25 November 2019

บรรยากาศการแสดง Butoh : Blowing




บรรยากาศการแสดง Butoh : Blowing 
ในงาน สามแพร่งfacestreet เมื่อวานนี้ จากเวทีต้นซอย และ เวทีท้ายซอย 



Butoh : Blowing 
แสดงโดย ศุภิสรา วันชาญเวช และ สินีนาฏ เกษประไพ

กำกับการแสดงโดย สินีนาฏ เกษประไพ




ขอบคุณ สามแพร่งfacestreet ที่ชวนเรามาแสดงให้เรามาเป็นส่วนหนึ่งของงาน
ขอบคุณทีมงานและทีมเทคนิคทุกคนที่คอยสนับสนุนเราอย่างดี
ขอบคุณผู้ชมทุกท่านที่มาดูเราอย่างอบอุ่น ผู้ชมเยอะมากค่ะ








photo : Tawit Keitprapai




24 November 2019

ฺButoh : Blowing จะแสดงวันนี้ ที่ สามแพร่ง facestreet


ซ้อมใหญ่ไปแล้วเมื่อคืนนี้ 

Butoh : Blowing 

จะเล่นในงานสามแพร่ง ที่แพร่งภูธรกับแพร่งนรา 2 รอบ เวลา 18.30 กับ 19.30 ที่ เวทีต้นซอย และ เวทีท้ายซอย








photo :  Tawit Keitprapai

22 November 2019

งานต่อไป Butoh : Blowing at สามแพร่ง Facestreet



เราจะแสดง Butoh : Blowing ในแบบ street ในงาน สามแพร่ง facestreet ที่ สามแพร่ง
วันอาทิตย์ ที่ 24 พ.ย. 2562 แสดง 2 รอบ 
ชมฟรีค่ะ 







18 November 2019

Best Ensemble to Women and the Lighthouse

ขอขอบคุณคณะกรรมการและคณะผู้จัดงาน #BTF2019 สำหรับรางวัล
BTF Award 2019 สาขา Best Ensemble
ที่มอบให้คณะนักแสดง จาก “ผู้หญิงกับประภาคาร” (พระจันทร์เสี้ยวการละคร)
และขอขอบคุณที่เราได้รับการเสนอชื่อในหลายสาขาด้วยค่ะ 




ขออนุญาตบันทึกไว้เป็นข้อมูล :  
(จากเพจ  Bangkok Theatre Festival) 


ประกาศรายชื่อการแสดง ที่เข้าชิงรางวัล “BTF Award 2019”
จากการแสดงที่ลงทะเบียนเข้าร่วมรับการพิจารณาการเข้าชิงรางวัล

✨✨ BTF Award nominations 2019 ✨✨

Best Performance for International Artist nominees
1. Brotherhood 3on3 โดย Theater unit HashTag / JAPAN
2. Wrath of the River Goddess โดย Tanghalang Bagong Sibol Theater and Dance Company / PHILIPPINES
3. PANGGAS โดย San Agustin Performing Arts / PHILIPPINES

Best Performance nominees
1. คืนนั้นฉันรัก โจชัว หว่อง โดย Qrious Theatre
2. เจ็ดชาติแห่งความชั่วของนางมาลี โดย Fullfat Theatre
3. ผู้หญิงกับประภาคาร โดย พระจันทร์เสี้ยวการละคร

Best Director nominees
1. จตุรชัย ศรีจันทร์วันเพ็ญ จากเรื่อง เสื้อสมุทร
2. นพพันธ์ บุญใหญ่ จากเรื่อง เจ็ดชาติแห่งความชั่วของนางมาลี
3. สินีนาฏ เกษประไพ จากเรื่อง ผู้หญิงกับประภาคาร

Best Actor nominees
1. ประดิษฐ ประสาททอง จากเรื่อง ละครในผู้ชาย เรื่อง ดาหลัง ตอน อิเหนาเป็นกะเทยสะระหนากะดี
2. สายฟ้า ตันธนา จากเรื่อง ซีอุย ตอนที่หนึ่ง
3. Pope Bustos จากเรื่อง Spotlight 7x7

Best Actress nominees
1. ณัฐญา นาคะเวช จากเรื่อง คืนนั้นฉันรัก โจชัว หว่อง
2. นารีรัตน์ เหวยยือ จากเรื่อง As a Daughter
3. มินตา ภณปฤณ จากเรื่องคืนนั้นฉันรัก โจชัว หว่อง

Best Ensemble nominees
1. คณะนักแสดงจาก เจ็ดชาติแห่งความชั่วของนางมาลี โดย Fullfat Theatre
2. คณะนักแสดงจาก ผู้หญิงกับประภาคาร โดย พระจันทร์เสี้ยวการละคร
3. คณะนักแสดงจาก Babymime Junior Show Vol.1 โดย BABYMIME

Best Script nominees
1. จตุรชัย ศรีจันทร์วันเพ็ญ และ ภิญญาพัชญ์ พงศ์พิชาธนาพร จากเรื่อง เสื้อสมุทร
2.รัฐไท โลกุตรพล จากเรื่องจากเรื่องคืนนั้นฉันรัก โจชัว หว่อง
3. อรดา ลีลานุช จากเรื่อง ผู้หญิงกับประภาคาร

Best Art Direction nominees
1. เจ็ดชาติแห่งความชั่วของนางมาลี โดย Fullfat Theatre
2. เดินตามพิซซ่าบอย โดย จี ‘ส
3. ผู้หญิงกับประภาคาร โดย พระจันทร์เสี้ยวการละคร







09 November 2019

Dirctor's Note : Women and the Lighthouse






Director’s note

งานวรรณกรรมของเวอร์จิเนียวูล์ฟ ขึ้นชื่อว่าดีมากและอ่านยากมาก ด้วยวิธีการเขียนแบบกระแสสำนึกที่แปลก มีความลื่นไหลและคำไพเราะเหมือนบทกวี แต่ก็ฉันอยากทำงานของนักเขียนหญิงท่านนี้สักครั้งเพราะได้รับแรงบรรดาลใจจากประวัติชีวิตของเธอซึ่งเป็นนักเฟมินิสต์รุ่นแรก ติดใจกับหนังที่ได้ดูเมื่อนานมาแล้วเรื่อง Orlando รู้สึกกระทบใจจากประโยค “ผู้หญิงต้องมีเงินและห้องที่เป็นของตัวเองถ้าจะเขียนนิยาย” จากเรื่อง A Room of One’s Own สะเทือนใจกับประโยคที่ว่า “ผู้หญิงเขียนหนังสือไม่ได้” “ผู้หญิงวาดภาพไม่ได้” จากเรื่องนี้ To the Lighthouse และประทับใจกับหนังเรื่อง The Hour 

จาก To the Lighthouse มีเรื่องตัวละครและเรื่องราวมากมาย เหมือนเราได้เข้าไปอยู่ในหัวของตัวละครหรือผู้เขียน และเห็นภาพสะท้อนของผู้หญิงยุคเก่า ซึ่งฉันคิดว่าผู้อ่านแต่ละคนก็จะมีภาพในหัว มีการคิดมีการตีความเป็นแบบของตัวเอง ดังนั้นฉันจึงไม่อยากครอบครองการตีความนั้นมาเพื่อเล่าเรื่องในแบบละคร  ฉันสนใจการตกกระทบจากตัววรรณกรรมที่มีต่อนักเขียนบทผู้หญิง เมื่อเราได้บทแนวกระแสสำนึกในแบบของอรดา และจากตัวบทนั้น ฉันก็ได้ทำงานต่อกับนักแสดงทั้งสามคนด้วยกระบวนการทำงานกลุ่ม ค้นหา ทดลองเพื่อนำไปสู่การแสดง ฉันสนใจ image work ที่มาจากตัวหนังสือ เราทำงานกับ คำ การเคลื่อนไหว พลวัตของแต่ละคนและของกลุ่ม เสียง และดนตรี  โดยที่เปิดช่องว่างให้นักแสดงได้ขยับขับเคลื่อนในแบบที่มีอิสระแล้วเราไปด้วยกัน 

เหมือนกับว่าจุดหมายปลายทางหรือประภาคารมันอยู่ตรงนั้น บางคนอาจไปถึง แต่บางคนกลับไปไม่ถึง แต่ระยะทางและการเดินทางนั้นกลับสำคัญยิ่งกว่า   
-สินีนาฏ เกษประไพ-


Virginia Woolf’s work of fiction is known to be very well written and very difficult to read.  She used stream of consciousness as a narrative device, and her words are beautiful and flow like poetry.  I would like to work with her writing because I was inspired by the story of her life as a feminist in the early feminist movement.  I was touched by the movie Orlando, and I was moved by her quote “A woman must have money and a room of her own if she is to write fiction” from A Room of One’s Own.  I was affected by the phrases “Women can’t write.  Women can’t paint” from To the Lighthouse, as well as the movie The Hour.   

To the Lighthouse is a novel with many characters and many stories.  It’s as if we could get inside the character’s head or inside the writer’s head.  It is a reflection of women in the past, which I believe each reader must have their own interpretation.  Therefore, I don’t want to tell the story and impose my own interpretation on anyone.  I am interested in the impact of literature on female playwrights.  We got the script by Orada, which was also written as a stream of consciousness.  And from the script, I worked with the three performers as a group with devising process.  I am interested in image work that comes from words.  We explored, experimented, and created a performance not drama.  We worked with words, movements, sound, music, and the dynamics of each individual and ensemble of the group, with some room for each performer to move freely.  

And from that, we go forward together as if the destination or the lighthouse was there.  Some people may reach the destination; some may not.  But the distance and the journey are more important than the destination.
-Sineenadh Keitprapai-



02 November 2019

Women and the Lighthouse ผู้หญิงกับประภาคาร






ผู้หญิงกับประภาคาร
โดย พระจันทร์เสี้ยวการละคร
ใน เทศกาลละครกรุงเทพ 2019


คำ ห้วงความคิด การเคลื่อนไหว ดนตรี

เฉดสีของกระแสความคิด การสังเกตุรับรู้ กับความจริงจากภายในของผู้หญิงที่ประภาคาร แรงกระตุ้นจากตัวหนังสือของนักเขียนหญิง เวอร์จิเนีย วูล์ฟ เรื่อง “ To The Lighthouse ” สู่การแสดงของตัวบทกลายมาเป็นการแสดงของคำและการเคลื่อนไหวร่างกายผ่านกระแสสำนึกที่ว่ายวนในห้วงความคิดและการค้นหาจิตวิญญาณของผู้หญิงในอดีตที่ผ่านเลย

แสดงโดย : ปานมาศ ทองปาน, ศุภิสรา วันชาญเวช, อรดา ลีลานุช, สินีนาฏ เกษประไพ
บทโดย : อรดา ลีลานุช
กำกับโดย : สินีนาฏ เกษประไพ 

วันที่  : 9-10 พ.ย. 2562   
เวลา : 18:30, 20:00 น.  
สถานที่ : หอศิลปวัฒนฑรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ชั้น 4 ห้อง 401   
ระยะเวลา : 40 Minutes    
บัตร  : 450 Baht / Student 400 Baht
จองบัตร : 097 219 9709, 091 775 1215
Fb  : Crescent Moon Theatre 



Women and the Lighthouse
by Crescent Moon Theatre 
in Bangkok Theatre Festival 2019


Words, thoughts, movement, music  


The spectrum of introspection, observation, and truth from inside of women at the lighthouse. This is a reflection from the almost no action of modernist novel “To the Lighthouse” by Virginia Woolf through a performance text that transforms into performance of consciousness and soul-searching of women in the past.
Performers : Panmas Tongpan, Supissara Wanchanwech, Orada Lelanuja, Sineenadh Keitprapai
A performance text by  Orada Lelanuja
Directed by   Sineenadh Keitprapai 

*** English sur-title available ***

Date : 9-10 November 2019   
Time : 6:30 PM, 8:00 PM 
Vnue : BACC room 401
Duration : 40 Minutes    
Ticket : 450 Baht / Student 400 Baht
Reservations : 097 219 9709, 091 775 1215
Fb : Crescent Moon Theatre 



แนะนำนักแสดง ใน Women and the Lighthouse ผู้หญิงกับประภาคาร (4)






แนะนำนักแสดง ใน Women and the Lighthouse ผู้หญิงกับประภาคาร (4)

สินีนาฏ เกษประไพ
Artistic director คนปัจจุบันของพระจันทร์เสี้ยวการละคร เป็นนักทำละครที่มีผลงานการแสดงกำกับการแสดงและทำงานเบื้องหลังการแสดงอย่างต่อเนื่องมากว่ายี่สิบปี มีผลงานในหลายรูปแบบทั้งละครพูด ละครในแนว Physical theatre, Movement-based performance และ Devising theatre มีผลงานลัครที่สะท้อนประเด็นสังคมการเมือง และประเด็นผู้หญิง นอกจากนี้ยังเป็นอาจารย์พิเศษสอนการแสดงในหลายสถาบันการศึกษา และเปิด workshop การแสดงตามที่ต่างๆ

ผลงานการแสดงและกำกับการแสดง เช่น
“Butoh : Blowing”, “Women in Dystopia”, “Woyzeck : the Unfinished story”, “เงา-ร่าง Shade Borders”, “S-21”, “รื้อ Being Paulina Salas and the Practice”, “ยังเยาว์ Immature”, “I have Alice in Mind”, “Rice Now”, “I Sea Project”, “ผีแมวดำ Vinegar Tom”, “เส้นด้ายในความมืด A Thread in the Dark”

Sineenadh Keitprapai 
is the current artistic director of the Crescent Moon theatre. She is a theatre practitioner who has been working as a director, actor, and behind the scenes continuously for over twenty years. Her work varies in forms, such as, spoken drama, physical theatre, movement-based performance, and devising theatre, and reflects social, political, and women’s issues.
She also teaches acting and movement in many educational institutions and conducts her own acting and movement workshops at various places.

Some of her acting and directing work includes:
“Butoh : Blowing”, “Women in Dystopia”, “Woyzeck : the Unfinished story”, “Shade Borders”, “S-21”, “Being Paulina Salas and the Practice”, “Immature”, “I have Alice in Mind”, “Rice Now”, “I Sea Project”, “Vinegar Tom”, and “A Thread in the Dark.”



photo : Cheeranat.Photographer

01 November 2019

แนะนำนักแสดง ใน Women and the Lighthouse ผู้หญิงกับประภาคาร (3)




แนะนำนักแสดง Women and the Lighthouse ผู้หญิงกับประภาคาร (3)


อรดา ลีลานุช
เป็นสมาชิกพระจันทร์เสี้ยวการละคร ตั้งแต่ปี 2554 มีผลงานเขียนบท และการแสดง นอกจากนี้ยังเป็นผู้จัดและนำกระบวนการเทศกาลละครยี่สิบสี่ชั่วโมง “24 hr Festival” ทั้งสามครั้งอีกด้วย ปัจจุบันนอกจากทำละครแล้ว ยังเป็นนักแปล และเป็นอาจารย์สาขาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผลงานเขียนบท
“Project ¼” , “Page 2 Stage”, “ในห้องสีเทา”, “[un]tied” และร่วมเขียนบท “สมันตัวสุดท้าย” , “สมันโผล่มาอีกตัว”

ผลงานการแสดง
ในห้องสีเทา (โดยพระจันทร์เสี้ยวการละคร), นักการละครต้องตาย (โดยพาสเทลเธียเตอร์), Happy New Year Mr. Smith(ละครโดย นพพันธ์), เงา-ร่าง Shade Borders(พระจันทร์เสี้ยวการละคร)

Orada Lelanuja 
has been a member of Crescent Moon Theatre since 2011. She is a playwright, performer, and coordinator for the 24 hour play festival. She is also a translator and teaches theatre at Faculty of Fine and Applied Arts, Thammasat University. 

Some of her playwriting work includes Project ¼, Page 2 Stage, In the Grey Room, [un]tied, and The Last Schombrgk’s Deer (co-writer).

Some of her past acting work includes Project ¼, In the Grey Room, The Dramatist Must Die, Happy New Year Mr. Smith, and Shade Borders.

photo : Cheeranat.Photographer