09 November 2019

Dirctor's Note : Women and the Lighthouse






Director’s note

งานวรรณกรรมของเวอร์จิเนียวูล์ฟ ขึ้นชื่อว่าดีมากและอ่านยากมาก ด้วยวิธีการเขียนแบบกระแสสำนึกที่แปลก มีความลื่นไหลและคำไพเราะเหมือนบทกวี แต่ก็ฉันอยากทำงานของนักเขียนหญิงท่านนี้สักครั้งเพราะได้รับแรงบรรดาลใจจากประวัติชีวิตของเธอซึ่งเป็นนักเฟมินิสต์รุ่นแรก ติดใจกับหนังที่ได้ดูเมื่อนานมาแล้วเรื่อง Orlando รู้สึกกระทบใจจากประโยค “ผู้หญิงต้องมีเงินและห้องที่เป็นของตัวเองถ้าจะเขียนนิยาย” จากเรื่อง A Room of One’s Own สะเทือนใจกับประโยคที่ว่า “ผู้หญิงเขียนหนังสือไม่ได้” “ผู้หญิงวาดภาพไม่ได้” จากเรื่องนี้ To the Lighthouse และประทับใจกับหนังเรื่อง The Hour 

จาก To the Lighthouse มีเรื่องตัวละครและเรื่องราวมากมาย เหมือนเราได้เข้าไปอยู่ในหัวของตัวละครหรือผู้เขียน และเห็นภาพสะท้อนของผู้หญิงยุคเก่า ซึ่งฉันคิดว่าผู้อ่านแต่ละคนก็จะมีภาพในหัว มีการคิดมีการตีความเป็นแบบของตัวเอง ดังนั้นฉันจึงไม่อยากครอบครองการตีความนั้นมาเพื่อเล่าเรื่องในแบบละคร  ฉันสนใจการตกกระทบจากตัววรรณกรรมที่มีต่อนักเขียนบทผู้หญิง เมื่อเราได้บทแนวกระแสสำนึกในแบบของอรดา และจากตัวบทนั้น ฉันก็ได้ทำงานต่อกับนักแสดงทั้งสามคนด้วยกระบวนการทำงานกลุ่ม ค้นหา ทดลองเพื่อนำไปสู่การแสดง ฉันสนใจ image work ที่มาจากตัวหนังสือ เราทำงานกับ คำ การเคลื่อนไหว พลวัตของแต่ละคนและของกลุ่ม เสียง และดนตรี  โดยที่เปิดช่องว่างให้นักแสดงได้ขยับขับเคลื่อนในแบบที่มีอิสระแล้วเราไปด้วยกัน 

เหมือนกับว่าจุดหมายปลายทางหรือประภาคารมันอยู่ตรงนั้น บางคนอาจไปถึง แต่บางคนกลับไปไม่ถึง แต่ระยะทางและการเดินทางนั้นกลับสำคัญยิ่งกว่า   
-สินีนาฏ เกษประไพ-


Virginia Woolf’s work of fiction is known to be very well written and very difficult to read.  She used stream of consciousness as a narrative device, and her words are beautiful and flow like poetry.  I would like to work with her writing because I was inspired by the story of her life as a feminist in the early feminist movement.  I was touched by the movie Orlando, and I was moved by her quote “A woman must have money and a room of her own if she is to write fiction” from A Room of One’s Own.  I was affected by the phrases “Women can’t write.  Women can’t paint” from To the Lighthouse, as well as the movie The Hour.   

To the Lighthouse is a novel with many characters and many stories.  It’s as if we could get inside the character’s head or inside the writer’s head.  It is a reflection of women in the past, which I believe each reader must have their own interpretation.  Therefore, I don’t want to tell the story and impose my own interpretation on anyone.  I am interested in the impact of literature on female playwrights.  We got the script by Orada, which was also written as a stream of consciousness.  And from the script, I worked with the three performers as a group with devising process.  I am interested in image work that comes from words.  We explored, experimented, and created a performance not drama.  We worked with words, movements, sound, music, and the dynamics of each individual and ensemble of the group, with some room for each performer to move freely.  

And from that, we go forward together as if the destination or the lighthouse was there.  Some people may reach the destination; some may not.  But the distance and the journey are more important than the destination.
-Sineenadh Keitprapai-



No comments: