29 December 2010

สรุปกิจกรรมและผลงาน ปี 2553


ปีนึงผ่านไปเราก็กลับมาทบทวนว่าได้ทำงานอะไรกันไปบ้าง แล้วก็เห็นว่าเรามีงานทั้งปีแต่ค่อนข้างข้างหนักในช่วงครึ่งปี เป็นงานหนักที่มีความสุข แล้วพบกับงานละครเวทีและกิจกรรมต่างๆของพระจันทร์เสี้ยวได้อีกในปีหน้า ขอขอบคุณผู้ชมและเพื่อนมิตรที่มาดูมาชมให้การสนับสนุนและให้กำลังใจ


สรุปกิจกรรมและผลงานของพระจันทร์เสี้ยวการละคร ปี 2553

มกราคม
• อบรมการแสดงให้กับ นักแสดงละครเวทีเรื่อง “ล่าท้าฝัน” คณะเทคโนโลยีและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร

มีนาคม
• โครงการอ่านบทละคร : อ่านผู้หญิง จัดแสดงการอ่านบทละครเรื่องราวของผู้หญิง โดยผู้หญิงนักการละคร ๙ คน ๙ เรื่องสั้น จัดแสดง ๔ รอบ

เมษายน
• จัดอบรมออกแบบแสง Lighting Workshop ครั้งที่ ๓
• จัดอบรมการแสดง Back to Basic ครั้งที่ ๔
• จัดฉายภาพยนตร์เรื่อง “The Mother” และแลกเปลี่ยนทัศนความคิดเห็น
• จัดฉายภาพยนตร์เรื่อง “เฉือน” และแลกเปลี่ยนทัศนความคิดเห็น
• จัดอบรม “Yoga for Actor”
• จัดอบรมโครงการละครเพื่อจิตปัญญา Do Drama Workshop ครั้งที่ ๑ โดยพระจันทร์เสี้ยวการละครร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สนับสนุนโดยสถาบันคลังสมองของชาติ

พฤษภาคม
• จัดอบรมโครงการละครเพื่อจิตปัญญา Do Drama Workshop ครั้งที่ ๒ ร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
• จัดอบรมโครงการละครเพื่อจิตปัญญา Do Drama Workshop ครั้งที่ ๓ ร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มิถุนายน
• จัดประชุมกลุ่มย่อยแลกเปลี่ยนความคิดเรื่องอบรมละคร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอบรม Do Drama Workshop
• จัดงานรำลึกครูองุ่น มาลิก “มหกรรมการแสดงแสนหรรษา” ครั้งที่ ๑๒
เสวนาเรื่อง “กิจกรรมของมูลนิธิไชยวนา ภาคเหนือ” โดย คุณกัลยา ใหญ่ประสาน
การแสดงแสนหรรษา
รำขันดอก และ ฟ้อนแง้น โดย เยาวชนจากโรงเรียนสืบสานวัฒนธรรมล้านนา วัดวชิรธรรมสา
การแสดง “Balloon Dance” โดย นานา เดกิ้น กลุ่มบีฟลอร์
การแสดงเล่านิทาน “พระจันทร์อร่อยไหม” โดย ยายหุ่น และ พระจันทร์เสี้ยวการละคร
การแสดงละครใบ้ ชุด “Mini size” โดย กลุ่มเบบี้ไมม์
เล่านิทานเรื่อง “เจ้าหญิงคาราเต้” โดย พี่เบริ์ด และเพื่อน
การแสดงละครใบ้ ชุด “แพนด้า” โดย กลุ่มเบบี้ไมม์
• จัดแสดงละครเวที “คือผู้อภิวัฒน์” รอบพิเศษ วันที่ ๒๔ มิถุนายน ที่หอประชุมพูนศุข พนมยงค์ จำนววน ๑ รอบ

กรกฎาคม
• จัดแสดงละครเวที “คือผู้อภิวัฒน์” ที่หอประชุมพูนศุข พนมยงค์ จำนวน รอบ ๕ รอบ สนับสนุนโดย โครงการฉลอง ๑๑๐ ปี ชาตกาล ปรีดี พนมยงค์, สถาบันปรีดี พนมยงค์, ปตท., การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, บริษัท GOT, บริษัทบุญรอดเทรดดิ้ง และ คุณพมพ์นิภา คำมีศิลป์

สิงหาคม
• จัดแสดงละคร “คือผู้อภิวัฒน์” ที่ห้องประชุม มล.ตุ้ย ชุมสาย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน รอบ ๒ รอบ และ ที่หอประชุม ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จำนวน ๒ รอบ
• จัดแสดงละคร “เสียงกระซิบจากแม่น้ำ” ในงานรวมมิตร ร่วมสมัย จัดโดยสำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ณ สยามพารากอน จำนวน ๑ รอบ

กันยายน
• อบรมการเขียนบทละคร ในหัวข้อ “ประสบการณ์ในการสร้างบทละคร” ให้กับโครงการรักชาติอย่างมนุษย์ จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรม ที่หอศิลป์แห่งกรุงเทพมหานคร
• ผู้กำกับและเขียนบท สินีนาฏ เกษประไพ เข้าร่วมโครงการ 5th Mekong Performing Arts Laboratory ที่กรุงมะนิลา และเกาโบฮอล ประเทศฟิลิปินส์

ตุลาคม
• โครงการอ่านบทละคร : อ่านสังคม โดยนักการละคร ๑๐ คน ๑๐ สั้นจากหนังสือที่ชอบ ร่วมแสดงในงานศิลปะนานาพันธ์ จำนวน ๔ รอบ
• จัดแสดงละครหุ่นสายสื่อผสมเรื่อง “วาวา The Rice Child” จำนวน ๖ รอบ ร่วมแสดงในงานประชุม Mekong Youth Forum และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ PETA Mekong Partnership Program สนับสนุนโดย PETA, Save the Children UK, EU, Terre des Hommes

พฤศจิกายน
• จัดแสดงละครหุ่นสายสื่อผสมเรื่อง “วาวา The Rice Child” จำนวน ๒ รอบ แสดงในงานเทศกาลละครกรุงเทพ ๒๕๕๓
• จัดแสดง “BB project I : Aquarium ” จำนวน ๑ รอบ แสดงในงานเทศกาลละครกรุงเทพ ๒๕๕๓

ธันวาคม
• จัดแสดงละครหุ่นสายสื่อผสมเรื่อง “วาวา The Rice Child” ที่โรงเรียนศรีสุทธาราม จ.สมุทรสาคร จำนวน ๑ รอบ
• จัดแสดงละครหุ่นสายสื่อผสมเรื่อง “วาวา The Rice Child” จำนวน ๑ รอบ แสดงในงาน “พื้นที่นี้ดีจัง” ณ แพร่งภูธร


แล้วพบกับงานละครเวทีและกิจกรรมต่างๆของพระจันทร์เสี้ยวได้อีกในปีหน้า ขอขอบคุณผู้ชมและเพื่อนมิตรที่มาดูมาชมให้การสนับสนุนและให้กำลังใจ


วาวาที่พื้นที่นี้ดีจัง

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม เราได้แสดงวาวา เด็กหญองเมล็ดข้าว ในงาน "พื้นที่นี้ดีจัง" ที่แพร่งภูธร งานนนี้เป็นงานที่จัดโดยชุมชนแพร่งภูธร สสส. สสย. ดินสอสี เป็นการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้กับเด็กๆและครอบครัวได้มาสนุกสนานอย่างสร้างสรรค์ร่วมกัน

เราไปซ้อมเตรียมงานตั้งแต่ช่วงบ่าย และปักหลักร่วมงานอยู่ที่นั่นจนงานเลิก ในระหว่างที่รอเพื่อทำการแสดง เราก็เข้าไปร่วมกิจกรรมต่างๆและชมการแสดง และขยับหุ่นทักทายกับผู้ร่วมงานทั้งวัน เป็นงานที่บรรยากาศดี อบอุ่นมาก ซุ้มกิจกรรมต่างๆสนุกหลากหลายน่าสนใจ มีการแสดงหุ่นหลายแบบให้ได้ดู และดนตรีอบอ่นฟังสบายและสร้างสรรค์ จากพี่ชิ โฉป แฟมมิลี่ และ คุณเจี๊ยบ วรรธนา

ภาพบบรรยากาศในงาน



28 December 2010

วาวาที่โรงเรียน

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม วาวากับเพื่อนๆไปแสดงที่โรงเรียนวัดศรีสุทธารม จ.สมุทราสาคร เมื่อครั้งที่เราเริ่มทำงานเรื่องบท เราได้ไปพูดคุยดูงานในพ้นที่กับ LPN ซึ่งเป็นองค์กรพฒนาเอกชนที่ทำงานด้านนี้ และเราได้ไปโรงเรียนแห่งนี้และประทับใจมากกับการที่ผู้อำนวนการและคณะครูที่เปิดพื้นที่และเปิดกว้างรับเด็กๆลูกหลานแรงงานให้เข้าเรียนในโรงเรียนแห่งนี้
พวกเราดีใจและมีความสุขมากที่ได้ไปแสดงให้น้องๆได้ดู และเป็นครั้งแรกเช่นกันที่น้องๆได้ดูละครหุ่นสายสดๆเป็นครั้งแรก

ภาพบรรยากาศวันแสดง





09 December 2010

เตรียมตัวสรุปงาน

ชาวพระจันทร์เสี้ยวเตรียมตัวสรุปงาน วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม และ สรุปงานร่วมกับองค์กรอื่นๆในสถาบัน และเลี้ยงส่งปีเก่าต้อนรับปีใหม่กับกลุ่มเพื่อนมิตร ในวันที่ 26 ธันวาคมนี้ค่ะ

01 December 2010

วาวาจะไปเล่นที่แพร่งภูธร


วาวากับเพื่อนๆจะไปแสดงในงาน "พื้นที่นี้ดีจัง" ที่แพร่งภูธร ในวันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม ในงานนนี้มีการแวดงดีๆที่น่าสนใจหลายอย่าง ลองดูรายละเอียดที่ข้างล่างได้เลย โดยเฉพาะการแสดงหุ่นหลายประเภท งานนนี้ไม่ควรพลาด และ งานนนี้ชมฟรี


สำหรับเด็กๆ นี่คือสนามเด็กเล่นและลานกิจกรรมศิลปะที่แสนจะอบอุ่นปลอดภัย สำหรับคนรุ่นใหม่ นี่คือเวทีสร้างสรรค์ที่พานพบกันระหว่างกลิ่นอาย ของอดีตและรอยหวังของอนาคต สำหรับผู้ใหญ่ นี่คือพื้นที่ของความรู้สึกดีๆ กลางใจเมือง กลางใจคน ในอ้อมกอดของของชุมชนเล็กๆ ไม่ว่าจะอยู่วัยไหน มาคนเดียว มาเป็นคู่ มาเป็นแก๊งค์ มาเป็นครอบครัว เร...า...ไม่ได้แค่เชิญชวน แต่ไม่อยากให้ใครพลาด "พื้นที่นี้...ดีจัง ณ แพร่งภูธร" 18-19 ธันวาคมนี้


ขอเชิญชวน เด็กๆ ครอบครัว และเยาวชนคนรุ่นใหม่ มา อิ่ม / ยิ้ม กับพื้นที่สร้างสรรค์ย่านแพร่ง ในงาน "พื้นที่นี้..ดีจัง ณ แพร่งภูธร" 18-19 ธันวาคมนี้ บริเวณลานกลางแจ้ง แพร่งภูธร (ใกล้เสาชิงช้า)


23 November 2010

วาวาจะไปโรงเรียน







วาวา The Rice Child
จะไปแสดงที่ โรงเรียนศรีสุทธาราม จ.สมุทรสาคร
วันที่ 16 ธันวาคม 2553

ร.ร.ศรีสุทธาราม เป็นโรงเรียนในพื้นที่ที่เราไปค้นคว้าข้อมูล ครั้งนี้น้องหุ่นวาวาและเพื่อนๆจะได้ไปเล่นให้เพื่อนๆน้องๆที่โรงเรียนได้ดู

22 November 2010

สรุปจำวนผู้ชม วาวา The Rice Child

พระจันทร์เสี้ยวการละครได้เข้าร่วม 5th Mekong Performing Arts Laboratory 2010 ที่มะนิลา และเกาะ Bohol ประเทศฟิลิปินส์ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยในการอบรมครั้งนี้มุ่งเน้นสร้างบทละครในเรื่องประเด็นสิทธิเด็ก พระจันทร์เสี้ยวสนใจเล่าเรื่องเรื่องเด็กแรงงานข้ามชาติ โดยเล่าเรื่องของเด็กหญิงคนหนึ่งที่ติดตามพ่อแม่เข้ามาทำงานในบ้านเรา และกลับมาพัฒนาเป็นการแสดงโดยใช้หุ่นสาย และภาพประกอบจากเงาและวาดทราย ชื่อเรื่อง “วาวา The Rice Child”
เราได้ทำการแสดงไปแล้วทั้งหมด 8 รอบ มีจำนวนผู้ชมดังนี้




รอบที่ 1 วันที่ 24 ตุลาคม 53
แสดงที่โรงแรม Imperial Queen Park Hotel ในงาน Mekong Youth Forum’s Opening จำนวนผู้ชม 150 คน
รอบที่ 2 วันที่ 26 ตุลาคม 53
แสดงที่ Crescent Moon space จำนวนผู้ชม 50 คน
แสดงรอบที่ 3 วันที่ 27 ตุลาคม 53
แสดงที่ Crescent Moon space จำนวนผู้ชม 25 คน
รอบที่ 4 วันที่ 27 ตุลาคม 53
แสดงที่ Crescent Moon space จำนวนผู้ชม 40 คน
รอบที่ 5 วันที่ 27 ตุลาคม 53
แสดงที่ Crescent Moon space จำนวนผู้ชม 20 คน
รอบที่ 6 วันที่ 28 ตุลาคม 53
แสดงที่ Imperial Queen Park Hotel ในงาน Mekong Youth Forum’s Diner Party จำนวนผู้ชม 30 คน
รอบที่ 7 วันที่ 6 พฤศจิกายน 53
แสดงที่เทศกาลละครกรุงเทพ จำนวนผู้ชม 500 คน
รอบที่ 8 วันที่ 7 พฤศจิกายน 53
แสดงที่เทศกาลละครกรุงเทพ จำนวนผู้ชม 500 คน
(เพิ่มเติมหลังจากวันที่ 18 ธันวาคม)
รอบที่ 9 วันที่ 16 ธันวาคม 53
แสดงที่โรงเรียนวัดศรีสุทธาราม จ.สมุทรสาคร จำนวนผู้ชม 350 คน
รอบที่ 10 วันที่ 18 ธันวาคม 53
แสดงในงาน "พื้นที่นี้ ดีจัง" ณ แพร่งภูธร จำนวนผู้ชม 300 คน
รวมจำนวนผู้ชม 1,965 คน


เราไปร่วมแสดงในงานแถลงข่าวเทศกาลละครกรุงเทพ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ที่หอเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ได้ออกรายการ “ศิลป์สโมสร” ของ Thai PBS และ ออกรายการ “โต๊ะข่าวบันเทิง” ช่อง 3






ดูเพิ่มเติมที่นี่ :
http://www.youtube.com/watch?v=hOi-gZsbd54

และ ตัวอย่าง วาวา
Let's see The Rice Child excerpt:
http://www.youtube.com/watch?v=hp7PtO6nN0k&feature=share

อ่านบทวิจารณ์ วาวา The Rice Child ที่นี่ :
http://www.barkandbite.net/2010/10/thericechild/


18 November 2010

สรุปผู้ชมละครเวที "คือผู้อภิวัฒน์"

ใกล้สิ้นปี เราเริ่มรวบรวมข้อมูลต่างๆ เลยได้สรุปจำนวนผู้ชม “คือผู้อภิวัฒน์” ที่จัดแสดงในปีนี้
แสดงที่สถาบันปรีดี พนมยงค์
รอบที่ 1 วันที่ 24 มิถุนายน 2553 เวลา 15.30 น. จำนวนผู้ชม 270 คน
รอบที่ 2 วันที่ 2 กรกฎาคม 2553 เวลา 19.30 น. 158 คน
รอบที่ 3 วันที่ 3 กรกฎาคม 2553 เวลา 14.30 น. 191 คน
รอบที่ 4 วันที่ 3 กรกฎาคม 2553 เวลา 19.30 น. 112 คน
รอบที่ 5 วันที่ 4 กรกฎาคม 2553 เวลา 14.30 น. 147 คน
รอบที่ 6 วันที่ 4 กรกฎาคม 2553 เวลา 19.30 น. 123 คน
แสดงที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รอบที่ 7 วันที่ 21 สิงหาคม 2553 เวลา 19.00 น. 330 คน
รอบที่ 8 วันที่ 22 สิงหาคม 2553 เวลา 14.30 น. 330 คน
แสดงที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
รอบที่ 9 วันที่ 27 สิงหาคม 2553 เวลา 4.00 น. 240 คน
รอบที่ 10 วันที่ 27 สิงหาคม 2553 เวลา 18.00 น. 240 คน
สรุปรวมการแสดง 10 รอบ
รวมจำนวน 2,141 คน



ขอขอบคุณผุ้ชมทุกท่านที่สนับสนุนมาชมละครของเรา หวังว่าปีหน้าเคงติดตามเราต่อไป เราก็หวังว่าปีหน้าจะได้ไปทัวร์ตามที่ต่างๆอีก



15 November 2010

BB project I : aquarium

BB project I : aquarium เป็นการแสดงสั้น 15 นาที เป็นงานการเคลื่อนไหวร่างกาย movement-based และเน้น group dynamic ของนักแสดง ซึ่งเราใช้กระบวนการเคลื่อนไหวร่างกายเป็นการ improvisation ในการทำงานกลุ่มเป็นพื้นฐานในการฝึกฝนในกลุ่ม งานนี้เรานำมาแสดงที่เวทีกลางในคืนวันที่ 13 พ.ย. ที่ผ่านมา และหวังจะพัฒนาต่อไป


ภาพโดย วิชย อาทมาท








อีกมุมถ่ายภาพโดย พลัฏ สังขกร










14 November 2010

สรุปงานเดือนพฤศจิกายน 53

พระจันทร์เสี้ยวสมาชิกหลักของเครือข่ายละครกรุงเทพ ส่งงานร่วมแสดงในเทศกาลละครกรุงเทพ ช่วงวันที่ 6-7 และ 13 พฤศจิกายน ส่งการแสดง 2 ชิ้น คือ วาวา The Rice Child และ การแสดงสั้นชุด BB project I : aqaurium เพิ่งแสดงไปเมื่อคืนที่ผ่านมา


เก็บภาพบรรยากาศมาให้ดู ภาพต่างๆถ่ายโดยเพื่อๆพระจันทร์เสี้ยวหลายคน ขอขอบคุณมากที่ช่วยเราเก็บภาพสวยๆ มาให้เรา เริ่มด้วยการสดงในพิธีเปิด ซึ่งรวมตัวแทนจากกลุ่มละครที่เข้าร่วมเทศกาลในครั้งนี้ ใน theme งาน ละครหลากสี มีดีที่หลากหลาย



และ วาวา The Rice Child แสดง 2 คืน วันที่ 6-7 ที่เวทีกลางมีผู้ชมมากมายมาให้กำลังใจวาวากะเพื่อนๆ


ส่วนการแสดงเมื่อคืนนี้ เป็นการแสดงสั้นชุด BB projct I หรือย่อมาจาก back ti basic movement ในคอนเซ็ป aquarium โปรดรอชมภาพในเอนทรีหน้า

สรุปงานในเดือนตุลาคม53

เมื่อเดือนตุลาที่ผ่านมา พระจันทร์เสี้ยวการละครมีงานสองชิ้น คือ อ่านบทละคร : อ่านสังคม ซึ่งร่วมจัดแสดงในงานเทศกาลศิลปะนานาพันธุ์ ครั้งที่ 3 ของ สถาบันปรีดี พนมยงค์ และอีกงานเป็นละครหุ่นสายและสื่อผสมเรื่อง วาวา The Rice Child ซึ่งจัดแสดงในงานประชุมระดับนานาชาติ Youth Forum 2010


อ่านบทละคร : อ่านสังคม
ภาพโดย ชลันดา และ จีรณัทย์




















จัดแสดงในวันที่ 23-24 ตุลาคม 2553
รอบเวลา 13.00 และ 15.30 น. (ทั้งหมด 4 รอบ)

กลุ่มที่ 1
ช่อลดา สุริยะโยธิน
อ่านเรื่อง “เงาแห่งยุคหิน” (Shadows of the Neanderthal เขียนโดย David Hutchens) แปลโดย ดร.มนต์ชัย พินิจสมุทร และ กุลชรี ตัณศุภผล
สุวรรณา พร้อมตั้งตระกูล
อ่านเรื่อง “โลกสันติภาพ”
กอใจ อุ่ยวัฒนพงศ์
อ่านเรื่อง “เพลงชาติไทย” จากหนังสือ เราหลงลืมอะไรบางอย่างไป ของ วัชระ สัจจะสารสิน
วิชญ์พล ดิลกสัมพันธ์
อ่านเรื่อง “จิ้งหรีดแห่งเมืองสีเทา” ของ ตรัย ภูมิรัตน์

กลุ่ม 2
กรินทร์ ใบไพศาล
อ่านเรื่อง “แรด” (จากบทละคร Rhinoceros เขียนโดย Eugene Ionesco)
รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ
อ่านเรื่อง “วันที่สหายพายุกลับบ้าน” จากบทละครเขียนโดย รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ
กวินธร แสงสาคร
อ่านเรื่อง “นักเลงเฟือง” จากหนังสือเรื่อง เดินอย่างปุ๊ ของ ปุ๊ กรุงเกษม และ เส้นทางมาเฟีย ของ สุริยันต์ ศักดิ์ไธสง
สินีนาฏ เกษประไพ
อ่านเรื่อง “ชั้นที่ 7” บทละครโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี



วาวา The Rice Child

จัดแสดงในวันที่ 26 และ 27 ตุลาคม ที่ Crescent Moon Space นอกจากนั้นยังมีแสดงในงานพิธีเปิดการประชุม Youth Forum และในงาน Youth Forum Dinner Party

ครั้งนี้พระจันทรเสี้ยวการละครมีจุดมุ่งหมายที่จะเล่าเรื่องสิทธิเด็ก เป็นเรื่องราวของเด็กหญิงแรงงานข้ามชาติที่ชื่อวาวา และเหล่าผองเพื่อน ที่ได้รู้จักและทำความเข้าใจกันและกัน งานชิ้นนี้เป็นการผสมผสานการเชิดหุ่นสาย การใช้เงา วาดทราย และเล่าเรื่องผ่านเพลง





งานนี้เริ่มจากการเข้าร่วมโครงการ PETA Mekong Laboratory 2010 ที่มะนิลา ซึ่งเป็นการอบรมและแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการทำบทของศิปลินในประเทศลุ่มน้ำโขง และทำงานในประเด็นเด็ก และนำกลับมาพัฒนาต่อกับกลุ่ม โดยเราทำานกับนักแสดงรุ่นใหม่ มาอบรมทำหุ่ยและเชิดหุ่นสายกับ เส่ย วศิน มิตรสุพรรณ กลุ่มแกะดำดำ ผสมผสานภาพทรายสวยๆจาก อ้น นพพันธ์ บุญใหญ่ แต่งเพลงและเล่นดนตรีสดโดย น้องนก พรชนก กาญจนพังคะ

งานนี้ท้าทายนักแสดงและทีมงานของเรา เพราะต้องทำอะไรหใม่ๆหลายอย่าง นักแสดงของเราทำหุ่นเอง เชิดหุ่น และร้องเพลงด้วย เรื่องนี้เป็นเรื่องราวน่ารักของเหล่าเด็กๆตัวน้อยที่ได้เรียนรู้กัน

วาวา The Rice Child เขียนเรื่องและกำกับโดยกำกับการแสดงโดย สินีนาฏ เกษประไพ ออกแบบและกำกับหุ่นสายโดย วศิน มิตรสุพรรณ ออกแบบและกำกับเทคนิคโดย ทวิทธิ์ เกษประไพ

ละครเรื่องเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ Mekong Creative Communities Arts for Advocacy Fellowship 2010 ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดย Save the Children UK, PETA Phillipines Educational Theatre Association, additional contributions from Terre des Hommes


29 October 2010

งานแถลงข่าว เทศกาลละครกรุงเทพ 2553

ใกล้แล้ว...ใกล้แล้ว
เทศกาลละครกรุงเทพกำลังจะมา




วาวาและผองเพื่อนก็ไปร่วมทำการแสดงในงานนนี้ด้วย และได้รับเสียงต้อนรับอย่างอบอุ่น



บรรยากาศงานแถลงข่าวเทศกาลละครกรุงเทพ 2010




ตามไปดูภาพเพิ่มเติมกันได้ที่นี่
งานแถลงข่าว เทศกาลละครกรุงเทพ 2553


27 October 2010

New Work from Crescent Moon "The Rice Child"

The Rice Child

October 26 (7.30 pm.) & 27 (2.00, 7.30 pm.), 2010
Crescent Moon Space
(Pridi Banomyong Institute)


Crescent Moon’s experiments with music and songs, sand drawings, and a playful mix of shadow puppets – marionette and paper - to tell their story. Inspired by a Mekong folktale about bearing fruits from the same seed, theirs is a story about the friendship of two children, descended from two different cultures. Wawa comes from a minority group in Myanmar (Burma) and migrates to Thailand with her parents. Kao, just like the other Thai children, thinks that Wawa is different and joins the others in bullying her. But these children learn to know more about each other when they began to enjoy playing together. As they begin to see that they have more things in common, the relationship between Wawa and Kao evolved from discrimination to acceptance, from enmity to friendship, and from disunity to harmony.

Story & Directed by: Sineenadh Keitprapai
Set, Lighting Design & Technical Director: Tawit Keitprapai
Marionette workshop and training by : Vasin Mitsuphan (Kae Dam Dam)
Sand Drawing : Nophand Boonyai
Music Composed by : Pornchanok Kanchanabanca


This project is part of Mekong Creative Communities Arts for Advocacy Fellowship 2010

14 October 2010

อ่านบทละคร-อ่านสังคม

โครงการอ่านบทละคร 4 ครั้งนี้ "อ่านสังคม"

พระจันทร์เสี้ยวการละครเชิญชม การแสดงอ่านบทละคร

"อ่านสังคม"
จากมุมมองนักทำละครหลายคน



23-24 ต.ค. 53 เวลา 13.00 และ 15.30 น.

ชมฟรี
จองที่นั่งที่ 081 259 6906

ที่ Crescent Moon space

งานนี้เป็นส่วนหนึ่งของ
เทศกาลศิลปะนานาพันธุ์ 3


02 October 2010

เทศกาลศิลปะนานาพันธุ์ 3


ขอเชิญร่วมงาน เทศกาลศิลปกับสังคม ๒๕๕๓ "ศิลปะนานาพันธุ์ ๓"

ในวาระครบรอบชาตกาล ๑๑๐ ปี รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์
ผลของการที่ก่อสร้างไว้ดีแล้ว ย่อมไม่สูนย์หาย
๒ - ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๓




๒ ต.ค.๕๓
เวลา ๑๓.๓๐ น.- การเสวนาทางศิลปวัฒนธรรม หัวข้อ “ศิลปะร่วมสมัยกับชีวิต : มุมมองจากมนุษย์ผู้บังเอิญเกี่ยวข้อง”
ผู้ร่วมเสวนา
มนทกานติ รังสิพราหมณกุล บรรณาธิการนิตยสาร Madame Figaro
อ.อภิรักษ์ ชัยปัญหา คณะมนุษยศาสตร์ และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาบูรพา
ผู้ดำเนินรายการ
อ.ปวิตร มหาสารินันทน์ ภาควิชาศิลปะการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เวลา ๑๔.๓๕ น. – พิธีเปิดศิลปะจัดวาง : จิตสำนึกปรีดี พนมยงค์ เพื่อชาติและราษฎร / เปิดเทศกาลศิลปะนานาพันธุ์ ครั้งที่ ๓ : ผลของการที่ก่อสร้างไว้ดีแล้ว ย่อมไม่สูนย์หาย / การแสดงเชิดหุ่นสาย โดย วศิน มิตรสุพรรณ และเพื่อน ๆ ฯลฯ
-พิธีมอบรางวัลภาพยนตร์แอนิเมชั่นโครงการจัดงานครบรอบชาตกาล ๑๑๐ ปี รัฐบุรุษอาวุโสฯ
-พิธีมอบรางวัลบทวิจารณ์ภาพยนตร์โครงการภาพยนตร์นานาชาติ สถาบันปรีดี พนมยงค์

๓ ต.ค.๕๓

เวลา ๑๔.๐๐ น.- ฉายภาพยนตร์โครงการ ๑๑๐ ปีฯ โดยมูลนิธิหนังไทย พร้อมการเสวนา ณ หอประชุมพูนศุข พนมยงค์

๙ ต.ค.๕๓
เวลา ๑๓.๓๐ น. - รวมมิตรศิลปวัฒนธรรม การแสดงหุ่นกระบอกจีนไหหลำ โดยคณะผ่านฟ้าหุ่นกระบอก(ผั่นวา) เรื่อง “เจ้าสาวสองเกี้ยว” / การแสดงละครหุ่นร่วมสมัย เรื่อง “ความฝัน...การเดินทาง” โดย สาขาสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / การเล่านิทาน โดย กลุ่มนิทานแต้มฝัน / การแสดงของนายหนังผวน ตะลุงทอล์คโชว์ อันลือลั่น / พบการแสดงเพลงซอของ แม่จำปา แสนพรม พร้อมด้วย การแสดงของโรงเรียนสืบสานศิลปวัฒนธรรมล้านนา

๑๐ ต.ค.๕๓
เวลา ๑๓.๓๐ น. - บรรเลงดนตรีสดประกอบการฉายภาพยนตร์ เรื่อง “The Battleship Potemkin 1925”
โดย คานธี อนันตกาญจน์ และเพื่อนๆ ณ หอประชุมพูนศุข พนมยงค์
เวลา ๑๕.๐๐ น. - ฉายภาพยนตร์เรื่อง “The Kid 1924” ผลงานของ ชาลี แชปปลิ้น ณ หอประชุมพูนศุข พนมยงค์
เวลา ๑๖.๐๐ น. – ฉายภาพยนตร์เรื่อง “SÉ RAPHINE 2008” ณ หอประชุมพูนศุข พนมยงค์


๑๖ ต.ค.๕๓
เวลา ๑๒.๐๐ น. - ฉายภาพยนตร์ในห้องกระจกเรื่อง “The Lower depths 1957”
เวลา ๑๔.๑๐ น.- ฉายภาพยนตร์ในห้องกระจกเรื่อง “Werckmeister Harmonies 2000”

๑๗ ต.ค.๕๓ เว
ลา ๑๒.๐๐ น. - ฉายภาพยนตร์ในห้องกระจกเรื่อง “The Adventures of Baron Munchausen 1989
เวลา ๑๔.๓๐ น.- ฉายภาพยนตร์ในห้องกระจกเรื่อง “Mirrormask 2006”

๑๙-๒๔ ต.ค.๕๓
เวลา ๑๙.๓๐ น. - แสดงละครเวทีเรื่อง “star man” ณ หอประชุมพูนศุข พนมยงค์ โดย กลุ่ม B-Floor

๒๓ – ๒๔ ต.ค.๕๓
เวลา ๑๓.๐๐ น. และ ๑๕.๓๐ น.
- อ่านสังคม ณ Crescent Moon Space โดย พระจันทร์เสี้ยวการละคร


๒๙ ต.ค.๕๓ เว
ลา ๑๓.๓๐ น. – ทัศนศิลป์วิจารณ์ : สันติภาพในงานศิลปะ การนำเสนอบทวิจารณ์ทัศนศิลป์
โดย ถนอม ชาภักดี ,ไพศาล เปลี่ยนบางช้าง , ชล เจนประภาพันธ์ ,ไพศาล ธีรพงศ์วิษณุพร ,
กฤษดา ดุษฎีวนิช , สิทธิธรรม โรหิตะสุข พร้อมสลับการแสดงศิลปะสื่อการแสดงสด โดย สาทิต รักษาศรี และ ชัยวัฒน์ คำดี ณ หอประชุมพูนศุข พนมยงค์
เวลา ๑๙.๐๐ น. -การแสดงชุด “อ่าน ดู ฟัง” ณ ลานน้ำพุ โดย นพพันธ์ บุญใหญ่ และเพื่อนๆ

๓๐ ต.ค. ๕๓
เวลา ๑๒.๐๐ น. - ฉายภาพยนตร์เรื่อง “Intolerance 1916” ณ หอประชุมพูนศุข พนมยงค์
เวลา ๑๕.๓๐ น. – ฉายภาพยนตร์เรื่อง “Waterloo bridge 1940” ณ หอประชุมพูนศุข พนมยงค์
๓๑ ต.ค.๕๓
เวลา ๑๔.๐๐ น. - แสดงละครใบ้ เรื่อง “ไทยจ๋า” โดย กลุ่มเบบี้ไมม์ ณ หอประชุมพูนศุข พนมยงค์

ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์ ๖๕/๑ สุขุมวิท ๕๕ (ทองหล่อ) เขตวัฒนา กุรุงเทพมหานคร ๑๐๑๑๐
สอบถามรายละเอียดที่ ๐๒-๓๘๑-๓๘๖๐-๑ E mail : banomyong_inst@yahoo.com
website : www.pridiinstitute.com



30 September 2010

Mekong Lab last week

the last week

29 September 2010

Community trip in Bohol

ไปเยี่ยมชมชุมชนที่เกาะโบฮอล

27 September 2010

Crescent moon in 5th Mekong Laboratory 2010

โปรดติดตาม

31 August 2010

บทวิจารณ์ "คือผู้อภิวัฒน์" ใน FineArtsMag

คือผู้อภิวัฒน์ เบรคชท์ และผม
เขียนโดย ภาสกร อินทุมาร

จากนิตยสาร Fine Arts Magazine ฉบับประจำเดือนสิงหาคม 2553



กรกฎาคม 2530 ผมมีโอกาสดูละครเรื่อง “คือผู้อภิวัฒน์” ที่ “หอเล็ก” (ชื่อจริงในสมัยนั้นคือ หอศิลปวัฒนธรรม ชื่อจริงในปัจจุบันคือ หอประชุมศรีบูรพา) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้จัดคือสภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ มูลนิธิปรีดี พนมยงค์ โดยมี คำรณ คุณะดิลก เป็นผู้เขียนบทและกำกับการแสดง ในครั้งนั้น ผมยังไม่มีความรู้ใดๆเกี่ยวกับการละคร และยังไม่เคยดูละครเวที การได้ดูละครเรื่องนี้สร้างความแปลกใจให้กับผมอยู่พอสมควร เพราะดูจะเป็นละครที่ประหลาด ประหลาดเพราะว่า แรกทีเดียวนั้นผมเข้าใจว่าละครเรื่องนี้เป็นเรื่องราวชีวิตของ “อาจารย์ปรีดี พนมยงค์” ผู้อภิวัฒน์การปกครอง พ.ศ. 2475 แต่เหตุใดเรื่องราวชีวิตของอาจารย์ปรีดีผู้ซึ่งมีตัวตนจริง จึงมี “แม่พลอย” ตัวละครเอกจากวรรณกรรมเรื่อง “สี่แผ่นดิน” ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ผมเคยอ่าน เข้ามาปรากฏ และยังมี “สาย สีมา” ตัวละครที่ผมประทับใจอย่างยิ่งจากวรรณกรรมเรื่อง “ปีศาจ” ของ เสนีย์ เสาวพงศ์ เข้ามาด้วย ความประหลาดยังมีมากกว่านี้ เพราะว่าในหลายๆครั้งนักแสดงที่กำลังแสดงเป็นตัวละครในเรื่องก็หันมาพูดกับคนดู รวมทั้งนักแสดงคนหนึ่งสามารถเปลี่ยนไปเป็นตัวละครต่างๆได้มากมาย โดยนักแสดงทุกคนจะใส่ชุดดำเป็นพื้นฐาน (ยกเว้นผู้แสดงเป็นอาจารย์ปรีดี) พอเป็นตัวละครหนึ่งก็เอาเสื้อหรือผ้ามาใส่ประกอบเพื่อให้รู้ว่าเป็นตัวละครใด พอเปลี่ยนเป็นตัวละครตัวใหม่ ก็เอาเสื้อหรือผ้าอีกลักษณะหนึ่งมาเปลี่ยน เช่น คนที่เล่นเป็นแม่พลอยก็แค่เอาสไบมาห่ม พอหมดบทแม่พลอย ก็เอาสไบออก ไปเป็นตัวละครอื่นๆต่อไป เป็นต้น ฉากหลังของละครก็เป็นผืนผ้าสีดำ บนเวทีก็มีแท่นสีดำๆอยู่ 3 แท่น จัดวางเปลี่ยนที่ไปมาในแต่ละฉากต่อหน้าคนดู และคนที่จัดวางแท่นเหล่านี้ก็คือนักแสดง!

นี่คือละครประเภทใดกัน ผมสงสัย พอได้ไปอ่านบทวิจารณ์ละครเรื่องนี้ที่ ศาสตราจารย์ ดร.เจตนา นาควัชระ เขียนไว้ในนิตยสาร “ถนนหนังสือ” ฉบับเดือนสิงหาคม 2530 ก็ได้ความว่าละครแบบนี้เรียกว่าละคร “เอพิค” (Epic Theatre) ซึ่งเป็นรูปแบบละครที่สร้างขึ้นโดย แบร์ทอล์ท เบรคชท์ (Bertolt Brecht) นักการละครชาวเยอรมัน แต่อาจารย์เจตนาก็ได้กล่าวว่า “จะว่าเป็นละคร “เอพิค” ตามแบบฉบับของเบรคชท์อย่างตายตัวก็เห็นจะไม่ใช่ ผู้กำกับการแสดงคงจะได้สั่งสมความรู้ในด้านกลวิธีมาอย่างกว้างขวางและก็สามารถคิดต่อเลยไปจากเทคนิคที่ใช้กันอยู่ทั่วไป... การที่ผู้กำกับการแสดงนำเทคนิคที่เรียกว่าการ “ตัดแปะ” (collage) มาใช้นั้นนับว่าทำได้อย่างน่าสนใจมาก... เพราะทั้งแม่พลอยจาก สี่แผ่นดิน และ สาย สีมา จาก ปีศาจ ก็ปรากฏตัวในละครเรื่องนี้ การนำเอาวรรณกรรมที่คนดูส่วนใหญ่รู้จักมาสอดแทรกไว้ในละครเรื่องใหม่เป็นการกระตุ้นให้ผู้ชม “หยุดคิด” และ “ฉุกคิด” ในกรณีของสี่แผ่นดิน ผู้สร้างบทให้โอกาสแม่พลอยออกมาแสดงความฉงนสนเท่ห์ต่อความเปลี่ยนแปลงที่เธอรับไม่ได้ถึงสองครั้งสองครา และในครั้งที่สองนั้น แม่พลอยเดินออกจากบท ผละหนีออกจากกรอบของวรรณกรรมเรื่องสี่แผ่นดิน ไปร้องเรียนต่อ “คุณชาย” แห่งซอยสวนพลูว่าเธอไม่อาจรับความเปลี่ยนแปลงอันแสนจะปวดร้าวได้ ผมต้องยอมรับว่ายังไม่เคยชมละครเรื่องใด ทั้งไทยและเทศ ที่นำเอาเทคนิค “การทำให้แปลก” (ซึ่งเป็นมรดกของเทคนิคการแสดงที่เบรคชท์เรียกว่า “Verfremdung”) มาใช้ในเชิงสร้างสรรค์ซึ่งสร้างทั้งความคิดและความบันเทิงได้ดีเท่านี้ ในกรณีของนวนิยาย ปีศาจ ของ เสนีย์ เสาวพงศ์ นั้น ก็มีการตัดตอนมาจากฉากที่เจ้าคุณพ่อของรัชนีจัดงานเลี้ยงอันใหญ่โต และใช้โอกาสนั้นบริภาษ สาย สีมา และเมื่อสาย สีมา ตอบโต้ว่า “ผมเป็นปีศาจที่กาลเวลาได้สร้างขึ้นมาหลอกหลอนคนที่อยู่ในโลกเก่า” ผู้ชมก็เข้าใจได้ทันทีว่าปีศาจสัมพันธ์กับคือผู้อภิวัฒน์อย่างไร...”

จริงดังอาจารย์เจตนาว่า เพราะทั้งแม่พลอยและสาย สีมา ได้ทำให้ผมทั้งหยุดคิดและฉุกคิด ว่าในขณะที่ผู้คนในยุคสมัยของเราต่างเชื่อว่าประชาธิปไตยคือระบอบการปกครองที่ถูกต้องและเหมาะสม แต่ในปี 2475 นั้น ผู้ทำการอภิวัฒน์การปกครองกลับเป็นเสมือนดั่งปีศาจที่คนในอำนาจเก่าเกลียดชังและไม่ยอมรับ และหากละครเรื่องนี้ไม่ใช้ “การทำให้แปลก” เช่นนี้ แต่เล่าเรื่องราวชีวิตของอาจารย์ปรีดีไปเรื่อยๆจากต้นจนจบ วัยรุ่นอายุ 18 อย่างผมคงจะไม่ได้หยุดคิดและฉุกคิดเป็นแน่ คงได้แต่เพียงรับรู้เรื่องราวชีวิตของอาจารย์ปรีดีที่อ่านจากหนังสือก็คงจะไม่ต่างกันนัก





กรกฎาคม 2553 ผมมีโอกาสดูละครเรื่อง “คือผู้อภิวัฒน์” อีกครั้ง ครั้งนี้จัดแสดงที่ หอประชุมพูนศุข พนมยงค์ สถาบันปรีดี พนมยงค์ เนื่องในวาระครบรอบ 110 ปี ชาตกาลรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ ละครคราวนี้ยังคงบทละครเดิม แต่กำกับการแสดงโดย สินีนาฏ เกษประไพ แห่ง “พระจันทร์เสี้ยวการละคร” ผู้ได้รับรางวัล “ศิลปาธร” สาขาศิลปะการแสดง ปี 2551 การดูละครในครั้งนี้ต่างจากเมื่อ 23 ปีที่แล้ว ในครั้งนี้ผมได้ผ่านการทำความรู้จักกับเบรคชท์มามากขึ้น ผมได้รู้ว่าเบรคชท์ไม่เห็นด้วยกับละครตามหลัก “กวีศาสตร์” (The Poetics) ของอริสโตเติล ที่กระตุ้นให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกสงสารและกลัว (pity and fear) และปลดเปลื้องความรู้สึกเมื่อละครจบลง (catharsis) รวมทั้งไม่เห็นด้วยกับละครสมัยใหม่ในแบบ “สัจนิยม” (Realism) ที่ผู้ชมเป็นดั่งผู้เฝ้ามองเรื่องราวชีวิตของผู้อื่น และเดินออกจากโรงละครไปโดยไม่ต้องมีเรื่องค้างคาใจให้คิดต่อ ซึ่งเบรคชท์เห็นว่าละครเช่นนี้ทำลายพลังทางสติปัญญาของผู้ชม เบรคชท์ต้องการให้ละครเป็นเครื่องกระตุ้นให้ผู้ชมคิด และ “การทำให้แปลก” ทั้งการไม่ซ่อนดวงไฟที่ใช้ส่องเวที การพูดกับคนดู ซึ่งในบางกรณีให้คนดูช่วยคิดหาตอนจบให้กับละครด้วย การใช้ผู้เล่าเรื่อง (narrator) ฯลฯ ก็คือเครื่องมือที่จะทำให้ผู้ชมไม่เกิดอารมณ์ร่วมไปกับเรื่องราวที่นำเสนอ หรือบางครั้งที่ผู้ชมมีอารมณ์ร่วมไปกับเรื่องราว เบรคชท์ก็จะตัดอารมณ์ด้วยการให้นักแสดงหันมาพูดกับคนดูบ้าง หรือใช้วิธีอื่นๆบ้าง ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้ผู้ชมคิด บางทีก็กระตุ้นให้ผู้ชมคิดคัดง้างกับละครอีกด้วย
บทวิจารณ์ละครเรื่องนี้ที่อาจารย์เจตนาเขียนในปี 2530 มีชื่อว่า “คือผู้อภิวัฒน์... ทางอันแจ่มใสของละครเวทีไทย” การที่อาจารย์ตั้งชื่อบทความเช่นนี้ก็เพราะในช่วงเวลานั้นสถานการณ์ละครเวทีไทยดูจะน่าเป็นห่วง เพราะละครส่วนใหญ่กำลังเดินตามฝรั่งในลักษณะลอกเลียนแบบ แต่สำหรับ “คือผู้อภิวัฒน์” นั้น อาจารย์เจตนากล่าวถึงว่า “ถ้าเบรคชท์ยังมีชีวิตอยู่ เขาคงจะภาคภูมิใจเป็นอันมากว่า เขามีเพื่อนในประเทศโพ้นทะเลที่นำสิ่งประดิษฐ์คิดค้นของเขาไปคิดต่อและไปประยุกต์ใช้ได้อย่างดี อาจจะดีกว่าที่เขาลงมือทำเอง หรือที่สานุศิษย์ของเขาในเยอรมันเองได้ทำมาแล้วเสียอีก...” และนี่กระมังที่อาจารย์บอกว่าเป็นทางอันแจ่มใสของละครเวทีไทย สำหรับผมที่ได้ดูละครเรื่องนี้ในปีนั้น ผมไม่รู้หรอกว่าละครเวทีไทยกำลังมืดมนอยู่หรือไม่ ผมรู้แต่เพียงว่าละครเรื่องนี้ทำให้ผมซึ่งเป็นคนดูแจ่มใส เป็นความแจ่มใสที่เกิดจากการหยุดคิดและฉุกคิดกับสิ่งที่ละครพูดกับผม


การดูละครเรื่องนี้อีกครั้งไม่ได้ทำให้ผมหยุดคิดหรือฉุกคิดในเรื่องเดิมอีกต่อไปแล้ว แต่สิ่งที่ผมฉุกคิดขึ้นมาได้ในครั้งนี้ก็คือ ไม่ว่าละครเวทีไทยจะแจ่มใส หรือหม่นหมอง แต่สังคมไทยที่ซับซ้อนและย้อนแย้งอย่างที่เป็นอยู่ในปี 2553 นี้ เราต้องการละครที่ทำให้คนคิด มากกว่าละครที่ทำให้คนดูเชื่อตาม




ชมภาพละคร "คือผู้อภิวัฒน์"

สองรอบสุดท้ายของละครเวที "คือผู้อภิวัฒน์" วันที่ 27 สิงหาคม ที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เราได้รับการตอบรับอย่างอบอุ่น ผู้ชมเต็มทั้งสองรอบ ด้วการร่วมจัดระหว่าง คณะนิติศาสตร์ ปรีดี พนมยงค์ และ คณะศิลปกรรมศษสตร์ และ พระจันทร์เสี้ยวการละคร ด้วยการประสานงานอย่างดีจาก ครูออย ช่อลดา สุริยะโยธิน











25 August 2010

Apiwat @ DPU

This Friday 27, Aug 2010 we will perform another 2 shows of "The Revolutionist 1932" at Dhurakij Pundit University.


คณะนิติศาสตร์ ปรีดี พนมยงค์ และ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ร่วมกับพระจันทร์เสี้ยวการละคร ภูมิใจเสนอ


คือผู้อภิวัฒน์

วันที่ 27 สิงหาคม 2553
เวลา 15.00 น. และ 18.30 น.
ณ ห้องประชุม ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์
ชั้น 7 อาคาร ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ อนุสรณ์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

บัตรนักศึกษา 50 บาท บุคลากรและบุคคลทั่วไป 100 บาท

จองบัตร และสอบถามเพิ่มเติมที่
คณะศิลปกรรมศาสตร์
โทร. 02 954 7300 ต่อ 680