แนะนำศิลปินและนักสร้างสรรค์การแสดง ใน Solo Movement Festival
พรสรวง รวยรื่น
เซียงเซียง เป็นที่รู้จักกันในวงกว้างในฐานะนักแสดง ละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ ซีรีส์ เธอจบสาขาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจทำงานด้านศิลปะการแสดงร่วมกับทุกสื่อ ทั้งละครเวที ละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ ซีรีย์ และ MV และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งคณะละคร Bluesea Theatre มุ่งหวังว่าจะทำงานละครในแนว Feminist โดยเน้นใช้การเคลื่อนไหวร่างกายของผู้หญิงร่วมกับสื่อต่างๆ
ผลงาน เช่น Wetropolis คลื่นเมือง(2022), Women in RED(2023), Exit Short film(2023), Desire MV(2024)
ผลงานการแสดงอื่นๆ ได้แก่ ภาพยนตร์สั้นตลอดไป, ภาพยนตร์ Faces of Anne , ซีรีส์ รักนี้ชั่วนิจนิรันดร์, ละคร ล่า (2017), ซีรีส์ ทิชา(2024)
ผลงานการแสดงละครเวที ปีศาจแมวดำ (2023), Farewell Poem (2025)
Pornsroung Rouyruen
Pornsroung Rouyruen or Xiangxiang is widely known as an actress in tv dramas, movies and series. She graduated with a degree in theatre from the Faculty of Fine and Applied Arts, Thammasat University. She’s interested in working with every type of media, including theatre, tv dramas, movies, series, and music videos. She is a co-founder of Bluesea Theatre, which aims to combine feminism and theatre, using movements of the female bodies with various types media.
Her past works include Wetropolis คลื่นเมือง(2022), Women in RED (2023), Exit (short film) (2023), Desire (MV) (2024) Faces of Anne (movie), รักนี้ชั่วนิจนิรันดร์ (series), ล่า (drama) (2017), ทิชา (series) (2024), ปีศาจแมวดำ (theatre) (2023), Farewell Poem (theatre) (2025)
เพียงรวี ศิริสุข
เพียงรวี ศิริสุข เกิดและเติบโตที่จังหวัดเชียงราย สถานที่ที่ทำให้เธอได้รู้จักการฟ้อนล้านนา และพัฒนาสู่การเต้นล้านนาร่วมสมัย
ปัจจุบันเพียงรวีเป็นผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มการแสดง Sirisook Dance Theatre และเป็น Artistict director ของเทศกาล ALaLa Dance Fest ในจังหวัดเชียงใหม่
Piengrawee Sirisook
Piengrawee Sirisook was born in Chiang Rai, where she developed a passion for traditional Northern Thai dance as well as contemporary dance.
Currently, Piengrawee is an artist and co-founder of SIRISOOK Dance Theatre. She also serves as the artistic director of ALALA Dance Fest, an international ethnic dance festival held in Chiang Mai.
เบียร์ ยิ่งสุวรรณชัย
เริ่มต้นเส้นทางในฐานะนักแสดง คนหน้าขาว ในปี 2554 และ กลุ่มละคร B-Floor ในปี 2555 เมื่อเข้าร่วม "B-Fest" ซึ่งเป็นโปรแกรมฝึกอบรมเข้มข้นตลอดหนึ่งสัปดาห์ และได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของคณะอย่างเป็นทางการในปี 2557 นับแต่นั้นเป็นต้นมา เธอได้แสดงในประเทศไทย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินโดนีเซีย
ผลงานที่โดดเด่นของเธอ ได้แก่ “Manoland” (2558), “Fundamental” (2559), “Ceci n'est pas la politique” (2560), “Something Missing Vol.3” (2560) และ “The (Un)Governed Body” (2562) ในปี 2565 เธอได้รับโอกาสพิเศษในการแสดงร่วมกับลูกในครรภ์ที่เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ในผลงาน "I Say Mingalaba, You Say Goodbye" ขณะนั้นเธอตั้งครรภ์ได้เจ็ดเดือน
ผลงานของเบียร์ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง “Something Missing” ได้รับรางวัลการแสดงที่ใช้การเคลื่อนไหวยอดเยี่ยมจาก Bangkok Theatre Festival ในปี 2558 ขณะที่ “Fundamental” (2559) และ “Something Missing Vol.3” (2560) ได้รับรางวัลการแสดงที่ใช้การเคลื่อนไหวยอดเยี่ยม และรางวัลการแสดงกลุ่มยอดเยี่ยมจากสมาคมนักวิจารณ์ละครเวทีนานาชาติ (IATC – ประเทศไทย)
Beer Yingsuwannachai
Beer Yingsuwannachai, began work with B-Floor in 2012 when she participated in "B-Fest," a weeklong intensive training program. She officially joined the company in 2014 and has since performed in Thailand, Japan, South Korea, and Indonesia. Some of her notable performances include “Manoland” (2015), “Fundamental” (2016), “Ceci n'est pas la politique” (2017), “Something Missing Vol.3” (2017), and "The (Un)Governed Body" (2019). In 2022, she had the opportunity to perform with her unborn child in Kyoto, Japan, in "I Say Mingalaba, You Say Goodbye." At that time, she was seven months pregnant. Beer’s work has earned significant recognition. “Something Missing” won Best Movement-Based Performance at the Bangkok Theatre Festival in 2015. Both “Fundamental” (2016) and "Something Missing Vol.3" (2017) received the Best Movement-Based Performance Award and Best Performance by an Ensemble Award from the International Association of Theatre Critics (IATC – Thailand).
ลัดดา คงเดช
ลัดดา คงเดช เป็นนักแสดง นักเชิดหุ่น ผู้กำกับ และผู้สร้างสรรค์ละครเวทีในนามพระจันทร์เสี้ยวการละครมาตั้งแต่ปี 2010 เธอมีความสนใจในศิลปะบุโตและเคยร่วมงานกับศิลปินนานาชาติ อาทิ Asia Butoh Tree Project โดย ยูโกะ คาวาโมโตะ (2018–2020) ประเทศญี่ปุ่น และ การฝึกอบรมระยะสั้นกับ Trust Dance Theatre ภายใต้โครงการ Cultural Partnership Initiative Program (CPI) ประเทศเกาหลีใต้
การแสดงส่วนใหญ่ของเธอ มุ่งสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับ สิ่งอื่น—เช่น ความเชื่อมโยงระหว่างนักเชิดหุ่นกับหุ่น หรือปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง เธอใช้ศิลปะการแสดงเป็นสื่อกลางในการสื่อสารและค้นคว้าความสัมพันธ์เหล่านี้ผ่านการเคลื่อนไหวและปรัชญาของบุโต
Ladda Kongdach
Ladda Kongdach is an actress, puppeteer, director, and theatre creator at Crescent Moon Theatre since 2010. She has a deep interest in Butoh and has collaborated with international artists, including Asia Butoh Tree Project by Yuko Kawamoto (2018–2020) in Japan, Short-term training with Trust Dance Theatre under the Cultural Partnership Initiative Program (CPI) in South Korea
In most of her performances, she explores the relationship between humans and other beings—such as the connection between puppeteers and puppets, as well as human-to-human interactions. She is dedicated to using performance as a medium to communicate and investigate these relationships through the body movement and philosophy of Butoh.
ฐาณารัตน์ สุธนากุลวิทย์
ฐาณารัตน์สนใจความสัมพันธ์ระหว่างร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ การสื่อสารผ่านการเคลื่อนไหวเพื่อถ่ายทอดบางมิติในชีวิตด้วยการเข้าไปรับรู้ความเป็นไปข้างใน สำหรับเธอร่างกายเป็นเหมือนหนทางและประตูในการทำความเข้าใจความเป็นมนุษย์และรับฟังเสียงภายในอย่างซื่อตรง ปัจจุบันเป็นนักจัดกระบวนการเรียนรู้ผ่านการเคลื่อนไหวร่างกาย และกำลังสนใจการสื่อสารผ่านร่างกายในมิติต่างๆ
Thanarat Suthanakulvit
Thanarat is interested in the relationship between the body, mind, and spirit. She engages in movement-based communication to express different aspects of life by attuning to inner experiences. To her, the body serves as both a pathway and a doorway to understanding human nature and listening authentically to one's inner voice. She currently works as a Movement-based Expressive Arts facilitator and is exploring various dimensions of bodily expression.
สินีนาฏ เกษประไพ
นักการละคร ผู้กำกับ นักแสดง ศิลปิน Butoh เป็นผู้กำกับศิลป์พระจันทร์เสี้ยวการละครตั้งแต่ปี 2544 ได้รับรางวัลศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดง ปี 2551 มีผลงานการแสดงทั้งในและต่างประเทศ
สนใจใช้ศิลปะการแสดงร่วมสมัย โดยการใช้รูปแบบการนำเสนอที่หลากหลายทั้งละคร การแสดงแนวทดลอง สร้างสรรค์ขึ้นใหม่โดยมีลักษณ์เด่นในการใช้การเคลื่อนไหวร่างกาย movement-based performance การแสดงบุโตร่วมสมัย site specific และ collaborative work ร่วมกับการใช้องค์ประกอบศิลป์ต่างๆเข้าด้วยกัน ผสมผสานร่วมกับแนวคิดจากรากฐานของสังคม รวมทั้งประสบการณ์ส่วนตัว ในการสร้างสรรค์เพื่อเชื่อมโยงกับผู้ชมและสังคม เนื้อหามุ่งเน้นสะท้อนประเด็น ผู้หญิง สังคม และ ธรรมชาติ
ปัจจุบันกำลังขยายการฝึกฝนสร้างสรรค์กิจกรรมและเวิร์คชอปในด้านการใช้การเคลื่อนไหวร่างกายเชื่อมโยงกายใจกับธรรมชาติ spiritaul practice และสร้างสรรค์การแสดงที่เป็นมิตรกับโลกธรรมชาติให้มากขึ้น
ผลงานล่าสุด
แสดงผลงาน ใน Solo Butoh Festival 2023 ที่ ประเทศอินโดนีเซีย
เข้าร่วม Artist in Recidency และจัดแสดงผลงานในเทศกาล Momentary Island Festival 2024 ที่ ประเทศเกาหลีใต้
ผู้จัดและนำกระบวนการ เทศกาลละคร 24hr Festival 2025 ที่ Bed Time Store
ร่วมแสดงงาน Site Specific ในเทศกาล Play Ground Festival ที่ SS Performing Arts Space เชียงราย จัดโดย Pichet Klunchun Dance Company 15-16 ก.พ. นี้
Sineenadh Keitprapai
Performing art artist, performance maker, Butoh practitioner and artistic director at Crescent Moon Theare THAILAND since 2001. She received Silpathorn Award in performing arts from the Office of Contemporary Art and Culture, Ministry of Culture in 2008.
She is interested about women issue, social concerns, movement practic, moving with nature, spiritual dimention and eco performance practice. Her work are theatre, movement-based perofrmance, devising performance, site specific, Butoh and collaborative work.
Most of her works explore, express and questioning about women's issues, women's bodies, and social and nature concerns.
.
Solo Movement Festival
ครั้งแรกกับเทศกาลแสดงเดี่ยว และการรวมตัวกันของนักสร้างสรรค์การแสดงที่ใช้ร่างกายในการเคลื่อนไหว
จัดแสดง 2 รอบ
ศุกร์ 14 มี.ค. 2568 เวลา 18.00 น.
เสาร์ 15 มี.ค.2568 เวลา 16.00 น.
ที่ 6060 Arts Space
.
#movement #SoloMovementFestival
#พระจันทร์เสี้ยวการละคร #การแสดง #การแสดงเดี่ยว
#พระจันทร์เสี้ยวการละคร #performance
#bodybased #movementbasedperformance
#PhysicalTheatre #soloperformance
No comments:
Post a Comment