31 December 2020

สรุปงานพระจันทร์เสี้ยวการละคร ปี 2020




สรุปงานพระจันทร์เสี้ยว ปี 2020 

เราผ่านปี 2020 ที่ยากลำบากสำหรับทุกคน ที่ส่งผลกระทบกับชีวิตและการทำงานต่อผู้คนทุกสาขาอาชีพ เป็นปีแรกที่เราคิดว่าเราคงทำงานได้น้อยเต็มที แต่พอผ่านปีเรามาลองสรุปงานที่ทำก็ปรากฏว่าเรามีงานพอสมควรโดยเฉพาะงานการแสดงในรูปแบบออนไลน์ เรามาเริ่มจากงานและการแสดงแบบสดๆกันก่อนว่าปีที่แล้วเราโชคดีที่มีงานตั้งแต่ต้นปี 

งานแรก “Women in Dystopia” แสดงในงาน Bangkok Design Week 2020  ที่ ที่ TCDC / Member’s Rooftop  เดือนกุมภา 

อีกงานหนึ่งของเรา ที่จะแสดงในพื้นที่จริงมีผู้ชมจริงๆในพื้นที่เดียวกันคือ การแสดง "Butoh Blowing ปล่อย" แสดงในงานเทศกาลศิลปะแห่งกรุงเทพ ครั้งที่ 5 หรือ The 5th Bangkok Art Festival ที่ ลิโด้ คอนเน็คท์ จัดโดย

สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ สยามสแควร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือนกรกฎาคม 

เดือนสิงหาคม ผู้กำกับของเรา คุณสินีนาฏ เกษประไพ ได้รับเกียรติให้ไปแชร์ประสบการณ์ฝึกฝนการแสดงกับการรู้จักตัวเอง เป็นหนึ่งในสปีกเกอร์ในงาน TEDxBangkok 2020 “Awake” : Into the New Destination ซึ่งจัดสดแบบมีผู้ชมแบบจำกัดจำนวนและไลฟ์สดจาก Thailand eSports Arena

กันยายน เราแสดง “Butoh Blowing ปลิว” ในงาน Act สิ Art by Free Arts ที่หน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 

จากสถานการณ์ดควิด ส่งผลกระทบต่อโรงละครแกลเลอรี่และการจัดงานที่ต้องมีผู้ชมมาอยู่ร่วมกัน แต่ก็ทำให้เกิดโปรเจคใหม่ๆและการแสดงออนไลน์ขึ้น

งานแรกเมษายนเป้นช่วงล็อคดาวน์เดือนแรก คุณสินีนาฏ เกษประไพ สร้างงานโปรเจคส่วนตัว Move From Home ทำการเคลื่อนไหวในแบบ Improvisation ทุกวันทั้งเดือนแล้วถ่ายภาพและอัดคลิปรวมเพื่อเป็นการแสดงออนไลน์ แบ่งออกเป็นสองคลิป 

อันแรกดูได้ที่นี่ 

https://www.youtube.com/watch?v=2FYpCMJU6xQ&list=UUTDAmafFRfqFT25R3E8wzbA&index=11

อันที่สองดูที่นี่ 

https://www.youtube.com/watch?v=ff1fwi0Qfic&list=UUTDAmafFRfqFT25R3E8wzbA&index=10

งานต่อมาเป็นงานของกระทรวงวัฒนธรรม, สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และ เครือข่ายละครกรุงเทพฯ ทำโปรเจค Co-WITH US นอก-ใน การเดินทางระหว่างเรา เป็นโปรเจคแบบทีระยะห่างทั้งกระบวนการสร้างงานและจัดแสดงออนไลน์โดย 10 ศิลปาธรและเพื่อน คุณสินีนาฏ เกษประไพ  เลือกทำงานร่วมกับ คุณสุธารัตน์ สินนอง จาก Homemade Puppet และ คุณมณีรัตน์ สิงหนาท จาก Ting A Tong โดยใช้กระบวนการสร้างงานแบบ แลกเปลี่ยนพูดคุย และ ทำงานแบบ devise และ collage ปะต่อชิ้นเล็กชิ้นน้อยเข้าด้วยกันเป็นผลงานชื่อ “ชีวิต l Exist" นำเสนอออนไลน์ตั้งแต่ วันที่ 13 มิถุนายน 

ดูได้ที่นี่

https://www.facebook.com/110012270728679/videos/261536868289633

มิถุนา เราทำโปรเจควิดีโอละครหุ่นเพื่อรำลึกถึงครูองุ่น มาลิก (ยายหุ่น) “คุณยายกับบัวรดน้ำ”

อีกงานเป็นการแสดงชุด A FLOWER AND A BUTTERFLY (나비화 꽃) ร่วมแสดงในเทศกาลหุ่นร่วมสมัยออนไลน์ Online Thai Puppet Fest Program : Harmony Puppet Thailand 

อีกงานเป็นละครสั้นแบบออนไลน์ โดยเริ่มกระบวนการตั้งแต่การเขียนบทใหม่ในสามเวอร์ชั่น "อาจจะเป็น"Maybe (not) ต่างคน ต่างอยู่ ต่างพื้นที่ ต่างเวลา บทละครสั้นโดย อรดา ลีลานุช

กรฏาคมเริ่มผ่อนคลายล็อคดาวน์ เราร่วมโครงการ “Open Up the Lock Down คนละครเปิดใจ ก้าวไปด้วยกัน” ด้วยการสร้างการแสดงบุโตออนไลน์ โดย คุณลัดดา คงเดช ในชื่องาน “Alien-Nation (แปลก - แยก)"  ดูได้ที่นี่

https://www.facebook.com/watch/?ref=search&v=1423426911193857&external_log_id=87876714-424e-4c3b-900a-fbc0a7ebaa72&q=open%20up%20the%20lock%20down

เรายังได้ทำ workshop ต่างๆอยู่หลายครั้ง ถูกแคนเซิลงานไปก็หลายครั้ง ปี 2020 เราไม่ได้จัดแสดงในงานเทศกาลละครกรุงเทพ เนื่องจากความไม่พร้อมในหลายๆอย่าง หวังว่าปีหน้าเราคงได้เข้าร่วม 


มีเรื่องดีๆที่งานของเรา "เงา-ร่าง" และพระจันทร์เสี้ยวการละคร ได้รับเกียรติให้ปรากฏเป็นส่วนหนึ่งในหนังสือ การแสดง Performance ตำราเล่มแรกของการละคร มข. 

บทละคร "คือผู้อภิวัฒน์" ได้นำกลับมาแสดงอีกเป็นครั้งที่ 7 แสดงและจัดโดย คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาการละคอน มหาวิทยาลัยธรรมศษสตร์ แสดง 12 รอบ ในวาระ 120 ปีชาตกาล ปรีดี พนมยงค์ 

หวังว่าปี 2021 เราและท่านยังคงปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและหวังว่าเราจะได้ทำงานที่รักของเราต่อไปได้ ส่งกำลังใจให้กับทุกท่านและตัวเราเอง

ขอบคุณที่ติดตามพระจันทร์เสี้ยวค่ะ 

ขอบคุณผู้สนับสนุนทุกท่าน

ขอบคุณผู้มีส่วนร่วมทุกท่าน 

ขอบคุณตัวเราเองที่ยังคงสร้างงานในปีที่ยากลำบาก




14 December 2020

ภาพบรรยากาศ Butoh workshop

 

ภาพบรรยากาศการเวิร์คชอป Butoh Body Image workshop by Sineenadh Keitprapai ทั้งสองวัน 












ขอบคุณผู้เข้าร่วมเวิร์คชอปทั้ง 9 ท่าน ที่มาเปิดประสบการณ์ ร่วมค้นหา และ แชรริ่งด้วยกันกับเรา

 




09 December 2020

บุโตคืออะไร

 

Butoh คืออะไร? 

ถ้าเราค้นหาความหมายหรือคำจำกัดความ Butoh เราก็จะได้คำตอบว่าเป็น dance form แบบหนึ่ง

แต่ถ้าหากเราถาม Butoh-ka ในตอนนี้ คำตอบที่เราจะได้คือ 

"Butoh is not theatre

Butoh is not dance

Butoh is Butoh."


มาร่วมค้นหาว่า Butoh คืออะไร มาร่สมค้นหากับเราได้ในเวิร์คชอป  Butoh Body Image workshop เสาร์อาทิตย์นี้ค่ะ 



07 December 2020

อีกหกวันเจอกัน Butoh Workshop

 


Butoh Body Image workshop นี้เป็นการค้นหาในแบบ individual ไม่ต้องสัมผัสโดนตัวกัน เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายแบบตระหนักรู้และเดินทางเข้าสู่ภายในตัวเรา

คลาสนี้เป็นคลาสเล็กๆ คนน้อย เคลื่อนไหวแบบมีระยะห่างระหว่างกัน ในสเปซใหญ่ของศูนย์ศิลปวัฒนธรรมแสงอรุณ ตอนนี้ยังไม่เต็ม เผื่อใครสนใจ ยังมีที่ว่าง 


 


02 December 2020

Butoh Body Image Workshop by Sineenadh Keitprapai

 



Butoh Body Image

Workshop by Sineenadh Keitprapai

12-13 ธันวาคม 2563 เวลา 13.00-18.00 น.

ที่ ศูนย์ศิลปะวัฒนธรรมแสงอรุณ (สาทร ซอย 10 / BTS ช่องนนทรี)


Butoh หรือ “ระบำแห่งความมืด”คือ Avant-garde dance form หรือ postmodernism ที่ถือกำเนิดจากญี่ปุ่นในยุค 1960

Butoh ในปัจจุบัน มีความหมายกว้างไกลไปมากกว่าการเต้น และมีสไตล์ในการนำเสนอที่หลากหลายและแพร่หลายไปทั่วโลก

Butoh Body Image เวริคชอปนี้เราจะนำกระบวนการโดยเปิดฝึกเปิดการรับรู้และรู้จักร่างกายตนเอง ฝึกการขยายร่างกาย เรียนรู้จักการกลาย หรือ Body Transformation และการใช้ Body Image


การเวริคชอปนี้เหมาะสำหรับผู้สนใจจะทดลองใช้ร่างกายในการเคลื่อนไหวเพื่อการแสดงออก และหรือเพื่อความสนุกสร้างสรรค์ในการทดลองค้นหาศักยภาพของร่างกายและจินตนาการ โดยที่ผู้เข้าร่วมกระบวนการไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานการเต้นมาก่อน และควรเตรียมตัวเปิดใจสำหรับการใช้ร่างกายในการเคลื่อนไหวที่มากกว่าที่เคยใช้


เกี่ยวกับผู้นำกระบวนการเวริคชอป

สินีนาฏ เกษประไพ

ผู้กำกับ นักแสดง ผู้สอนการแสดงและการเคลื่อนไหว มีผลงานการแสดงและกำกับการแสดงในแนวทาง non-realism, movement-based performance, physical theatre, devising performance และ Butoh มีความสนใจนำเสนอผลงานในประเด็นผู้หญิงและประเด็นสังคม นอกจากทำละครแล้วยังเป็นผู้นำกระบวนการละคร เป็นอาจารย์พิเศษสอนละครและการแสดงในสถาบันการศึกษาอีกหลายแห่ง ได้รับรางวัลศิลปินร่วมสมัยดีเด่น รางวัลศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดง ปี 2551 ปัจจุบันเป็น Artistic Director ของพระจันทร์เสี้ยวการละคร

สินีนาฏมีโอกาสฝึก Butoh ครั้งแรกในปี 2538 และมีความสนใจ Butoh ในการใช้ร่างกาย  expression of the soul ผ่านการใช้ image และการ being the moment

วันเสาร์ อาทิตย์ ที่ 12-13 ธันวาคม 2563 เวลา 13.00-18.00 น.

สถานที่ ศูนย์ศิลปะวัฒนธรรมแสงอรุณ (สาทร ซอย 10 / BTS ช่องนนทรี)

ค่าลงทะเบียน 2,500 บาท

*** early bird 2,200 บาท จนถึง 30 พ.ย. นี้ ***

สอบถามเพิ่มเติมหรือจองที่สำหรับเข้าอบรมได้ที่ inbox Fbเพจ Crescent Moon Theatre 



12 November 2020

ข้อเขียนเกี่ยวกับละครเวที "คือผู้อภิวัฒน์" (เพิ่มเติม)

 




"คือผู้อภิวัฒน์": เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพบนนาฏกรรม

โดย กุลพัชร์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา

4 พฤศจิกายน 2563

จากเพจ : สถาบันปรีดี พนมยงค์ 

https://pridi.or.th/th/content/2020/11/484




คือผู้อภิวัฒน์ 2020

โดย บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

8 พฤศจิกายน 2563  

จาก : ประชาไท บลอกกาซีน

https://blogazine.pub/blogs/pandit-chanrochanakit/post/6558



คือผู้อภิวัฒน์ Le révolutionnaire (2020)

จากเพจ : ชีวิตผมก็เหมือนหนัง 

8 พฤศจิกายน 2563  

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=194132338947870&set=a.188846442809793&type=3&theater






10 November 2020

คือผู้อภิวัฒน์ วาระ 7

 



จบลงไปแล้วกับละครเวที "คือผู้อภิวัฒน์" ในวาระที่ 7 จำนวน 12 รอบการแสดง 

พระจันทร์เสี้ยวการละครขอขอบคุณ สาขาวิชาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ได้เลือกบทละครเรื่องนี้ไปจัดแสดง โดยเชิญคุณสินีนาฏ เกษประไพ Artistic Director พระจันทร์เสี้ยวการละคร กำกับในครั้งนี้ และออกแบบแสงโดย ผู้กำกับเทคนิคของเรา คุณทวิทธิ์ เกษประไพ



ทำให้เราได้เป็นส่วนหนึ่งของการ ร่วมฉลอง 120 ปี ชาตกาล ปรีดี พนมยงค์ และ เป็นละคอนเวทีประจำปี 2563 ของคณะในปีนี้ซึ่งเป็นละครเรื่องแรก ที่จัดแสดงในโรงละครแห่งใหม่ ทำให้เราได้มีโอกาสทำงานร่วมกับน้องๆนักแสดงและทีมงานคนรุ่นใหม่ ได้แชร์ริ่งและส่งต่อความคิดเกี่ยวกับเนื้อหาประเด็นทางสังคม และวิธีการนำเสนอและฝึกฝนละครในแนวทาง Brechtian

ขอขอบคุณ คุณคำรณ คุณะดิลก ครู ผู้ก่อตั้ง ผู้เขียนบท และผู้กำกับออริจินอลเวอร์ชั่น ที่มาเสริมความรู้และทักษะให้กับนักแสดง

ขอขอบคุณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ให้การสนับสนุนโครงการนี้





03 November 2020

"คือผู้อภิวัฒน์" การกลับมาแสดงในครั้งที่ 7

 



ละคร ‘คือผู้อภิวัฒน์’ กลับมาแสดงครั้งนี้เป็นครั้งที่ 7 นับจากปี 2530 โดยมีการจัดแสดงก่อนหน้านี้ คือ 

1. ปี 2530 เปิดตัวครั้งแรกที่หอศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับมูลนิธิปรีดี พนมยงค์ เพื่อต้องการนำเสนออุดมการณ์ที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมไทยให้ดีขึ้น

2. ปี 2530 แสดงที่หอศิลป์ พีระศรี กรุงเทพฯ และสัญจรไปแสดงที่ปัตตานีและเชียงใหม่

3. ปี 2538 แสดงในพิธีเปิดสถาบันปรีดี พนมยงค์ และได้รับเชิญร่วมในเทศกาลละครครั้งที่ 1 ที่ ศูนย์ศิลปะวะฒนธรรมแสงอรุณ โดยทีมนักแสดงรุ่นใหม่ กำกับโดย คำรณ คุณะดิลก 

4. ปี 2542-3 จัดแสดงในวาระ 100 ปีชาตกาลปรีดี พนมยงค์ โดยจัดแสดงที่ สถาบันปรีดี พนมยงค์ ในต่างประเทศ คือ ฝรั่งเศส, เนเธอแลนด์, สวีเดน, อเมริกา และแสดงในต่างจังหวัดอีกหลายจังหวัด รวม 100 รอบ 

5. ปี 2543 พระจันทร์เสี้ยวการละครฝึกนักแสดงรุ่นใหม่ 12 คน จัดแสดงในกรุงเทพฯ และสัญจรไปต่างจังหวัด คือ อยุธยา, ชลบุรี, อุบลราชธานี และ นครศรีธรรมราช 

6.ปี 2553 ในวาระ 110 ปีชาตกาลปรีดี พนมยงค์ จัดแสดงที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ กรุงเทพฯ และเชียงใหม่ กำกับโดย สินีนาฏ เกษประไพ

7.ปี 2563 ในวาระะ 120 ปีชาตกาลปรีดี พนมยงค์ จัดโดยคณะศิลปกรรมศาสตร์ ธรรมศาสตร์ กำกับโดย สินีนาฏ เกษประไพ ควบคุมการผลิตโดย ผศ.ดร.ภาสกร อินทุมาร โดยมีนักแสดงเป็นนักศึกษาสาขาวิชาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดแสดงที่โรงละคอนแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat Playhouse) ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งจะจัดแสดงไปถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2563 รวมจัดแสดงทั้งหมด 12 รอบ 






01 November 2020

เสวนาหลังละคอน "คือผู้อภิวัฒน์"

 



เสวนาหลังละคอน "คือผู้อภิวัฒน์"

กับแขกรับเชิญสุดพิเศษที่จะมาร่วมเสวนาหลังละคอน


📌 29 ตุลาคม | 14:00 น.

อาจารย์ ส. ศิวรักษ์ และ อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ


📌 30 ตุลาคม | 19:30 น.

รศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ และ คุณคำรณ คุณะดิลก 


📌 31 ตุลาคม | 14:00 น.

รศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย  และ รศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร 


📌 1 พฤศจิกายน | 14:00 น.

ศ.ดร.เจตนา นาควัชระ อดีตคณบดีคณะอักษรศาสตร์ และอดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และ ศ.ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ


📌 5 พฤศจิกายน | 19:30 น.

ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ


📌 6 พฤศจิกายน | 19:30 น.

ผศ.ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


📌 7 พฤศจิกายน | 14:00 น.

รศ.ดร. พวงทอง ภวัครพันธุ์ และ ดร.ธนาวิ โชติประดิษฐ


📌 8 พฤศจิกายน | 14:00 น.

ผศ.ดร.ณัฐพล ใจจริง


ดำเนินการเสวนา โดย ผศ.ดร.ภาสกร อินทุมาร 

30 October 2020

"คือผู้อภิวัฒน์" รอบที่ 2

 



วันนี้ละครเวที "คือผู้อภิวัฒน์" จะแสดงรอบ 2 เวลา 19.30 .

หลังลัครจะมีเสวนา โดย รศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ

ที่โรงละคอนแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มธ ศูนย์รังสิต

.

ในวาระ 120 ปีชาตกาล นายปรีดี พนมยงค์ สาขาวิชาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเสนอ ละคอนเวที

คือผู้อภิวัฒน์” บทโดย คำรณ คุณะดิลก และพระจันทร์เสี้ยวการละคร กำกับการแสดงโดย สินีนาฏ เกษประไพ 

แสดงโดย นักศึกษาสาขาวิชาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จัดแสดงที่โรงละคอนแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat Playhouse) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

รอบการแสดง

ศ 30 ตุลาคม 19:30 น.

ส 31 ตุลาคม 14:00 / 19:30 น.

อา 1 พฤศจิกายน 14:00 / 19:30 น.

พฤ 5 พฤศจิกายน 19:30

ศ 6 พฤศจิกายน 19:30

ส 7 พฤศจิกายน 14:00 / 19:30 น.

อา 8 พฤศจิกายน 14:00 / 19:30 น.

รับชมฟรีทุกรอบการแสดง 

จองบัตรได้ที่ www.ticketmelon.com

สอบถามเพิ่มเติมที่เพจ Tu Theatre 

ภาพบรรยาการการแสดงรอบแรก "คือผู้อภิวัฒน์"

 












ภาพบรรยากาศรอบซ้อมใหญ่ "คือผู้อภิวัฒน์"

 






27 October 2020

คือผู้อภิวัฒน์ จากคำนำหนังสือบทละคร

 


ละครเวที "คือผู้อภิวัฒน์" เรื่องราวประวัติของ รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์

จัดแสดงครั้งแรกปี 2530 โดย สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับมูลนิธิปรีดี พนมยงค์ 

เป็นผู้จัดโดยมีวัตถุประสงค์ 

"ไม่เพียงแค่เหตุผลที่ว่าเพราะท่าน อ.ปรีดี พนมยงค์  เป็นผู้ประศาสน์การเท่านั้น หากวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการจัดละครในครั้งนี้ ต้องการ

ที่จะนำเสนออุดมการณ์ของท่านที่มีเจตนาบริสุทธิ์ที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมไทยให้ดีขึ้นในวิถีต่างๆ โดยหวังที่จะสื่อผ่านรูปแยยละคร

เพื่อเป็นการตั้งคำถามว่าอุดมการณ์เหล่านี้จะได้รับการตอบขานเช่นไรจากสังคม และชนรุ่นใหม่ของสังคมไทย"

(จากคำนำ หนังสือบทละคร คือผู้อภิวัฒน์ ฉบับพิมพ์ครั้งแรก ปี 2530)

ภาพ : จากการซ้อม คือผู้อภิวัฒน์ 2020



ละครเวที "คือผู้อภิวัฒน์" 

บทละครโดย คำรณ คุณะดิลก และ พระจันทร์เสี้ยวการละคร 

กำกับโดย สินีนาฏ เกษประไพ

แสดงโดย นักศึกษาสาขาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ ธรรมศาสตร์

จัดโดย สาขาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ ธรรมศาสตร์

ในวาระ 120 ปีชาตกาล ปรีดี พนมยงค์ 

แสดงวันที่ 29 ต.ค. - 8 พ.ย. 2563 

ที่ โรงละคอนแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat Playhouse) ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

สำหรับผู้ที่สนใจรับชม จองบัตรชมฟรีได้ที่ 

https://www.ticketmelon.com/lakornfatu2020/lerevolutionnaire

#คือผู้อภิวัฒน์2020 #ละคอนธรรมศาสตร์ #ละครเวที 

#พระจันทร์เสี้ยวการละคร #CrescentMoonTheatre #Brechtian

19 October 2020

Body Movement and Body Expression

 



Body Movement and Body Expression 

Workshop by Sineenadh Keitprapai 


เปิดประตูร่างกาย เพื่อทำความรู้จักและค้นหาการเคลื่อนไหวของร่างกายและจิตใจด้วยการฝึกรู้จักตระหนักรู้ร่างกาย body awareness, ร่างกายกับพื้นที่ ร่างกายกับเวลา และ การฝึกใช้ dynamic การปรับเปลี่ยนร่างกาย พลังงาน และ การเคลื่อนไหว 

สำหรับผู้สนใจใช้ร่างกายในการขยับเคลื่อนไหว เราจะมา Explore and Experience ด้วยกัน

เหมาะสำหรับนักแสดงที่ต้องการค้นหาการเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อการแสดงออก  +  และสำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นนักแสดงก็สามารถเข้าร่วมเวิร์คชอปนี้ได้ ไม่จำเป็นต้องมีทักษะการแสดงหรือการเคลื่อนไหวร่างกายมาก่อนก็สามารถสนุกกับการได้ Cerebrate Body และได้เคลื่อนไหวไปกับความหลากหลายร่วมกันกับคนอื่น    


นำกระบวนการโดย : 

สินีนาฏ เกษประไพ

Artistic Director พระจันทร์เสี้ยวการละคร (Crescent Moon Theatre) 

เป็นนักแสดง ผู้กำกับ และ ผู้สอนการแสดง มีประสบการณ์และผลงานการแสดงและกำกับการแสดงในแนวทาง non-realism, physical theatre, Devising Performance และ movement-based performance มากว่ายี่สิบปี มีประสบการณ์การเป็นผู้นำกระบวนการสอนละครนอกสถาบันการศึกษา เป็นอาจารย์พิเศษสอนละครและการแสดงในสถาบันการศึกษาอีกหลายแห่ง ได้รับรางวัลศิลปินร่วมสมัยดีเด่น รางวัลศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดง ปี 2551


วันที่  23 ตุลาคม 2563

เวลา 12.00 -17.00 

สถานที่ Mind + Move Space 

ค่าอบรม 1,000 บาท 


*** สนใจสอบถามเพิ่มเติมหรือจองที่สำหรับอบรมได้ที่ inbox เพจ Crescent Moon Theatre *** 


07 October 2020

คือผู้อภิวัฒน์ (The Revolutionist)

 



การกลับมาอีกครั้งของละคอนเวทีสามัญชน "คือผู้อภิวัฒน์"

พิเศษ ครั้งนี้จัดแสดงโดย สาขาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ ธรรมศาสตร์ แสดงโดยนักศึกษา การละคอน

ร่วมฉลอง 120 ปี ชาตกาล ปรีดี พนมยงค์


สาขาวิชาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ขอเสนอ

“คือผู้อภิวัฒน์”

ละคอนเวทีประจำปี 2563


บทโดย คำรณ คุณะดิลก

และพระจันทร์เสี้ยวการละคร

กำกับการแสดงโดย

สินีนาฏ เกษประไพ


แสดงโดย นักศึกษาสาขาวิชาการละคอน

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


จัดแสดงที่

โรงละคอนแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

( Thammasat Playhouse ) ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต


รอบการแสดง

29 ตุลาคม 14:00 น. ( รอบสื่อ )

30 ตุลาคม 19:30 น.

31 ตุลาคม 14:00 / 19:30 น.

1 พฤศจิกายน 14:00 / 19:30 น.

5 พฤศจิกายน 19:30

6 พฤศจิกายน 19:30

7 พฤศจิกายน 14:00 / 19:30 น.

8 พฤศจิกายน 14:00 / 19:30 น.


เปิดจองบัตร 3 ตุลาคม เป็นต้นไป

ทาง www.ticketmelon.com

รับชมฟรีทุกรอบการแสดง !


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

FB Fanpage : TU Theatre

Event : คือผู้อภิวัฒน์

10 July 2020

Alie-Nation แปลก-แยก





การแสดงออนไลน์ของเราในชื่อ " Alie-nation (แปลก-แยก)" 
เข้าร่วมแสดงในโครงการ “Open Up the Lock Down คนละครเปิดใจ ก้าวไปด้วยกัน”
จะนำเสนอเป็นครั้งแรก ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2563
ที่เพจ Open Up the Lock Down

โดยจะนำเสนอพร้อมกันกับการแสดงอื่นๆด้วย ดังนี้ 
1. เรื่อง ดึ๊บดึ๊บ เดอะมิวสิคัลออนไลน์ ตอน หนอนเหลืองอยากเป็นพระจันทร์
โดย คณะละครปู๊นปู๊น
2. เรื่อง ติด
โดย เป็นตุเป็นตะ
3. เรื่อง Alie-nation (แปลก-แยก)
โดย พระจันทร์เสี้ยวการละคร
4. เรื่อง Live Life Light
โดย ฟุ้งเบ๊อ Dance Theatre
5. เรื่อง Stage Quarantine – กักตัวบนเวที
โดย Too Long Theatre
6. เรื่อง เดี่ยวด้น : คนติดบ้าน
โดย Malongdu Theatre คณะละครขับเคลื่อนสังคมมาร็องดู
7. เรื่อง ปีที่ 38 ของเชอร์รี่ลาล่า : บทเรียนชีวิตและคำถามสำคัญ
โดย Cherrylala Learning Center

ชมทั้ง 7 คลิปพร้อมกันเป็นครั้งแรกที่เพจ Open Up The Lock Down
วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม 2563 เวลา 11.00 น.


09 July 2020

Butoh Blowing 2020




อีกงานหนึ่งของเรา ที่จะแสดงในพื้นที่จริง 
ขอเชิญชมการแสดง "Butoh Blowing"
จะแสดงในงานเทศกาลศิลปะแห่งกรุงเทพ ครั้งที่5
The 5th Bangkok Art Festival
วันอาทิตย์ที่ 12 ก.ค. 63 เวลาประมาณ 17.00 น.
ชมฟรี ณ บริเวณ ลิโด้ คอนเน็คท์
ในงานมีการแสดงและกิจกรรมต่างๆอีกหลายอย่าง
งานนี้จัดโดย
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ สยามสแควร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- - - - - - - - - - -

Butoh Blowing 
กำกับโดย สินีนาฏ เกษประไพ
เวอร์ชั่นนี้ คือ เวอร์ชั่นที่ 3 ที่เราจัดแสดงค่ะ

07 July 2020

การแสดงออนไลน์ “Alien-Nation (แปลก - แยก)"







แนะนำกลุ่มศิลปินในโครงการ “Open Up the Lock Down คนละครเปิดใจ ก้าวไปด้วยกัน”

กลุ่มละคร พระจันทร์เสี้ยวการละคร (Crescent Mon Theatre)

พระจันทร์เสี้ยวการละคร กลุ่มละครที่สร้างสรรค์ศิลปะที่สะท้อนความเป็นไปของสังคม และผู้คน ให้ผู้ชมรู้สึก นึก คิด ตั้งคำถามจากสิ่งที่ได้เห็น แม้บางครั้งอาจยังไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด

โดย
กวินธร แสงสาคร
ลัดดา คงเดช
จิรัฏ เรืองจันทร์

พบการแสดงจาก พระจันทร์เสี้ยวการละคร (Crescent Mon Theatre)

เรื่อง “Alien-Nation (แปลก - แยก)"

Alienation คือ สภาวะแปลกแยก ความรู้สึกขัดแย้ง รู้สึกเป็นอื่นกับตัวเอง และ หรือ สังคม เป็นสภาวะที่อาจบอกได้ว่าเป็นผลมาจากระบบทุนนิยม และในโลกที่หมุนสัมพันธ์ไปกับความเร็วของอินเตอร์เน็ต WFH ทำงานที่ไหนก็ได้ในโลก เหมือนด้านหนึ่งเราปิดกั้น และ ล็อกตัวเองอยู่กรอบสี่เหลี่ยมรอบตัว ที่เราพกพาไปด้วยเสมอไม่ว่าจะเดินไปที่ใด การรักษาระยะห่างทางสังคม เพื่อลดความเสี่ยงทางด้านสุขภาพ เหมือนจะส่งผลให้ระยะห่างทางความสัมพันธ์ และ การปฏิสัมพันธ์ในโลกข้างนอก มีช่องว่างที่ใหญ่ขึ้น ห่างไกลขึ้น และเรามองเห็นกันน้อยลง แม้ว่าจะเดินสวนกัน หรือ นั่งตรงกันข้าม การแสดงชิ้นนี้ปรารถนาจะสำรวจและบันทึกปฏิกิริยาของผู้คน ในฐานะผู้ชม ที่มีต่อการแสดงที่เกิดขึ้น ณ พื้นที่สาธารณะ โดยไร้คำพูด ไร้เสียงเพลง ได้คำอธิบาย รวมไปถึงการเดินทางจากภายในของนักแสดงเองที่ต้องการกลับไปเชื่อมโยง ลดระยะห่างทางความรู้สึกต่อผู้คนในสังคม ลดความรู้สึกเป็นอื่น แต่ เป็นส่วนหนึ่ง

วันที่ 11-15 กรกฎาคม 2563

ที่เพจ Open Up The Lock Down

- - - - - - - - - - - - - - - - - 

"Open Up the Lock Down คนละครเปิดใจ ก้าวไปด้วยกัน”

พบกับ 36 กลุ่มศิลปินศิลปะการแสดงร่วมสมัย



ที่แม้ Covid-19 จะทำให้เราต้องห่างไกล
แต่พวกเราจะไม่ห่างกัน
พวกเขาจะมาเปิดล๊อคความสร้างสรรค์
ผ่านสถานการณ์เช่นนี้

เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวและมุมมองของพวกเขา
ออกมาในรูปแบบ การแสดง และ กิจกรรม ออนไลน์
ตามนโยบาย Social Distancing

ด้วยการสนับสนุนจากเป็นสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม

เริ่ม 11-15 กรกฎาคม 2563

ติดตามความเคลื่อนไหวของโครงการ “Open Up the Lock Down คนละครเปิดใจ ก้าวไปด้วยกัน” และรับชมผลงานการแสดงของศิลปินทั้ง 36 กลุ่มได้ที่เพจ Open Up The Lock Down




05 July 2020

ชมเวอร์ชั่นสุดท้าย สองตัวละคร "อาจจะเป็น" Maybe(not)




คืนนี้ 19.30 ขอชวนให้ดูละครสั้น "อาจจะเป็น" Maybe(not) เวอร์ชั่นสุดท้ายของเรา เป็นบทสนทนาของตัวละครผู้หญิงกับตัวละครผู้ชาย ที่อยู่กันคนละที่ คนละเวลา แต่ต่างอยู่กับสถานที่มีประตูและหน้าต่าง
มีความลับที่เราอยากบอก... ว่าบทของสองตัวละครถูกเขียนขึ้นก่อน แล้วจึงแตกออกมาเป็น Monologue ทีหลัง และผู้เขียนบทก็เขียนเป็นภาษาอังกฤษก่อนแล้วจึงแปลมาเป็นภาษาไทย 
โปรดติดตามชมค่ะ  

ที่เพจ Fb : Crescent Moon Theatre 




Tonight at 7.30, you ‘re invited to watch the full performance of our short play Maybe (not).  It’s the last part of our online performance, and it’s a duologue between the male and female characters who live in a different place at a different time.  The script for the play was written first in English, and then it was translated to Thai.  The monologues that were presented before were taken from the lines in the play.  We hope you enjoy the show!

Page Fb : Crescent Moon Theatre 


04 July 2020

อาจจะเป็น : Monologue





คืนนี้ 19.30 รอชมบทแสดงเดี่ยวของตัวละครผู้ชาย จาก "อาจจะเป็น" Matbe(not) ที่เพจ Crescent Moon Theatre 

Tonight 7.30 pm we will release the male’s monologue, which is the second video of our online performance "Maybe(not)". 
The performance is in Thai with English subtitles.

At Fb : Crescent Moon Theatre 

03 July 2020

Maybe(not) tonight




Tonight Crescent Moon Theatre will release the woman’s monologue "Maybe(not)", which is the first video of our online performance.  
The performance is in Thai with English subtitles.


คืนนี้ 19.30 ชวนดู ละครสั้นออนไลน์ "อาจจะเป็น" Maybe(not) 
เป็นบทโมโนลอค ของตัวละครผู้หญิง (มีซับภาษาอังกฤษ) 
ที่ Fb : Crescent Moon Theatre 





01 July 2020

แนะนำนักแสดง "อาจจะเป็น" Maybe(not)


แนะนำนักแสดง "อาจจะเป็น" Maybe(not)


อรรถพล อนันตวรสกุล 
เป็นคนทำงานการศึกษาที่สนใจงานละคร เคยร่วมงานกับพระจันทร์เสี้ยวการละคร ใน “24 hr Play Festival”, “Project ¼”, “10 minutes Play”, “ในห้องสีเทา” และ "คนเก็บขยะ" 
และยังมีผลงานการแสดงกับคณะละครต่างๆอีกหลายกลุ่ม 
ผลงานที่ผ่านมา เช่น สดับลมขับขาน, ไม่มีอะไรจะพูด, ไร้สาระ, ตงฟางปู่ป้าย หมื่นปีมีข้าคนเดียว, Teenage Wasteland, Crossing Nirvana, Breaking the Code และ The Adventure of Tok Man of Oz 
ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำอยู่ที่ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย




Athapol Anunthavorasakul 
works in education but is interested in theatre.  In the past, he worked with Crescent Moon Theatre in 24hr Play Festival, Project ¼, 10 Minutes Play, In the Grey Room and The Binmen.  His other acting works include Hear the Wind Sing, Nothing to Say, Absurdity, Dongfang Bubai, Teenage Wasteland, Crossing Nirvana, Breaking the Code, and The Adventure of Tok Man of Oz.  
He is currently teaching at the Faculty of Education, Chulalongkorn University.





30 June 2020

แนะนำผู้เขียนบทและนักแสดง "อาจจะเป็น" Maybe (not)



แนะนำผู้เขียนบทและนักแสดง "อาจจะเป็น" Maybe(not)


อรดา ลีลานุช
เป็นสมาชิกพระจันทร์เสี้ยวการละคร ตั้งแต่ปี 2554 มีผลงานเขียนบท การแสดง และเป็นผู้จัดและนำกระบวนการเทศกาลละครยี่สิบสี่ชั่วโมง “24 hr Festival”  ปัจจุบันนอกจากทำละครแล้ว ยังเป็นนักแปล และเป็นอาจารย์สาขาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผลงานเขียนบท
“Project ¼” , “Page 2 Stage”, “ในห้องสีเทา”, “[un]tied” และร่วมเขียนบท “สมันตัวสุดท้าย” , “สมันโผล่มาอีกตัว”, "ผู้หญิงกับประภาคาร"
ผลงานการแสดง
ในห้องสีเทา (โดยพระจันทร์เสี้ยวการละคร), นักการละครต้องตาย (โดยพาสเทลเธียเตอร์), Happy New Year Mr. Smith(ละครโดย นพพันธ์), เงา-ร่าง Shade Borders และ ผู้หญิงกับประภาคาร(พระจันทร์เสี้ยวการละคร)





Orada Lelanuja 
has been a member of Crescent Moon Theatre since 2011. She is a playwright, performer, and coordinator for the 24 hour play festival. She is also a translator and teaches theatre at Faculty of Fine and Applied Arts, Thammasat University. Some of her playwriting work includes Project ¼, Page 2 Stage, In the Grey Room, [un]tied, The Last Schombrgk’s Deer (co-writer) and Women and the Lighthouse.
Some of her past acting work includes Project ¼, In the Grey Room, The Dramatist Must Die, Happy New Year Mr. Smith, Shade Borders and Women and the Lighthouse.




26 June 2020

โปสเตอร์ตัวจริงแบบที่ 2 Maybe(not)







โปสเตอร์ตัวจริงแบบที่ 2 ก็มาค่ะ สำหรับโปรเจคละคร online

"อาจจะเป็น"
Maybe (not)

ต่างคน ต่างอยู่ 
ต่างพื้นที่ ต่างเวลา

การแสดงจากบทใหม่ โดยสร้างจากโจทย์ที่ว่าถ้าอยู่กันคนละที่จะเขียนบท ซ้อมและทำการแสดงด้วยกันแบบไหนได้บ้าง จนออกมาเป็น “อาจจะเป็น” ละครสั้น 4 หน้า สองตัวละครผู้ชายกับผู้หญิง อยู่กันคนละที่แต่เหมือนกำลังคุยกันอยู่ในที่เดียว ท่านกลางสถานการณ์ความไม่มั่นคงและความไม่แน่นอนของชีวิต ราวกับว่าวันนี้เป็นวันสุดท้ายของชีวิต

โดยจะนำเสนอ 3 เวอร์ชั่น คือ Duologue ผู้ชาย ผู้หญิง, Monologue ผู้ชาย และ Monologue ผู้หญิง

บทละครสั้นโดย อรดา ลีลานุช
แสดงโดย อรดา ลีลานุช และ อรรถพล อนันตวรสกุล
กำกับโดย สินีนาฏ เกษประไพ
ตัดต่อโดย ทวิทธิ์ เกษประไพ

ดูฟรี
นำเสนอแบบมีระยะห่างระหว่างเรา
ออนไลน์ วันที่ 3-5 ก.ค. 2563
เวลา 19.30 น.
ที่อิเว้นท์ อาจจะเป็น Maybe (not)
ที่เพจ fb: Crescent Moon Theatre

ออกแบบโปสเตอร์โดย รัตนวดี สุขภัฎ


23 June 2020

"อาจจะเป็น" Maybe (not) : Director note 1




"อาจจะเป็น" Maybe (not)
: Director note 1


ต่างคน ต่างอยู่
ต่างพื้นที่ ต่างเวลา

ในช่วงสถานการณ์ที่เราต้องกักตัวอยู่บ้านเพราะการระบาดของไวรัส Covid- 19 ทำให้เรานักทำละครต้องหยุดแสดงละครแบบมีผู้ชมอยู่ต่อหน้าอยู่ในพื้นที่เดียวกัน เราต้องปรับตัวและนำเสนอการแสดงเป็นออนไลน์แบบอยู่กันคนละที่ และนี่คืออีกหนึ่งการทดลองว่าถ้าเราจะทำละครเรื่องใหม่แบบอยู่กันคนละที่ แล้วเราจะเขียนบทใหม่ ซ้อม และทำการแสดงด้วยกันได้แบบไหนได้บ้าง
"อาจจะเป็น" จึงเป็นการสร้างบทใหม่จากโจทย์ร่วมกันระหว่างผู้กำกับ นักแสดง และผู้เขียนบท คือ อรดา ลีลานุช และซ้อมผ่าน Zoom จากโจทย์บทละครสั้น 4 หน้า มีสองตัวละครผู้ชายกับผู้หญิง แสดงโดย อรดา ลีลานุช และ อรรถพล อนันตวรสกุล ซึ่งนักแสดงจะอยู่กันคนละที่ แต่เหมือนกำลังคุยกันอยู่ในที่เดียวกัน ท่ามกลางถานการณ์ความไม่มั่นคงและความไม่แน่นอนของชีวิต เหมือนกับว่าวันนี้เป็นวัดสุดท้ายของชีวิต
โดยเราจะนำเสนอเป็น 3 เวอร์ชั่น คือ Duologue ผู้ชายกับผู้หญิง, Monologue ผู้ชาย และ Monologue ผู้หญิง


-สินีนาฏ เกษประไพ-



During lockdown due to Covid-19, theatre practitioners had to stop performing in the same space as the audience.  We needed to adapt and present our work online while we were in our own separate places.  This project is our experiment to see that if we are in different locations, 
in which ways can we still write the script, rehearse, and perform together?  Maybe (not) is a new script that was created from a discussion between the director, actors, and playwright. The rehearsal process is done through Zoom.  The script is 4 pages long with one male character and one female character.  
The characters are in different locations but seem to be talking to each other as if they were in the same place.  In the midst of instability and uncertainty, it seems like today is the last day of their lives.  The play will be presented in 3 parts: dialogue, male monologue, and female monologue.

-Sineenadh Keitprapai-



21 June 2020

ละครหุ่นออนไลน์ "คุณยายกับบัวรดน้ำ"




"คุณยายกับบัวรดน้ำ" 
มาแล้วจ้าาา 
โปรเจควีดีโอละครหุ่นเพื่อรำลึกถึงครูองุ่น มาลิก หรือ ยายหุ่น ของเด็กๆ และ ผู้ใหญ่หัวใจเด็กทุกๆคน ในวันนี้ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันจากไปของครู
ขอขอบคุณสมาชิกและอาสาสมัคร และทุกๆคนที่ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างสรรค์งานชิ้นเล็กๆนี้ขึ้น รวมถึงไถ่ถาม ให้กำลังใจ
ขอบคุณร้านจิ้นเฮง เยาวราช และ สวนครุองุ่น ที่เอื้อเฝื้อสถานที่ในการทำงานและถ่ายทำ
และ ขอขอบคุณทุกท่านที่ส่งคลิปวีดีโอ 1 นาที “คุณยายเดินไปรดน้ำดอกไม้ เมื่อคุณยายผ่านไป ดอกไม้ก็บาน” มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งด้วยกันกับเรา

ขอเชิญชม "คุณยายกับบัวรดน้ำ"

https://www.facebook.com/CrescentMoonTheatre/videos/1172200643124168/


20 June 2020

ภาพเบื้องหลังการทำงานและการถ่ายทำ "คุณยายกับบัวรดน้ำ"






นำภาพเบื้องหลังการถ่ายทำสั้นๆ มาฝากค่ะ
ขอบคุณทีมงานอาสาสมัครโครงการคณะละครยายหุ่น พระจันทร์เสี้ยวการละคร และ ร้านจิ้นเฮง สำหรับสถานที่ในการถ่ายทำ














19 June 2020

24 hr Festival ครั้งแรกที่เชียงใหม่


พระจันทร์เสี้ยวการละครขอแสดงความยินดีกับกลุ่มละคร Part Time Theatre เชียงใหม่
ที่จะได้จัด "เทศกาลละคร 24 ชั่วโมง" ครั้งแรกที่เชียงใหม่ หลังจากต้องเลื่อนในช่วงลอคดาวน์ 
หวังว่าเราที่ กทม. เราจะได้จัดบ้าง ถ้ามีความเป็นไปได้ จะจัดต่อกันเลย

ข้อมูลเพิ่มเติม :
เทศกาลละคร 24 ชั่วโมง หรือ 24 hr Festival หรือ 24hr Play Festival 
เราจัดครั้งแรกในปี  2557 (2014) ที่ Crescent Moon Space
จัดครั้งที่ 2 ในปี 2558 (2015) ที่ Crescent Moon Space 
และจัดครั้งที่ 3 ในปี 2561 (2018) ที่ Buffalo Bridge Art Gallery  

- - - - - - - - - - - - - - - - - 




Part Time Theatre ขอนำเสนอ

"เทศกาลละคร 24 ชั่วโมง เชียงใหม่"

หลังจากต้องเลื่อนไปในช่วงเดือนมีนาคม ตอนนี้พวกเรากลับมาแล้ว

4 ละครสั้น จาก 4 ผู้เขียนบท 4 ผู้กำกับ และนักแสดงอีก 12 คน ที่ต้องสร้างละครให้แล้วเสร็จภายใน 24 ชั่วโมง

เริ่มติดตามการทำงานของเค้าทั้งหมดได้
ในวันศุกร์ ที่ 17 กรกฎาคม 2563 เวลา 21.00 น. เป็นต้นไป
ทาง FB : Part Time Theatre

และเปิดให้รับชมการแสดงรอบเดียวเท่านั้น !!!
ในวันเสาร์ ที่ 18 กรกฎาคม 2563 เวลา 19.00 น.
ที่ Dhepsiri Creative Space

บัตรราคา 100 บาท (จำนวนจำกัดมากกกก)

ติดต่อสำรองที่นั่งได้ที่ FB : Part Time Theatre หรือโทร 087- 3013892

รีบหน่อยนะครับ ที่นั่งจำกัดมากๆ

ขอขอบคุณ : พระจันทร์เสี้ยวการละคร (Crescent Moon Theatre) ผู้ที่ริเริ่มนำกระบวนการนี้มาใช้ที่กรุงเทพและอนุญาตให้ทาง Part Time Theatre นำมาดัดแปลงใช้ในเชียงใหม่ครั้งนี้ด้วยครับ