลี่ยนบทบาททั้งหมด
7 คาแรคเตอร์ แต่จะเป็นอะไรบ้างนั้นติดตามชมได้ในละครเวทีเรื่อง M.Antoine “ทำอย่างไรให้โง่”


ลัดดา คงเดช (ผึ้งไม่น้อย ไม่คอยใคร)
เริ่มทำละครตั้งแต่สมัยเรียน เข้าร่วมเป็นสมาชิกพระจันทร์เสี้ยวการละคร ปี2553 จากละครเรื่อง
คือผู้อภิวัฒน์ และผลงานล่าสุดกับพระจันทร์เสี้ยวการละครเรื่อง ผีแมวดำ ในเทศกาลศิลปะนานาพันธุ์ 2556
ปัจจุบันเป็นผู้ประสานงานคณะละครยายหุ่น อกหัก และตกงานแต่ไม่เคยคิดจะฆ่าตัวตาย ละครเรื่องนี้ เธอ
รับบทบาทที่หลากหลายถึง 5 คาแรคเตอร์ ติดตามการแสดงของเธอได้ใน M.Antoine “ทำอย่างไรให้โง่”


เบญจ์ บุษราคัมวงศ์ (BB)
ร่วมงานละครกับพระจันทร์เสี้ยวการละครครั้งแรกตั้งแต่สมัยเรียนที่คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ในงาน
อ่านเรื่องรัก และเป็นสมาชิกพระจันทร์เสี้ยวการละครในปี 2553 จากการเป็นผู้กำกับเวทีละครเรื่อง
คือผู้อภิวัฒน์ ผลงานการแสดงล่าสุดคือ ละครเวทีเรื่อง ปีศาจหัวโต ปัจจุบันเป็นครูสอนวิชาสังคมศึกษา
ที่โรงเรียนภัทราวดีมัธยมศึกษา รับบทเป็น ผู้กำกับเวที ในเรื่อง M.Antoine “ทำอย่างไรให้โง่”

นักแสดงรับเชิญ
สุกัญญา เพี้ยนศรี
ณัชศลิษฏา วัลย์ณัฐประภา


 

เรื่องย่อ
“ความคิดนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่จงใช้ชีวีให้คุ้มค่า” ละครเวทีเรื่อง M.Antoine “ทำอย่างไรให้โง่” ดัดแปลงจากวรรณกรรมฝรั่งเศสเรื่อง Comment je suis devenu stupide ของผู้เขียน Martin Page เป็นเรื่องราวของเด็กหนุ่มชื่อ อองตวน เขาเป็นคนฉลาดเป็นนักอ่านตัวยง ความฉลาดของเขาทำให้เขาต้องเผชิญกับปัญหาและความเครียดมากมายราวกับว่ามันเป็นโรคร้ายที่คอยกัดกินชีวิตเขา เขาเลือกที่จะก้าวข้ามไปสู่อาณาจักรแห่งความโง่เขลาด้วยวิธีต่างๆ เช่น กลายเป็นคนติดเหล้า พยายามฆ่าตัวตาย หรือเสนอให้หมอประจำตัวผ่าตัดเอาสมองออกบางส่วน หนทางการแสวงหาความสุขที่ประหลาดของอองตวนจะดำเนินต่อไปนั้น...อาจทำให้คุณได้คิดอะไรบางอย่าง


สารจากผู้กำกับ
วรรณกรรมฝรั่งเศสเรื่อง “ Comment je suis devenu stupide ” ของผู้เขียน Martin Page
เป็นหนังสือที่อ่านแล้วประทับใจมากๆ ตอนเรียนอยู่ปีสอง และด้วยภาวะหลายอย่างในชีวิตเริ่มคล้ายกับ
ตัวละครหลังจากที่เรียนจบ จึงเกิดแรงบันดาลใจให้หยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาทำ เรื่องราวนำเสนอคณะละคร
กลุ่มหนึ่งที่ต้องการทำละครเรื่อง M.Antoine “ทำอย่างไรให้โง่” แต่เกิดเหตุ ผู้กำกับหาย และบทละครไม่
เสร็จ เหลือแต่นักแสดง ผู้กำกับเวที และทีมงาน ละครจะต้องเล่นต่อไปหากยังมีผู้ชมรอดู ละครจะเป็น
อย่างไร และผู้กำกับหายไปไหน ทีมงานทั้งหมดจะแก้ปัญหาอย่างไรให้ละครสามารถแสดงได้...และความ
ยุติธรรมของคนดูอยู่ที่ไหน



ดัดแปลงบทและกำกับการแสดง : เบญจ์ บุษราคัมวงศ์ /

อำนวยการผลิต  : เบญจ์ บุษราคัมวงศ์ /
ออกแบบและควบคุมแสง : กันต์ดนัย โชติกประคัลภ์ /
ควบคุมเสียง : พิชญ์วัฒน์ ชัชวาลย์ / ที่
ปรึกษาเทคนิคฝ่ายแสง : ทวิทธิ์ เกษประไพ /
กำกับเวที : สุธี ใจเพ็ง, กอใจ อุ่ยวัฒนพงศ์ /

ออกแบบฉากและอุปกรณ์ประกอบฉาก : พิชญ์วัฒน์ ชัชวาล /
ถ่ายภาพนิ่ง :จิรัชพงศ์ เรืองจันทร์, จิรณัทย์ เจียรกุล /
เสื้อผ้า : ศรวณี ยอดนุ่น, ชาคริยา ถิ่นจะนะ /
ฝ่ายบัตรและต้อนรับ : ชาคริยา
ถิ่นจะนะ, กอใจ อุ่ยวัฒนพงศ์, อรสุมน ศานติวงศ์สกุล /

ออกแบบกราฟฟิก : พีรเวทย์ กระแสโสม /
ทีมงานเซ็ทอัพและ
สนับสนุน : พี่แอ๋ม, พี่แจ๊ค, พี่อิฐ, พี่ฐาน, พี่ไผ่, ลูกอิน, น้องมายด์, น้องฮิม

ขอขอบคุณ
สถาบันปรีดี พนมยงค์ / พระจันทร์เสี้ยวการละคร / เครือข่ายละครกรุงเทพฯ

นำดื่มตราสิงห์ ผู้สนับสนุนนำดิื่มให้กับ M.Antoine “ทำอย่างไรให้โง่”

08 May 2014

สูจิบัตร ผีแมวดำ

สูจิบัตร “ผีแมวดำ”



เรื่องย่อ
“ผีแมวดำ” ละครแมวที่ไม่มีแมว ดัดแปลงจากบทละครเรื่อง Vinegar Tom ของนักเขียนบทละครหญิงชาวอังกฤษ Caryl Churchil เรื่องราวของการปราบแม่มดในยุคศตวรรษที่ 17 มาเป็นละคร(ที่มี)เพลงลูกทุ่งคนจนแบบบ้านๆ ว่าด้วยเรื่องของแมว ผี กับคน ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งที่กำลังมีโรคประหลาดที่กำลังออกอาละวาดไปทั่ว
สารจากผู้กำกับ
งานเทศกาลศิลปะนานาพันธุ์  ครั้งที่ 6 หรืองานศิลปะกับสังคม ครั้งที่ 18 : 40 ปี ตุลา 2516 ทำให้นึกถึงบทละครที่เคยได้เรียนวรรณคดีภาษาอังกฤษ ที่ว่าด้วยเรื่อง แม่มด ผี ผู้หญิง และการใช้ความรุนแรง และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการทำงานครั้งนี้

Vinegar Tom เป็นบทละครเฟมินิสต์ชื่อดังที่มีความน่าสนใจตรงที่เล่าเรื่องราวของผู้หญิงจากมุมมองของผู้หญิงในยุคล่าแม่มดซึ่งผู้หญิงถูกกล่าวหา ถูกทรมาน และถูกฆ่าตายเป็นจำนวนมาก นี่เป็นครั้งแรกที่เราหยิบบทละครเรื่องนี้มาแปลและดัดแปลงเป็นภาษาไทย โดยปรับจากการล่าแม่มดมาเป็นการล่าผีในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง เราจะได้เห็นตัวละครผู้หญิงหลายแบบและการตัดสินใจที่แตกต่างกัน เริ่มจากเหตุการณ์เล็กๆที่ถูกขยายตัวใหญ่ขึ้นด้วยความไม่ชอบและความกลัวจนกลายเป็นความแปลกแยกต่อกัน ซึ่งทำให้เราเห็นความคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ในอดีตและปัจจุบัน

ความน่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ บทละครเรื่องเคยถูกนำเสนอในรูปแบบละครแนว Epic Theatre ซึ่งตรงกับความสนใจของพระจันทร์เสี้ยวการละคร เราจึงอยากทำงานค้นคว้าทดลองในการปรับเปลี่ยนบริบทฝรั่งให้เป็นไทยโดยผ่านการเล่าเรื่องโดยใช้นักแสดง 9 คน ที่จะแสดงเป็นตัวละครหลักและตัวละครอีกหลายตัวละคร โดยผสมผสานด้วยเพลงที่แต่งขึ้นมาใหม่และนำเพลงลูกทุ่งชื่อดังในอดีตมาช่วยเล่าเรื่องและเป็นลูกขัดของเรื่อง เพื่อให้เกิดการทำให้แปลกและไม่แปลกได้ในเวลาเดียวกัน เป็นทั้งการเสียดสีเหมือนกับภาวะความสนุกแบบหรรษาพาไป 





รายชื่อนักแสดง
ฟารีดา จิราพันธุ์
เกรียงไกร ฟูเกษม
กวินธร แสงสาคร
ดลฤดี  จำรัสฉาย
จิรัชพงศ์ เรืองจันทร์
ลัดดา คงเดช
อรุณโรจน์ ถมมา
กอใจ อุ่ยวัฒนพงศ์
พิชญา ม่วงสุขำ


รายชื่อทีมงาน  
กำกับการแสดงและดัดแปลงบท สินีนาฏ เกษประไพ
แปลบท อรดา ลีลานุช
แต่งเพลงและดนตรี นายท่าน จันทร์เรือง
ฝึกร้องเพลง  ช่อลดา สุริยะโยธิน
ออกแบบท่าเต้นเพลงลูกทุ่ง  สุธี ใจเพ็ง
ออกแบบและควบคุมแสง ทวิทธิ์ เกษประไพ
ควบคุมเสียง  สุกัญญา เพี้ยนศรี
กำกับเวที ณัชศลิษฏา วัลย์ณัฐประภา, สุธี ใจเพ็ง, หฤษฎ์ เกิดสงกรานต์
ฝ่ายเทคนิค,ฉาก,อุปกรณ์ประกอบฉาก  ทวิธิ์ เกษประไพ, พลัฏ สังขกร, พิชญ์วัฒน์ ชัชวาล, ชัยวัฒน์ คำดี
ฝ่ายเสื้อผ้า   สินีนาฏ เกษประไพ, ลัดดา คงเดช, ชาคริยา ถิ่นจะนะ, ณัชศลิษฏา วัลย์ณัฐประภา
ประชามสัมพันธ์  ลัดดา คงเดช
ฝ่ายบัตรและหน้างาน ศรวณี ยอดนุ่น, อรดา ลีลานุช, ชาคริยา ถิ่นจะนะ, ชลดี แจ่มปฐม
ถ่ายภาพนิ่ง จิรัชพงศ์ เรืองจันทร์,อดิเดช ชัยวัฒนกุล,  จีรณัทย์ เจียรกุล 
สูจิบัตร พิชญ์วัฒน์ ชัชวาล
ทีมงานเซ็ทอัพและสนับสนุน  กรุง, อเล็กซ์, มายด์, ลูกแก้ว, อิง, เบญจ์,


ขอบคุณผู้สนับสนุน
สถาบันปรีดี พนมยงค์
ครูคำรณ คุณะดิลก
ผศ.ศรวณีย์ สุขุมวาท
คุณสินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย
อ.นพีสี เรเยส
ดร.ปอรรัชม์ ยอดเณร
น้ำดื่มตรา OMIZU


บทวิจารณ์ ผีแมวดำ

วิจารณ์ ผีแมวดำ
โดย กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิณ
จากนิตยสาร สีสัน ฉบับที่ 3 2556



เนื่องจากเดือนตุลาฯปีนี้เป็นวาระครบรอบ 40 ปีของเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ 2516 จึงมีการจัดกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนั้นกันเป็นพิเศษโดยเฉพาะที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซึ่งปกติก็มีเทศกาลศิลปะนานาพันธุ์เป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว มาปีนี้ก็เน้นไปที่เนื้อหาด้านการเมืองในระยะ 40 ปี ที่ผ่านมาโดยเฉพาะ
ในส่วนของละคร เทศกาลนี้มีละครให้ดูถึง 3 เรื่อง คือ “ผีแมวดำ” ของพระจันทรืเสี้ยวการละคร “โรมูลุส ออน เดอะร็อค” ของ มรดกใหม่ และ “ไต้ฝุ่น” (The Remains) ของ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์



”ผีแมวดำ” เป็นละครแนวเอพิคจากเรื่อง Vinegar Tom ของนักเขียนสตรีชาวอังกฤษ คารีล เชอร์ชิลล์ เนื้อเรื่องอยู่ในยุคสมัยของการล่าแม่มดในอังกฤษ สมัยศตวรรษที่  17 โดยสอดแทรกเนื้อหาด้านสิทธิสตรีของปลายศตวรรษที่ 20 เข้าไปด้วย สินีนาฏ เกษประไพ นำมาดัดแปลงเรื่องให้เป็นคนไทยในชนบทที่แทบไม่มีกลิ่นอายของฝรั่งเหลืออยู่เลย เป็นละครที่แยกคนดูให้ถอยห่างด้วยวิธีการต่างๆนานา แต่กลับให้ความสะเทือนใจได้อย่างรุนแรง โดยเฉพาะเมื่อนึกไปถึงการล่าแม่มดในยุคหลัง 14 ตุลาคม  

หมายเหตุ : ตัดบางส่วนมาจาก คอลัมภ์  THEATRE (หน้า  85) นิตยสาร สีสัน ฉบับที่ 3 2556


ภาพถ่ายจากการแสดง "ผีแมวดำ"
ถ่ายโดย จีรณัทย์ เจียรกุล

 
 
 

เปิดรับบทใหม่ 10 Minute PLaY #3


เปิดรับบทใหม่
10 Minute PLaY #3



พระจันทร์เสี้ยวขอเชิญชวนคนรักการเขียนบทละคร ส่งบทละครสั้นที่เขียนขึ้นใหม่และยังไม่เคยจัดแสดงที่ไหนมาก่อน มาเข้ารับการคัดเลือกกับเรา ไม่จำกัดประเด็น ไม่จำกัดประสบการณ์ทางการละครและอายุของผู้เขียน แต่จำกัดความยาวของบทละคร ถ้าหากจัดแสดงควรอยู่ในช่วงเวลา ประมาณ 10-15 นาที

งานนี้ไม่มีโล่และเงินรางวัลหรือประกาศนีบบัตรจะมอบให้ แต่เรามีการจัดกระบวนการเพื่อพัฒนาบท ประสบการณ์จากกระบวนการกลุ่ม ประสบการณ์จากการจัดการแสดงให้ในรูปแบบ play reading และ post talk หลังการแสดง

หากบทละครของคุณมีความน่าสนใจ เราจะเลือกมาเข้าร่วมกระบวนการกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้ดูแลโครงการ ผู้กำกับ และ นักแสดง เพื่อทำการจัดแสดงในรูปแบบการแสดงอ่านบทละคร “10 Minute Play #3″ ซึ่งจะจัดแสดงในวันที่ 5-6 ก.ค. 57 ที่โรงละครพระจันทร์เสี้ยว (สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซ.ทองหล่อ)

หากสนใจเข้าร่วมโครงการ โปรดส่งบทละครสั้นของคุณมาทางอีเมล์ crescentmoon.workshop@gmail.com
 1.โปรดบอกชื่อจริงและนามสกุลจริง ของผู้เขียน มาในอีเมล์ด้วย
2. เราขอรับเพียง 2 บท จาก 1 ผู้เขียน

 เปิดรับบทใหม่ ตั้งแต่ 10 เม.ย. – 31 พ.ค. 57
 *** ประกาศผลบทใหม่ 10 มิ.ย. 57 ***

สอบถามเพิ่มเติมที่ 08 1929 4246
https://www.facebook.com/events/630131717066116/

ศรีดาวเรืองกับภาพลวงตาจากเนินมะเฟือง


ภาพลวงตาจากเนินมะเฟือง


ในวาระครบรอบ 72 ปีชีวิตนักประพันธ์หญิงเจ้าของนามปากกา ศรีดาวเรือง คู่ชีวิต สุชาติ สวัสดิ์ศรี หรือ สิงห์สนามหลวง พระจันทร์เสี้ยวการละครได้จัดการแสดงละครเวทีสั้นสองเรื่องควบจากผลงานเขียนของศรีดาวเรือง คือเรื่อง ภาพลวงตาของการเปลี่ยนแปลงสรรพนาม ซึ่งเป็นหนึ่งเรื่องสั้นชิ้นเอกในหลายเรื่อง นวนิยายขนาดสั้น เนินมะเฟือง จากการกำกับของสินีนาฏ เกษประไพ หนึ่งในสมาชิกพระจันทร์เสี้ยวการละครและเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการนำเสนองานละครเวทีของพระจันทร์เสี้ยวร่วมกับสมาชิกคนอื่นของคณะ
การจับเอางานเขียนทั้งสองชิ้นมาทำเป็นละครเวทีเกิดจากการคัดเลือกร่วมกันของสมาชิกพระจันทร์เสี้ยว เพื่อเป็นการฉลอง 6 รอบอายุของศรีดาวเรือง ครบรอบ 38 ปี นามปากกา ศรีดาวเรืองซึ่งก่อเกิดขึ้นมาในโลกวรรณกรรมไทยเมื่อปี พ.ศ. 2518


                                                                    (ศรีดาวเรือง)

สินีนาฏในฐานะผู้กำกับละครเวทีสั้นทั้งสองเรื่องในชื่อใหม่ที่นำเอาทั้งสองชื่อมาผนวกกันว่า ภาพลวงตาจากเนินมะเฟือง เล่าถึงความประทับใจที่มีต่อผลงานเขียนของศรีดาวเรืองว่าประทับใจตั้งแต่ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตอนนั้นศึกษาอยู่ปี 2 ภาควิชาภาษาอังกฤษ อาจารย์สอนวรรณคดีอังกฤษเป็นผู้แนะนำให้อ่านงานของศรีดาวเรือง ได้อ่าน มัทรี ฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษเป็นเรื่องแรกและรู้สึกประทับใจกับประเด็นทางสังคมรวมทั้งเรื่องผู้หญิงที่นำเสนอ หลังจากนั้นจึงติดตามและหางานชิ้นอื่นๆ มาอ่านแต่ก็ยังอ่านได้ไม่ครบ การทำละครเวทีสั้นสองเรื่องควบ ภาพลวงตาจากเนินมะเฟือง ยากตรงการคัดเลือกเรื่องมานำเสนอในรูปแบบละครเวที ยิ่งอ่านยิ่งทำให้รู้ว่าผู้ประพันธ์เขียนเรื่องราวของผู้หญิงไว้จำนวนหลายเรื่อง เมื่ออ่านงานของศรีดาวเรืองทำให้เห็นทั้งตัวเอง นึกถึงและคิดถึงแม่ ค้นพบรายละเอียดเล็กๆ ของครอบครัว สวัสดิ์ศรี และค้นพบว่าบ้านนี้ชอบรถไฟ


                                            (สินีนาฏ เกษประไพ)

พระจันทร์เสี้ยวได้ลงมือในการกำหนดประเด็นการนำเสนอผลงานละครสั้นจากบทประพันธ์ของศรีดาวเรือง ทุกคนช่วยกันอ่านและสรุปประเด็นหลักๆ ที่ต้องการร่วมกัน คือ ผู้หญิง รถไฟ เมือง-ชนบท จึงตัดสินใจร่วมกันเลือกสองเรื่องข้างต้น ภาพลวงตาของการเปลี่ยนแปลงสรรพนาม เป็นเรื่องที่ยากมากในความรู้สึกของสินีนาฏ มีเรื่องระหว่างบรรทัดเกิดขึ้นมากมาย ในเรื่องพูดถึงความรัก ความใคร่ ความพาฝันของผู้หญิงคนหนึ่งที่เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวและเป็นชนชั้นกลางของสังคมเมือง มีความนิ่งเงียบในน้ำเสียงและบรรยากาศของเรื่องแต่มีความแรงลึก นวนิยายสั้นเรื่องนี้ประพันธ์เมื่อปี พ.ศ. 2530 และเป็นความคิดของผู้หญิงคนหนึ่งที่ล้ำหน้ามากเมื่อเทียบกับยุคสมัยในตอนนั้น
ผู้กำกับเลือกให้บทสนทนาในเรื่องเป็นไปและไหลลื่นไปตามตัวบทประพันธ์ดั้งเดิม ไม่เปลี่ยนคำ คำในเรื่องที่เป็นภาษาวรรณกรรม เน้นให้ตัวละครพูดให้มีความหมายและให้สมจริง เล่าแบบที่บทประพันธ์ต้องการสื่อที่สุดเท่าที่จะทำได้ มีฉากประกอบง่ายๆ เป็นภาพมัลติมีเดียฉายประกอบเพื่อเป็นฉากรถไฟกำลังแล่น ตัวละครนั่งอยู่ในรถไฟและอยู่ที่ชานชาลา ผู้กำกับเลือกการทำฉากแบบง่ายๆ ไม่ต้องลงทุนมาก คงเนื้อหาที่แน่นและไม่ตกหล่นประเด็นที่ต้องการนำเสนอ เป็นต้นแบบสำหรับกลุ่มละครต้นทุนน้อยแต่เน้นการทำงานให้ได้คุณภาพ
การเลือกหยิบนวนิยายขนาดสั้นเรื่อง เนินมะเฟือง สอดคล้องกับประเด็นรถไฟ ผู้หญิง เมืองและชนบทเช่นเดียวกับเรื่อง ภาพลวงตาของการเปลี่ยนแปลงสรรพนาม สินีนาฏเลือกเรื่องนี้ที่ให้ทั้งภาพชนบท วัยเด็ก การเติบโต การมาของความเจริญ และสิ่งที่ร่วมกันของผู้หญิงที่เป็นตัวละครในทั้งสองเรื่องที่ผู้กำกับมองเห็นชัดเจนได้แก่ ผู้หญิงจากทั้งสองเรื่องเป็นผู้เลือกชีวิตของพวกเธอเอง ชิ้นงานมีความสวยงาม การเล่าเรื่องเรียบเรื่อย ไม่กระแทกกระทั้น ที่สำคัญคือผู้หญิงในเรื่องเลือกได้แม้มีข้อจำกัดและสิ่งที่พวกเธอเลือกคือสิ่งที่ทำยากมาก
ในส่วนของเจ้าของบทประพันธ์ซึ่งได้มาชมการแสดงทั้งสองเรื่อง รู้สึกพอใจมากกับการทำงานละครสั้นทั้งสองเรื่องนี้ออกมาในรูปแบบละครเวที พระจันทร์เสี้ยวเคยทำภาพยนตร์สั้นเรื่องมัทรีซึ่งนำมาจากบทประพันธ์เรื่อง มัทรี ของศรีดาวเรือง ประเด็นที่ผู้กำกับนำเสนอก็ไม่ผิดไปจากที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อออกมากับผู้อ่าน เมื่อคณะติดต่อว่าจะนำงานเขียนมาจัดแสดงยังนึกภาพไม่ออกว่าจะนำเสนอแบบไหน แต่เมื่อมาชมก็รู้สึกพอใจเป็นอย่างยิ่ง ทั้งสองเรื่องมีรถไฟเป็นสัญลักษณ์เพื่อจะสื่อกับผู้ชมว่า รถไฟมีทั้งความเจริญ ความชั่วร้าย และอะไรอีกหลายๆ อย่างที่มาพร้อมกับมัน “เรื่องเนินมะเฟืองตอนที่เขียนก็นำมาจากเรื่องและบุคคลใกล้ตัว เป็นเรื่องนินทาตามประสาชาวบ้าน ต้นเรื่องมาจากเรื่องเล่า และคิดว่าผู้หญิงต้องมีสิทธิ์ในการจะตัดสินใจทำอะไรได้ด้วยตัวเองเช่นกัน” ศรีดาวเรืองกล่าวในวันเสวนาหลังละครเวทีทั้งสองเรื่องจบลง


                                        (สิงห์สนามหลวง และ ศรีดาวเรือง)

ความในใจของผู้ประพันธ์ – ศรีดาวเรือง “หมู่บ้านเนินมะเฟืองจะมีอยู่จริงหรือไม่  ฉันไม่ทราบ   หมู่บ้านในเรื่องนี้ – สำหรับชื่อ-มันเป็นเพียงส่วนหนึ่งของจินตนาการ  ส่วนเนื้อหาที่ปรากฏ – มีอยู่จริง   ท่านจะอ่านและสังเกตได้จาก “ข่าวพาดหัว” เท่าที่เคยผ่านตา และน่าจะมีปรากฏขึ้นมาต่อไป
สำหรับฉัน – ฉันมิได้เขียนเรื่องนี้ขึ้นเพื่อขัดแย้งกับศีลธรรม  ฉันเขียนเรื่องราวเหล่านี้ขึ้นมาเพื่อเล่าเรื่อง “จักรๆ วงศ์ๆ ยุคใหม่” ที่เส้นทางคมนาคมได้กลายเป็นตัวกำหนดบทบาทและค่านิยมของผู้คนในหมู่บ้านห่างไกล
ฉันเขียน เนินมะเฟือง โดยตั้งใจให้เป็นเพียง ภาพร่างเบื้องต้นของชีวิตที่ยังไม่มีรายละเอียด  ชีวิตบางส่วนได้จบไป แล้ว  บางส่วนกำลังเริ่มต้น  - ศรีดาวเรือง, 14 ธันวาคม 2529”

งานประพันธ์ทั้งสองเรื่องของศรีดาวเรืองมีความล้ำสมัยในยุคของเธอตอนนั้น มีความร่วมสมัยเชิงแนวคิด รวมถึงความฉกาจฉกรรจ์ของเธอในการถ่ายทอดประเด็นของแต่ละชิ้นงานออกมา ด้วยเสน่ห์และเอกลักษณ์เฉพาะของศรีดาวเรือง ภาษาง่าย ตรงไปตรงมาแต่ลึก จังหวะของบทสนทนาลงตัว การหยิบผลงานของนักประพันธ์หญิงผู้นี้มาสื่อสารผ่านช่องทางใหม่ในรูปแบบละครเวที ทำให้คนรุ่นต่อๆ มาได้ย้อนกลับไปศึกษาต้นธารงานประพันธ์ของ ศรีดาวเรือง ที่มีเรื่องสั้นนับร้อยกว่าเรื่อง และนวนิยายอีกจำนวนหนึ่ง กลับไปอ่านครั้งใดจะได้พบกับความคิดชุดใหม่ๆ และเกิดคำถามกับยุคสมัยทั้งสมัยของเธอและสมัยปัจจุบัน หลายเหตุการณ์ในเรื่องก็ยังวนๆ เวียนๆ คลับคล้ายคลับคลากับกาลเวลาในยุคเก่าแม้จะผ่านพ้นมาแล้วเนิ่นนานก็ตามที

เล่าสู่กันฟังโดย นงค์ลักษณ์ เหล่าวอ
ภาพจากการแสดงละครเวที ภาพลวงตาจากเนินมะเฟือง เอื้อเฟื้อโดย พระจันทร์เสี้ยวการละคร

เขียนโดย nonglucky
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=876734