22 February 2025

 


แนะนำศิลปินและนักสร้างสรรค์การแสดง ใน Solo Movement Festival 



พรสรวง รวยรื่น

เซียงเซียง เป็นที่รู้จักกันในวงกว้างในฐานะนักแสดง ละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ ซีรีส์ เธอจบสาขาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจทำงานด้านศิลปะการแสดงร่วมกับทุกสื่อ ทั้งละครเวที ละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ ซีรีย์ และ MV และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งคณะละคร Bluesea Theatre มุ่งหวังว่าจะทำงานละครในแนว Feminist โดยเน้นใช้การเคลื่อนไหวร่างกายของผู้หญิงร่วมกับสื่อต่างๆ 

ผลงาน เช่น  Wetropolis คลื่นเมือง(2022), Women in RED(2023), Exit Short film(2023), Desire MV(2024) 

ผลงานการแสดงอื่นๆ ได้แก่ ภาพยนตร์สั้นตลอดไป, ภาพยนตร์ Faces of Anne , ซีรีส์ รักนี้ชั่วนิจนิรันดร์, ละคร ล่า (2017), ซีรีส์ ทิชา(2024) 

ผลงานการแสดงละครเวที ปีศาจแมวดำ (2023), Farewell Poem (2025)

Pornsroung Rouyruen

Pornsroung Rouyruen or Xiangxiang is widely known as an actress in tv dramas, movies and series. She graduated with a degree in theatre from the Faculty of Fine and Applied Arts, Thammasat University. She’s interested in working with every type of media, including theatre, tv dramas, movies, series, and music videos. She is a co-founder of Bluesea Theatre, which aims to combine feminism and theatre, using movements of the female bodies with various types media. 

Her past works include Wetropolis คลื่นเมือง(2022), Women in RED (2023), Exit (short film) (2023), Desire (MV) (2024) Faces of Anne (movie), รักนี้ชั่วนิจนิรันดร์ (series), ล่า (drama) (2017), ทิชา (series) (2024), ปีศาจแมวดำ (theatre) (2023), Farewell Poem (theatre) (2025)


เพียงรวี ศิริสุข

เพียงรวี ศิริสุข เกิดและเติบโตที่จังหวัดเชียงราย สถานที่ที่ทำให้เธอได้รู้จักการฟ้อนล้านนา และพัฒนาสู่การเต้นล้านนาร่วมสมัย

ปัจจุบันเพียงรวีเป็นผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มการแสดง Sirisook Dance Theatre  และเป็น Artistict director ของเทศกาล ALaLa Dance Fest ในจังหวัดเชียงใหม่

Piengrawee Sirisook

Piengrawee Sirisook was born in Chiang Rai, where she developed a passion for traditional Northern Thai dance as well as contemporary dance.

Currently, Piengrawee is an artist and co-founder of SIRISOOK Dance Theatre. She also serves as the artistic director of ALALA Dance Fest, an international ethnic dance festival held in Chiang Mai.



เบียร์ ยิ่งสุวรรณชัย

เริ่มต้นเส้นทางในฐานะนักแสดง คนหน้าขาว ในปี 2554 และ กลุ่มละคร B-Floor ในปี 2555 เมื่อเข้าร่วม "B-Fest" ซึ่งเป็นโปรแกรมฝึกอบรมเข้มข้นตลอดหนึ่งสัปดาห์ และได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของคณะอย่างเป็นทางการในปี 2557 นับแต่นั้นเป็นต้นมา เธอได้แสดงในประเทศไทย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินโดนีเซีย

ผลงานที่โดดเด่นของเธอ ได้แก่ “Manoland” (2558), “Fundamental” (2559), “Ceci n'est pas la politique” (2560), “Something Missing Vol.3” (2560) และ “The (Un)Governed Body” (2562) ในปี 2565 เธอได้รับโอกาสพิเศษในการแสดงร่วมกับลูกในครรภ์ที่เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ในผลงาน "I Say Mingalaba, You Say Goodbye" ขณะนั้นเธอตั้งครรภ์ได้เจ็ดเดือน

ผลงานของเบียร์ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง “Something Missing” ได้รับรางวัลการแสดงที่ใช้การเคลื่อนไหวยอดเยี่ยมจาก Bangkok Theatre Festival ในปี 2558 ขณะที่ “Fundamental” (2559) และ “Something Missing Vol.3” (2560) ได้รับรางวัลการแสดงที่ใช้การเคลื่อนไหวยอดเยี่ยม และรางวัลการแสดงกลุ่มยอดเยี่ยมจากสมาคมนักวิจารณ์ละครเวทีนานาชาติ (IATC – ประเทศไทย)

Beer Yingsuwannachai

Beer Yingsuwannachai, began work with B-Floor in 2012 when she participated in "B-Fest," a weeklong intensive training program. She officially joined the company in 2014 and has since performed in Thailand, Japan, South Korea, and Indonesia.  Some of her notable performances include “Manoland” (2015), “Fundamental” (2016), “Ceci n'est pas la politique” (2017), “Something Missing Vol.3” (2017), and "The (Un)Governed Body" (2019).  In 2022, she had the opportunity to perform with her unborn child in Kyoto, Japan, in "I Say Mingalaba, You Say Goodbye." At that time, she was seven months pregnant.  Beer’s work has earned significant recognition. “Something Missing” won Best Movement-Based Performance at the Bangkok Theatre Festival in 2015. Both “Fundamental” (2016) and "Something Missing Vol.3" (2017) received the Best Movement-Based Performance Award and Best Performance by an Ensemble Award from the International Association of Theatre Critics (IATC – Thailand). 



ลัดดา คงเดช

ลัดดา คงเดช เป็นนักแสดง นักเชิดหุ่น ผู้กำกับ และผู้สร้างสรรค์ละครเวทีในนามพระจันทร์เสี้ยวการละครมาตั้งแต่ปี 2010 เธอมีความสนใจในศิลปะบุโตและเคยร่วมงานกับศิลปินนานาชาติ อาทิ Asia Butoh Tree Project โดย ยูโกะ คาวาโมโตะ (2018–2020) ประเทศญี่ปุ่น และ การฝึกอบรมระยะสั้นกับ Trust Dance Theatre ภายใต้โครงการ Cultural Partnership Initiative Program (CPI) ประเทศเกาหลีใต้

การแสดงส่วนใหญ่ของเธอ มุ่งสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับ สิ่งอื่น—เช่น ความเชื่อมโยงระหว่างนักเชิดหุ่นกับหุ่น หรือปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง เธอใช้ศิลปะการแสดงเป็นสื่อกลางในการสื่อสารและค้นคว้าความสัมพันธ์เหล่านี้ผ่านการเคลื่อนไหวและปรัชญาของบุโต

Ladda Kongdach

Ladda Kongdach is an actress, puppeteer, director, and theatre creator at Crescent Moon Theatre since 2010. She has a deep interest in Butoh and has collaborated with international artists, including Asia Butoh Tree Project by Yuko Kawamoto (2018–2020) in Japan, Short-term training with Trust Dance Theatre under the Cultural Partnership Initiative Program (CPI) in South Korea

In most of her performances, she explores the relationship between humans and other beings—such as the connection between puppeteers and puppets, as well as human-to-human interactions. She is dedicated to using performance as a medium to communicate and investigate these relationships through the body movement and philosophy of Butoh.



ฐาณารัตน์ สุธนากุลวิทย์

ฐาณารัตน์สนใจความสัมพันธ์ระหว่างร่างกาย  จิตใจ และจิตวิญญาณ  การสื่อสารผ่านการเคลื่อนไหวเพื่อถ่ายทอดบางมิติในชีวิตด้วยการเข้าไปรับรู้ความเป็นไปข้างใน  สำหรับเธอร่างกายเป็นเหมือนหนทางและประตูในการทำความเข้าใจความเป็นมนุษย์และรับฟังเสียงภายในอย่างซื่อตรง  ปัจจุบันเป็นนักจัดกระบวนการเรียนรู้ผ่านการเคลื่อนไหวร่างกาย และกำลังสนใจการสื่อสารผ่านร่างกายในมิติต่างๆ 

Thanarat Suthanakulvit

Thanarat is interested in the relationship between the body, mind, and spirit.  She engages in movement-based communication to express different aspects of life by attuning to inner experiences. To her, the body serves as both a pathway and a doorway to understanding human nature and listening authentically to one's inner voice. She currently works as a Movement-based Expressive Arts facilitator and is exploring various dimensions of bodily expression.




สินีนาฏ เกษประไพ 

นักการละคร ผู้กำกับ นักแสดง ศิลปิน Butoh เป็นผู้กำกับศิลป์พระจันทร์เสี้ยวการละครตั้งแต่ปี 2544  ได้รับรางวัลศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดง ปี 2551 มีผลงานการแสดงทั้งในและต่างประเทศ 

สนใจใช้ศิลปะการแสดงร่วมสมัย โดยการใช้รูปแบบการนำเสนอที่หลากหลายทั้งละคร การแสดงแนวทดลอง สร้างสรรค์ขึ้นใหม่โดยมีลักษณ์เด่นในการใช้การเคลื่อนไหวร่างกาย movement-based performance การแสดงบุโตร่วมสมัย site specific และ collaborative work ร่วมกับการใช้องค์ประกอบศิลป์ต่างๆเข้าด้วยกัน ผสมผสานร่วมกับแนวคิดจากรากฐานของสังคม รวมทั้งประสบการณ์ส่วนตัว ในการสร้างสรรค์เพื่อเชื่อมโยงกับผู้ชมและสังคม เนื้อหามุ่งเน้นสะท้อนประเด็น ผู้หญิง สังคม และ ธรรมชาติ 

ปัจจุบันกำลังขยายการฝึกฝนสร้างสรรค์กิจกรรมและเวิร์คชอปในด้านการใช้การเคลื่อนไหวร่างกายเชื่อมโยงกายใจกับธรรมชาติ spiritaul practice และสร้างสรรค์การแสดงที่เป็นมิตรกับโลกธรรมชาติให้มากขึ้น   

ผลงานล่าสุด 

แสดงผลงาน ใน Solo Butoh Festival 2023 ที่ ประเทศอินโดนีเซีย 

เข้าร่วม Artist in Recidency และจัดแสดงผลงานในเทศกาล Momentary Island Festival 2024 ที่ ประเทศเกาหลีใต้ 

ผู้จัดและนำกระบวนการ เทศกาลละคร 24hr Festival 2025 ที่ Bed Time Store

ร่วมแสดงงาน Site Specific ในเทศกาล Play Ground Festival ที่ SS Performing Arts Space เชียงราย จัดโดย Pichet Klunchun Dance Company 15-16 ก.พ. นี้

Sineenadh Keitprapai

Performing art artist, performance maker, Butoh practitioner and artistic director at Crescent Moon Theare THAILAND since 2001. She received Silpathorn Award in performing arts from the Office of Contemporary Art and Culture, Ministry of Culture in 2008. 

She is interested about women issue, social concerns, movement practic, moving with nature, spiritual dimention and eco performance practice. Her work are theatre, movement-based perofrmance, devising performance, site specific, Butoh and collaborative work. 

Most of her works explore, express and questioning about women's issues, women's bodies, and social and nature concerns.  


.

Solo Movement Festival

ครั้งแรกกับเทศกาลแสดงเดี่ยว และการรวมตัวกันของนักสร้างสรรค์การแสดงที่ใช้ร่างกายในการเคลื่อนไหว 

จัดแสดง 2 รอบ 

ศุกร์ 14 มี.ค. 2568 เวลา 18.00 น.

เสาร์ 15 มี.ค.2568 เวลา 16.00 น.  

ที่ 6060 Arts Space 

.

#movement #SoloMovementFestival

#พระจันทร์เสี้ยวการละคร #การแสดง #การแสดงเดี่ยว 

#พระจันทร์เสี้ยวการละคร #performance 

#bodybased #movementbasedperformance 

#PhysicalTheatre #soloperformance


12 February 2025

 


ครั้งแรกกับเทศกาลแสดงเดี่ยว
Solo Movement Festival 

โดย พระจันทร์เสี้ยวการละคร 




กับการรวมตัวกันของนักสร้างสรรค์การแสดงที่ใช้ร่างกายในการเคลื่อนไหว 

พบกับการแสดงจาก  


นักแสดงหญิง 6 คน กับอีก 1 นักดนตรีสร้างสรรค์ ที่จะมาเป็นแขกรับเชิญพิเศษ 


เบียร์ ยิ่งสุวรรณชัย 

ฐาณารัตน์ สุธนากุลวิทย์

พรสรวง รวยรื่น

เพียงรวี ศิริสุข

ลัดดา คงเดช

สินีนาฏ เกษประไพ

และ แอน มณีรัตน์ สิงหนาท 


 ' Women Celebrate Body ' 


จากพื้นที่ว่าง กับการเปิดพื้นที่เพื่อสำรวจ ทำความรู้จัก 

ร่างกาย พื้นที่ เวลา ความคิด ความรู้สึก จินตภาพ กับ การเคลื่อนไหว 

เปิดพื้นที่ให้ร่างกายได้พูดได้แสดงออกในแบบของแต่ละคน 

จัดแสดง 2 รอบ 

วันศุกร์ 14 มี.ค. 2568 เวลา 18.00 น.

วันเสาร์ 15 มี.ค.2568 เวลา 16.00 น.   

*** มีพูดคุยหลังการแสดง ***

ดำเนินการพูดคุย โดย ดร.ภาสกร อินทุมาร 

.

จัดแสดง ที่ 6060 Arts Space 

บัตร 600 บาท

สอบถามและจองบัตรได้ที่ 084 996 9792

หรือ inbox Fb: Crescent Moon Theatre

.

จัดโดย พระจันทร์เสี้ยวการละคร 

สนับสนุนโดย 6060 Arts Space  

.

#movement #SoloMovementFestival

#พระจันทร์เสี้ยวการละคร #การแสดง

#พระจันทร์เสี้ยวการละคร #performance 

#bodybased #movementbasedperformance 

#PhysicalTheatre


29 January 2025

 

รวมชื่อละคร ใน เทศกาลละคร 24 ชั่วโมง 2025

18 มกราคม 2568 ที่ Bedtime Storeys 



1 ละครเรื่อง “ในร้านกาแฟ”

เขียนบท : อรดา ลีลานุช

ผู้กำกับ : สายฟ้า ตันธนา

นักแสดง : เศรษฐ์สิริ นิรันดร, ปุณิกา หรั่งฉายา, ศรัณย์ภัทร เอี่ยมสุโร, ภคพล ที่พัก



2 ละครเรื่อง “สู้สุดใจยัยเช็ดถู”

เขียนบท : ปวริศร กิจวานิชรุ่งเรือง 

ผู้กำกับ : ธันย์รัตนราม ชีพนุรัตน์

นักแสดง : ศุภิสรา วันชาญเวช, ธนกฤต การะมัด, ณัฐวุฒิ เมืองมูล



3 ละครเรื่อง “ดาดฟ้าฮาเฮ”

เขียนบท : นภัค ไตรเจริญเดช

ผู้กำกับ : ภูมิภัทร ปัญญาภู

นักแสดง : คานธี วสุวิชย์กิต, วัฒนชัย ตรีเดชา



4 ละครเรื่อง “พวกเราซื้อปลาหมึกยักษ์มาจากดาร์คเว็บ”

เขียนบท : ปานมาศ ทองปาน

ผู้กำกับ : ศรายุทธ ศรีงาม

นักแสดง : กวินธร  แสงสาคร, ภคมน ดาระปรารมภ์




5 ละครเรื่อง “ประติมากรรมกระดาษ” 

เขียนบท : ธนพนธ์ อัคควทัญญู

ผู้กำกับ : สวนีย์ อุทุมมา

นักแสดง : เชษฐพัทธ์ เขื่อนแก้ว, ณิชา รอดอนันต์, พริมรติ เภตรากาศ




#24hrplayfestival2025 #24hrfest 

#ละครเวที #ละครเวทีโรงเล็ก 

#crescentmoontheatre 

#พระจันทร์เสี้ยวการละคร





20 January 2025

 


รวมภาพบรรยากาศจากการแสดง 
"24hr Play Festival 2025 เทศกาลละคร 24 ชั่วโมง"





เทศกาลละคร 24 ชั่วโมง เทศกาลที่นักเขียนบท ผู้กำกับ นักแสดง และ ทีมงานละครจะร่วมกันทำละครใน 24 ชั่วโมง








วันเสาร์ที่ 18 มกราคม 68

ที่ Bedtime Storeys

จัดโดย พระจันทร์เสี้ยวการละคร

สนับสนุนโดย Bedtime Storeys 



พระจันทร์เสี้ยวการละคร ขอขอบคุณนักทำละครและทีมงานทุกคน

ขอบคุณผู้ชมทุกท่านที่มาดูมาชมค่ะ 🥰🙏



#24hrplayfestival2025 #24hrfest 

#ละครเวที #ละครเวทีโรงเล็ก 

#crescentmoontheatre 

#พระจันทร์เสี้ยวการละคร


 



จบลงไปแล้วกับ เมศกาลละคร 24 ชั่วโมง

ขอบคุณนักทำละครทุกท่านมากๆที่มาร่วมสนุกท้าทายความสร้างสรรค์ในปีนี้ 

ขอบคุณผู้ชมทุกท่านที่มาดูมาชมมาสนับสนุนพวกเรา

ขอบคุณ Bedtime Storeys มากๆกับการให้ความสนับสนุนพื้นที่ให้เราได้สร้างสรรค์งานร่วมกัน 




17 January 2025


รวมรายชื่อศิลปินนักทำละครที่จะร่วมกระบวนการทำละครภายใน 24 ชั๋วโมง  



ผู้เขียนบท: 

ธนพนธ์ อัคควทัญญู, นภัค ไตรเจริญเดช, ปานมาศ ทองปาน, ปวริศร กิจวานิชรุ่งเรือง, อรดา ลีลานุช


ผู้กำกับ:

ธันย์รัตนราม ชีพนุรัตน์, ภูมิภัทร ปัญญาภู , ศรายุทธ ศรีงาม, สวนีย์ อุทุมมา, สายฟ้า ตันธนา 


นักแสดง:

คานธี วสุวิชย์กิต, วัฒนชัย ตรีเดชา, เศรษฐ์สิริ นิรันดร,  

กวินธร  แสงสาคร, ปุณิกา หรั่งฉายา, เชษฐพัทธ์ เขื่อนแก้ว

 ณิชา รอดอนันต์, ภคมน ดาระปรารมภ์, ศรัณย์ภัทร เอี่ยมสุโร, 

ศุภิสรา วันชาญเวช, ธนกฤต การะมัด, พริมรติ เภตรากาศ, 

ณัฐวุฒิ เมืองมูล, ภคพล ที่พัก 

.

เทศกาลละคร 24 ชั่วโมง 

การแสดงมีรอบเดียวเท่านั้น

วันเสาร์ที่ 18 มกราคม 68

เวลา 19:00 น. / บัตร 450 บ.

ที่ Bedtime Storeys


แผนที่ :

https://maps.app.goo.gl/odAJBWt2ehKDtkXL6


#24hrfest #เทศกาลละครยี่สิบสี่ชั่วโมง

#ละครเวที #พระจันทร์เสี้ยวการละคร

#ละครเวทีโรงเล็ก #crescentmoontheatre

#24hrPlayFestival2025

 



แนำนำการเดินทางไป Bedtime Storeys 

เพื่อเข้าชม 24hr Play Festival 2025 เทศกาลละคร 24 ชั่วโมง




Bedtime Storeys 

แผนที่ :

https://maps.app.goo.gl/odAJBWt2ehKDtkXL6


*** สำหรับคนที่จะเดินทางมาด้วยรถไฟฟ้า ***

1. นั่งรถไฟฟ้ามาลง ICON Siam แล้วเดินประมาณ 10-12 นาที

2. นั่งรถไฟฟ้าลงสถานี กรุงธนบุรี ทางออก 1 ต่อรถมอไซค์บอกมาซอยเจริญรัถ 20 

ตัวคาเฟ่โรงแรม อยู่ติดถนนเจริญรัถ ระหว่างซอย 18 กับ 20 (ใกล้ 20 มากกว่า) 

สังเกตประตูสีน้ำเงินใหญ่ๆนะคะ 😊

การจัดแสดง 24hr Fest คือคาเฟ่ชั้น 1 เข้าประตูกระจกข้างๆ แล้วพบกันค่ะ 🤗


#24hrfest #เทศกาลละครยี่สิบสี่ชั่วโมง

#ละครเวที #พระจันทร์เสี้ยวการละคร

#ละครเวทีโรงเล็ก #crescentmoontheatre

#24hrPlayFestival2025

แนะนำศิลปินนักปฏิบัติการละคร Theatre practitioner ซึ่งจะเป็นผู้ดำเนินการและนำกระบวนการ  ใน 24hr Play Festival 2025 เทศกาลละคร 24 ชั่วโมง 



จตุรชัย ศรีจันทร์วันเพ็ญ (ชวน)

นักทำละครร่อนเร่ ทำหมดทั้งบท กำกับ และแสดง สนใจละครเวทีที่ไม่ได้เล่นในโรงละคร

ร่วมงานกับ 24hr fest มาทุกครั้ง ครั้งแรกเป็นคนเขียนบท ครั้งต่อมากำกับ และครั้งล่าสุดเป็นนักแสดง

“มาถึงครั้งนี้จะมาเป็นนำกระบวนการก็รู้สึกตื่นเต้นน่าสนุก แถมเป็นรูปแบบ site-specific ก็รอลุ้นว่าศิลปืนคนอื่นๆจะสร้างสรรค์ผลงานแบบไหนให้ได้ชมบ้าง เป็นโปรเจคที่ทำให้คนทำละครอย่างเรารู้สึกได้ท้าทายปัดฝุ่นลุ้นระทึก และขุดเอาทักษะที่มีอยู่มาทำงานในเวลาจำกัดอย่างเต็มที่จริงๆ และ ไอศครีมรสที่ชอบก็ยังคงเป็นคุกกี้แอนด์ครีม”

ละครเวทีที่เขียนบทและกำกับเรื่องแรกคือ กล่องช็อกโกแลต (2008)

ผลงานละครเวทีเรื่องล่าสุดคือ คอยกูดิ (2024)



สินีนาฏ เกษประไพ (นาด)

จับผลัดจับผลูทำละครเรื่องแรกโดยทำเรื่องและกำกับเพื่อนให้แสดงละครสั้นงานโรงเรียนตังแต่ ป 5 เริ่มทำละครเวทีจริงจังตอนอยู่มหาลัย ปี 2 เริ่มกำกับละครเวทีเรื่องแรกตอนปี 4 ตั้งแต่เรียนจบก็ทำงานละครเวทีมาตลอด เข้ามาเป็นสมาชิกพระจันทร์เสี้ยวการละคร ปี 1995 เป็นนักทำละครที่หลายหน้าที่ เรียกกันเล่นๆว่า จีบี หรือ เจนเนอรัลเบ๊ หรือเป็นเป็ดทางการละคร หรือเรียกแบบเท่ๆ multi-disciplinarty นอกจากทำละคร ก็ยังสอนการแสดงในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ยังคงทำละครอยู่ และทำต่อไป

เป็นผู้ดูแลโปรเจก 24 hr Play Fest 2014 ตั้งแต่ครั้งแรกและทุกครั้งจนมาถึงครั้งนี้ เพิ่มเติมคือจะนำกระบวนการด้วย

“เทศกาลละคร 24 ชั่วโมง เป็นเหมือนปาร์ตี้ทางการละคร ที่รวมนักทำละครแบบเยอะๆมาอยู่ด้วยกันทำงานกันภายใต้โจทย์ที่ท้าทาย น่าสนุกและตื่นเต้นที่เราจะเห็นความเป็นไปได้อีกหลายอย่างที่จะปรากฏ กระบวนการละครทำให้พวกเรา active”

ผลงานกำกับละครเวทีเรื่องแรก Rites (1994)

ผลงานดัดแปลงบท กำกับและแสดงเรื่องล่าสุด ผู้หญิงในห้องสีเหลือง (2024)



ทวิทธิ์ เกษประไพ (แอ๋ม)

นักทำแสง เริ่มทำแสงให้กับละครเวทีเรื่องแรกคือ ละครเพลง สู่ฝันอันยิ่งใหญ่ เวอร์ชั่นแรกในไทย ปี 1987 เริ่มเข้ามาเป็นสมาชิกพระจันทร์เสี้ยวการละครปี 1996 ปัจจุบันยังทำงานด้านออกแบบแสง และกับเทคนิคให้กับละครเวทีให้กับหลายกลุ่มละคร นอกจากนี้เป็นอาจารย์พิเศษสอนออกแบบแสงในมหาวิทยาลัย

ดูแลเทคนิคและออกแบบแสงให้กับ 24hr Play Fest ครั้งแรก ปี 2014 จนมาถึงครั้งนี้

“24hr Play Fest เป็นงานที่ท้าทายมาก คุณจะไม่รู้อะไรเลย บทยังไม่ได้เขียน ผู้กำกับยังไม่สามารถบอกอะไรได้ คุณจะมีเวลาแค่ 3-4 ชั่วโมงที่จะทำงานกับละคร 5 เรื่องที่จะเกิดขึ้นภายในเวลา 24 ชั่วโมง กับงงานครั้งนี้ จะแสดงงานแบบ site-specific ด้วย”

ทำงานด้านแสงให้กับละครเวทีเรื่องแรก สู่ฝันอันยิ่งใหญ่ (1987)

ผลงงานออกแบบแสงให้กับละครเวทีเรื่องล่าสุด มิตรฉาชีพ ที่เสน่หาพาราดิโซ (2024) จัดแสดงที่หาดใหญ่


#24hrfest #เทศกาลละครยี่สิบสี่ชั่วโมง

#ละครเวที #พระจันทร์เสี้ยวการละคร

#ละครเวทีโรงเล็ก #crescentmoontheatre

#24hrPlayFestival2025

16 January 2025

 


ขอแนะนำทีมสนับสนุน  เทศกาลละคร 24 ชั่วโมง
24hr Play Festival 2025


สินีนาฏ เกษประไพ ผู้ดูแลโครงการ และผู้นำกระบวนการ

จตุรชัย ศรีจันทร์วันเพ็ญ ผู้นำกระบวนการ

ทวิทธิ์ เกษประไพ ผู้ดูแลเทคนิค และออกแบบแสง

ลัดดา คงเดช ผู้ประสานงาน, ประชาสัมพันธ์ และออกแบบโปสเตอร์

สุกัญญา เพี้ยนศรี ประชาสัมพันธ์

ศุภชัย จิวะพันธุ์ชัย ผู้กำกับเวที

ศรายุทธ คำประเสริฐ ทีมงานแสง

ชนาง อำภารักษ์ ฝ่ายบัตรและต้อนรับ

.


#เทศกาลละครยี่สิบสี่ชั่วโมง 

#24hrplayfestival2025 #24hrfest 

#ละครเวที #ละครเวทีโรงเล็ก 

#crescentmoontheatre 

#พระจันทร์เสี้ยวการละคร


15 January 2025

 

แนะนำนักแสดง ใน 24 hr Play Festival 2025 (Set 2)



ณิชา รอดอนันต์ (เตย)

จบการศึกษาจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการละคอน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ปัจจุบันเป็นนักแสดงละครเวที และละครทีวี เป็นผู้ก่อตั้งคณะละครปู๊นปู๊น และดูแลล้านนาอารีย์เธียเตอร์ 

มีผลงานการแสดงละครเวที เช่น มนต์รักเพลงสวรรค์ (2015), ลอดลายมังกร เดอะมิวสิคัล (2016), บุปผาราตรีเกือบจะมิวสิคัล (2018), ชายกลาง เดอะมิวสิคัล (2019), คืนพุธมุดผ้าห่ม (2024) 

ผลงานการแสดงละครเวทีเรื่องแรก ไต้ฝุ่น : The Remains (2014) 

ผลงานแสดงละครเวทีเรื่องล่าสุด Little Tiger (2024)



เชษฐพัทธ์ เขื่อนแก้ว (ไบ๊) 

จบการศึกษาด้านสื่อสารการแสดง เชี่ยวชาญการออกแบบสุนทรียะที่เข้ากับพื้นที่การแสดง ผลงานของเขาครอบคลุมละครพูด, Physical Theatre และ Puppet Theatre เป็นผู้ก่อตั้ง A Humming Wolf รวมถึงผู้ร่วมก่อตั้ง PART TIME THEATRE พร้อมสร้างผลงานต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ ในฐานะผู้กำกับ และนักออกแบบแสง

ผลงานการแสดงละครเวทีเรื่องแรก : หลงทางที่บางพลัด (2011)

ผลงานการแสดงละครเวทีเรื่องล่าสุด : สวัสดีค่าา วันนี้เจ๊อยากดูอะไรดีคะ ภาค 2 (2024)



กวินธร  แสงสาคร (วิน)

สมาชิกพระจันทร์เสี้ยวการละคร จากโครงการรุ่นใหม่แรง ปี 2542 ได้เข้ามาสู่นักละครเวทีและได้รับการฝึกฝนเรียนรู้จากครูๆพี่ๆในคณะพระจันทร์เสี้ยว และนักการละครคณะอื่นๆ เป็นทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง 

ปัจจุบันเป็นนักแสดงอิสระ และเป็นทั้งผู้กำกับ ผู้ช่วยผู้กำกับ Post Production และอาจารย์พิเศษ ที่มหาวิทยาลัย ศรีปทุม และ มหาวิทยาลัยบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

ผลงานการแสดงละครเวที เช่น คือผู้อภิวัฒน์, ความฝันกลางเดือนหนาว, หลายชีวิต, Bangkok note, ปริศนาภริยาคนที่สอง

ผลงานแสดงละครเวทีเรื่องแรก มนุษย์ดูดเลือด (1998)

ผลงานแสดงละครเวทีเรื่องล่าสุด ปริศนาภริยาคนที่2 (2022)



ปุณิกา หรั่งฉายา (เดียร์) 

นักแสดงที่เริ่มงานการแสดงจากละครใบ้ เป็นสมาชิกกลุ่มละครใบ้คนหน้าขาว ต่อมาได้มีพี่ๆเพื่อนๆในวงการละครชวนเล่นละครเวทีเรื่องอื่นๆต่อมาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน   

ผลงานการแสดงที่ผ่านมา เช่น ละครใบ้ Mime Show Case Konnakhao, 24 hr festestival 2018, ปีศาจหัวโต 

หลับตาเห็นทุ่งหญ้าเขียวขจีมีวัว 1 ตัว, The Comment, Co Exits,  Enstation และ คอยกูดิ เทศกาลละครกรุงเทพ 2024 

ผลงานแสดงเรื่องแรก   คนหน้าขาวมาร์มโชว์เคส 

ผลงานแสดงละครเวทีเรื่องล่าสุด คอยกูดิ (2024)



คานธี วสุวิชย์กิต (คานธี) 

เรียนจบมาทางด้านประพันธ์เพลง คลุกคลีกับงานศิลปะการแสดง(ละครเวที)เป็นส่วนใหญ่ แต่งเพลง เรียบเรียงเสียงประสาน ออกแบบเสียง เป็นนักแสดงละครเวที ทีวี ภาพยนตร์ และมีงานละครของตัวเองบ้างเป็นครั้งคราว 

ผลงานละครเวที เช่น ระนาดเอก, อิดิปุส, แม่น้ำแห่งความตาย, สาวชาวนา, ศรีบูรพา 

ผลงานการแสดง เช่น ผลงานแสดงละครเวทีเรื่องแรก "ระนาดเอก" คณะละครมรดกใหม่ (1999)

ผลงานแสดงละครเวทีเรื่องล่าสุด We are all embers from the same fire คานทะยวย (2024)


วัฒนชัย ตรีเดชา (วัฒน์) 

อดีตสมาชิกกลุ่มละครหน้ากากเปลือย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกสมาคมบอร์ดเกมประเทศไทย เป็นนักแสดงอิสระ เล่นภาพยนตร์ ซีรีส์ โฆษณาเช่น ภาพยนตร์ อนงค์, ซีรีส์ thai cave rescue/dr.climax, โฆษณา GQ , อยู่รวยคอนโด, สัมมากร

แสดงละครเวที เช่น หมูบินได้,  ร่อน, ขอชื่อสุธี3-4ชาติ, รักเล็กๆ, หมาตอน

ผลงานแสดงละครเวทีเรื่องแรก ที่งานเทศกาลละครเวทีกรุงเทพ (ยังนึกชื่อเรื่องไม่ออกครับ) ประมาณ ปี 2004

ผลงานแสดงละครเวทีเรื่องล่าสุด ร่อน (2018)


เศรษฐ์สิริ นิรันดร (ปั๊ม)

วิ่งเล่นอยู่กับละครเวทีตั้งแต่เริ่มเรียนมหาวิทยาลัยจนถึงวันนี้ยังไม่หยุด ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำ และหัวหน้าสาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มศว นักแสดงอิสระ ผู้กำกับการแสดง Co-Director เทศกาลละครกรุงเทพ 2561-ปัจจุบัน 

ผลงานการแสดงที่ผ่านมา เช่น ถ้า…พระจันทร์ แฝดวุ่นลุ้นรัก, เรื่องเล่าจากโรงน้ำชา, ละครแห่งประเทศฟะรังฟะแรงก์ ค.ศ. 1684, ลิเกข้าชื่อดอนกิโฆเต้, แอนิมอลฟาร์มสาขาหนองน้ำเจ้าพระยา, กูรู้เทียเตอร์, หลายตัวละครตามาหาคุณประดิษฐ ฯลฯ ผลงานการกำกับการแสดง เช่น คิดไม่ตก…ตลกแดก, ตามสั่ง, ละครเพลงกุลสตรีศรีสยาม

ผลงานแสดงละครเวทีเรื่องแรก คำสาปคนจน (1998)

ผลงานแสดงละครเวทีเรื่องล่าสุด ตุ๊กตาแก้บนแบบแก้ว / เป็นนักดนตรี (2024)


#24hrfest #เทศกาลละครยี่สิบสี่ชั่วโมง

#ละครเวที #พระจันทร์เสี้ยวการละคร

#ละครเวทีโรงเล็ก #crescentmoontheatre

#24hrPlayFestival2025





แนะนำนักแสดง ใน 24 hr Play Festival 2025 (Set 1)


ธนกฤต การะมัด (ซื้ด)

นักแสดงอิสระ ทำงานด้านศิลปะการแสดงกับกลุ่มละครต่าง ๆ ในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในฐานะนักแสดงซี้ดมุ่งสนใจรูปแบบการนำเสนอผ่านการเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อพัฒนาทักษะการแสดงของตนเองไปถึงเพื่อสำรวจพลวัตของ (การเคลื่อนไหว) ร่างกายในฐานะปัจเจกที่ถูกประกอบสร้างขึ้นจากสังคม

ผลงานการแสดงที่ผ่านมา เช่น 

It’s Just A Fiction (2022), Lucid Thani (2023), Manoland (2023), Double Exposure (2023), Street Food Theatre (2024), House No.7 (2024), Women With A Time Machine (2024) 

อีกทั้งยังมีผลงานขนาดสั้นของตัวเองอย่าง Yesterday: Site Specific and Movement Performance (2023) จัดแสดงที่สวนเบญจกิติและ The 4th Wall: Solo Performance (2024) การแสดงภายใต้โครงการ All About Queer จัดแสดงที่หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพ

ผลงานการแสดงละครเวทีเรื่องแรก 99/1: Devised Performance (2019)

ผลงานการแสดงละครเวทีเรื่องล่าสุด WOMEN WITH A TIME MACHINE (2024)



ศรัณย์ภัทร เอี่ยมสุโร (พัตเตอร์) 

ปกติแล้วเป็นผู้กำกับ ชอบงานกำกับ ชอบเขียนบท ตอนนี้กำลังสนใจฝึกแสดงละครเพิ่ม จบละครจากจุฬามาก็เลยจะเรียนและคุ้นเคยกับละครที่เป็นละครพูดซะส่วนใหญ่ แต่ก็สนใจละครแบบอื่น ๆด้วย และกำลังค้นหาแนวทางของตัวเอง ณ ขณะนี้สนใจประเด็นเกี่ยวกับความเปราะบางของอำนาจปิตาธิปไตย และความเป็นชายที่เป็นพิษ

ผลงานละครเวทีที่ผ่านมา เช่น ผมเนี่ยแหละผู้ชายแมน ๆ เตะบอล (2023), คนดีที่เสฉวน (2024), Father Time ชาย ชาติ ทหาร (2024),  มิตรฉาชีพ ที่เสน่หาพาราดิโซ (2024)

ผลงานการแสดงละครเวทีเรื่องแรก คอยโกโดต์ ที่อักษรปี 2022

ผลงานการแสดงละครเวเรื่องล่าสุด มิตรฉาชีพ ที่เสน่หาพาราดิโซ ปี 2024


ศุภิสรา วันชาญเวช (แบมแบม) 

นักการละครอิสระ สนใจและรักในการแสดงมากที่สุด มีประสบการณ์ด้านการแสดงหลายเรื่อง รักการทำกิจจกรรมและการแสดงเล่านิทาน และจัดกิจกรรมสำหรับเด็ก ปัจจุบันทำงานเป็นนักการตลาดออนไลน์ตำแหน่ง Editor, Creative and Content Planner

ผลงานการแสดงที่ผ่านมา เช่น Voyage (2017), Woyzeck (2018),  Woman and the Light House (2019), Butoh Blowing (2019), Joey the Dreamer, (2023-2024), Theatre Move Move with Music Fresh Fresh (2024), ป่านี้ไม่ซี้สักตัว (2024), ดรุณีสมัย : Lido Open Stage (2024)

ผลงานการแสดงละครเวทีเรื่องแรก Voyage (2017)

ผลงานแสดงเรื่องล่าสุด My Own Egg (2024)


ภคพล ที่พัก (โฟนลิงก์)

นักศึกษาการละคอนชั้นปีที่ 4 สาขาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลูกครึ่งโคราช-ชัยภูมิ สนใจการแสดง การกำกับการแสดง และการประยุกต์ใช้การแสดงเพื่อการเยียวยา

ขณะนี้กำลังทำละคอนนิพนธ์ โดยเป็นทั้งผู้เขียนบทควบคู่การกำกับการแสดง และกำลังริเริ่มก่อตั้งคณะละคร Filosophy Theatre 

ผลงานการแสดงที่ผ่านมา  Desire Under the Elms (2022), ปีศาจแมวดำ (2023), Spirit House Open House (2024), The Crucible(2024) 

ผลงานแสดงละครเวทีเรื่องแรกที่แสดง Desire Under the Elms (2022) 

ผลงานแสดงละครเวทีเรื่องล่าสุด The Crucible (2024) 



พริมรติ เภตรากาศ (พริม) 

เรียนจบจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาการละคอน ปัจจุบันทำงานประจำเป็น Creative ทีมโปรโมทภาพยนตร์ที่ GDH และเป็นนักแสดงละครเวทีอิสระ ที่สนใจงานด้านการแสดงละครเวที 

ผลงานการแสดงส่วนใหญ่เป็นการใช้การเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น เรื่อง คือผู้อภิวัฒน์ (2020), It’s Just a Fiction [not mentioning anything] (2022) , Body Matters (2023) 

ผลงานการแสดงละครเวทีเรื่องแรก: คือผู้อภิวัฒน์ (2020) 

ผลงานการแสดงละครเวทีเรื่องล่าสุด:  Body Matters (2023)


ณัฐวุฒิ เมืองมูล (ต้าร์) 

เด็กละคอน มธ. ก่อนจบคิดว่าคงไม่ได้เล่นละครอีกแล้ว เพราะไม่ได้ส่งการแสดงเป็นตัวจบ แต่จนบัดนี้ก็เป็นหนึ่งในไม่กี่คนในรุ่นที่ยังเล่นละครอยู่ ปัจจุบันเป็นสมาชิกคณะละครปู๊นปู๊น และแสดงกับกลุ่มอื่นๆด้วยเช่น 8x8

ผลงานละครเวทีที่ผ่านมา 

ปีศาจแมวดำ (2023), Ballad of life ลำนำชีวิต (2024), ทางเทวดา (2024)

ผลงานการแสดงละครเวทีเรื่องแรก กับดัก The Mousetrap (2022)

ผลงานการแสดงละครเวทีเรื่องล่าสุด ทางเทวดา (2024)


ภคมน ดาระปรารมภ์ (แซนด์)

นักแสดงมากความสามารถ จบการศึกษาจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาการละคร เธอเริ่มมีชื่อเสียงจากผลงานละครเวทีเรื่องแรกที่เป็นที่รู้จักอย่าง "Dilok Von Siam" ปัจจุบันเธอยังคงมีบทบาทในละครเวทีและโฆษณาอย่างต่อเนื่อง มีผลงานการแสดง เช่น Alice, Where Would You Leave Wonderland (2022)

Dilok Von Siam (2021,2023), Women with a Time Machine (2024)

ผลงานแสดงละครเวทีเรื่องแรก Dilok Von Siam (2021)

ผลงานแสดงเรื่องล่าสุด Women with a Time Machine (2024)


#24hrfest #เทศกาลละครยี่สิบสี่ชั่วโมง

#ละครเวที #พระจันทร์เสี้ยวการละคร

#ละครเวทีโรงเล็ก #crescentmoontheatre

#24hrPlayFestival2025

14 January 2025

 
ขอแนะนำผู้กำกับละครเวที  ใน 24 hr Play Festival 2025



สวนีย์ อุทุมมา (เอี้ยง)
นักทำละครมากฝีมือ เริ่มกำกับละครด้วยการทำละครเร่ ฝึกฝนกับเพื่อนๆพี่ๆ ตั้งแต่ม.ปลายและไม่เคยออกจากการทำงานที่เกี่ยวกับการแสดงเลย ทำงานทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ทำงานละครในหลากหลายรูปแบบและทำงานละครเร่ ทำงานกับกลุ่มละครมะขามป้อม และอีกหลายกลุ่มละคร 
ปัจจุบันเป็นนักทำละครเวทีอิสระ และทำงานละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ เป็นนักแสดง ผู้กำกับ เขียนบท โปรดักชั่นเมเนเจอร์ 
ผลงานกำกับที่ผ่านมา เช่น ส้มตำช้ำรัก, 17 พฤษภา My Valentine, จะวันไหนๆ, คนบ้าพาเซิ้ง(2021)
ผลงานกำกับละครเวทีเรื่องแรก (จริงๆจำไม่ได้ 😂 ) ละครหน้าชั้นเรียน (1987) 
ผลงานกำกับละครเวทีเรื่องล่าสุด คนธรรมดา (2023)



สายฟ้า ตันธนา (สายฟ้า) 

เรียนจบคณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต แต่มาทำละคร เริ่มทำละครนอกสถาบันการศึกษาเรื่อง อิดิปุส (1999) กับคณะมรดกใหม่ และยังทำงานละครมาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน เป็นนักแสดงอิสระ มีผลงานทั้งละครเวที ทีวี ภาพยนตร์ และทำงานเป็นเจ้าหน้าที่มูลนิธิ
ผลงานละครที่ผ่านมา เช่น  The Chair (2012), พบรักมักกระสัน (2013), The Cult (2014), Hipster the King (2014-2016), Romulus on the Rock (2015), รื้อ (2016), The Pillowman (2017), Liberal Height (2017), Albratross (2018), Anna in the Topic(2019), ไร้พำนัก(2020), Cyberpunk(2020), สี่วันในเดือนกันยา (2021-2022), Mental health Monologues (2023), คนก้างปลา (2024), hamlet(2024)
ผลงานกำกับละครเวทีเรื่องแรก แฟนชาย (2002)  
ผลงานกำกับละครเวทีเรื่องล่าสุด สมันโผล่มาอีกตัว (2017) 


ธันย์รัตนราม ชีพนุรัตน์ (ซัลโว)

เรียนจบจากสาขาการละคร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทำงานละครตั้งแต่ปี 2014 จนถึงปัจจุบันเป็นนักทำละครอิสระ เป็นผู้กำกับการแสดง นักแสดงละคร และผู้ควบคุมการผลิตละครเวที  
มีผลงานต่อเนื่องและทำละครการแสดงกับอีกหลายกลุ่ม ปัจจุบันอยู่ที่เชียงใหม่ 
ตัวอย่าง ผลงานกำกับละครเวที เช่น ผู้ยิ่งใหญ่(2018), สะพานขาด(2019), โฮจิมินห์ เดอะมิวสิคัล(2019), เด็กดอย เดอะมิวสิคัล(2020), จุมพิษ(2022), The Ordinary(2023) 
ผลงานกำกับละครเวทีเรื่องแรก ผู้ยิ่งใหญ่ (2018) และ เรื่องล่าสุด The Ordinary (2024)


ภูมิภัทร ปัญญาภู (ภู)  

จบปริญญาตรีจากคณะมนุษย์และสังคมศาสตร์ สาขาสังคมวิทยา เริ่มทำละครเวทีตั้งแต่ปี 1จนถึงปัจจุบัน  ตั้งกลุ่มละครเวทีกับเพื่อนๆชื่อ On The Ground Theater  มีผลงานละครเวที เช่น ม่านประเพณี (2018), เวียงจันทน์ เวียงใจ เดอะมิลสิคัล (2019), เพรงพรมพนมไพร เดอะมิลสิคัล (2020), วันต่อไป (2021), Blind Cat and Jellyfish (2022), Honest Hornet (2023), The Sound of Isan (2024) 
ผลงานกำกับละครเวทีเรื่องแรก Blind Cat and Jellyfish (2022)  
ผลงานกำกับเรื่องล่าสุด The Sound of Isan (2024) 


ศรายุทธ ศรีงาม (ไทม์)

ผู้กำกับ, นักแสดง, และนักออกแบบ สมาชิกกลุ่มละคร AT Theatre จบการศึกษาจากสาขาวิชาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันทำอาชีพรับจ้างอิสระ ผลงานละครเวทีที่ผ่านมา เช่น Of Mice and Men (2020), คือผู้อภิวัฒน์ (2020), TU Smart Life (from another planet) (2022), It’s Just a Fiction [not mentioning anything] (2022), TU Smart Life (door to your new chapter) (2023), เปิดบ้านศาลพระภูมิ Spirit House Open House (2024), เมื่อเราคือความล้มเหลว When We Fail, Where Do We Go (2024)
ผลงานกำกับละครเวทีเรื่องแรก: Of Mice and Men (2020)
ผลงานกำกับละครเวทีเรื่องล่าสุด: เมื่อเราคือความล้มเหลว When We Fail, Where Do We Go (2024)


#24hrfest #เทศกาลละครยี่สิบสี่ชั่วโมง
#ละครเวที #พระจันทร์เสี้ยวการละคร
#ละครเวทีโรงเล็ก #crescentmoontheatre
#24hrPlayFestival2025