12 December 2011

ประกาศแล้ว วันจัดงานเทศกาลละครกรุงเทพ ครั้งที่ 10




เทศกาลละครกรุงเทพ ครั้งที่ 10

ได้ฤกษ์จัดงานแล้ว คือ
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2555 - 4 มีนาคม 2555
สถานที่จัดงานที่เดิม คือ

สวนสันติชัยปราการ ร้านอาหารย่านบางลำพู และโรงละครในเครือข่าย
โปรแกรมการแสดง กำลังปรับปรุงจะแจ้งให้ทราบโดยเร็วนี้

โปรดติดตาม

04 December 2011

บทวิจารณ์ - อัสลาม (จาก A Day)

อัสลาม... จากเจ้าหญิงเสียงเศร้าแห่งดาวดวงที่ 4: นิทานที่ไม่ได้เพ้อฝัน
เขียนโดย ณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง
จากนิตยสาร A Day ฉบับ เดือนพฤศจิกายน 2554


นิทานนั้นมักถูกมองว่าเป็นเรื่องราวที่เพ้อฝันเป็นจินตนาการที่เอาไว้หลอกเด็กหรือกล่อมให้เด็กหลับก่อนนอนแต่ถ้าเราล่วงรู้ “หลัง” ของนิทานแล้ว เราก็สามารถรังสรรค์สิ่งมหัศจรรย์ที่น่าทึ่ง เปลี่ยนแปลงหรือสะท้อนชีวิตหรือเรื่องราวอันยิ่งใหญ่ได้
นั่นก็เหมือนกับกรณีของ “อัสลาม... จากเจ้าหญิงเสียงเศร้าแห่งดาวดวงที่ 4” ผลงานละครเวทีเรื่องล่าสุดจากพระจันรท์เสี้ยวการละครฝีมือการเขียนบทและกำกับของ ฟารีดา จิราพันธุ์ ที่ทำให้โรงละครพระจันทร์เสี้ยวกลายเป็นโรงละครของความฝันและจิตนาการ แต่ขณะเดียวหันก็แฝงไว้ด้วย “ความจริง” อันละเอียดอ่อนและลึกซึ้ง

“อัสลาม... จากเจ้าหญิงเสียงเศร้าแห่งดาวดวงที่ 4” เป็นละครเวทีที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องสั้นชื่อเดียวกันที่ตีพิมพ์อยู่ในหนังสือ “เจ้าหญิง” ของบินหลา สันกาลาคีรี ว่าด้วยเรื่องการตามหาดาวดวงที่ 4ของเจ้าชายทันทันตามจดหมายขอความช่วยเหลือที่ตัวเองได้รับ แต่เมื่อมาถึงดาวดวงที่ 4 เขาหลับพบว่าเจ้าหญิงเป็นมนุษย์คนสุดท้ายที่หลงเหลืออยู่บนดวงดาว เจ้าชายทันทันจึงมองหามังกรและสัตว์ร้ายที่เขาเชื่อว่าเป็นสาเหตุของความสูญเสียที่เกิดขึ้น แต่เมื่อเขาได้ฟังเรื่องราวจากตัวหญิงเสียงเศร้าแล้ว เขาก็ได้พบความจริงหลายๆ อย่างที่ไม่เคยถูกพูดหรือตรงกับความเข้าใจของคนที่ดาวดวงอื่นๆ อีกทั้งเมื่อเขาได้ใช้เวลาร่วมอยู่กัยเจ้าหญิงบนดาวดวงที่ 4 แล้วก็ยิ่งทำให้เขาได้เรียนรู้เรื่องราวบนดาวดวงนี้ เช่นเดียวกับความคิดของมนุษย์ที่พยายามสื่งสารเข้าใจกันมากกว่าเพียงแค่คำพูดหรือสิ่งที่มองเห็นขับต้องได้

สำหรับบางคนแล้ว เรื่องราวของ “อัสลาม... จากเจ้าหญิงเสียงเศร้าแห่งดาวดวงที่ 4” อาจจะเป็เนเหมือนนิทานสำหรับเด็กที่มีความสนุก น่ารักเต็มเปี่บมไปด้วยจินตนาการ แต่สำหรับหลายๆ คนที่เชื่อมต่อติดกับโลก ความจริงได้แล้ว เราก็แทบจะอินและน้ำตาไหลไปกับจุดเชื่อมโยงระหว่างดาวดวงที่ 4 และสถานที่ที่เรียกว่าประเทศไทยและชายแดนภาคใต้
อันที่จริง ละครเองก็บอกใบ้กับผู้ชมมากระดับหนึ่งในการเชื่อมโยงดังกล่ามเพราะเริ่มมาในฉากแรกของการแสดงก่อนจะเข้าเรื่องของอัสลาม ก็มีการอ่านบทสวดสรรเสริญพระเจ้าของ ศาสนาอิสลามก่อนจะนำไปสู่การร้องเพลงในภาษาถิ่นซึ่งพูดเกี่ยวกับประไทยที่เป็นดินแดนอันงดงามแต่แล้วก็จบลงที่ความรุนแรงและการสูญเสียที่เกิดขึ้น ซึ่งการเป็นเรื่องด้วยฉากนี้นี่เองกลายเป็นการปูและปรับความเข้าใจของผู้ผมตั้งแต่ต้นว่าละครกำลังพูดถึงประเด็นความจริงของสังคมมากกว่าจะมาเล่นนิทานสนุกๆก่อนนอน
เรื่องราวของเจ้าหญิงแสนเศร้าบนดาวดวงที่ 4 นั้น หลายๆ อย่างกลายเป็นเหมือนการต่อยอดของนิทานที่ละม้ายกับเหตุการณ์จริงอย่างน่าตกใจ ตั้งแต่เรื่องของการที่ดินแดนเคยสงบสุขจนมีคนมากมายเช้ามาเยี่ยมชมไม่เว้นว่างแต่แววันหนึ่งก็เกิดเหตุร้านจนอัศวินและเจ้าชายต่างๆ เข้ามาที่เวเวงนี้ก่อนที่ผู้คนที่มีชีวิตอยู่ก้ไร้ซึ่งความสุขในดวงดาวที่เคยเป็นบ้าน คงเหลือไว้แต่ความเศร้าที่เกิดจากความรุนแรงและความเจ็บปวดจากการสูญเสีย

ความรุนแรงอาจจะเป็นทางเลือกในแก้ปัญหาสำหรับคนบางกลุ่ม แต่ในขณะเดียวกันมันก็สร้างบาดเผลให้กับผู้คนมากมาย ท้ายที่สุด เราอาจจะไม่รู้สาเหตุของความรุนแรงต่างๆ ที่เกิดในดาวดวงที่ 4 หรือโลกใบนี้นั้นท้จริงคือทางจระกับผู้ที่อยู่ตรงนั้นและทางอ้อมกับพวกเราที่อยู่ร่วมกันในสังคม บางที่ทางออกออกที่เราจะก้าวข้ามมันไปได้คือการพยายามหาวิธีสื่อสารและเข้าใจกันระหว่างเพื่อนมนุษย์ไม่ว่าจะชนชาติใดๆการมอบความรักจากใจถึงใจเหมือนอย่างที่นิทาน “โลกของเจ้าหญิงนกบินหลายกับเจ้าชายนกบินหา” ที่ถูกเล่าในละครได้เปรียบเปรยไว้ หากแต่เราควรรีบหาเวลาที่จะ ”เล่า” มันออกไปก่อนจะไม่มีใครในโลกหลงเหลือเพื่อฟังนิทานเรื่องนั้นเช่นดาวดวงที่ 4

แม้ว่าโปรดักชันของ “อัสลาม... จากเจ้าหญิงเสียงเศร้าแห่งดาวดวงที่ 4” จะเป็นโปรดักชันละครขนาดกะทัดรัดในโรงละครเล็กๆ แต่วิธีการนำเสนอและใช้เทคนิคแสงที่ช่วยเติมเต็มและสร้างสีสันให้กับเรื่องได้อย่างดี ในขณะที่การแสดงแม้จะมีนักแสดงหลังเพียง 3 คนแต่ก็น่าสนใจและ น่าติดตามอยู่ตลอดเวลา

จุดที่น่าสนใจอันโดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของละครคือการเลือกน้องทันทัน (ด.ช. ณัษฐภัทร์ คุ้มเมธา) ที่อายุเพียง 6 ขวบมาเป็นนักแสดงหลักซึ่งต้องต่อบทนักแสดงระดับผู้ใหญ่อย่างฟารีดา จิราพันธุ์ และ คอลิด มิดำ นั้นถือว่าเป็นเสน่ห์สคัญของเรื่องลีหลังแฝงในมุมมองการเชื่อมกันระหว่างโลกความจริงและโลกนิทานนิทาน ซึ่งต้องยอมรับว่าการได้น้องทันทันมาเล่นในละครกลายเป็นจิ๊กซอว์อย่างดีที่ทำให้ละครมีส่วนผสมระหว่างประเด็นที่หนัดกหน่วงกับความฝันและความหวังที่เราเห็นได้จากความบริสุทธิ์ของเด็ก

โดยส่วนตัวสำหรับผู้เขียนแล้ว เราสามารถรับรู้ได้ว่าฟารีดาสร้าง “อัสลาม... จากเจ้าหญิงเสียงเศร้าแห่งดาวดวงที่ 4” ด้วยความรู้สึกที่เข้าใจและจริงใจกัยสิ่งที่ต้องการพูดอย่างลึกซึ้ง นั่งทำให้ละครกลายเป็นเป็นสื่อที่กำลังเล่าความจริงแต่อย่างใดสิ่งที่ตัวเธอเล่าและเล่นและความสามารถในการเล่า โดยสิ่งที่น่าเสียดายอย่างเดียวของโปรดักชันนี้คือการแสดงซึ่งจัดในเทศกาลศิลปะนานาพันธุ์นั้นมีเพียงแค่ 5 รอบ

ซึ่งมันคงจะดีไม่น้อยถ้ามีคนอีกมากมายได้ไปเยือนดาวดวงที่ 4 พร้อมกับเจ้าชายทันทัน และ เมื่อเป็นอย่างนั้น เราก็อาจจะเข้าใจกันและกันเพื่อยุติเรื่องร้ายๆ ในสังคมได้ในเร็ววัน