27 December 2019

สรุปงานการแสดงและ Workshop ของ พระจันทร์เสี้ยวการละคร ปี 2562



สรุปงานละคร การแสดง และกิจกรรมอบรม ปี 2562 





ปี 2562 กำลังจะผ่านไป เราทำอะไรกันไปบ้างในปีนี้ ขอสรุปสั้นๆไว้เตือนความจำ

ในส่วนการแสดงและละคร ปีนี้เราจัดแสดง 5 เรื่อง คือ เริ่มจากต้นปีเป็นการแสดงสำหรับเด็กเล็ก หรือ Baby Theatre ซึ่งเป็นการแสดงสำหรับเด็กเล็กเป็นครั้งแรกในบ้านเรา ชื่อเรื่อง “Purr Purring” แสดงที่ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมแสงอรุณ กำกับโดย ลัดดา คงเดช
การแสดง Butoh : Blowing เวอร์ชั่นแสดงเดี่ยว ในงานเทศกาลศิลปะนานพันธุ์ ที่ สวนครูองุ่น และ เวอร์ชั่นสองคน แสดงในงานสามแพร่ง ที่แพร่งนรา กำกับโดย สินีนาฏ เกษประไพ
การแสดงเดี่ยว ซึ่งเป็นงานรีสเตจ “Parallel” ในงานเทศกาล Chiangmai Fringe Festival 2019 แสดงและกำกับโดย ลัดดา คงเดช
การแสดง “ผู้หญิงกับประภาคาร” (Women and the Lighthouse) ในงานเทศกาลละครกรุงเทพ 2019 ที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เขียนบทโดย อรดา ลีลานุช กำกับโดย สินีนาฏ เกษประไพ
และการแสดงเดี่ยวงานสุดท้าย “Hermit Crab” ในงานเทศกาลเต้นที่ทุ่งสนามควาย Buffalo Field Festival 2019 ที่ชุมชนนางเลิ้ง  แสดงและกำกับโดย ลัดดา คงเดช 

ในส่วนของ Workshop ที่เราเปิดอบรมในปีนี้ คือ
Creative Writing workshop  1 ครั้ง ที่ Studio Persona สอนโดย อรดา ลีลานุช
Movement for Actor 1 ครั้ง ที่ สวนครูองุ่น สอนโดย สินีนาฏ เกษประไพ
Movement and Embodiment workshop 2  ครั้ง ที่  Studio Persona และ ที่สวนครูองุ่น สอนโดย สินีนาฏ เกษประไพ
Viewpoints Technique 1 ครั้ง เป็นการไปเวิรคชอปให้กับน้องนักเรียนมัธยม โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สอนโดย สินีนาฏ เกษประไพ 
อบรมออกแบบแสง สอนโดย คุณทวิทธิ์ เกษประไพ ก็ไปจัดตามที่ต่างๆและในมหาวิทยาลัยอีกหลายครั้ง







23 December 2019

ภาพจาก Movement and Embodiment Workshop

จบลงไปแล้วกับ Movement and Embodiment Workshop สองวัน วันที่ 21-22 ธัวาคม 2562 ที่ สวนครูองุ่น สอนโดย คุณสินีนาฏ เกษประไพ  

ภาพวันนี้วันแรก กับโมเม้นท์พิเศษ ฟังเสียงข้างนอก ฟังเสียงข้างใน และมี Awareness
ขอบคุณรูปสวยๆจาก ทีมสวนครูองุ่น






ภาพจาก workshop วันที่สอง สนุกกับการค้นหาการเคลื่อนไหวและการใช้แรงในแบบต่างๆ
ขอบคุณผู้ฝึกทุกคนที่ open และ sharing ด้วยกัน 
ขอบคุณ ห้องฝึก ที่สวนครูองุ่น ด้วยค่ะ 





ขอบคุณ reflection จากผู้เข้าเวริคชอป 





16 December 2019

ขนย้ายอุปกรณ์การแสดงและของโรงละครและส่งต่อให้กับ สาขาการละอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มธ.



พระจันทร์เสี้ยวการละคร ขอขอบคุณบริษัท Spark House ที่เอื้อเฟื้อโกดังให้เราได้เก็บอขงออุปกรณ์การแสดงต่างๆของโรงละครพระจันทร์เสี้ยว Crescent Moon Space เป็นเวลาสองปี วันนี้เราได้ขนย้ายของออกโกดังเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเราขอมอบอุปกรณ์การแสดงต่างๆให้กับ สาขาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อไป
เราอยากกล่าวขอขอบคุณบริษัท Spark House ณ ที่ตรงนี้มากๆค่ะ







และขอขอบคุณกำลังแรงงานจากสมาชิกของเรา ที่มาช่วยในวันนี้ค่ะ 






หลังจากเราขนย้ายอุปกรณ์เวทีและการแสดงและน้องหุ่นอีกจำนวนหนึ่ง จากโกดังของบริษัท Spark House เราได้ส่งมอบของอุปกรณ์ต่างๆให้กับ สาขาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อใช้ในการเรียนการสอนละคร เพื่อให้ได้เป็นประโยชน์ต่อไป โดยมี อ.ดร.ภาสกร อินทุมาร, อ.ดร.อรดา ลีลานุช, เจ้าหน้าที่ คุณกฤษณ์, คุณบอย และน้องๆชาวสินกำอีกหลายคนที่ช่วยรอรับและช่วยขนของและจัดเก็บ 








02 December 2019

Movement and Embodiment Workshop




Movement and Embodiment Workshop

เป็นการฝึกการใช้ร่างกายในการเคลื่อนไหว เหมาะสำหรับผู้ที่อยากจะฝึกขยายทักษะการใช้ร่างกายในการเคลื่อนไหวด้วยการเปิดกว้างระหนักรู้ร่างกายและภายในตน ไม่มุ่งเน้นในการเล่าเรื่อง เน้นการเคลื่อนไหวอย่างมี awareness และไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานการแสดงหรือการเต้นมาก่อน ไม่ต้องกลัวผิด เพราะนี่เป็นการมองหาความเป็นไปได้ในการใช้ร่างกายขยับขับเคลื่อนและกลายร่าง แค่เริ่มต้นด้วยการเปิดกว้างทั้งใจกาย และทำตัวเหมือนเป็นภาชนะแล้วเราจะเคลื่อนไหวไปด้วยกัน moment by moment  

Facilitator: 

สินีนาฏ เกษประไพ
Artistic Director พระจันทร์เสี้ยวการละคร (Crescent Moon Theatre) มีประสบการณ์ ด้านการการแสดงและกำกับละครมากกว่ายี่สิบปี มีความสนใจละครและการแสดงในแนวทาง non-realism, movement-based performance, physical theatre, devising performance, และ butoh มากเป็นพิเศษ ได้รับรางวัลศิลปินร่วมสมัยดีเด่น รางวัลศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดง ในปี 2551 นอกจากนี้ยังมีประสบการณ์การเป็นผู้นำกระบวนการสอนละครนอกสถาบันการศึกษามากกว่ายี่สิบปีและเป็นอาจารย์พิเศษสอนละครและการแสดงในสถาบันการศึกษาประมาณสิบปี 

วันเสาร์-อาทิตย์ ที่ 21-22 ธันวาคม 2562 
เวลา  13.00-17.00 (สองวัน วันละ 4 ชม. รวมเป็น 8 ชม.)
สถานที่ สวนครูองุ่น ซ.ทองหล่อ 3
รับไม่เกิน 10 คน 
ค่าลงทะเบียน 2,000 บาท 

สอบถามเพิ่มเติม inbox page : Crescent Moon Theatre
หรือ โทร 097 219 9707 


Solo Performance by Ladda Kongdach


Solo performance by Ladda Phueng Kongdach in Buffalo Field Festival 2019 at temple in Nangloeng community. 
Sun 1 December 2019
Thank you so much Buffalo Field Festival 2019 




จบลงไปแล้วกับการแสดงเดี่ยวของ คุณลัดดา ซึ่งร่วมแสดงในงาน เทสกาลเต้นที่ทุ่งสนามควาย Buffalo Field Festival 2019 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม 2562 
ขอบคุณชุมชนวัดแคนางเลิ้งและคณะผู้จัดงาน ที่ได้จัดงานนี้ และชวนให้เราไปร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานนี้ 







25 November 2019

บรรยากาศการแสดง Butoh : Blowing




บรรยากาศการแสดง Butoh : Blowing 
ในงาน สามแพร่งfacestreet เมื่อวานนี้ จากเวทีต้นซอย และ เวทีท้ายซอย 



Butoh : Blowing 
แสดงโดย ศุภิสรา วันชาญเวช และ สินีนาฏ เกษประไพ

กำกับการแสดงโดย สินีนาฏ เกษประไพ




ขอบคุณ สามแพร่งfacestreet ที่ชวนเรามาแสดงให้เรามาเป็นส่วนหนึ่งของงาน
ขอบคุณทีมงานและทีมเทคนิคทุกคนที่คอยสนับสนุนเราอย่างดี
ขอบคุณผู้ชมทุกท่านที่มาดูเราอย่างอบอุ่น ผู้ชมเยอะมากค่ะ








photo : Tawit Keitprapai




24 November 2019

ฺButoh : Blowing จะแสดงวันนี้ ที่ สามแพร่ง facestreet


ซ้อมใหญ่ไปแล้วเมื่อคืนนี้ 

Butoh : Blowing 

จะเล่นในงานสามแพร่ง ที่แพร่งภูธรกับแพร่งนรา 2 รอบ เวลา 18.30 กับ 19.30 ที่ เวทีต้นซอย และ เวทีท้ายซอย








photo :  Tawit Keitprapai

22 November 2019

งานต่อไป Butoh : Blowing at สามแพร่ง Facestreet



เราจะแสดง Butoh : Blowing ในแบบ street ในงาน สามแพร่ง facestreet ที่ สามแพร่ง
วันอาทิตย์ ที่ 24 พ.ย. 2562 แสดง 2 รอบ 
ชมฟรีค่ะ 







18 November 2019

Best Ensemble to Women and the Lighthouse

ขอขอบคุณคณะกรรมการและคณะผู้จัดงาน #BTF2019 สำหรับรางวัล
BTF Award 2019 สาขา Best Ensemble
ที่มอบให้คณะนักแสดง จาก “ผู้หญิงกับประภาคาร” (พระจันทร์เสี้ยวการละคร)
และขอขอบคุณที่เราได้รับการเสนอชื่อในหลายสาขาด้วยค่ะ 




ขออนุญาตบันทึกไว้เป็นข้อมูล :  
(จากเพจ  Bangkok Theatre Festival) 


ประกาศรายชื่อการแสดง ที่เข้าชิงรางวัล “BTF Award 2019”
จากการแสดงที่ลงทะเบียนเข้าร่วมรับการพิจารณาการเข้าชิงรางวัล

✨✨ BTF Award nominations 2019 ✨✨

Best Performance for International Artist nominees
1. Brotherhood 3on3 โดย Theater unit HashTag / JAPAN
2. Wrath of the River Goddess โดย Tanghalang Bagong Sibol Theater and Dance Company / PHILIPPINES
3. PANGGAS โดย San Agustin Performing Arts / PHILIPPINES

Best Performance nominees
1. คืนนั้นฉันรัก โจชัว หว่อง โดย Qrious Theatre
2. เจ็ดชาติแห่งความชั่วของนางมาลี โดย Fullfat Theatre
3. ผู้หญิงกับประภาคาร โดย พระจันทร์เสี้ยวการละคร

Best Director nominees
1. จตุรชัย ศรีจันทร์วันเพ็ญ จากเรื่อง เสื้อสมุทร
2. นพพันธ์ บุญใหญ่ จากเรื่อง เจ็ดชาติแห่งความชั่วของนางมาลี
3. สินีนาฏ เกษประไพ จากเรื่อง ผู้หญิงกับประภาคาร

Best Actor nominees
1. ประดิษฐ ประสาททอง จากเรื่อง ละครในผู้ชาย เรื่อง ดาหลัง ตอน อิเหนาเป็นกะเทยสะระหนากะดี
2. สายฟ้า ตันธนา จากเรื่อง ซีอุย ตอนที่หนึ่ง
3. Pope Bustos จากเรื่อง Spotlight 7x7

Best Actress nominees
1. ณัฐญา นาคะเวช จากเรื่อง คืนนั้นฉันรัก โจชัว หว่อง
2. นารีรัตน์ เหวยยือ จากเรื่อง As a Daughter
3. มินตา ภณปฤณ จากเรื่องคืนนั้นฉันรัก โจชัว หว่อง

Best Ensemble nominees
1. คณะนักแสดงจาก เจ็ดชาติแห่งความชั่วของนางมาลี โดย Fullfat Theatre
2. คณะนักแสดงจาก ผู้หญิงกับประภาคาร โดย พระจันทร์เสี้ยวการละคร
3. คณะนักแสดงจาก Babymime Junior Show Vol.1 โดย BABYMIME

Best Script nominees
1. จตุรชัย ศรีจันทร์วันเพ็ญ และ ภิญญาพัชญ์ พงศ์พิชาธนาพร จากเรื่อง เสื้อสมุทร
2.รัฐไท โลกุตรพล จากเรื่องจากเรื่องคืนนั้นฉันรัก โจชัว หว่อง
3. อรดา ลีลานุช จากเรื่อง ผู้หญิงกับประภาคาร

Best Art Direction nominees
1. เจ็ดชาติแห่งความชั่วของนางมาลี โดย Fullfat Theatre
2. เดินตามพิซซ่าบอย โดย จี ‘ส
3. ผู้หญิงกับประภาคาร โดย พระจันทร์เสี้ยวการละคร







09 November 2019

Dirctor's Note : Women and the Lighthouse






Director’s note

งานวรรณกรรมของเวอร์จิเนียวูล์ฟ ขึ้นชื่อว่าดีมากและอ่านยากมาก ด้วยวิธีการเขียนแบบกระแสสำนึกที่แปลก มีความลื่นไหลและคำไพเราะเหมือนบทกวี แต่ก็ฉันอยากทำงานของนักเขียนหญิงท่านนี้สักครั้งเพราะได้รับแรงบรรดาลใจจากประวัติชีวิตของเธอซึ่งเป็นนักเฟมินิสต์รุ่นแรก ติดใจกับหนังที่ได้ดูเมื่อนานมาแล้วเรื่อง Orlando รู้สึกกระทบใจจากประโยค “ผู้หญิงต้องมีเงินและห้องที่เป็นของตัวเองถ้าจะเขียนนิยาย” จากเรื่อง A Room of One’s Own สะเทือนใจกับประโยคที่ว่า “ผู้หญิงเขียนหนังสือไม่ได้” “ผู้หญิงวาดภาพไม่ได้” จากเรื่องนี้ To the Lighthouse และประทับใจกับหนังเรื่อง The Hour 

จาก To the Lighthouse มีเรื่องตัวละครและเรื่องราวมากมาย เหมือนเราได้เข้าไปอยู่ในหัวของตัวละครหรือผู้เขียน และเห็นภาพสะท้อนของผู้หญิงยุคเก่า ซึ่งฉันคิดว่าผู้อ่านแต่ละคนก็จะมีภาพในหัว มีการคิดมีการตีความเป็นแบบของตัวเอง ดังนั้นฉันจึงไม่อยากครอบครองการตีความนั้นมาเพื่อเล่าเรื่องในแบบละคร  ฉันสนใจการตกกระทบจากตัววรรณกรรมที่มีต่อนักเขียนบทผู้หญิง เมื่อเราได้บทแนวกระแสสำนึกในแบบของอรดา และจากตัวบทนั้น ฉันก็ได้ทำงานต่อกับนักแสดงทั้งสามคนด้วยกระบวนการทำงานกลุ่ม ค้นหา ทดลองเพื่อนำไปสู่การแสดง ฉันสนใจ image work ที่มาจากตัวหนังสือ เราทำงานกับ คำ การเคลื่อนไหว พลวัตของแต่ละคนและของกลุ่ม เสียง และดนตรี  โดยที่เปิดช่องว่างให้นักแสดงได้ขยับขับเคลื่อนในแบบที่มีอิสระแล้วเราไปด้วยกัน 

เหมือนกับว่าจุดหมายปลายทางหรือประภาคารมันอยู่ตรงนั้น บางคนอาจไปถึง แต่บางคนกลับไปไม่ถึง แต่ระยะทางและการเดินทางนั้นกลับสำคัญยิ่งกว่า   
-สินีนาฏ เกษประไพ-


Virginia Woolf’s work of fiction is known to be very well written and very difficult to read.  She used stream of consciousness as a narrative device, and her words are beautiful and flow like poetry.  I would like to work with her writing because I was inspired by the story of her life as a feminist in the early feminist movement.  I was touched by the movie Orlando, and I was moved by her quote “A woman must have money and a room of her own if she is to write fiction” from A Room of One’s Own.  I was affected by the phrases “Women can’t write.  Women can’t paint” from To the Lighthouse, as well as the movie The Hour.   

To the Lighthouse is a novel with many characters and many stories.  It’s as if we could get inside the character’s head or inside the writer’s head.  It is a reflection of women in the past, which I believe each reader must have their own interpretation.  Therefore, I don’t want to tell the story and impose my own interpretation on anyone.  I am interested in the impact of literature on female playwrights.  We got the script by Orada, which was also written as a stream of consciousness.  And from the script, I worked with the three performers as a group with devising process.  I am interested in image work that comes from words.  We explored, experimented, and created a performance not drama.  We worked with words, movements, sound, music, and the dynamics of each individual and ensemble of the group, with some room for each performer to move freely.  

And from that, we go forward together as if the destination or the lighthouse was there.  Some people may reach the destination; some may not.  But the distance and the journey are more important than the destination.
-Sineenadh Keitprapai-



02 November 2019

Women and the Lighthouse ผู้หญิงกับประภาคาร






ผู้หญิงกับประภาคาร
โดย พระจันทร์เสี้ยวการละคร
ใน เทศกาลละครกรุงเทพ 2019


คำ ห้วงความคิด การเคลื่อนไหว ดนตรี

เฉดสีของกระแสความคิด การสังเกตุรับรู้ กับความจริงจากภายในของผู้หญิงที่ประภาคาร แรงกระตุ้นจากตัวหนังสือของนักเขียนหญิง เวอร์จิเนีย วูล์ฟ เรื่อง “ To The Lighthouse ” สู่การแสดงของตัวบทกลายมาเป็นการแสดงของคำและการเคลื่อนไหวร่างกายผ่านกระแสสำนึกที่ว่ายวนในห้วงความคิดและการค้นหาจิตวิญญาณของผู้หญิงในอดีตที่ผ่านเลย

แสดงโดย : ปานมาศ ทองปาน, ศุภิสรา วันชาญเวช, อรดา ลีลานุช, สินีนาฏ เกษประไพ
บทโดย : อรดา ลีลานุช
กำกับโดย : สินีนาฏ เกษประไพ 

วันที่  : 9-10 พ.ย. 2562   
เวลา : 18:30, 20:00 น.  
สถานที่ : หอศิลปวัฒนฑรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ชั้น 4 ห้อง 401   
ระยะเวลา : 40 Minutes    
บัตร  : 450 Baht / Student 400 Baht
จองบัตร : 097 219 9709, 091 775 1215
Fb  : Crescent Moon Theatre 



Women and the Lighthouse
by Crescent Moon Theatre 
in Bangkok Theatre Festival 2019


Words, thoughts, movement, music  


The spectrum of introspection, observation, and truth from inside of women at the lighthouse. This is a reflection from the almost no action of modernist novel “To the Lighthouse” by Virginia Woolf through a performance text that transforms into performance of consciousness and soul-searching of women in the past.
Performers : Panmas Tongpan, Supissara Wanchanwech, Orada Lelanuja, Sineenadh Keitprapai
A performance text by  Orada Lelanuja
Directed by   Sineenadh Keitprapai 

*** English sur-title available ***

Date : 9-10 November 2019   
Time : 6:30 PM, 8:00 PM 
Vnue : BACC room 401
Duration : 40 Minutes    
Ticket : 450 Baht / Student 400 Baht
Reservations : 097 219 9709, 091 775 1215
Fb : Crescent Moon Theatre 



แนะนำนักแสดง ใน Women and the Lighthouse ผู้หญิงกับประภาคาร (4)






แนะนำนักแสดง ใน Women and the Lighthouse ผู้หญิงกับประภาคาร (4)

สินีนาฏ เกษประไพ
Artistic director คนปัจจุบันของพระจันทร์เสี้ยวการละคร เป็นนักทำละครที่มีผลงานการแสดงกำกับการแสดงและทำงานเบื้องหลังการแสดงอย่างต่อเนื่องมากว่ายี่สิบปี มีผลงานในหลายรูปแบบทั้งละครพูด ละครในแนว Physical theatre, Movement-based performance และ Devising theatre มีผลงานลัครที่สะท้อนประเด็นสังคมการเมือง และประเด็นผู้หญิง นอกจากนี้ยังเป็นอาจารย์พิเศษสอนการแสดงในหลายสถาบันการศึกษา และเปิด workshop การแสดงตามที่ต่างๆ

ผลงานการแสดงและกำกับการแสดง เช่น
“Butoh : Blowing”, “Women in Dystopia”, “Woyzeck : the Unfinished story”, “เงา-ร่าง Shade Borders”, “S-21”, “รื้อ Being Paulina Salas and the Practice”, “ยังเยาว์ Immature”, “I have Alice in Mind”, “Rice Now”, “I Sea Project”, “ผีแมวดำ Vinegar Tom”, “เส้นด้ายในความมืด A Thread in the Dark”

Sineenadh Keitprapai 
is the current artistic director of the Crescent Moon theatre. She is a theatre practitioner who has been working as a director, actor, and behind the scenes continuously for over twenty years. Her work varies in forms, such as, spoken drama, physical theatre, movement-based performance, and devising theatre, and reflects social, political, and women’s issues.
She also teaches acting and movement in many educational institutions and conducts her own acting and movement workshops at various places.

Some of her acting and directing work includes:
“Butoh : Blowing”, “Women in Dystopia”, “Woyzeck : the Unfinished story”, “Shade Borders”, “S-21”, “Being Paulina Salas and the Practice”, “Immature”, “I have Alice in Mind”, “Rice Now”, “I Sea Project”, “Vinegar Tom”, and “A Thread in the Dark.”



photo : Cheeranat.Photographer

01 November 2019

แนะนำนักแสดง ใน Women and the Lighthouse ผู้หญิงกับประภาคาร (3)




แนะนำนักแสดง Women and the Lighthouse ผู้หญิงกับประภาคาร (3)


อรดา ลีลานุช
เป็นสมาชิกพระจันทร์เสี้ยวการละคร ตั้งแต่ปี 2554 มีผลงานเขียนบท และการแสดง นอกจากนี้ยังเป็นผู้จัดและนำกระบวนการเทศกาลละครยี่สิบสี่ชั่วโมง “24 hr Festival” ทั้งสามครั้งอีกด้วย ปัจจุบันนอกจากทำละครแล้ว ยังเป็นนักแปล และเป็นอาจารย์สาขาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผลงานเขียนบท
“Project ¼” , “Page 2 Stage”, “ในห้องสีเทา”, “[un]tied” และร่วมเขียนบท “สมันตัวสุดท้าย” , “สมันโผล่มาอีกตัว”

ผลงานการแสดง
ในห้องสีเทา (โดยพระจันทร์เสี้ยวการละคร), นักการละครต้องตาย (โดยพาสเทลเธียเตอร์), Happy New Year Mr. Smith(ละครโดย นพพันธ์), เงา-ร่าง Shade Borders(พระจันทร์เสี้ยวการละคร)

Orada Lelanuja 
has been a member of Crescent Moon Theatre since 2011. She is a playwright, performer, and coordinator for the 24 hour play festival. She is also a translator and teaches theatre at Faculty of Fine and Applied Arts, Thammasat University. 

Some of her playwriting work includes Project ¼, Page 2 Stage, In the Grey Room, [un]tied, and The Last Schombrgk’s Deer (co-writer).

Some of her past acting work includes Project ¼, In the Grey Room, The Dramatist Must Die, Happy New Year Mr. Smith, and Shade Borders.

photo : Cheeranat.Photographer

31 October 2019

แนะนำนักแสดง ใน Women and the Lighthouse ผู้หญิงกับประภาคาร (2)






แนะนำนักแสดง ใน Women and the Lighthouse ผู้หญิงกับประภาคาร (2)


ปานมาศ ทองปาน
นักทำละครรุ่นใหม่ที่มีประสบการณ์การแสดง กำกับการแสดง และทำละครตั้งแต่อยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย เช่น ละคอนเวทีเรื่อง “The Voyage” (ละคอนของคณะศิลปกรรมศาสตร์ มธ), “ทำไมเรายังไม่วาร์ป” (โดยกลุ่ม Noir Theatre), “สัตว์-สวน” (โดยกลุ่ม Anti-thesis) ปัจจุบันเพิ่งจบจากสาขาการละคอน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกำลังเตรียมงานละครเรื่องใหม่อยู่
มีผลงานเขียนบท ประพันธ์เพลง และกำกับละครเพลงเรื่อง “Dilok Von Siam” และผลงานล่าสุดในปีนี้ ประพันธ์เพลงให้กับการแสดง “For Fury and Passion” (ละคอนของคณะศิลปกรรมศาสตร์ มธ)

Panmas Tongpan 
is a young theatre maker who has been working in the theatre since her college days. For example, she was in "The Voyage", "tam-mai-rao-yang-mai-warp", and "Satva-Reversed". She recently graduated from the Faculty of Fine and Applied Arts, Thammasat University, majoring in theatre. She wrote the script and the music and directed "Dilok Von Siam" a musical. This year she wrote the songs and music for “For Fury and Passion” (Fine and Applied Arts, Thammasat University production). She is working on her new work at the moment.

photo : Cheeranat Chiarakul

30 October 2019

แนะนำนักแสดง ใน Women and the Lighthouse ผู้หญิงกับประภาคาร (1)








แนะนำนักแสดง ใน Women and the Lighthouse ผู้หญิงกับประภาคาร

ศุภิสรา วันชาญเวช (แบมแบม)
นักแสดง-นักทำละครรุ่นใหม่ ที่มีผลงานการแสดงตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนละคร ปัจจุบันเพิ่งจบการศึกษาจากสาขาการละคอน คณะศิลปกรรมศาตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แบมแบมมีความสนใจในด้านการแสดงเป็นอย่างมาก เพราะการแสดงทำให้แบมเห็นแง่มุมใหม่ๆของการใช้ชีวิต ถึงแม้ช่วงนี้จะยุ่งกับการหางาน แต่แค่ได้มาขยับร่างกาย ปล่อยความคิดไปกับบทก็ทำให้มีความสุขอย่างบอกไม่ถูก

ผลงานการแสดงที่ผ่านมา
"The Voyage" (ละคอนของคณะศิลปกรรมศาสตร์ มธ), "ทำไมเรายังไม่วาร์ป" (โดยกลุ่ม Noir Theatre), “Rice Now” และ “Woyzeck : the unfinished story” (โดย พระจันทร์เสี้ยวการละคร), "หมู่บ้านแสนสุข" (โดยกลุ่ม Yellow Fox Theatre) และ “ตำนานหมาป่าแดนหนาว The Ice Wolf” (ละคอนธีสิสคณะศิลปกรรมศาสตร์ มธ)

Supissara Wanchanwech (Bam Bam)
is a young actor/theatre maker who has been working in the theatre since her college days. She recently graduated from the Faculty Fine and Applied Arts, Thammasat University, majoring in theatre. Bam Bam is interested in acting and performing arts because acting has shown her some new perspectives on life. At the moment, she is busy looking for work, but she is very happy that she is able to move her body and get immersed in the text. 

Some of her past work includes: "The Voyage", "tam-mai-rao-yang-mai-warp", "Rice Now", "Woyzeck: the unfinished story", "Happy Village" and "The Ice Wolf" (her thesis production at Thammasat University).

photo : Cheeranat.Photographer




28 October 2019

Bangkok Theatre Festival 2019





ฺBangkok Theatre Festival 2019 ปีนี้มาธีม Theatre Farm 

มีละครเวทีและการแสดงให้เลือกชม เกือบ 40 การแสดง 

จัดเรียงมาพบท่าน 1-17 พ.ย. นี้






สามารถดาวน์โหลดตารางได้ที่ https://www.bangkoktheatrefest.com/all-program

หรือรับแผ่นโปรแกรมได้ที่ box office ชั้น 4 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร BACC 





การแสดงชิ้นใหม่ของเรา "ผู้หญิงกับประภาคาร" Women and the Lighthouse จะจัดแสดงในวีคที่สอง ที่ห้อง401 ชั้น 4 หอศิลปวํมนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร BACC วึ่งในวีคนี้มีละครและการแสงดง 17 เรื่อง  ให้เลือกชม ควรวางแผนเพื่อเตรียมตัวจัดตารางการดูละครล่วงหน้าค่ะ  








27 October 2019

จากผู้เขียนบท "ผู้หญิงกับประภาคาร"





จากผู้เขียนบท Women and the Lighthouse ผู้หญิงกับประภาคาร

ผู้หญิงกับประภาคาร เป็นงาน performance text ที่เขียนขึ้นจากนวนิยายเรื่อง To the Lighthouse ของ Virginia Woolf ซึ่งเป็นนวนิยายแนวกระแสสำนึก มีตัวละครมากมายและความคิดของตัวละครที่สลับซับซ้อนวนเวียนไปมา ระหว่างที่อ่านนวนิยายเรื่องนี้ ผู้เขียนได้เห็นมองเห็นภาพ คำพูด และเสียงในห้วงคำนึงของตัวละครในแบบ collage หรือภาพตัดแปะ และเมื่ออ่านจบก็ได้ลงมือเขียน performance text เรื่องนี้ตามภาพและเสียงที่ได้ยินเมื่ออ่านนวนิยาย โดยที่เขียนแต่ละฉากขึ้นโดยเอาคำที่ Virginia Woolf ใช้มาจัดเรียงใหม่ให้เป็นภาษาของตัวเอง และเรียบเรียงให้มีลักษณะคล้ายกับ blank verse หรือกลอนเปล่า แต่ยังคงมีบทพูดของตัวละครอยู่ และถึงแม้ว่างานชิ้นนี้จะเป็นเหมือนภาพปะติด แต่ก็ยังเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในนวนิยายทั้งเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ โดยที่โฟกัสไปยังตัวละครบางตัว ความรู้สึกบางอย่าง หรือเหตุการณ์บางเหตุการณ์ที่ได้เข้ามากระทบกับความคิดและความรู้สึกของผู้เขียน
-อรดา ลีลานุช –

Writer's note
Women and the Lighthouse is a performance text adapted from Virginia Woolf’s novel To the Lighthouse. While I was reading the novel, I saw some images, words, and the characters’ stream of consciousness in the form of a collage. After I finished reading the novel, I began writing from the images and words that I saw and heard while I was reading. I used Virginia Woolf’s words, but I rearranged them as my own in the form of blank verse with some dialogues. Even though the text is a collage, it still more or less tells the whole story of the novel, with the focus on some characters, some feelings, and some situations that spoke to me when I was reading the novel.
-Orada Lelanuja-



photo : Cheeranat.Photographer

21 October 2019

คำ ห้วงความคิด จากนักแสดงคนที่สี่





จากวรรณกรรมในแนวกระแสสำนึก To the Lighthouse ของนักเขียนหญิง เวอร์จิเนีย วูล์ฟ มาสู่ตัวบทที่เป็นคำแบบเลื่อนไหลของผู้เขียนบท อรดา ลีลานุช และนี่คงเป็นเหมือนระลอกคลื่นที่เข้ากระทบความคิดของนักแสดงหญิงทั้งสี่คน

Reflection of thoughts

“ประภาคาร...โดดเดี่ยวกลางทะเลกว้าง เวิ้งว้างห่างไกล...
ท่ามกลางคลื่นลมแรงฟ้ากว้างไกลฝ่าทุกฤดูกาล แสงแดดจัดร้อนแรง แสงแดดอ่อนนุ่มนวล หรือเมฆครึ้มทะมึนหม่นฝนตกกระหน่ำแรง พายุฟ้าครืนครั้นยังอยู่ สูงตระหง่าน ยังอยู่ตรงนั้น ที่เดิม... ประภาคาร... ท่ามกลางความมืดมิด ประภาคารส่องแสงเดียวโดดเดี่ยว ในความมืดดำทะมึนนั้น มันคือแสงนำทาง มันคือแสงสว่างของชีวิต มอง เห็น แล้วตามมันไป มันอาจพาเรารอดจากความตาย”

-สินีนาฏ เกษประไพ-
นักแสดง และผู้กำกับ
Women and the Lighthouse ผู้หญิงกับประภาคาร


แสดงในเทศกาลละครกรุงเทพ Bangkok Theatre Festival 2019 
วันที่ 9-10 พฤศจิกายน 2562 
รอบเวลา 18.30 และ 20.00 น. 
ที่ ห้อง 401 ฺหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 
บัตร  450 Baht / นักเรียน,นักศึกษา 400 Baht

Booking : โทร  097 219 9709, 091 775 1215 

Facebook : CrescentMoonTheatre

Photographer : Cheeranat.Photographer

19 October 2019

Crescent Moon Theatre in BIPAM





Very glad that our artistic director Sineenadh Keitprapai be a part and share in the panel discussion on "Sustainability of Long-standing Theatre Companies in SEA" yesterday in BIPAM with Maria Gloriosa Santos-Cabangon (PETA, Philippines), Ivy N. Josiah (Five Arts Centre, Malaysia) and Piyashat Sinpimonboon (Makhampom, Thailand).









ขอบคุณ BIPAM ที่เชิญเราไปแชร์ประสบการณ์กว่า 44 ปี ในหัวข้อ "กลุ่มละครที่มีอายุยืนยาว" ร่วมกับนักการละครจากฟิลิปปินส์, มาเลเซีย และอีกหลายประเทศ เราความรู้และได้แลกเปลี่ยนทางความคิดกัน