02 November 2012
Fall : review
IT’S A LONG WAY DOWN
by JASMINE BAKER
SPECIAL TO THE NATION June 28, 2012
Crescent Moon Theatre newcomers take on gravity with amusing and alarming results in ‘Fall’
The veterans of Crescent Moon Theatre, one of Thailand’s most respected and longest-running theatre companies, last week made way for the new generation to present their first full-length work.
Sukanya “Suki” Pheansri and Sirithorn “Ing-Ing” Siriwan, who met at a Crescent Moon workshop last year, teamed up for a directorial debut called “Fall”, described as “a performance of body expression and movement”. Some influences were evident from the company’s artistic director, Sineenadh Keitprapai, who’s well known for her physical-theatre productions and has described some of her works in a similar way.
At the same time, “Fall” had a much lighter air compared to most of Crescent Moon’s productions, with some quirky dance moves and electro-pop tunes from its young creators. Hardcore fans of physical theatre and dance might turn up their noses at steps and music like these, but anyone could see himself dancing along and having a good time.
This is not to say that the show was all fun and no substance. Suki and Ing-Ing led us on a journey under gravity, where anything that goes up cannot escape free-fall. They threw themselves against the wall and slowly slid down, took turns rolling on top of each other, and alternately won and lost the desired spot atop a wooden stool.
This competition for the top position was made even more concrete in the middle of the show when the pair stopped dancing and brought a set of jenga blocks out for a truly impressive battle amid audience oohs and aahs.
In today’s “vertical” world of material and skyscrapers, a lot of people strive to be as high up as they can in their career and status, even if that means they have to bite off more than they can chew. They usually forget that if they were to fall, the higher they are the greater the impact.
The audience was reminded of this simple truth. As projected footage of grassy fields and trees turned into a time-lapse video of a big city of high-rises, Ing-Ing started shaking and dropping stones she had earlier gathered in her arms one by one. Suki then joined in and urged her partner to cast the fallen stones away from them.
All seemed calm for a brief moment, but then both of them started jumping up and down in a frenzy before collapsing amid countless multicoloured plastic balls that simultaneously fell hard from a hidden compartment in the ceiling.
If this performance were to experience a fall itself, however, it would have been a very safe one. Apart from the jenga scene that kept viewers on the edge of their seats, everything seemed a little too nice and easy.
The movements were generally pleasant, Mozart’s classical take on “Twinkle Twinkle Little Star” was cute, but nothing was particularly interesting or exciting. Also, the fact that it was more thrilling to watch the performers play jenga than carry out their movements in a movement-based piece was a significant hint that there is still room for improvement in terms of physical skills.
Contrary to its title, “Fall” was risk-free, and even its more serious scenes could still be a lot bolder, both in the execution of steps and in its spirit.
It definitely was a good first try, but the creators could perhaps prepare for a more risky fall next time.
TUMBLE TIME
See “Fall” at Crescent Moon Space in the Pridi Banomyong Institute between Thonglor Sois 1 and 3 tomorrow through Monday at 7.30pm.
Tickets cost Bt350 from (081) 929 4246 or (084) 174 2729.
Learn more at www.CrescentMoonTheatre.org and the “CrescentMoonTheatre” Facebook page.
ป้ายกำกับ:
Crescent Moon Space,
Crescent Moon Theatre
31 October 2012
10 Minute PlaY Preview
THEATREPREVIEW
From Bangkok Post
Writer: Amitha Amranand
Published: 25/10/2012 at 12:00 AM Newspaper section: Life
Shorts of all sorts
Crescent Moon has hunted for hidden writing talent for its production of 10-minute plays
Crescent Moon Theatre has always had a strong connection with literature, but the company has always treated text like a malleable object. When Sineenadh Keitprapai joined the theatre in 1995, she said the company was already holding staged readings and showcases of short works on a regular basis.
These activities have faded in recent years. Three years ago, however, Sineenadh, now the company director, brought back this tradition with the themed reading event, "Aan" (Play Reading), in which people are invited to give oral interpretations of existing literary works of their choice.
Seeing that a few of these short performances have been developed into full-length productions, Sineenadh believed that these performers must have a few original works of their own stashed somewhere in their desks, waiting to be read and staged. Although the theatre scene has become significantly more active and prolific in the past few years, most are adaptations of Western plays.
There is no support system, either, for aspiring playwrights, who, in most cases, end up directing and producing their own plays. Crescent Moon Theatre is trying to change all that with its first 10-minute "Play" project. Showcasing eight 10-minute plays, selected from 26 submissions, the project places more emphasis on the process of revising and the collaboration between the playwright and the director.
We spoke to Sineenadh and Thammasat University's theatre professor Orada Lelanuja about the project, why original short plays are important and how they are building a support system for budding playwrights.
What were the criteria for selecting the plays for the showcase?
Sineenadh: It had to be written for the stage. Some submissions were written like a short story, some wouldn't be interesting for the stage, some had a few characters in them, but all the characters had the same thoughts as if the dialogue was being forced into their mouths.
Was there a dominant theme among the submissions?
Sineenadh: No, it was very diverse. We were interested in making it open because we wanted to know what people were interested in and what they wanted to say.
Who submitted their work?
Orada: We both sent our own works. There were people who participated in Crescent Moon Theatre's playwriting workshop that I conducted earlier this year, my students from Thammasat University, writers who usually don't write plays, stage actors and directors, university students who aren't our students.
Why did you decide to use a system where directors chose which play they want to direct?
Orada: If everything comes from the playwright, then what's the point of having a director? It would be as if the playwright was behind everything, pulling the strings.
Sineenadh: We wanted to try this system because in Thailand playwrights usually direct their own plays. We wanted to try to see whether there were more playwrights out there. We want to open up this space so that people may want to come out to present their works. And we're not turning away actors and directors, either. We want everyone to be part of it. In Thailand, there's so few of everyone; it's best that we welcome them all.
What feedback have you received from the participants?
Sineenadh: People who have just started to do theatre are not accustomed to the exchange of ideas and criticisms from other theatre practitioners. I want the participants to understand the importance of this process. It seems they're having fun with the process. They're happy to be meeting new people and listening to others' opinions of their works.
How do you think short plays are important in the development of playwriting?
Orada: For newcomers, short plays are easier to write and take less time to finish than full-length plays. We can also showcase many plays in one night with short plays.
Sineenadh: If I'm speaking from a performer's perspective, short plays also help to develop acting skills. And sometimes it's more appealing to perform in short plays. Also, I've gone through a few playwriting courses, and I feel like I can always use my experience from these courses to expand my work. If you start with a full-length play right away, it's very difficult to complete. A short play provides a good foundation.
Can we expect to see a festival of original full-length plays in the near future?
Sineenadh: I think that dream is still very far away. Deep down, I do want it to happen. I want to expand little by little, from 10 minutes to 20 minutes to 30 minutes to full-length plays. We do this because we love it and without any sponsorship.
You didn't look for sponsors for this project?
Sineenadh: When we look for sponsors, we always have to fashion our work to suit what the sponsor is.
So we would never have the process that we've had for this project or anything that we dream of having.
The questions you have to answer when it comes to sponsors: What's the capacity of your theatre? How many spectators per show? We can seat 30 per show, so forget it. Sponsors still use the same criteria to decide whether to give us money or not _ and that is the number of spectators. But we're more interested in the exchange of ideas and the collaboration.
Right now, Crescent Moon Theatre is the only company that's doing this kind of script development project. What do you think needs to be done to strengthen the development of original plays in the Bangkok theatre scene?
Sineenadh: I think you have to just do it to be an example. Go through the whole process and make others see that it's possible. Once people see this, more people may become interested and start supporting us.
see :
http://www.bangkokpost.com/feature/culture/318171/shorts-of-all-sorts
ป้ายกำกับ:
Crescent Moon Theatre,
play reading project
22 October 2012
10 Minute Play
พระจันทร์เสี้ยวการละคร ขอเชิญชม การแสดงอ่านบทละครเขียนใหม่ที่ยังไม่เคยจัดแสดงที่ไหนมาก่อน
“อยาก” เขียนโดย ธีรกานต์ ไม้จันทร์
“เครื่องพุ่งทะยานหมายเลข 4” เขียนโดย จตุรชัย ศรีจันทร์วันเพ็ญ
“พลูโตที่รัก” เขียนโดย อรุณโรจน์ ถมมา
“เรื่องเหี้ยเหี้ย” เขียนโดย ลัดดา คงเดช
“ร้านชำซอยสี่” เขียนโดย ฉันทชา อดิลักษณ์
“ธันยาและพ่อ” เขียนโดย นภัค ไตรเจริญเดช
“ในความเงียบ” เขียนโดย สินีนาฏ เกษประไพ
“A Love Song” เขียนโดย อรดา ลีลานุช
แสดงวันเสาร์-อาทิตย์ 27-28 ตุลาคม 2555
รอบเวลา 14.00 และ 18.00 น. (รอบละ 4 เรื่อง)
***หลังการแสดงมีเสวนาทุกรอบ
ชมฟรี
ที่ Crescent Moon Space สถาบันปรีดี พนมยงค์ (ซ.ทองหล่อ)
โทรจองที่นั่ง 081 929 4246
10 Minute "PLAY"
เปิดตัวบทใหม่ ละครสั้นสิบนาที 8 เรื่อง จาก 8 ผู้เขียนบท“อยาก” เขียนโดย ธีรกานต์ ไม้จันทร์
“เครื่องพุ่งทะยานหมายเลข 4” เขียนโดย จตุรชัย ศรีจันทร์วันเพ็ญ
“พลูโตที่รัก” เขียนโดย อรุณโรจน์ ถมมา
“เรื่องเหี้ยเหี้ย” เขียนโดย ลัดดา คงเดช
“ร้านชำซอยสี่” เขียนโดย ฉันทชา อดิลักษณ์
“ธันยาและพ่อ” เขียนโดย นภัค ไตรเจริญเดช
“ในความเงียบ” เขียนโดย สินีนาฏ เกษประไพ
“A Love Song” เขียนโดย อรดา ลีลานุช
แสดงวันเสาร์-อาทิตย์ 27-28 ตุลาคม 2555
รอบเวลา 14.00 และ 18.00 น. (รอบละ 4 เรื่อง)
***หลังการแสดงมีเสวนาทุกรอบ
ชมฟรี
ที่ Crescent Moon Space สถาบันปรีดี พนมยงค์ (ซ.ทองหล่อ)
โทรจองที่นั่ง 081 929 4246
10 Minute PlaY project
Project note 1
พระจันทร์เสี้ยวเปิดรับสมัครบทละสั้นเพื่อเข้าร่วมในโครงการละครสั้นสิบนาที “10 Minute Play” โดยเปิดผู้มีใจรักในการเขียนบทโดยไม่จำกัดอายุ ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นนักทำละคร และไม่จำกัดประเด็นเรื่อง เราอยากสำรวจหาผู้เขียนบทที่อยู่ตามที่ต่างๆ เราอยากเปิดพื้นที่ให้บทละครสั้นประมาณสิบนาทีที่มีรูปแบบเป็นบทละคร มีความน่าสนใจทางความคิด การกระทำของตัวละคร
มีผู้สนใจส่งบทละครสั้นเข้ามาร่วมทั้งสิ้น 26 เรื่อง จากผู้เขียนบท 25 คน และเราได้คัดเลือกบทละครเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 8 เรื่อง ดังนี้
1.บทละครเรื่อง “เครื่องพุ่งทะยานหมายเลข 4” เขียนโดย จตุรชัย ศรีจันทร์วันเพ็ญ
3.บทละครเรื่อง “ธันยาและพ่อ” เขียนโดย นภัค ไตรเจริญเดช
4.บทละครเรื่อง “อยาก” เขียนโดย ธีรกานต์ ไม้จันทร์
5.บทละครเรื่อง “เหี้ยในรั้ว” เขียนโดย ลัดดา คงเดช
6.บทโมโนล็อคเรื่อง “ขมขื่นในความเงียบ” เขียนโดย สินีนาฏ เกษประไพ
7.บทละครเรื่อง “พลูโตที่รัก” เขียนโดย อรุณโรจน์ ถมมา
8.บทละครเรื่อง “A Love Song” เขียนโดย อรดา ลีลานุช
โครงการนี้ไม่มีรางวัลหรือประกาศนีบัตรมอบให้ผู้เขียน บทที่ได้รับการคัดเลือกจากพระจันทร์เสี้ยวการละครในครั้งนี้นี้เป็นบทที่เราเลือกที่มุมมองของผู้เขียนที่มีความน่าสนใจ มีความเป็นบทละคร น่าจจะจัดแสดง ดังนั้นบทที่ได้รับการคัดเลือกจะถูกจัดแสดงในรูปแบบอ่านบทละครในช่วงปลายเดือนตุลาคมนี้ โดยเราจะเชิญผู้เขียนบทมาร่วมกระบวนการแลกเปลี่ยนพูดคุยและร่วมในกระบวนการอ่านบทละครเพื่อเป็นเสียงสะท้อนจากนักแสดงและผู้ชม เพื่อเป็นประสบการณ์ให้ผู้เขียนบทใช้เป็นการพัฒนาต่อ
04 May 2012
Fall ร่วง หก ตก หล่น
Crescent Moon Theatre Upcoming production!
พระจันทร์เสี้ยวการละคร เสนอ
"fall" ร่วง หก ตก หล่น เป็นการแสดง Body Expression and Movement ถ่ายทอดเรื่องราว และการเดินทางของหญิงสาวสองคน ภายใต้แรงโน้มถ่วง และเงื่อนไขของโลก ห้วงเวลาแห่งความสับสน จากบนสู่ล่าง กาลเวลาที่ผันผ่านอาจทำให้ให้พวกเธอจม...ดิ่ง บางครั้งอาจนำพาสู่ความเปลี่ยนแปลง การค้นหา ตั้งคำถาม คัดค้าน เพื่อบางสิ่งที่มีความหมายต่อจิตใจ
"เสียงกระซิบจากร่างกาย บทสนทนาผ่านหัวใจ"
สร้างสรรค์และแสดง โดย
สุกัญญา เพี้ยนศรี และ ศิริธร ศิริวรรณ
แสดงวันที่ 21 - 25 มิถุนายน, 28 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม 2555
เวลา 19.30 น.
โรงละครพระจันทร์เสี้ยว , สถาบัน ปรีดี พนมยงค์ (BTS ทองหล่อ)
บัตรราคา 350 บาท
สำรองที่นั่ง 08-1929-4246, 08-4174-2729
www.facebook.com/CrescentMoonTheatre
http://www.crescentmoontheatre.org/
เกี่ยวกับผู้กำกับ
สุกัญญา เพี้ยนศรี
นักทำละครคลื่นลูกใหม่ของพระจันทร์เสี้ยวการละคร สนใจและเริ่มทำละครตั้งแต่ตอนเรียนอยู่มัธยมปลาย เป็นสมาชิกพระจันทร์เสี้ยวการละครตั้งแต่ปี 2552 ผลงานที่ผ่านมา Time’s Up (2009), ละครหุ่น Wawa the Rice Child (2010), คือผู้อภิวัฒน์ (2010) ล่าสุด Bad Fine Day (2012) เป็นต้น
Fall ร่วง หก ตก หล่น เป็นงานสร้างสรรค์เอง แสดงเองครั้งแรก
ศิริธร ศิริวรรณ
นักทำละครคนรุ่นใหม่แกะกล่อง จากพระจันทร์เสี้ยวการละคร ผลงานที่ผ่านมา Bad Fine Day โครงการอ่านบทละคร "อ่านในใจ" และเส้นด้ายในความมืด ครั้งนี้เธอหยิบเอาเรื่องราวของชีวิตตอนหนึ่งมาเล่าสู่กันฟัง ผ่านเสียงกระซิบ และร่างกายที่โหยหาการเดินทางเพื่อสำรวจภาวะภายในผ่านเรื่อง "fall ร่วง หก ตก หล่น"
Crescent Moon Theatre presents
"Whispering though bodies ... conversing with hearts"
Perform and direct by
Sukanya Pheansri and Sirithorn Siriwan
21-25 June, 28 June-2 July 2012
Showtime: 7.30 p.m.
Crescent Moon Space , Pridi Banomyong Institute (soi Thonglor)
Ticket : 350 Bath
More info: 08-1929-4246, 08-4174-2729
www.facebook.com/CrescentMoonTheatre
http://www.crescentmoontheatre.org/
About Directors
Sukanya Pheansri
is the new generation of Crescent Moon Theatre.With her interest in theatre, she participated in theatre activities when she was in high school. Today, she has been a member of Crescent Moon Theatre since 2009.Her latest productions are "Time’s Up" (2009), "Wawa the Rice Child" (2010), "The Revolutionist" (2010) and "Bad Fine Day" (2012).
Today, "fall" will be her first time of directing and performing her production ever.
Sirithorn Siriwan is a rising-junior performer and artist of Crescent Moon Theatre. Her latest productions are "Bad Fine Day" (2011), "Play Reading: Reading in Mind"(2011) and "A Thread in the Dark" (2011).
Today, she will depict one chapter of her life story though whisper and body that longs for the journey to explore her inward world in the play called "fall"...
พระจันทร์เสี้ยวการละคร เสนอ
"fall" ร่วง หก ตก หล่น
"เสียงกระซิบจากร่างกาย บทสนทนาผ่านหัวใจ"
สร้างสรรค์และแสดง โดย
สุกัญญา เพี้ยนศรี และ ศิริธร ศิริวรรณ
แสดงวันที่ 21 - 25 มิถุนายน, 28 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม 2555
เวลา 19.30 น.
โรงละครพระจันทร์เสี้ยว , สถาบัน ปรีดี พนมยงค์ (BTS ทองหล่อ)
บัตรราคา 350 บาท
สำรองที่นั่ง 08-1929-4246, 08-4174-2729
www.facebook.com/CrescentMoonTheatre
http://www.crescentmoontheatre.org/
เกี่ยวกับผู้กำกับ
สุกัญญา เพี้ยนศรี
นักทำละครคลื่นลูกใหม่ของพระจันทร์เสี้ยวการละคร สนใจและเริ่มทำละครตั้งแต่ตอนเรียนอยู่มัธยมปลาย เป็นสมาชิกพระจันทร์เสี้ยวการละครตั้งแต่ปี 2552 ผลงานที่ผ่านมา Time’s Up (2009), ละครหุ่น Wawa the Rice Child (2010), คือผู้อภิวัฒน์ (2010) ล่าสุด Bad Fine Day (2012) เป็นต้น
Fall ร่วง หก ตก หล่น เป็นงานสร้างสรรค์เอง แสดงเองครั้งแรก
ศิริธร ศิริวรรณ
นักทำละครคนรุ่นใหม่แกะกล่อง จากพระจันทร์เสี้ยวการละคร ผลงานที่ผ่านมา Bad Fine Day โครงการอ่านบทละคร "อ่านในใจ" และเส้นด้ายในความมืด ครั้งนี้เธอหยิบเอาเรื่องราวของชีวิตตอนหนึ่งมาเล่าสู่กันฟัง ผ่านเสียงกระซิบ และร่างกายที่โหยหาการเดินทางเพื่อสำรวจภาวะภายในผ่านเรื่อง "fall ร่วง หก ตก หล่น"
Crescent Moon Theatre presents
"fall"
"fall" is a performance of body expression and movement telling the story and journey of two women under the gravity.Due to the hours of confusion, the moment might draw them down. Sometimes, it comes to the new change, exploration, question and confrontation for essential occurrance."Whispering though bodies ... conversing with hearts"
Perform and direct by
Sukanya Pheansri and Sirithorn Siriwan
21-25 June, 28 June-2 July 2012
Showtime: 7.30 p.m.
Crescent Moon Space , Pridi Banomyong Institute (soi Thonglor)
Ticket : 350 Bath
More info: 08-1929-4246, 08-4174-2729
www.facebook.com/CrescentMoonTheatre
http://www.crescentmoontheatre.org/
About Directors
Sukanya Pheansri
is the new generation of Crescent Moon Theatre.With her interest in theatre, she participated in theatre activities when she was in high school. Today, she has been a member of Crescent Moon Theatre since 2009.Her latest productions are "Time’s Up" (2009), "Wawa the Rice Child" (2010), "The Revolutionist" (2010) and "Bad Fine Day" (2012).
Today, "fall" will be her first time of directing and performing her production ever.
Sirithorn Siriwan is a rising-junior performer and artist of Crescent Moon Theatre. Her latest productions are "Bad Fine Day" (2011), "Play Reading: Reading in Mind"(2011) and "A Thread in the Dark" (2011).
Today, she will depict one chapter of her life story though whisper and body that longs for the journey to explore her inward world in the play called "fall"...
24 April 2012
บทวิจารณ์ I Sea ใน Art Square
ค่ำคืนหนึ่งที่ทองหล่อ... ผมมองเห็นทะเล
เขียนโดย วิชญ์พล ดิลกสัมพันธ์
จากนิตยสาร Art Square ฉบับเดือนธันวาคม 2554
เมื่อพูดถึงชายหาดและเกลียวคลื่นที่ซัดสาดเข้าหาฝั่ง ลมเย็นๆที่พัดมาจากพื้นน้ำ พร้อมกับกลิ่นไอทะเลจางๆในอากาศ คุณนึกถึงอะไร? สำหรับสองนักแสดงหญิงผู้มากความสามารถและมากประสบการณ์จากพระจันทร์เสี้ยวการละคร พวกเธอได้ถ่ายทอดความคำนึงและความรู้สึกที่มีต่อทะเล ผ่านผลงานการแสดงเดี่ยวล่าสุดของทั้งคู่… I-Sea project
สินีนาฏ เกษประไพ ศิลปินศิลปาธรหญิงคนแรกของประเทศไทย และ ฟารีดา จิราพันธุ์ นักแสดงละครเวทีฝีมือคุณภาพ ทั้งสองเป็นสมาชิกกลุ่มพระจันทร์เสี้ยวการละคร และทำงานละครมาอย่างยาวนาน มีผลงานละครอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ครั้งนี้ทั้งคู่ได้จับมือกันทำ Solo Performance ของแต่ละคน ที่เน้นการเคลื่อนไหวของร่างกายผู้หญิงโดยไม่ใช้คำพูด ภายใต้โจทย์เดียวกันคือคำว่า ทะเล และ ผู้หญิง และได้จัดแสดงที่ Crescent moon space สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ เมื่อวันที่ 22-26 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็นการแสดงเดี่ยว 2 เรื่องที่ไม่ได้ต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวกัน ระยะเวลาประมาณ 30 นาทีต่อเรื่อง ซึ่งก็ได้รับเสียงสะท้อนจากผู้ชมที่ดีมากทีเดียวในแง่ของ “ความรู้สึก”
ละครเริ่มต้นด้วย Flotsam ของ ฟารีดา จิราพันธุ์ ซึ่งชื่อเรื่องแปลว่า “ของที่ลอยอยู่ในทะเล” ภาพบนเวทีเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ผู้ชมเข้าโรงละครจนครบ มีเด็กผู้หญิงคนหนึ่งเดินถือกระสอบทรายเข้ามา และชักชวนผู้ชมให้ออกไปเทของที่อยู่ในถุงออกมา เป็นกระดาษบางๆเหมือนถุงพลาสติกสีน้ำเงินและสีขาว กระจัดกระจายไปทั่วห้อง เด็กหญิงเล่นกับกระดาษอย่างสนุกสนาน ต่อด้วยการเต้นเพลง “ลอยทะเล” ด้วยความร่าเริง เธอขึ้นไปยืนอยู่บนแท่นสี่เหลี่ยม และขณะที่เธอเต้นอย่างมีความสุขอยู่นั่นเอง เธอก็ตกลงมาจากแท่น (ทำเอาผู้ชมตกใจไปตามๆกัน) ทุกอย่างเงียบสนิท เมื่อเธอกลับขึ้นมา มือของเธอก็เริ่มสำรวจร่างกายราวกับมีชีวิต หลังจากนั้น ภาพในจิตใจของเด็กคนนี้ก็แสดงออกมาผ่าน Movement ที่รุนแรงและทรมาน หลังจากนั้น เด็กน้อยก็กลายร่างเป็นสัตว์ป่าที่ดูน่ากลัว ก้าวร้าว เคลื่อนไหวตามสัญชาตญาณ รุนแรงราวกับถูกฉีกกระชากเป็นชิ้นๆ เมื่อทุกอย่างสงบลงเหมือนกับทะเลที่สงบนิ่งหลังการจากไปของพายุ ด้านหลังปรากฏภาพของเด็กหญิงคนหนึ่ง (รูปของพี่ฟาตอนเด็กๆนั่นเอง) ในอิริยาบถต่างๆ บนเวทีมีเด็กคนหนึ่งนั่งอยู่บนขอบหินอย่างเดียวดาย สักพักก็มีแตรเด็กเล่น สีสันสดใสลอยมาตามน้ำ เด็กหญิงเก็บขึ้นมาและพยายามเป่ามันเป็นเพลง ระบำชาวเกาะ และมีความสุขอยู่เพียงลำพัง
งานของฟารีดาทำให้นึกถึงภาพของชายหาดที่ถูกคลื่นซัด ตอนเด็กๆเรามักจะชอบขีดๆเขียนๆอะไรบางอย่างบนริมหาด หรือสร้างปราสาททรายที่สวยงาม แต่เมื่อคลื่นมาถึง มันจะถาโถมเข้าใส่ชายหาด และดูดกลืนทุกอย่างให้หายไปในพริบตา หลงเหลือแต่ผืนทรายที่ว่างเปล่า อีกประเด็นที่น่าสนใจก็คือเรื่องความเหงาและเดียวดาย เด็กผู้หญิงในตอนท้ายก็เหมือนกับของที่ลอยอยู่ในทะเลตามชื่อเรื่อง เมื่อแตรของเล่นที่ลอยอยู่อย่างเดียวดายมาพบกับเด็กผู้หญิง จึงทำให้ความเหงาถูกบรรเทาลงไปบ้าง เป็นแสงสว่างเล็กๆยามที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า เป็นความรู้สึกที่เรามักจะสัมผัสได้เสมอเวลามองเห็นทะเล ความเหงามักจะถามหาเราเสมอ เพราะตัวมันเองก็คงจะเหงาเหมือนกัน
ต่อด้วยงานของ สินีนาฏ เกษประไพ กับเรื่อง Change ที่มีการใช้ดนตรีสดเป็น แซ็กโซโฟน เป่าโดยชายหนุ่มคนหนึ่งที่เดินเข้ามาในห้องก่อน ตามมาด้วยการเปิดตัวผู้หญิงคนหนึ่งที่ปีนเข้ามาทางหน้าต่าง(!!) ในชุดเจ้าสาว (!!!) เธอยื่นมือสองข้างให้ชายหนุ่มเหมือนเด็กๆ เพื่อให้เขาอุ้มเธอเข้ามาในห้อง เธอดูเหมือนตุ๊กตาตัวหนึ่งที่เริ่มมีชีวิตเมื่อชายหนุ่มเริ่มเป่าแซ็ก จากนั้นเด็กผู้หญิงก็ค่อยๆโตขึ้นเรื่อยๆ ดูสดใสไร้เดียงสา จากนั้นภาพก็ตัดมาที่ในทะเล เด็กผู้หญิงกลายร่างเป็นสัตว์น้ำนานาชนิด ที่มองเห็นชัดเจนก็คือปูเสฉวนกับแมงกะพรุน จากนั้นเจ้าแมงกะพรุนก็เริ่มวาดลวดลายโดยการเต้นประกอบเพลง “Love potion No.9” พร้อมกับยิ้มแหยๆเหมือนกับฝืนทำ จากนั้นการเคลื่อนไหวก็เปลี่ยนไป ผู้หญิงเหมือนถูกใครหรืออะไรบางอย่างบังคับอยู่ เธอพยายามขัดขืนพร้อมๆกับเสียงแซ็กโซโฟนที่ดังขึ้นจนหนวกหู แต่ในที่สุดเธอหมดแรงต่อต้าน ด้านหลังปรากฎภาพตึกในเมืองที่แน่นขนัด ในท้ายที่สุด ผู้หญิงคนนี้ก็ถอดชุดแต่งงานออก แต่เธอก็ไม่สดใสอีกแล้ว เสื้อผ้าของเธอขาดรุ่งริ่ง ด้านหลังปรากฎภาพถนนที่ทอดยาวไม่มีที่สิ้นสุดท่ามกลางภูเขาทั้งสองฟากฝั่ง เธอตัดสินใจเดินไปตามทางนั้นโดยไม่มีจุดมุ่งหมายหลงเหลืออยู่ในแววตาของเธอเลย
ดูเหมือนว่าสินีนาฏมีประเด็นหลายอย่างเป็นก้อนๆ ที่สอดแทรกอยู่ในงานชิ้นนี้ แต่ก็เป็นลักษณะที่เปิดกว้าง มีพื้นที่ไว้ให้ผู้ชมคิดและเทียบเคียง แต่ประเด็นที่ชัดเจนสำหรับผู้หญิงทุกคนคือเรื่องของการแต่งงานและชีวิตคู่ ซึ่งผู้หญิงมักจะคาดหวังไว้ว่ามันจะต้องสวยงามเสมอ แต่ส่วนมากแล้วก็จะไม่เป็นไปตามที่หวังไว้ เหมือนกับสมัยเด็กๆ ที่เรามักจะตื่นเต้นกับการมองเห็นทะเล และจินตนาการไว้สวยหรู แต่เมื่อลงไปเล่นจริงๆแล้ว กลับไม่มีอะไรเลย ออกจะอันตรายและน่ากลัวด้วยซ้ำไป อีกทั้งเรื่องนี้ยังทำให้นึกถึงการโหยหาความทรงจำในวันเก่าที่แสนยาวไกล สมัยที่ความคิดของเรายังไร้เดียงสาและสวยงาม ซึ่งเมื่อเราได้พบกับความเป็นจริงแล้ว เราจะไม่สามารถกลับไปหาความทรงจำเหล่านั้นได้อีกเลย
การแสดงเดี่ยวครั้งนี้ ได้สะท้อนถึงมุมมอง วิธีคิด และตัวตนของผู้หญิงทั้ง 2 คนนี้ได้อย่างเข้มข้น อีกทั้งการแสดงยังมีพลังที่สามารถทำให้ผู้ชม “รู้สึก” ตามไปกับเรื่องราวของทั้งคู่ อีกทั้งยังแบ่งช่องว่างไว้ให้กับผู้ชมในการเชื่อมโยง หรือเทียบเคียงประเด็นต่างๆกับประสบการณ์ชีวิตของตนเอง I-Sea จึงเป็นการแสดงที่น่าสนใจ ราวกับทะเลที่มีเสน่ห์ดึงดูด ทำให้เราอยากสัมผัสและค้นหาความรู้สึกบางอย่างจากมัน
หลังจากการแสดงจบลง ผมหลับตาลงและสัมผัสถึงสายลมอันแผ่วเบา เสียงเกลียวคลื่นกระทบฝั่ง กับกลิ่นชายหาดและรสเค็มของน้ำทะเล แล้วถามตัวเองดูว่า “ครั้งสุดท้ายที่มองเห็นทะเล.... เรากำลังนึกถึงอะไร?”
เขียนโดย วิชญ์พล ดิลกสัมพันธ์
จากนิตยสาร Art Square ฉบับเดือนธันวาคม 2554
เมื่อพูดถึงชายหาดและเกลียวคลื่นที่ซัดสาดเข้าหาฝั่ง ลมเย็นๆที่พัดมาจากพื้นน้ำ พร้อมกับกลิ่นไอทะเลจางๆในอากาศ คุณนึกถึงอะไร? สำหรับสองนักแสดงหญิงผู้มากความสามารถและมากประสบการณ์จากพระจันทร์เสี้ยวการละคร พวกเธอได้ถ่ายทอดความคำนึงและความรู้สึกที่มีต่อทะเล ผ่านผลงานการแสดงเดี่ยวล่าสุดของทั้งคู่… I-Sea project
สินีนาฏ เกษประไพ ศิลปินศิลปาธรหญิงคนแรกของประเทศไทย และ ฟารีดา จิราพันธุ์ นักแสดงละครเวทีฝีมือคุณภาพ ทั้งสองเป็นสมาชิกกลุ่มพระจันทร์เสี้ยวการละคร และทำงานละครมาอย่างยาวนาน มีผลงานละครอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ครั้งนี้ทั้งคู่ได้จับมือกันทำ Solo Performance ของแต่ละคน ที่เน้นการเคลื่อนไหวของร่างกายผู้หญิงโดยไม่ใช้คำพูด ภายใต้โจทย์เดียวกันคือคำว่า ทะเล และ ผู้หญิง และได้จัดแสดงที่ Crescent moon space สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ เมื่อวันที่ 22-26 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็นการแสดงเดี่ยว 2 เรื่องที่ไม่ได้ต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวกัน ระยะเวลาประมาณ 30 นาทีต่อเรื่อง ซึ่งก็ได้รับเสียงสะท้อนจากผู้ชมที่ดีมากทีเดียวในแง่ของ “ความรู้สึก”
ละครเริ่มต้นด้วย Flotsam ของ ฟารีดา จิราพันธุ์ ซึ่งชื่อเรื่องแปลว่า “ของที่ลอยอยู่ในทะเล” ภาพบนเวทีเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ผู้ชมเข้าโรงละครจนครบ มีเด็กผู้หญิงคนหนึ่งเดินถือกระสอบทรายเข้ามา และชักชวนผู้ชมให้ออกไปเทของที่อยู่ในถุงออกมา เป็นกระดาษบางๆเหมือนถุงพลาสติกสีน้ำเงินและสีขาว กระจัดกระจายไปทั่วห้อง เด็กหญิงเล่นกับกระดาษอย่างสนุกสนาน ต่อด้วยการเต้นเพลง “ลอยทะเล” ด้วยความร่าเริง เธอขึ้นไปยืนอยู่บนแท่นสี่เหลี่ยม และขณะที่เธอเต้นอย่างมีความสุขอยู่นั่นเอง เธอก็ตกลงมาจากแท่น (ทำเอาผู้ชมตกใจไปตามๆกัน) ทุกอย่างเงียบสนิท เมื่อเธอกลับขึ้นมา มือของเธอก็เริ่มสำรวจร่างกายราวกับมีชีวิต หลังจากนั้น ภาพในจิตใจของเด็กคนนี้ก็แสดงออกมาผ่าน Movement ที่รุนแรงและทรมาน หลังจากนั้น เด็กน้อยก็กลายร่างเป็นสัตว์ป่าที่ดูน่ากลัว ก้าวร้าว เคลื่อนไหวตามสัญชาตญาณ รุนแรงราวกับถูกฉีกกระชากเป็นชิ้นๆ เมื่อทุกอย่างสงบลงเหมือนกับทะเลที่สงบนิ่งหลังการจากไปของพายุ ด้านหลังปรากฏภาพของเด็กหญิงคนหนึ่ง (รูปของพี่ฟาตอนเด็กๆนั่นเอง) ในอิริยาบถต่างๆ บนเวทีมีเด็กคนหนึ่งนั่งอยู่บนขอบหินอย่างเดียวดาย สักพักก็มีแตรเด็กเล่น สีสันสดใสลอยมาตามน้ำ เด็กหญิงเก็บขึ้นมาและพยายามเป่ามันเป็นเพลง ระบำชาวเกาะ และมีความสุขอยู่เพียงลำพัง
งานของฟารีดาทำให้นึกถึงภาพของชายหาดที่ถูกคลื่นซัด ตอนเด็กๆเรามักจะชอบขีดๆเขียนๆอะไรบางอย่างบนริมหาด หรือสร้างปราสาททรายที่สวยงาม แต่เมื่อคลื่นมาถึง มันจะถาโถมเข้าใส่ชายหาด และดูดกลืนทุกอย่างให้หายไปในพริบตา หลงเหลือแต่ผืนทรายที่ว่างเปล่า อีกประเด็นที่น่าสนใจก็คือเรื่องความเหงาและเดียวดาย เด็กผู้หญิงในตอนท้ายก็เหมือนกับของที่ลอยอยู่ในทะเลตามชื่อเรื่อง เมื่อแตรของเล่นที่ลอยอยู่อย่างเดียวดายมาพบกับเด็กผู้หญิง จึงทำให้ความเหงาถูกบรรเทาลงไปบ้าง เป็นแสงสว่างเล็กๆยามที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า เป็นความรู้สึกที่เรามักจะสัมผัสได้เสมอเวลามองเห็นทะเล ความเหงามักจะถามหาเราเสมอ เพราะตัวมันเองก็คงจะเหงาเหมือนกัน
ต่อด้วยงานของ สินีนาฏ เกษประไพ กับเรื่อง Change ที่มีการใช้ดนตรีสดเป็น แซ็กโซโฟน เป่าโดยชายหนุ่มคนหนึ่งที่เดินเข้ามาในห้องก่อน ตามมาด้วยการเปิดตัวผู้หญิงคนหนึ่งที่ปีนเข้ามาทางหน้าต่าง(!!) ในชุดเจ้าสาว (!!!) เธอยื่นมือสองข้างให้ชายหนุ่มเหมือนเด็กๆ เพื่อให้เขาอุ้มเธอเข้ามาในห้อง เธอดูเหมือนตุ๊กตาตัวหนึ่งที่เริ่มมีชีวิตเมื่อชายหนุ่มเริ่มเป่าแซ็ก จากนั้นเด็กผู้หญิงก็ค่อยๆโตขึ้นเรื่อยๆ ดูสดใสไร้เดียงสา จากนั้นภาพก็ตัดมาที่ในทะเล เด็กผู้หญิงกลายร่างเป็นสัตว์น้ำนานาชนิด ที่มองเห็นชัดเจนก็คือปูเสฉวนกับแมงกะพรุน จากนั้นเจ้าแมงกะพรุนก็เริ่มวาดลวดลายโดยการเต้นประกอบเพลง “Love potion No.9” พร้อมกับยิ้มแหยๆเหมือนกับฝืนทำ จากนั้นการเคลื่อนไหวก็เปลี่ยนไป ผู้หญิงเหมือนถูกใครหรืออะไรบางอย่างบังคับอยู่ เธอพยายามขัดขืนพร้อมๆกับเสียงแซ็กโซโฟนที่ดังขึ้นจนหนวกหู แต่ในที่สุดเธอหมดแรงต่อต้าน ด้านหลังปรากฎภาพตึกในเมืองที่แน่นขนัด ในท้ายที่สุด ผู้หญิงคนนี้ก็ถอดชุดแต่งงานออก แต่เธอก็ไม่สดใสอีกแล้ว เสื้อผ้าของเธอขาดรุ่งริ่ง ด้านหลังปรากฎภาพถนนที่ทอดยาวไม่มีที่สิ้นสุดท่ามกลางภูเขาทั้งสองฟากฝั่ง เธอตัดสินใจเดินไปตามทางนั้นโดยไม่มีจุดมุ่งหมายหลงเหลืออยู่ในแววตาของเธอเลย
ดูเหมือนว่าสินีนาฏมีประเด็นหลายอย่างเป็นก้อนๆ ที่สอดแทรกอยู่ในงานชิ้นนี้ แต่ก็เป็นลักษณะที่เปิดกว้าง มีพื้นที่ไว้ให้ผู้ชมคิดและเทียบเคียง แต่ประเด็นที่ชัดเจนสำหรับผู้หญิงทุกคนคือเรื่องของการแต่งงานและชีวิตคู่ ซึ่งผู้หญิงมักจะคาดหวังไว้ว่ามันจะต้องสวยงามเสมอ แต่ส่วนมากแล้วก็จะไม่เป็นไปตามที่หวังไว้ เหมือนกับสมัยเด็กๆ ที่เรามักจะตื่นเต้นกับการมองเห็นทะเล และจินตนาการไว้สวยหรู แต่เมื่อลงไปเล่นจริงๆแล้ว กลับไม่มีอะไรเลย ออกจะอันตรายและน่ากลัวด้วยซ้ำไป อีกทั้งเรื่องนี้ยังทำให้นึกถึงการโหยหาความทรงจำในวันเก่าที่แสนยาวไกล สมัยที่ความคิดของเรายังไร้เดียงสาและสวยงาม ซึ่งเมื่อเราได้พบกับความเป็นจริงแล้ว เราจะไม่สามารถกลับไปหาความทรงจำเหล่านั้นได้อีกเลย
การแสดงเดี่ยวครั้งนี้ ได้สะท้อนถึงมุมมอง วิธีคิด และตัวตนของผู้หญิงทั้ง 2 คนนี้ได้อย่างเข้มข้น อีกทั้งการแสดงยังมีพลังที่สามารถทำให้ผู้ชม “รู้สึก” ตามไปกับเรื่องราวของทั้งคู่ อีกทั้งยังแบ่งช่องว่างไว้ให้กับผู้ชมในการเชื่อมโยง หรือเทียบเคียงประเด็นต่างๆกับประสบการณ์ชีวิตของตนเอง I-Sea จึงเป็นการแสดงที่น่าสนใจ ราวกับทะเลที่มีเสน่ห์ดึงดูด ทำให้เราอยากสัมผัสและค้นหาความรู้สึกบางอย่างจากมัน
หลังจากการแสดงจบลง ผมหลับตาลงและสัมผัสถึงสายลมอันแผ่วเบา เสียงเกลียวคลื่นกระทบฝั่ง กับกลิ่นชายหาดและรสเค็มของน้ำทะเล แล้วถามตัวเองดูว่า “ครั้งสุดท้ายที่มองเห็นทะเล.... เรากำลังนึกถึงอะไร?”
23 April 2012
ผู้หญิงลายจุด
Dot Women
การแสดงสั้นชุด "ผู้หญิงลายจุด" เป็นการแสดงที่แตกมาจากการแสดงชุด "วันสุข" หรือ Bad Fine Day นำมาทำเป็นการแสดงหญิงล้วน 5 คน กับภาวะ เหงา เศร้า ท่ามกลางผู้คนแออัดในวันศุกร์ ร่วมแสดงในงาน Heal the Arts ที่ V64 วันที่ 25 มีนาคม 2555
การแสดงสั้นชุด "ผู้หญิงลายจุด" เป็นการแสดงที่แตกมาจากการแสดงชุด "วันสุข" หรือ Bad Fine Day นำมาทำเป็นการแสดงหญิงล้วน 5 คน กับภาวะ เหงา เศร้า ท่ามกลางผู้คนแออัดในวันศุกร์ ร่วมแสดงในงาน Heal the Arts ที่ V64 วันที่ 25 มีนาคม 2555
16 March 2012
Our New Website
เว็บใหม่ของเรา
หลังจากเว็บเก่าของเราที่เปิดมาตังแต่ 2549 ล่มไป ตอนนี้ก็ถึงเวลาที่เราจะเปิดเว็บขึ้นมาอีกครั้ง โปรดติดตามข้อมูลข่าวสสารจากเรา รวมทั้งกิจกรรมละครเวทีและศิลปะ ได้ที่หน้าเว็บใหม่นี้
หลังจากเว็บเก่าของเราที่เปิดมาตังแต่ 2549 ล่มไป ตอนนี้ก็ถึงเวลาที่เราจะเปิดเว็บขึ้นมาอีกครั้ง โปรดติดตามข้อมูลข่าวสสารจากเรา รวมทั้งกิจกรรมละครเวทีและศิลปะ ได้ที่หน้าเว็บใหม่นี้
12 March 2012
Creative Writng workshop
Creative Writing workshop
อบรมเขียนบทละครเวทีเบื้องต้น
พระจันทร์เสี้ยวการละคร จัดอบรมเขียนบทละครเวทีเบื้องต้น โดยเน้นการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานในการสร้างเข้าใจโครงเรื่อง การสร้างเรื่อง และ การหาเรื่องจากสิ่งรอบตัว คอร์สนี้เปิดรับผู้สนใจทั่วไป โดยไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานการแสดงหรือการเขียนบทมาก่อน
สอนโดย
อรดา ลีลานุช
จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก St. Olaf College ทางด้าน Theatre ระดับปริญญาโทจาก Miami University ทางด้าน Theatre และ ระดับปริญญาเอกจาก Texas Tech University ทางด้าน Fine Arts (Theatre) โดยที่มีความสนใจทางด้านประวัติศาสตร์การละคร ทฤษฎีการละคร การเขียนบทละคร และการพัฒนางานเขียนของนักเขียนหน้าใหม่ ตอนนี้เป็นอาจารย์พิเศษอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะอักษรศาสตร์ ภาควิชาศิลปการละคร และที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อรดา ลีลานุช
จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก St. Olaf College ทางด้าน Theatre ระดับปริญญาโทจาก Miami University ทางด้าน Theatre และ ระดับปริญญาเอกจาก Texas Tech University ทางด้าน Fine Arts (Theatre) โดยที่มีความสนใจทางด้านประวัติศาสตร์การละคร ทฤษฎีการละคร การเขียนบทละคร และการพัฒนางานเขียนของนักเขียนหน้าใหม่ ตอนนี้เป็นอาจารย์พิเศษอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะอักษรศาสตร์ ภาควิชาศิลปการละคร และที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อบรมวันที่ 3-6 พฤษภาคม 2555 เวลา 10.00 – 17.00 น. (รวม 28 ชั่วโมง)
ที่ Crescent Moon Space สถาบันปรีดี พนมยงค์ (BTS ทองหล่อ)
***มีค่าลงทะเบียน****
ที่ Crescent Moon Space สถาบันปรีดี พนมยงค์ (BTS ทองหล่อ)
***มีค่าลงทะเบียน****
ข้อมูลเพิ่มเติมโทร 08 - 1929 4246
อีเมล์ crescentmoontheatre@yahoo.com
อีเมล์ crescentmoontheatre@yahoo.com
Back to Basic acting workshop #6
Back to Basic acting workshop
อบรมการสดงเบื้องต้น
อบรมการสดงเบื้องต้น
พระจันทร์เสี้ยวการละครจัดอบรมศิลปะการแสดงเบื้องต้นสำหรับผู้สนใจทั่วไป ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานการแสดงมาก่อน มุ่งเน้นปูพื้นฐานความเข้าใจการแสดง การสวมบทบาท และการด้นสด Improvisation
สอนโดย
สินีนาฏ เกษประไพ
นักแสดง ผู้เขียนบท ผู้กำกับละครเวทีกลุ่มพระจันทร์เสี้ยวการละคร
ศิลปินรางวัลศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดงปี 2551
สินีนาฏ เกษประไพ
นักแสดง ผู้เขียนบท ผู้กำกับละครเวทีกลุ่มพระจันทร์เสี้ยวการละคร
ศิลปินรางวัลศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดงปี 2551
อบรมวันที่ 26-29 เมษายน 2555 เวลา 13.00 – 18.00 น. (รวม 20 ชั่วโมง)
ที่ Crescent Moon Space สถาบันปรีดี พนมยงค์ (BTS ทองหล่อ)
***มีค่าลงทะเบียน***
ข้อมูลเพิ่มเติมที่โทร 08 1929 4246
crescentmooontheatre@yahoo.com
crescentmooontheatre@yahoo.com
29 February 2012
อบรมออกแบบแสง
พระจันทร์เสี้ยวการละครจัดอบรม
ออกแบบแสงสำหรับการแสดงบนเวที ครั้งที่ 5
(Stage Lighting Design workshop #5)
วันที่ 5 - 8 เมษายน เวลา 10.00-18.00 น.
ที่ Crescent Moon Space
อาคารสถาบันปรีดีพนมยงค์ ถนนสุขุมวิท 55 (ซ.ทองหล่อ)
สนใจดูรายละเอียด กรอกใบสมัคร แล้วส่งกลับมาที่
E-mail: lightingworkshop@yahoo.com
สอนโดย :
ทวิทธิ์ เกษประไพ
เริ่มทำงานแสงตั้งแต่สมัยเรียน จากนั้นทำงานกับบริษัทแสงอีกหลายบริษัทเป็นเวลาเกือบยี่สิบปี ใจรักงานละครเวที เกี่ยวข้องและทำแสงให้กับละครเวทีคณะต่างๆอีกหลายคณะ ออกแบบแสงละครเวทีให้กับพระจันทร์เสี้ยวการละครตั้งแต่ปี 2538 ออกแบบแสงและเป็น Technical Director ให้กับผลงานของ B Floor เกือบทุกเรื่องในช่วงแปดปีแรก (2542-2550) ปัจจุบันเป็น Technical Director ของพระจันทร์เสี้ยวการละคร ดูแลออกแบบแสงงานเกือบทุกเรื่อง นอกจากนั้นยังออกแบบแสงและหรือ Technical Director ให้กับกลุ่มละครอื่นๆอีกหลายกลุุ่ม
ผลงานออกแบบแสง เช่น
กูชื่อ..พญาพาน, พระมะเหลเถไถ, คือผู้อภิวัฒน์, มิดะ, Crying Century, The Edge, Venus Party, Eclipse, แอนธิโกเน, ความฝันกลางเดือนหนาว, Me Moment, Left Out, วาวา The Rice Child, 1=1=1, สาวชาวนา, ช่อมาลีรำลึก, I Sea, A Midsummer Night's Dream ฯลฯ
พิธีปิดเทศกาลละครกรุงเทพ ครั้งที่ 10
ขอเชิญร่วมงานพิธีปิดเทศกาลละครกรุงเทพครั้งที่ 10 วันที่ 4 มีนาคม 2555
จะมีการแจกรางวัลและเลี้ยงปิดกันที่ห้องอเนกประสงค์ ชั้น1หอศิลป์กทม.
กำหนดการ
13.00-15.00. ขึ้นเขียงกลุ่มเสาสูง(พูดคุยประสบการณ์การทำงานของกลุ่มนี้)
15.00-17.00. ละครร่วมสมัยอะไรหว่า: การสรุปภาพรวมวงการละครเวทีบ้านเราในช่วง10ปีที่ผ่านมาของ ครูอุ๋ย พรรัตน์ ดำรุง ใครอยากรู้จักวงการละครเวทีมากขึ้นน่าจะได้ประโยชน์ค่ะ มีคนมาพูดสรุปให้ภายในสองชั่วโมง
17.00-19.00. กินดื่ม(บรรยากาศสบายๆ กินไปเม้าท์ไป ใครอยากกินอะไรเป็นพิเศษก็นำมาด้วยได้แบ่งปันกันได้ค่ะ)
19.00-21.00. การประกาศรางวัลจากชมรมวิจารณ์ละครเวทีไทย/ พิธีปิด
24 January 2012
แถลงข่าวเทศกาลละคร ครั้งที่ 10
Bangkok Theatre Festival # 10
เครือข่ายละครกรุงเทพ ร่วมกับ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย หอศิลแห่งกรุงเทพมหานคร ประชาคมบางลำพู และชมรมวิจารณ์ศิลปะการแสดง ได้ร่วมกันจัดงาน “เทศกาลละครกรุงเทพ ครั้งที่ ๑๐ Fast Forward”
เทศกาลละครกรุงเทพ เป็นเทศกาลทางด้านศิลปะการแสดงที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๔๔ ซึ่งเป็นอีเวนท์ที่มีการรวมกันอย่างคับคั่งของศิลปินด้านศิลปะการแสดงที่มีชื่อเสียง ซึ่งเคยได้รับรางวัลและการยอมรับในระดับนานาชาติ ตลอดจนกลุ่มผู้ที่กำลังศึกษาในศิลปะการแสดงจากสถาบันการศึกษาต่างๆ มาเปิดเวทีแสดงละครที่หลากหลายให้ผู้ชมจำนวนมาก ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จนเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในเทศกาลทางด้านศิลปะที่โดดเด่นและเป็นที่รู้จักของผู้ที่ชื่นชอบศิลปะการแสดงมากที่สุดเทศกาลหนึ่งของประเทศไทย โดยในปีนี้จะเป็นการจัดเทศกาลละครกรุงเทพครั้งที่ ๑๐ โดยมีการจัดงานระหว่างวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ จนถึงวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
เครือข่ายละครกรุงเทพ จึงขอเรียนเชิญท่านสื่อมวลชนร่วมงานแถลงข่าว ในวันพุธที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ เวลา ๑๔.๐๐-๑๕.๓๐ น. ณ ห้องออดิธอเรียม ชั้น ๕ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (สามารถเดินจากทางเชื่อมรถไฟฟ้า BTS สถานีสนามกีฬาแห่งชาติได้) และร่วมชมการแสดงละครใบ้จากคณะเบบี้ไมม์ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มละครใบ้ชาวไทยที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคณะหนึ่ง
see more:
http://www.bangkoktheatrenetwork.com/site/
เครือข่ายละครกรุงเทพ ร่วมกับ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย หอศิลแห่งกรุงเทพมหานคร ประชาคมบางลำพู และชมรมวิจารณ์ศิลปะการแสดง ได้ร่วมกันจัดงาน “เทศกาลละครกรุงเทพ ครั้งที่ ๑๐ Fast Forward”
เทศกาลละครกรุงเทพ เป็นเทศกาลทางด้านศิลปะการแสดงที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๔๔ ซึ่งเป็นอีเวนท์ที่มีการรวมกันอย่างคับคั่งของศิลปินด้านศิลปะการแสดงที่มีชื่อเสียง ซึ่งเคยได้รับรางวัลและการยอมรับในระดับนานาชาติ ตลอดจนกลุ่มผู้ที่กำลังศึกษาในศิลปะการแสดงจากสถาบันการศึกษาต่างๆ มาเปิดเวทีแสดงละครที่หลากหลายให้ผู้ชมจำนวนมาก ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จนเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในเทศกาลทางด้านศิลปะที่โดดเด่นและเป็นที่รู้จักของผู้ที่ชื่นชอบศิลปะการแสดงมากที่สุดเทศกาลหนึ่งของประเทศไทย โดยในปีนี้จะเป็นการจัดเทศกาลละครกรุงเทพครั้งที่ ๑๐ โดยมีการจัดงานระหว่างวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ จนถึงวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
เครือข่ายละครกรุงเทพ จึงขอเรียนเชิญท่านสื่อมวลชนร่วมงานแถลงข่าว ในวันพุธที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ เวลา ๑๔.๐๐-๑๕.๓๐ น. ณ ห้องออดิธอเรียม ชั้น ๕ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (สามารถเดินจากทางเชื่อมรถไฟฟ้า BTS สถานีสนามกีฬาแห่งชาติได้) และร่วมชมการแสดงละครใบ้จากคณะเบบี้ไมม์ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มละครใบ้ชาวไทยที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคณะหนึ่ง
see more:
http://www.bangkoktheatrenetwork.com/site/
Subscribe to:
Posts (Atom)